NEWS HIGHLIGHT
ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยกว่างซีประสบความสำเร็จในการถอดรหัสพันธุกรรม (Genome) ของพันธุ์อ้อย ช่วยไขความลับทางพันธุกรรมที่มีความซับซ้อนของอ้อยและวิวัฒนาการของพันธุ์อ้อย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพันธุ์อ้อยคุณภาพดีที่ให้ผลผลิตสูง ค่าความหวานสูง และต้านทานโรคมากยิ่งขึ้นอีกในอนาคต
NEWS UPDATE
ข่าวล่าสุด
ความยาวทางด่วนของนครฉงชิ่งเกินกว่า ๔,๕๐๐ กิโลเมตร
วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๘ ทางด่วนเส้นคู่หยูเซียง (渝湘复线高速公路)[๑] ระหว่างเขตปาหนานถึงเขตอู่หลง และอำเภอเผิงสุ่ยถึงอำเภอโยวหยางได้เปิดให้บริการแล้ว ทำให้ทางด่วนของนครฉงชิ่งมีความยาวรวมทั้งหมดเกินกว่า ๔,๕๐๐ กิโลเมตร ทางด่วนของนครฉงชิ่งยังคงครองอันดับหนึ่งในภาคตะวันตกของจีน
ท่าเรือ ๕๔๘ แห่ง และขบวนรถไฟกว่า ๓๖,๐๐๐ ขบวน: ข้อมูลสองจุดแสดงให้เห็นว่ามณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งทำงานร่วมกันเพื่อ “ก้าวสู่ระดับโลก”
ณ ระเบียงการค้าระหว่างประเทศเชื่อมทางบกและทางทะเลสายใหม่ New International Land-Sea Trade Corridor (ILSTC) ในนครฉงชิ่ง เขตซ่าผิงป้า รถบรรทุกจำนวนมากเพิ่งมาถึงตำแหน่งที่กำหนด เครื่องยกคอนเทนเนอร์อัจฉริยะที่ควบคุมจากระยะไกลทำการจับคอนเทนเนอร์สินค้าในทันที การขนส่ง การบรรทุก และการออกเดินทางดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าคุณภาพเต็มลำได้ข้ามผ่านภูเขาและทะเลสู่ตลาดโลก ขณะเดียวกัน อีกกว่า ๒๐๐ กิโลเมตรห่างออกไป ที่ท่าเรือรถไฟนานาชาตินครเฉิงตู บรรยากาศก็เต็มไปด้วยความคึกคักและเป็นระเบียบเช่นกัน คอนเทนเนอร์จำนวนมากถูกจัดเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบ เพื่อรอการส่งต่อไปยังประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ตามแนวเส้นทางของรถไฟขนส่งสินค้าจีน-ยุโรป
สำนักงานข่าวของสภาผู้บริหารแห่งรัฐจัดการประชุมแถลงข่าวการพัฒนาเขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่ง การพัฒนาเขตวงกลมเศรษฐกิจประสบผลสำเร็จใน ๔ ด้าน
เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๘ สำนักงานข่าวของสภาผู้บริหารแห่งรัฐจัดงานแถลงข่าวที่กรุงปักกิ่ง โดยมีนายเฉิน ย่าจวิน รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ นายเฉิน ซินอู่ สมาชิกคณะกรรมการประจำนครฉงชิ่งและรองนายกเทศมนตรี นางหลี่ เหวินชิง รองผู้ว่าราชการมณฑลเสฉวน และนายเฉา จวินเจี๋ย สมาชิกคณะกรรมการประจำนครเฉิงตูและรองนายกเทศมนตรี เข้าร่วมเพื่อสรุปสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตวงกลมเศรษฐกิจนครเฉิงตู-นครฉงชิ่งในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา
กว่างซีลุยปั้น ‘อาชีวศึกษา’ กับอาเซียน โอกาสที่ธุรกิจการศึกษาไทยไม่ควรพลาด
โอกาสของสถาบันอาชีวศึกษาไทย "ขึ้นขบวนเศรษฐกิจ" ต่อยอดความร่วมมือด้านอาชีวศึกษากับกว่างซี(จีน) มุ่งตอบโจทย์แรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมยุคอนาคต ผ่านโมเดลความร่วมมือต่าง ๆ ได้ อาทิ วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมจีน-อาเซียน วิทยาลัยช่างฝีมือสมัยใหม่จีน-อาเซียน และพันธมิตร ‘จีน + อาชีวศึกษา’ จีน-อาเซียน
ในปี 2567 ยอดการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ของจีนจัดเป็นอันดับ 1 ของโลกต่อเนื่องกัน 16 ปี
เมื่อ 13 ม.ค. 2568 สมาคมผู้ผลิตยานยนต์แห่งชาติจีน (CAAM) รายงานตัวเลขอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2567 ว่า (1) จีนมียอดการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ 31.28 ล้านคัน และ 31.44 ล้านคัน เติบโตร้อยละ 3.7 และร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว ตามลำดับ โดยจีนยังคงครองตำแหน่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกต่อเนื่องกัน 16 ปี
ทางการกว่างซีหนุนสถานประกอบการปรับขึ้นเงินเดือนลูกจ้าง เดินหน้าสู่สังคมกินดีอยู่ดี
เมื่อไม่นานมานี้ กรมทรัพยากรมนุษย์และหลักประกันสังคมเขตฯ กว่างซีจ้วง ได้ประกาศ “เกณฑ์อ้างอิงเงินเดือนสำหรับสถานประกอบการในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ปี 2567” เพื่อให้นายจ้างใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับเงินเดือนค่าจ้างลูกจ้างอย่างเหมาะสม
ARTICLE HIGHLIGHT
รถไฟฟ้าใต้ดินคาร์บอนไฟเบอร์ขบวนแรกของโลก "ถ้านซิง(碳星) CETROVO 1.0" ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 บนรางของรถไฟใต้ดินสาย 1 เมืองชิงต่าว นวัตกรรมนี้ทำให้เมืองชิงต่าวเป็นผู้นำรถไฟฟ้าใต้ดินของจีนทั้งในแง่ความก้าวหน้าทางวิทยาการและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ARTICLE UPDATE
บทความล่าสุด
ล้ำหรือลวง! เสื้อผ้าแบบสร้างความอบอุ่นในตัวด้วยเส้นใยจากกราฟีน
ในฤดูหนาว ผู้ผลิตเสื้อผ้าแบบสร้างความอบอุ่นในตัวมักโฆษณาเกี่ยวกับเทคโนโลยี "การสร้างความอบอุ่นในตัว” การนำวัสดุ "กราฟีน" มาใช้ในการผลิต รวมไปถึงเทคโนโลยี “อินฟราเรดระยะไกล" และ ซึ่งล้วนแล้วแต่ฟังดู "ล้ำสมัย" บางร้านค้าถึงกับอ้างว่าเสื้อผ้ากันหนาวที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถทำให้ผู้สวมใส่ไม่รู้สึกหนาวแม้ในอุณหภูมิที่ต่ำถึง -40°C คำโฆษณานี้เป็นจริงหรือหลอกลวงผู้บริโภคกันแน่?
การดำเนินงานของเขื่อนจีนในแม่น้ำล้านช้าง ส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดของมณฑลยูนนาน และสถานการณ์น้ำในประเทศลุ่มน้ำโขงอย่างไร
มณฑลยูนนานเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่ใหญ่ที่สุดของจีน จากข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2567 มณฑลยูนนานมีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวมกว่า 143,000 เมกะวัตต์ ในจำนวนนี้ เป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งจากพลังงานสะอาดรวมกว่า 120,000 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของมณฑลยูนนาน สูงเป็นอันดับหนึ่งของจีน
ยูนนานเร่งยกระดับอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม หวังก่อตัวเป็น “หุบเขาอะลูมิเนียมสีเขียวของจีน”
จากแนวคิดการพัฒนา "สีเขียวและคาร์บอนต่ำ" ของจีน โดยเฉพาะนโยบาย “คาร์บอนคู่ (Dual Carbon)” รวมถึง นโยบายสนับสนุนการย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมจากมณฑลทางภาคเหนือของจีน ไปสู่มณฑลทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสะอาด ส่งผลให้มณฑลยูนนานกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่หลักของจีนในการผลิตอะลูมิเนียมสีเขียว (Green Aluminium) เนื่องจากมณฑลยูนนานมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดสูงเป็นอันดับหนึ่งของจีน และมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำสูงเป็นอันดับสองของจีน
เก็บตกงาน China-ASEAN Expo ครั้งที่ 21 กระแสตอบรับสินค้าไทยดีแค่ไหน ใครอยากไปยกมือขึ้น
วันนี้ บีไอซี ขอชวนท่านผู้อ่านไปเก็บตกสาระดี ๆ ในงาน China-ASEAN Expo ครั้งที่ 21 จากผู้ประกอบการไทยหน้าเก่า-หน้าใหม่ที่พร้อมแชร์ข้อคิดเห็นและแบ่งปันประสบการณ์การออกบูธในงานปีนี้ ไปดูกันว่า... เทรนด์การบริโภคของชาวหนานหนิงเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
งานแสดงสินค้า CISMEF ครั้งที่ 19 นครกว่างโจว: การเชื่อมโยง SMEs ไทยในจีน
เมื่อระหว่างวันที่ 15 - 18 พ.ย. 67 สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวได้นำผู้ประกอบการไทยกว่า 54 รายร่วมออกบูธแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนานาชาติจีน (China International SME Fair; CISMEF) ครั้งที่ 19 ที่นครกว่างโจว โดยผู้ประกอบการไทยนำเสนอสินค้าที่โดดเด่น เช่น อาหารและเครื่องดื่ม ข้าวหอมมะลิ ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงไทย สินค้าหัตถกรรม เครื่องสำอาง และเครื่องประดับ โดยการเข้าร่วมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้จัดงานในด้านการจัดคูหาและการจัดหาล่ามอาสาสมัคร ซึ่งได้รับความสนใจอย่างดีจากผู้เข้าชมงานกว่า 120,000 คน
พัฒนาการด้าน ICT ของมณฑลกวางตุ้ง และโอกาสความร่วมมือกับไทย
หรือไม่ว่า ‘มณฑลกวางตุ้ง’ เป็นผู้นำด้าน ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ ของจีนมาอย่างยาวนาน โดยเมื่อปี 2566 มณฑลกวางตุ้งมีมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลที่สูงถึง 6.9 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 46.41 ล้านล้านบาท) สูงเป็นอันดับที่ 1 ของจีนต่อเนื่องกันมา 8 ปี ท่ามกลางสงครามเทคโนโลยีที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะหยุดลง รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งเป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีวิสาหกิจด้าน ICT เป็นแรงขับเคลื่อน ผ่านตลาดขนาดใหญ่ที่สุดในจีน ทำให้มณฑลกวางตุ้งยังคงอยู่ในเรด้าของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของจีนและโลก ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสสำหรับไทยในการสร้างความร่วมมือกับมณฑลกวางตุ้งเพื่อเร่งให้เศรษฐกิจของไทยด้าวไปสู่ยุคดิจิทัลในอนาคต
VIDEO & INFOGRAPHIC
ณ 31 ต.ค. 67 มณฑล/มหานคร/เขตฯ ทั้งหมด 31 แห่งของจีนได้เปิดเผยสถิติ GDP ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 67 โดย (1) กวางตุ้งและเจียงซูเป็น 2 มณฑลที่มีปริมาณ GDP ประมาณ 10 ล้านล้านหยวน ส่วนมณฑลอื่น ๆ ยังคงต่ำกว่าระดับนี้ค่อนข้างมาก
ข้อมูลรายมณฑล
มณฑลซานตง
มณฑลซานตงเป็นมณฑลชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศจีน จากภูมิประเทศที่เป็นคาบสมุทร ได้แยกอ่าวป่อไห่และทะเลเหลืองออกจากกัน มีพื้นที่ทั้งหมด 156,700 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 1.6 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลเฮยหลงเจียง
เป็น 1 ใน 3 มณฑลที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของประเทศจีน ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดประเทศรัสเซีย (แนวพรมแดนยาว 3,045 กิโลเมตร) เป็นประตูสู่ “ยูเรเซีย”
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลจี๋หลิน
ชื่อของมณฑลจี๋หลินมีความหมายว่า "เมืองอันอุมดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้" ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ได้รับการสมญานามว่า “พื้นที่ดินดำ” มีทรัพยากรดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ เหมาะสำหรับการเพาะปลูก
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลเหลียวหนิง
มณฑลเหลียวหนิงมีชื่อย่อว่า "เหลียว" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน มีแหล่งทรัพยากรพลังงาน ได้แก่ ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และยูเรเนียม
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
นครเทียนจิน
นครเทียนจินตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบภาคเหนือของจีน เทียนจินห่างจากปักกิ่ง 120 กิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณสองฝั่งของแม่น้ำไห่เหอ ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีนทางตอนเหนือ มีสาขากว่า 300 สายแต่ละสายมีความยาวกว่า 10 กิโลเมตร
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
กรุงปักกิ่ง
เป็นเมืองหลวงของประเทศจีน เป็นศูนย์กลางทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ การคมนาคม และวัฒนธรรมของประเทศ โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 16,410.54 ตารางกิโลเมตร มีชนชาติฮั่นเป็นประชากรส่วนใหญ่ มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลเหอเป่ย
มณฑลเหอเป่ยตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศจีน ชื่อย่อคือ “จี้” ได้รับการขนานนามว่า “มณฑลที่อยู่เหนือแม่น้ำเหลือง”
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลซานซี
มณฑลซานซีตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด156,579 ตร.กม. คิดเป็น 1.6 % ของพื้นที่ทั้งหมด มีภูมิประเทศที่หลากหลาย ประกอบด้วยภูเขา เนินเขา ที่ราบสูง และที่ราบลุ่มโดยมีพื้นที่ที่เป็นภูเขามากกว่า 80 % ของพื้นที่ทั้งหมด
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลเหอหนาน
มีที่ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางส่วนล่างของแม่น้ำเหลือง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณแม่น้ำเหลืองตอนล่างจึงได้รับการขนานนามว่า "เหอหนาน" ซึ่งแปลเป็นภาษาจีนว่า "แม่น้ำทางตอนใต้" เป็นแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มีพื้นที่ทั้งหมด 167,000 ตารางกิโลเมตร
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลเจียงซู
มณฑลเจียงซู ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 102,600 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเท่ากับร้อยละ 1.06 ของประเทศจีน ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งข้าวและปลา หมายถึงเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังมีชื่อเสียงในการผลิตน้ำมันพืช ฝ้าย ผ้าไหม และการประมง มณฑลเจียงซูมีพื้นที่แหล่งน้ำจืดมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศจีน
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลอานฮุย
มณฑลอานฮุยตั้งอยู่บนพื้นที่เขตทิศตะวันออกของประเทศจีน มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 139,600 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากรประมาณ 69.020 ล้านคน โดยได้ชื่อว่าเป็นมณฑลที่มีความยากจนที่สุดในภาคตะวันออกของจีน ด้วยเหตุนี้จึงมีแรงงานไหลออกจากมณฑลอานฮุยไปทำงานที่มณฑลใกล้เคียง เช่น งานก่อสร้าง และงานที่ใช้แรงงานอื่นๆ เป็นต้น
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
นครเซี่ยงไฮ้
เซี่ยงไฮ้มีพื้นที่ประมาณ 6,340.5 ตร.กม. คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.06 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ผลจากการที่ประเทศตะวันตก เข้ามาเช่าพื้นที่หลายแห่งทำให้ เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองท่าการค้านานาชาติที่สำคัญ อีกทั้งอาคารและสถาปัตยกรรมต่างๆ ของนครเซี่ยงไฮ้ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบตะวันตก และมีลวดลายสวยงามตามแบบยุโรป จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “นครปารีสแห่งตะวันออก” ในปัจจุบัน
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
เขตปกครองตนเองทิเบต
เขตปกครองตนเองทิเบตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เขตการปกครองตนเองทิเบตตั้งอยู่บนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้รับการขนานนามว่าเป็น “หลังคาโลก” เขตปกครองตนเองทิเบตมีภูมิอากาศที่หลากหลายและได้รับการขนานนามว่า "เมืองที่ไม่มีฤดูกาล แต่ฤดูกาลทั้งสี่จะเกิดขึ้นได้ในวันเดียว”
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลเจียงซี
มีเนื้อที่ทั้งหมด 166,947 ตร.กม. มีทะเลสาบผอ-หยาง (鄱阳湖) เป็นจุดศูนย์รวมทางระบบนิเวศวิทยาแหล่งใหญ่ที่สุดของมณฑล ที่สำคัญยังเป็นแหล่งแร่ทองแดงที่ใหญ่สุดในเอเชีย รวมทั้งเป็นแหล่งหลอมแร่ทองแดงที่ใหญ่สุดในประเทศ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลฝูเจี้ยน
มณฑลฝูเจี้ยน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ตรงข้ามเกาะไต้หวัน มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 23 ของประเทศ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มณฑลฝูเจี้ยนได้ก้าวสู่การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีกุญแจสำคัญอยู่ที่ไต้หวัน ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากมณฑลฝูเจี้ยนเพียง 125-160 กม.
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลหูเป่ย
มณฑลหูเป่ยมีชื่อย่อว่า เอ้อ(鄂) ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศจีน มีทรัพยากรแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ มีการค้นพบทรัพยากรธรรมชาติถึง 136 ชนิด มีประชากรทั้งหมด 59.88 ล้านคน
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลหูหนาน
มณฑลหูหนาน (Hunan) หรือที่เรียกกันว่า “เซียง” (Xiang) ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีปริมาณน้ำจืดมากเป็นอันดับ 2 ของจีน เนื่องจากมีทะเลสาบต้งถิง (Dongting Lake) ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อมณฑล “หูหนาน” ที่แปลว่า “ทิศใต้ของทะเลสาบ” และได้สมญานามว่าเป็น “แหล่งผลิตข้าวและปลาน้ำจืดรายใหญ่ของจีน”
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลกวางตุ้ง
มณฑลกวางตุ้งหรือมณฑลกว่างตง (广东省) มีชื่อย่อว่า เยี่ยว์ (粤, Yue) ตั้งอยู่ทางแนวชายฝั่งทะเลตอนใต้ของจีน มีพื้นที่ 179,812.7 ตร.กม. มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศจีน ในปี 2555 มีประชากร 105.94 ล้านคน เป็นมณฑลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศจีน
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ประกอบด้วยเกาะฮ่องกง คาบสมุทรเกาลูน และดินแดนที่เรียกว่า New Territories (ซึ่งเป็นส่วนที่ติดกับชายแดนจีน) รวมถึงเกาะเล็ก ๆ อีก 235 เกาะ โดยเกาะที่ใหญ่ที่สุด คือ เกาะลันเตา
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
เขตบริหารพิเศษมาเก๊า
ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของจีน และอยู่ทางตะวันตกของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล (PRD) โดยมีพรมแดนติดกับมณฑลกวางตุ้ง มาเก๊ามีพื้นที่ 29.9 ตารางกิโลเมตร
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลไห่หนาน
มณฑลไห่หนานหรือมณฑลไหหลำ (海南省) ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของจีนล้อมรอบด้วยทะเลจีนใต้ เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งต่อมาได้ยกระดับขึ้นเป็นมณฑลและประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในปี 2531 และเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของประเทศจีน (คิดเป็นสัดส่วน 2.5% ของทั้งประเทศ) เป็นแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ทางทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศจีน นอกจากนี้ กว่างซียังเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลที่สำคัญของจีน โดยมีผลผลิตประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลส่านซี
มณฑลซานซีตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด156,579 ตร.กม. คิดเป็น 1.6 % ของพื้นที่ทั้งหมด มีภูมิประเทศที่หลากหลาย ประกอบด้วยภูเขา เนินเขา ที่ราบสูง และที่ราบลุ่มโดยมีพื้นที่ที่เป็นภูเขามากกว่า 80 % ของพื้นที่ทั้งหมด
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลกุ้ยโจว
มณฑลกุ้ยโจวตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นมณฑลเขตชั้นในที่ไม่มีทางออกทะเล อยู่ที่ราบสูงหยูนกุ้ย (Yungui) ได้ชื่อว่า เป็นแหล่งไฟฟ้าพลังน้ำของประเทศ เนื่องจากแม่น้ำอู่เจียง (Wujiang) ไหลผ่านทั่วทั้งมณฑล
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มหานครฉงชิ่ง
ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 82,402 ตารางกิโลเมตร ลักษณะเป็นพื้นที่สูง ภูมิประเทศเป็นเนินเขาและภูเขาเป็นหลัก สำหรับที่ตั้งของมหานครฉงชิ่ง จัดเป็นบริเวณสำคัญสำหรับรัฐบาลจีนในการดำเนินแผนการ “Great West Development”
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,183,000 ตารางกิโลเมตร โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.3 ของพื้นที่รวมทั้งประเทศ ตั้งอยู่ห่างจากมหาสมุทร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงกว้างใหญ่
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย
ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ตอนบนของแม่น้ำฮวงโห พื้นที่ของเขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีลักษณะแคบและยาว มีขนาดพื้นที่ 66,400 ตารางกิโลเมตร มีแสงแดดเฉลี่ยต่อปี 3,000 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับแสงอาทิตย์มากที่สุดในประเทศจีน และมีพายุทรายมาก จึงสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลกานซู
ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ 454,000 ตารางกิโลเมตร สถิติจากสำนักงานสำรวจประชากรมณฑลกานซู ปี 2560 มณฑลกานซูมีประชากรรวม 26.09 ล้านคน แบ่งเป็นชนชาติฮั่น ร้อยละ 90.6 และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ร้อยละ 9.4
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลเสฉวน
ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 485,000 ตารางกิโลเมตร เป็นหนึ่งในพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญของจีนในด้านตะวันตกของมณฑล ซึ่งเป็นที่สูงมีลักษณะอากาศเป็นแบบที่ราบสูง (plateau climate) ความชื้นและปริมาณน้ำฝนต่ำ อากาศเย็นในฤดูหนาว
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลยูนนาน
มณฑลยูนนาน หรือที่คนจีนเรียกสั้น ๆ ว่า “เตียน” (Dian) ซึ่งเป็นชื่อของทะเสสาบในนครคุนหมิง ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นมณฑลเขตชั้นในที่ไม่มีทางออกทะเล
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลชิงไห่
มณฑลชิงไห่ หรือมีความหมายเป็นภาษาไทยว่า "ทะเลสีเขียว" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามชื่อทะเลสาบน้ำเค็มฉาร์ฮั่น (Qarhan) ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนและใหญ่ที่สุดในโลก ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาและหุบเขา มีที่ราบแอ่งกะทะอยู่ตอนกลางของมณฑลคือ ที่ราบแอ่งกะทะไฉต๋ามู่ (Qaidamu)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
เขตปกครองตนเองซินเจียง
เขตการปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน เป็นเขตที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ วัฒนธรรมท้องถิ่นของซินเจียงยังมีภาษาและวรรณคดีของชาวอุยเกอร์ ที่เป็นภาษาที่ยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งภาษาท้องถิ่นนี้ยังปรากฏในบทกวี ดนตรีและการเต้นรำของชนชาติดังกล่าวในปัจจุบัน
ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลรายมณฑล
มณฑลเจ้อเจียง
ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนและทางใต้ของสามเหลี่ยมแม่น้ำฉางเจียง มีพื้นที่ทั้งหมด 101,800 ตารางกิโลเมตร มณฑลเจ้อเจียงมีชายฝั่งทะเลที่ยาวที่สุดในประเทศ 6,486 กิโลเมตร และเป็นมณฑลที่มีเกาะมากที่สุดในประเทศ มีพื้นที่สามารถเพาะพันธุ์สัตว์ทะเลน้ำตื้นได้กว่า 400 ตารางกิโลเมตร
ดูข้อมูลเพิ่มเติม