ANHUI
มณฑลอานฮุยข้อมูลพื้นฐาน
เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรษฐกิจ
การคมนาคมและโลจิสติกส์
เศรษฐกิจ
1. ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง / ขนาดพื้นที่
มณฑลอานฮุยตั้งอยู่บนพื้นที่เขตทิศตะวันออกของประเทศจีน ทางทิศตะวันออกติดกับมณฑลเจียงซูและมณฑลเจ้อเจียง ทิศตะวันตกติดกับมณฑลหูเป่ยและมณฑลเหอหนาน ทิศใต้ติดกับมณฑลเจียงซี ทิศเหนือติดกับมณฑลซานตง ซึ่งใกล้บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียงและแม่น้ำหวยเหอ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 139,600 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 1.45ของพื้นที่ประเทศจีน
ข้อมูลประชากร
มณฑลอานฮุยมีจำนวนประชากรประมาณ 69.020 ล้านคน โดยได้ชื่อว่าเป็นมณฑลที่มีความยากจนที่สุดในภาคตะวันออกของจีน ด้วยเหตุนี้จึงมีแรงงานไหลออกจากมณฑลอานฮุยไปทำงานที่มณฑลใกล้เคียง เช่น งานก่อสร้าง และงานที่ใช้แรงงานอื่นๆ เป็นต้น
ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม
มณฑลอานฮุยก่อตั้งขึ้นในสมัยจักรพรรดิคังซีครองราชย์ปีที่ 6 แห่งราชวงศ์ชิง (ปี ค.ศ. 1667) เนื่องจากเดิมเป็นที่ตั้งของเมืองหว่านและภูเขาหว่านในประวัติศาสตร์ ดังนั้นอานฮุยจึงมีชื่อย่อว่า “ หว่าน(皖)”
สมัยจักรพรรดิจูหยวนจางแห่งราชวงค์หมิง (ปี ค.ศ. 1667) มณฑลอานฮุยได้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางเพราะอยู่ใกล้นครนานกิงซึ่ง เป็นเมืองหลวงในขณะนั้น เนื่องจากจักรพรรดิจูหยวนจางเป็นคนอานฮุยเมืองเฟิ่งหยาง จักรพรรดิจึงมีพระประสงค์ย้ายเมืองหลวงมาที่เฟิ่งหยางแต่ต่อมามีความจำเป็น ที่ทำให้ต้องล้มเลิกความคิดดังกล่าวในช่วงที่สร้างสุสานและกำแพงเมืองแล้ว เสร็จส่วนหนึ่ง
สมัยก่อนที่จะเป็นสาธารณรัฐจีน ทางตอนใต้ของมณฑลอานฮุยเป็นที่ตั้งเสบียงและกองกำลังทหารไท่ผิงเทียนกัว ซึ่งทำสงครามกับราชวงศ์ชิงในขณะนั้น ทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นล้มตายเป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจและวัฒนธรรมถูกทำลาย หลังจากสงครามสิ้นสุดชาวมณฑลเหอหนานและหูเป่ยได้ย้ายเข้ามาอยู่อาศัย จึงทำให้ลักษณะวัฒนธรรมและความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไป
สมัยสาธารณรัฐ ปี ค.ศ.1946 รัฐบาลได้ย้ายเมืองเอกของมณฑลไปยังเมืองเหอเฝยและเป็นเมืองเอกจนถึงปัจจุบัน
มณฑลอานฮุยเป็นบ้านเกิดของประธานาธิบดีหูจิ่นเทา โดยบรรพบุรุษของประธานาธิบดีหูจิ่นเทาเคยเป็นเจ้าของธุรกิจค้าขายใบชาที่ร่ำรวยประจำมณฑลอัาฮุยนี้ด้วย
ทรัพยากรสำคัญ
ที่ดินในมณฑลอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตร มีปริมาณน้ำ 71,700ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 57,400 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ป่ารวม 36,000 ตารางกิโลเมตร มีพันธุ์พืชต่างๆ รวม 300 ชนิด และสมุนไพรอีกกว่า 2,100 ชนิด
มณฑลอานฮุยมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก โดยมีปริมาณของแร่ทองแดง โลหะ ซัลเฟอร์ หินปูนขาว และถ่านหิน ในลำดับต้นของประเทศ จัดเป็นหนึ่งในแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศจีน
มณฑลอานฮุยยังเป็นแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรปลอดสารพิษและปลอดสารเคมี ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น ธัญพืช น้ำมัน ฝ้าย ใบชา ใบยาสูบ พืชสมุนไพร เป็นต้น โดยปริมาณการผลิตจัดอยู่ในลำดับต้นของประเทศด้วยเช่นกัน
สภาพภูมิอากาศ
มณฑลอานฮุยตั้งอยู่ในเขตมรสุมร้อนเอเชียเหนือ แบ่งเป็น 4 ฤดุกาล คือ ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงระยะเวลาค่อนข้างสั้น ในขณะที่ฤดูหนาวและฤดูร้อนค่อนข้างยาว เฉลี่ยอุณหภูมิตลอดทั้งปี 14-17 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุด 27.1 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 3.8 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 800-1800 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนสูงถึง 636.8 มิลลิเมตรในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
2. ข้อมูลด้านการปกครอง
การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง
มณฑลอานฮุยประกอบด้วยเมืองทั้งสิ้น 17 เมือง คือ นครเหอเฝย หวายเป่ย สู้โจว ป๋อโจว ป้างปู้ ฟู่หยาง หวายหนาน ฉูโจว ลิ่วอัน หม่าอันซาน ฉาวหู อู๋หู ซวนเฉิง ถงหลิ่ง ฉื่อโจว อันชิ่ง และหวางซาน
3.ผู้บริหารฝ่ายการเมือง
จาง เป่าซุ่น
(Mr. Zhang Baoshun – 张宝顺)
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์
รับตำแหน่ง : มิถุนายน ค.ศ. 2010
ประธานสภาผู้แทนประชาชน
รับตำแหน่ง : มกราคม ค.ศ. 2012
หลี่ ปิน
(Miss. Li Bin – 李学勇)
ผู้ว่าราชการมณฑล
รับตำแหน่ง : กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012
หวัง หมิงฟาง
(Mr. Wang Mingfang – 王明方 )
ประธานสภาที่ปรึกษาการเมือง
รับตำแหน่ง : มกราคม ค.ศ. 2011
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลอานฮุยได้ที่ http://www.ah.gov.cn/
เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ
เมืองสำคัญ
1. นครเหอเฝย(合肥)
มีพื้นที่ 11,408 ตร.กม. เป็นเมืองเอกซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของมณฑลอานฮุย โดยเป็นทั้งศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเงิน และการคมนาคมที่สำคัญของมณฑล ตลอดจนเป็นบ้านเกิดของเปาบุ้นจิ้นอีกด้วย
นครเหอเฝยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอะไหล่รถยนต์ และมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่โดดเด่น อาทิ อุตสาหกรรมข้อมูล IT / พลังงานใหม่ / การผลิตอุปกรณ์ชั้นสูง / ยาชีวภาพ ซึ่งล้วนมีศักยภาพระดับแนวหน้าของมณฑล
2. เมืองอู๋หู(芜湖)
มีพื้นที่ 5,988 ตร.กม. เป็นเมืองอันดับ 2 ของอานฮุย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑล โดยเป็นที่ตั้งของฐานอุตสาหกรรมสำคัญ อาทิ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีไฟฟ้า LED อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และอะไหล่ยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล และอุตสาหกรรมวัสดุใหม่ เป็นต้น
3. เมืองหวยหนาน(淮南)
มีพื้นที่ 2,596 ตร.กม. ตั้งอยู่ภาคกลางค่อนไปทางเหนือของมณฑลอานฮุย โดยเมืองหวยหนานเป็นฐานอุตสาหกรรมที่สำคัญของมณฑล อาทิ อุตสาหกรรมเคมี การแปรรูปกระจก ยาชีวภาพ และอะไหล่ยนต์ เป็นต้น
4. เมืองหม่าอานซาน(马鞍山)
มีพื้นที่ 4,042 ตร.กม. ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมณฑลอานฮุย โดยเป็นเมืองอุตสาหกรรมหนักที่สำคัญของมณฑล อาทิ ฐานอุตสาหกรรมเหล็กกล้า วัสดุก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล เป็นต้น
5. เมืองหวงซาน(黄山)
มีพื้นที่ 9,807 ตร.กม. ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลอานฮุย เป็นเมืองที่มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากที่สุดในมณฑล โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก คือ ภูเขาหวงซาน
เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ
1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเมืองเหอเฝย (National Hefei Economic & Technological Development Area)
อนุมัติก่อตั้งเมื่อปี 2543 มีพื้นที่รวม 66 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นโซนอุตสาหกรรมด้านทิศตะวันออก ภายในประกอบด้วยเขตอุตสาหกรรมส่วนกลางและเขตอุตสาหกรรมทางทิศใต้ และโซนธุรกิจและวัฒนธรรมด้านทิศตะวันตก ภายในประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเหอเฝย เขตศูนย์ข้อมูลธุรกิจระหว่างประเทศ เขตชุมชนนานาชาติ เป็นต้น มีอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
2. เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงสมัยใหม่เมือง เหอเฝย
ในปี 2534 อนุมัติก่อตั้งขึ้นเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง สมัยใหม่แห่งแรกของมณฑลอันฮุยเมื่อ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 11 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันดึงดูดโครงการลงทุนในท้องถิ่นและต่างชาติรวมกว่า 800 โครงการมีบริษัทต่างชาติเข้ามาจัดตั้งบริษัทภายในเขตรวมกว่า 100 บริษัท จาก 20 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศษ ฮ่องกง ไต้หวัน เป็นต้น รวมทั้ง 10 กว่าบริษัทจาก 500 บริษัทข้ามชาติระดับโลก
ปัจจุบัน เขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงสมัยใหม่เมืองเหอเฝยได้พัฒนากลายเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมประเภท เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมชีวภาพ แผงวงจรรวม ยาชนิดใหม่และวัสดุชนิดใหม่
3. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเมืองอู๋หู (Wuhu Economic & Technological Development Area)
อนุมัติก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2536 ปัจจุบันมีเนื้อที่ 68.121 ตร.กม. จัดเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีระดับประเทศแห่งเดียวในพื้นที่แถบภาคตะวันตกตอนกลางที่ไม่ได้ก่อตั้งในเมืองหลวงของมณฑล หลังจากได้รับการพัฒนา 10 กว่าปี เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเมืองอู๋หูได้กลายเป็นประตูดึงดูดบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมืองอู๋หู
เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเมืองอู๋หูเป็นที่ตั้งของบริษัทยานยนต์ Chery Automobile ผู้ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กรายใหญ่ในมณฑลอานฮุยและส่งออกจำหน่ายรถยนต์มากเป็นอันดับแรกของประเทศจีน ภายในเขตฯ เป็นฐานประกอบอุตสาหกรรมประเภท รถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องจักรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมวัสดุชนิดใหม่
4. เขตแปรรูปส่งออกอู๋หู (Wuhu Export Processing Zone)
อนุมัติก่อตั้งเมื่อปี 2545 มีเนื้อที่ทั้งหมด 95.2 ตร.กม. ตั้งอยู่ภายในบริเวณเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเมืองอู๋หู ภายในมีสำนักงานศุลกากร สำนักงานตรวจสอบสินค้า ธนาคาร บริษัทขนส่ง พื้นที่คลังเก็บสินค้า ที่อำนวยความสะดวกต่อการนำเข้าและส่งออกสินค้า
เศรษฐกิจ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑล
1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)
- ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการดำเนินนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ภายในพื้นที่
- เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจ และรักษาระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วอย่างต่อเนื่อง โดยกระตุ้นให้ GDP ปี ค.ศ. 2015 สูงเป็น 1 เท่าของ GDP ปี ค.ศ. 2010 และดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญมีอัตราการเติบโตสูงเป็นอันดับแนวหน้าในพื้นที่ภาคกลางของจีน
- ลดระดับความแตกต่างระหว่าง GDP ต่อหัวประชากรของมณฑลกับค่าเฉลี่ย GDP ต่อหัวประชากรทั่วทั้งจีน โดยกระตุ้นให้ GDP ต่อหัวประชากรในพื้นที่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง (นครเหอเฝย เมืองอู๋หู เมืองหม่าอานซาน เมืองถงหลิง เมืองอานชิง เมืองฉือโจว ฯลฯ) สูงกว่าค่าเฉลี่ย GDP ต่อหัวประชากรทั่วทั้งจีน
- บ่มเพาะอุตสาหกรรมใหม่เชิงกลยุทธ์ที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งจะพยายามกระตุ้นให้มูลค่าการผลิตของอุตสาหกรรมใหม่เชิงกลยุทธ์ในปี ค.ศ. 2015 ทะลุยอด 1 ล้านล้านหยวน โดยบางสาขาอุตสาหกรรมที่มีสถานะอยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ
- กระตุ้นให้มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมใหม่เชิงกลยุทธ์และอุตสาหกรรมบริการเพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 2010 จำนวน 1 เท่า
- พยายามกระตุ้นให้รายได้ประชากรเขตเมืองและเขตชนบทในปี ค.ศ. 2015 เพิ่มสูงกว่าปี ค.ศ. 2010 จำนวน 1 เท่า
- กระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมภาคบริการ ด้วยการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2013
- กระตุ้นให้ GDP มีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 10
- ส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า/เครื่องจักรกล และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง พร้อมทั้งสนับสนุนการนำเข้าอุปกรณ์เทคโนโลยีทันสมัย โดยกระตุ้นให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 15
- เพิ่มมูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินถาวรให้มากกว่าปีก่อนหน้าร้อยละ 20 ขึ้นไป โดยมีโครงการลงทุนใหม่ (มูลค่ามากกว่า 100 ล้านหยวน) ไม่ตำกว่า 1,300 โครงการ
- เร่งการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมการเกษตรสมัยใหม่ โดยพยายามกระตุ้นให้มูลค่าการผลิตของอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรสูงถึง 650,000 ล้านหยวน
- ควบคุมให้อัตราการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.5
- ควบคุมให้อัตราการว่างงาน (ที่ลงทะเบียน) ไม่เกินร้อยละ 4.5 พร้อมทั้งเพิ่มตำแหน่งงานใหม่ในพื้นที่เขตเมือง 600,000 ล้านอัตรา
- กระตุ้นให้รายได้ประชากรเขตเมืองและเขตชนบทมีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 12.5 และร้อยละ 13 ตามลำดับ
ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ
- เป็นหนึ่งในมณฑลเกษตรกรรมขนาดใหญ่ของจีน
- เป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญของจีน และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์มากเป็นอันดับที่ 1 ของจีน
- ปริมาณการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนสูงอยู่ในระดับแนวหน้าของจีน โดยผลิตตู้เย็นมากเป็นอันดับที่ 1 ของจีน
- เป็นมณฑลที่มีปริมาณนำเข้าละครทีวีไทยมาฉายมากเป็นอันดับที่ 1 ของจีน
นโยบายส่งเสริมการลงทุน
รัฐบาลมณฑลอานฮุยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์สำหรับส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ 8 สาขา ได้แก่
- อุตสาหกรรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เน้นการพัฒนาจอภาพ LED รูปแบบใหม่ / วงจรรวม (IC) / ซอฟท์แวร์ / Next Generation Network / อุปกรณ์ Internet of things และ Cloud-computing เป็นต้น
- อุตสาหกรรมประหยัดพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการใช้พลังงานแบบบูรณาการ
- อุตสาหกรรมวัสดุใหม่ เน้นการพัฒนาวัสุใหม่ด้าน Copper-based / Iron-based / Silicon-based / วัสดุนาโนเมตร / วัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมชีวภาพ เน้นการพัฒนาการผลิตยาชีวภาพ ยาจีนสมัยใหม่ และการเกษตรชีวภาพ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ เน้นการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ (Photo Voltaic : PV) พลังงานชีวมวล และถ่านหินสะอาด เป็นต้น
- อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ไฮเทค เน้นการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับผลิตอิเล็กทรอนิกส์และวงจร IC / จอแบนแสดงผล / อุปกรณ์เทคโนโลยีครบชุดขนาดใหญ่ในด้านต่างๆ อาทิ ด้านพลังงาน ด้านการขุดเหมืองแร่ ด้านการหลอมโลหะ และด้านการคมนาคม เป็นต้น
- อุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานใหม่ เน้นพัฒนาระบบควบคุมยานยนต์ด้วยพลังงานไฟฟ้า และแบตเตอร์รี่ไฟฟ้า เป็นต้น
- อุตสาหกรรมความปลอดภัยสำหรับสาธารณะ เน้นพัฒนาระบบความปลอดภัยในด้านโทรคมนาคม ความปลัดภัยในการผลิต และความปลอดภัยในอาหาร
ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ ปี 2014
1. ตัวเลขสถิติภาพรวม
1.1 GDP / สัดส่วนทางอุตสาหกรรม
GDP รวม 2,084,880 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2
– มูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมที่ 1 (เกษตรกรรม) 239,240 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6
– มูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมที่ 2 (อุตสาหกรรม) 1,120,400 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
– มูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมที่ 3 (บริการ) 725,240 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8
GDP ต่อหัวประชากร 34,427 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 สัดส่วนอุตสาหกรรม (เกษตรกรรม : อุตสาหกรรม : บริการ) 11.5 : 53.7 : 34.8 (สัดส่วนปี 2556 12.3 : 54.6 : 33.1 )
1.2 สถิติภาคเกษตรกรรม
ผลผลิตทางเกษตรกรรม 34.15 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2
1.3 สถิติภาคอุตสาหกรรม
มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 958,140 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8
1.4 สถิติภาคบริการ
ปริมาณการหมุนเวียนสินค้าและผู้โดยสารของมณฑลอานฮุย ปี 2557
รายการ |
หน่วย |
จำนวน |
เปรียบเทียบกับ ปี 2556 |
ปริมาณหมุนเวียนสินค้า
– ทางรถไฟ – ทางถนน – ทางน้ำ |
ล้านตัน-กิโลเมตร |
1,400,000 80,000 1,310,000 178,000 |
10.1 % 10.5 % 10.0 % 16.1 % |
ปริมาณหมุนเวียนผู้โดยสาร
– ทางรถไฟ – ทางถนน – ทางน้ำ (ทะเล/แม่น้ำ) |
ล้านคน-กิโลเมตร |
1,416,700 61,700 79,940 3,000 |
10.1 % 11.8 % 8.9 % 6.8 % |
1.5 สถิติทางคุณภาพชีวิตประชาชน
จำนวนประชากรและจำนวนแรงงานของมณฑลอานฮุย ปี 2557
รายการ |
หน่วย |
จำนวน(ล้านคน) |
เปรียบเทียบกับ |
จำนวนประชากรที่พักอยู่ประจำ
– เขตเมือง – เขตชนบท |
ล้านคน |
60.82 49.2% 50.8% |
53,000 29,897 30,932 |
จำนวนแรงงานทั้งหมด
– แรงงานในภาคเกษตรกรรม – แรงงานในภาคอุตสาหกรรม – แรงงานในภาคบริการ |
ล้านคน |
43.11 14.15 12.11 16.84 |
1.23% – 3.84 % 3.45 % 2.82 % |
อัตราการว่างงาน (ตามที่ลงทะเบียน) |
– |
– |
3.20 % |
รายได้และรายจ่ายของประชาชนในมณฑลอานฮุย ปี 2556
รายการ |
หน่วย |
จำนวน |
เปรียบเทียบกับ ปี 2555 |
รายได้เฉลี่ยของประชาชนเขตเมือง
รายจ่ายเฉลี่ยของประชาชนเขตเมือง |
หยวน / ปี / คน |
24,839 16,107 |
9.0 % 10.4 % |
รายได้เฉลี่ยของประชาชนเขตชนบท
รายจ่ายเฉลี่ยของประชาชนเขตชนบท |
หยวน / ปี / คน |
9,916 7,981 |
12.0 % 10.8 % |
2. ตัวเลขสถิติการค้า
2.1 การค้าภายในประเทศ
ตัวเลขดัชนีราคาสินค้าของมณฑลอานฮุย ปี 2557
รายการ |
เปรียบเทียบกับ ปี 2556 |
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
– อาหาร – เครื่องนุ่งห่ม/เครื่องแต่งกาย – บุหรี่/สุรา – อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในครัวเรือนและบริการซ่อมบำรุง – ของใช้ส่วนตัว/ของใช้ด้านการบำรุงสุขภาพและการรักษาพยาบาล – การคมนาคม/การสื่อสาร – ของใช้/บริการด้านวัฒนธรรม การศึกษาและการบันเทิง – ที่อยู่อาศัย |
1.6 % 2.5 % 1.0 % – 2.5 % 1.3% 1.6 % – 0.8 % 2.4 % 2.0 % |
มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคของมณฑลอานฮุย ปี 2556
รายการ |
มูลค่า (ล้านหยวน) |
เปรียบเทียบกับ ปี 2555 |
มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมด
(แบ่งยอดตามพื้นที่) – พื้นที่เขตเมือง – พื้นที่เขตชนบท |
732,080 600,290 131,790 |
13.0 % 12.9 % 13.1 % |
(แบ่งตามประเภทสินค้า)
– รถยนต์ – น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง – สินค้าในชีวิตประจำวัน – เสื้อผ้า / เครื่องแต่งกาย / สิ่งทอ – เครื่องสำอาง – ผลิตภัณฑ์ยา – เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน – เฟอร์นิเจอร์ – เนื้อสัตว์ – วัสดุก่อสร้าง |
– – – – – – – – – – |
11.0% 6.5 % 8.4% 11.0 % 13.9 % 10.7% 10.5 % 25.1 % 15.5 % 19.6 % |
2.2 การค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 49,270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2
– มูลค่าการนำเข้า 17,780 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3
– มูลค่าการส่งออก 31,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5
2.3 การค้ากับประเทศไทย
สินค้านำเข้าจากไทยที่สำคัญ ได้แก่ ผัก ยาง เครื่องจักรกล อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกไปไทยที่สำคัญ ได้แก่ ทองแดง เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์อินทรีย์ พลาสติก
3. ตัวเลขสถิติการลงทุน
3.1 การลงทุนภายในประเทศ
มูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินถาวร 2,125,630 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5
– การลงทุนในอุตสาหกรรมที่ 1 (เกษตรกรรม) 54,200 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2
– การลงทุนในอุตสาหกรรมที่ 2 (อุสาหกรรม) 941,780 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9
– การลงทุนในอุตสาหกรรมที่ 3 (บริการ) 1,129,650 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7
มูลค่าการลงทุนบุกเบิกพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 433,900 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
งบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนา (R&D) 40,870 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 (สัดส่วนร้อยละ 1.96 ของ GDP ทั้งหมด)
3.2 การลงทุนระหว่างประเทศ
– การลงทุนในต่างประเทศ (ODI) อนุมัติวิสาหกิจ/องค์กรออกไปลงทุนในต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าการลงทุนตามจริงรวม 794.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 16.9 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 4.1
– การลงทุนของต่างชาติในพื้นที่ (FDI) อนุมัติวิสหากิจต่างชาติเข้ามาลงทุนคิดเป็นมูลค่าลงทุนโดยตรงจากต่างชาติตามจริงจำนวน 26,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 32
4. ตัวเลขสถิติภาคบริการ / การท่องเที่ยว
4.1 การท่องเที่ยวในประเทศ
จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในอานฮุย 405 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 รายได้การท่องเที่ยว 330,970 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0
4.2 การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ
จำนวนนักท่องเที่ยวนอกจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาท่องเที่ยวในอานฮุย 232.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1
รายได้การท่องเที่ยว 1,960 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2
ข้อมูลอ้างอิง :
[1]本公报数据为初步统计数。
[2]生产总值及各产业增加值绝对数按现价计算,增长速度按可比价格计算。
[3]民营经济统计的范围为集体经济(不包括第一产业中的集体经济)、私营经济、港澳台经济和个体经济。
[4]国家统计局对三次产业和行业实行相对分离的划分标准,第一产业指农林牧渔业(不含农林牧渔服务业),第二产业指工业(不含开采辅助活动,金属制品、机械和设备修理业)和建筑业,第三产业指除第一产业、第二产业以外的其他行业。
[5][6]2011年国家统计制度改革,规模以上工业统计范围为年主营业务收入2000万元及以上的企业,固定资产投资统计范围为计划总投资500万元及以上项目和房地产。
[7]交通运输部根据交通运输行业专项调查,对我省2013年公路与水路的客、货运量数据进行了调整。
[8]恩格尔系数是指居民食品消费支出占全部消费性支出的比重。
[9]天地图数据2014年更新的是文字附注数据,2013年为影像数据,记录格式不同,数据量与上年相差较大。
[10]2014年社会服务机构仅指有组织机构代码证的机构。(安徽省统计局)