FIGURE & PUBLICATION

ข้อมูลและสื่อ

เขตเศรษฐกิจ
ตงเป่ย

ข้อมูลทั่วไป

เขตเศรษฐกิจตงเป่ย (เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ตั้งอยู่ที่จุดเชื่อมระหว่างจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยมณฑลเหลียวหนิง มณฑลจี๋หลิน มณฑลเฮยหลงเจียง และภาคตะวันออกของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (เมืองฮูหลุนเป้ยเอ่อ เมืองซินอัน เมืองทงเหลียว เมืองชื่อเฟิงและเมืองซีหลินเกอเร่อ) มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1.45 ล้านตารางกิโลเมตร เทียบเท่ากับสัดส่วนร้อยละ 15 ของจีน และมีประชากรประมาณ 120 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9 ของจีน

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ

เขตเศรษฐกิจตงเป่ยเป็นแหล่งกำเนิดอุตสาหกรรมของจีน ปัจจุบันเป็นฐานอุตสาหกรรมเก่าของจีนโดยมีโครงสร้างอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์แบบ และยังเป็นแหล่งพลังงาน เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์ไม้ และอาหารของจีน สถานที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจตงเป่ยใกล้ชิดกับประเทศรัสเซีย มองโกเลีย เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และญี่ปุ่น นับว่าเป็นหน้าต่างของจีนสู่เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

สถิติทางเศรษฐกิจของแต่ละมณฑลในเขตเศรษฐกิจตงเป่ย ปี 2556

มณฑลลำดับ GDPGDP ล้านหยวนอัตราเติบโตCPIรายได้ต่อหัว
(เขตเมือง)/หยวน
รายได้ต่อหัว
(เขตขนบท)/หยวน
เหลียวหนิง72,480,1009.50%2.80%23,2239,384
มองโกเลียใน151,598,80011.70%3.10%23,1507,611
เฮยหลงเจียง171,369,20010.00%3.20%17,7608,604
จี๋หลิน221,193,80012.00%2.50%20,2088,598

การคมนาคมและโลจิสติกส์

เขตเศรษฐกิจตงเป่ยมีเส้นทางรถไฟ 16,886 กิโลกเมตร หลังจากจีนเปิดใช้บริการเส้นทางรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง – ฮาร์บิน และ เสิ่นหยวน – ต้าเหลียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงของจีน โดยสามารถไปถึงจีนภาคเหนือและภาคตะวันออกอย่างสะดวก สนามบินที่สำคัญประจำภูมิภาคได้แก่ สนามบินต้าเลียนและสนามบินเสิ่นหยาง นอกจากนี้ เขตเศรษฐกิจตงเป่ยยังมีท่าเรือสำคัญของจีน อาทิ ท่าเรือต้าเหลียน (อันดับที่ 9 ของจีน) และท่าเรือหยิงโข่ว (อันดับที่ 10 ของจีน)

เป้าหมายในการพัฒนา

– เมื่อปี 2552 คณะรัฐมนตรีจีนได้ประกาศ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับยุทศาสตร์การฟื้นฟูฐานอุตสาหกรรมเก่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจีนจะใช้ระยะเวลา 10 – 15 ปี เพื่อสร้างภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นฐานการผลิตอุปกรณ์เครื่องจักรกล ฐานผลิตพลังงานใหม่และวัสดุใหม่ ฐานการผลิตทางการเกษตร ฐานการวิยจัย พัฒนา และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญประจำภูมิภาคแห่งที่ 4 ต่อจาก เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง และเขตเศรษฐกิจโป๋ไห่

สาขาอุตสาหกรรมที่ส่งสริม

– อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อาทิ เครื่องจักรกลแปลงไฟฟ้า รถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ การต่อเรือ อุปกรณ์รางรถไฟ เป็นต้น

– อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง อาทิ เทคโนโลยีสารสนเทศ ฐานผลิตและส่งออก software เมืองต้าเลียน นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น

– อุตสาหกรรมพลังงาน อาทิ ถ่านหิน น้ำมัน และพลังงานสะอาด

– อุตสาหกรรมภาคบริการ อาทิ การท่องเที่ยวหิมะและน้ำแข็ง การถ่ายทำภาพยนตร์และลครโทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์อะนิเมชั่น

– อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยจะสร้างเมืองต้าเหลี่ยนเป็นศูนย์กระจายสินค้าระดับสากล และสร้างนครเสิ่นหยาง นครฉางชุน นครฮาร์บิน และเมืองทงเลียวเป็นศูนย์กระจายสินค้าประจำภูมิภาค

เขตเศรษฐกิจ
โป๋ไห่

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ของเขตเศรษฐกิจโป๋ไห่ (Bohai Economic Rim) ประกอบด้วยกรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน มณฑลเหลียวหนิง มณฑลเหอเป่ย มณฑลซานซี มณฑลซานตง และภาคกลางของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน โดยสามารถแบ่งเป็น 3 เขตเศรษฐกิจย่อย ได้แก่ เขตเศรษฐกิจปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ย เขตเศรษฐกิจคาบสมุทรซานตง และเขตเศรษฐกิจคาบสมุทรเหลียวตง ซึ่งรวมถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจในอ่าวทะเลโป๋ไห่ทั้งหมดและพื้นที่ที่กระจายตามชายทะเลหวงไห่บางส่วน เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1.12 ล้านตารางกิโลเมตร ประชากรรวม 260 ล้านคน โดยในเขตเศรษฐกิจโป๋ไห่มี 157 เมือง ถือเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของเมืองทั้งหมดของจีน ส่วนเมืองที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 1 ล้านคน มีอยู่ 13 เมือง

สถานที่ตั้ง

เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของวงแหวนเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทิศใต้เชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปาก แม่น้ำจูเจียง เมืองฮ่องกงและมาเก๊า และประเทศอาเซียน ทิศตะวันออกสามารถไปยังประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่นได้อย่างสะดวก ส่วนทางทิศเหนือเชื่อมโยงกับประเทศมองโกเลียและภาคตะวันออกของรัสเซีย ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ทำให้เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่กลายเป็นพื้นที่ลงทุนใหม่ที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ

ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ

ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลจีน มณฑล/นครต่าง ๆ ในเขตเศรษฐกิจโป๋ไห่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยดัชนีเศรษฐกิจหลัก ๆ เช่น มูลค่า GDP การลงทุน การบริโภค และการค้าระหว่างประเทศต่างครองสัดส่วนประมาณร้อยละ 25 ของทั้งประเทศจีน ปัจจุบัน เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่ได้กลายเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคเหนือจีน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “ขั้วความเจริญ” (Growth Pole) แห่งที่ 3 ของเศรษฐกิจจีน ซึ่งอีก 2 แห่ง ได้แก่ เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง และเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง

ทรัพยากร

เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางทะเล เหมืองแร่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน การท่องเที่ยว และยังเป็นฐานผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของจีน โดยมีที่ดินสำหรับเพาะปลูก สัดส่วน 1 ใน 4 ของจีน และสามารถผลิตธัญญาหารมากกว่าร้อยละ 23 ของจีน

อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่เป็นเขตชุมชนอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของจีน เป็นฐานอุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมหลักของจีน มีความได้เปรียบด้านทรัพยากร บุคลากร เทคโนโลยี และการตลาด โดยจำนวนบุคลากรด้านเทคโนโลยีในสถาบันวิจัยเทคโนโลยีและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของกรุงปักกิ่งและนครเทียนจิน ได้ครองสัดส่วนร้อยละ 25 ของจีน ซึ่งความได้เปรียบดังกล่าวเป็นแรงดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุน

กลุ่มเมืองสำคัญต่าง ๆ

เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่ได้กำหนดให้กรุงปักกิ่งและนครเทียนจินเป็นศูนย์กลางของเขตฯ ยื่นขยายออกไปถึงเมืองชายฝั่งทะเล เช่นเมืองต้าเหลียน ชิงเต่า เยนไถ และฉินหวงเต่า เป็นต้น โดยมีเมืองเอกอย่างเมืองจี่หนาน เสิ่นหยาง ไท่หยวน สือเจียจวงเป็นจุดรองรับการพัฒนาของภูมิภาค ทำให้เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่กลายเป็นเขตที่มีอิทธิพลมากที่สุดในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศของภาคเหนือจีน นอกจากนี้ ภายใต้แนวโน้มที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับสากลกำลังโอนย้ายไปสู่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะเป็นการเพิ่มศักยภาพอันยิ่งใหญ่ให้กับเขตเศรษฐกิจโป๋ไห่ด้วย

การคมนาคมและโลจิสติกส์

เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่มีระบบการขนส่งที่ทันสมัย เป็น 1 ในจุดศูนย์กลางของระบบเครือข่ายการขนส่งทางทะเล ทางอากาศและทางบกของจีน และเป็นประตูสู่ตลาดต่างประเทศของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือและภาคเหนือจีนโดยมีท่าเรือกว่า 40 แห่ง

เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายรถไฟจีน มีเส้นทางรถไฟสำคัญหลายสายแล่นผ่านเขตนี้ อาทิ เส้นทางต้าถง-ฉินหวงเต่า เส้นทางฉือเจียจวง-ไท่หยวน ฉือเจียจวง-เต๋อโจว-เจียวโจว-จี่หนาน เส้นทางหานฉาง-หานจี่ เส้นทางโหวยุ่ย-ซินยุ่ย-ซินเหอ-เหอหย่ง ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งถ่านหิน นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางทิศเหนือ-ใต้สำคัญ อาทิ ปักกิ่ง-ซานไห่กวน-เสิ่นหยาง-ต้าเหลียน- ฮาร์บิน เส้นทางปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ เส้นทางปักกิ่ง-กว่างโจวเป็นต้น เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่มีระยะเส้นทางรถไฟทั้งสิ้น 21,543 กิโลเมตร ครองสัดส่วนร้อยละ 30 ของระยะเส้นทางรถไฟทั้งหมดของจีน มีกำลังการขนส่งสินค้าสูงมาก และกำลังพัฒนารถไฟความเร็วสูงอย่างเต็มที่ ปัจจุบันมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เปิดให้บริการได้แก่ เส้นทางปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง-กว่างโจว ปักกิ่ง-ฮาร์บิน ปักกิ่ง-เทียนจิน-ฉินหวงเต่า เป็นต้น

การเปรียบเทียบกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ

เมื่อเปรียบเทียบกับเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง และเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่ยังมีความล้าหลังไม่น้อย โดยจะเห็นได้จากรายละเอียด ดังนี้

ด้านสิ่งแวดล้อมในการประกอบธุรกิจ

การแทรกแซงของรัฐบาลยังค่อนข้างสูง ซึ่งส่งผลให้สภาพการแข่งขันทางธุรกิจไม่เป็นไปตามกลไกตลาด นอกจากนี้ ยังขาดการสร้างสรรค์ในระบบการบริหาร

ด้านโครงสร้างบริษัท

เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่มีรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่จำนวนมาก แต่มีบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนน้อย ซึ่งส่งผลให้ขาดแคลนการแข่งขันระหว่างบริษัท

เขตเศรษฐกิจโป๋ไห่ มีนิคมอุตสาหกรรมสำคัญ 8 แห่ง

ได้แก่ หมู่บ้านไฮเทคจงกวนชุน นิคมอุตสาหกรรมอี้จวง นิคมอุตสาหกรรมหลางฟาง นิคมอุตสาหกรรมอู่ชิง นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคเทียนจิน นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคทางทะเลถางกู นิคมอุตสาหกรรมเทียนจิน เขตสินค้าทัณฑ์บนท่าเรือเทียนจิน ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่นในเขตเศรษฐกิจโป๋ไห่ ขาดความร่วมมือในการประสานงานร่วมกัน ทำให้การหมุนเวียนของเงินทุน บุคลากร และเทคโนโลยีระหว่างกันไม่ราบรื่นเท่าที่ควร

เขตเศรษฐกิจ
สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง

ข้อมูลทั่วไป

“เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง” คือ ที่ราบลุ่มกว้างใหญ่บริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง ที่ไหลออกสู่ทะเล ซึ่งนับว่าป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของจีนและมีอิทธิพลไปทั่วประเทศ จนได้รับยกย่องว่าเป็น “สามเหลี่ยมทองคำ” ของจีน ด้วยความได้เปรียบทางที่ตั้งภูมิศาสตร์ กอปรกับศักยภาพทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นของ 30 เมืองในพื้นที่ โดยมีนครเซี่ยงไฮ้ นครหนางจิง และนครหางโจวเป็นแกนนำสำคัญ จึงทำให้เขตพื้นที่ราบลุ่มบริเวณแห่งนี้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญระดับแนวหน้าของจีน และติดอันดับ 1 ใน 6 เขตเศรษฐกิจใหญ่ระดับโลกอีกด้วย

สถานที่ตั้ง

ทิศเหนือ : พื้นที่ตอนเหนือของมณฑลเจียงซู (เมืองสวีโจวและเมืองเหลียนหยุนกั่ง) ติดต่อกับตอนใต้ของมณฑลซานตง

ทิศใต้ : พื้นที่ตอนใต้ของมณฑลเจ้อเจียง (เมืองหลีสุ่ยและเมืองเวินโจว) ติดต่อกับตอนเหนือของมณฑลฝูเจี้ยน

ทิศตะวันออก : ชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของจีน

ทิศตะวันตก : พื้นที่ตอนกลางและตะวันออกของมณฑลอานฮุย

ขนาดพื้นที่

พื้นที่ : ประมาณ 210,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รวม 30 เมือง ได้แก่

  • นครเซี่ยงไฮ้(上海)
  • มณฑลเจียงซู 13 เมือง ได้แก่ 1. นครหนานจิง(南京) 2. เมืองซูโจว(苏州) 3. เมืองอู๋ซี(无锡)4. เมืองเจิ้นเจียง(镇江)5. เมืองฉางโจว(常州)6. เมืองหนานทง(南通)7. เมือง หยางโจว(扬州)8. เมืองไท่โจว(泰州) 9. เมือง เหยียนเฉิง(盐城) 10. เมืองหวยอาน(淮安) 11. เมืองเหลียนหยุนกั่ง(连云港) 12. เมืองสวีโจว(徐州) 13. เมืองสู้เชียน(宿迁)
  • มณฑลเจ้อเจียง 11 เมือง ได้แก่ 1. นครหางโจว(杭州)2. เมืองหนิงโป(宁波)3. เมืองเส้าซิง(绍兴)4. เมืองหูโจว(湖州)5. เมืองเจียซิง(嘉兴)6. เมืองโจวซาน(舟山)7. เมืองไทโจว(台州) 8. เมืองจินหัว(金华)9. เมืองฉวีโจว(衢州) 10. เมืองหลีสุ่ย(丽水)11. เมืองเวินโจว(温州)
  • มณฑลอานฮุย 5 เมือง ได้แก่ 1. นครเหอเฝย(合肥)2. เมืองหม่าอานซาน(马鞍山)3. เมืองอู๋หู(芜湖) 4. เมืองฉูโจว(滁州) 5. เมืองหวยหนาน(淮南)

ความเป็นมา / การพัฒนา

การก่อตั้งเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นการกระตุ้นการเติบโตทางศรษฐกิจแบบ บูรณาการ โดยกำหนดให้นครเซี่ยงไฮ้ นครหนานจิง นครหางโจว เป็นเมืองศูนย์กลาง 3 จุด และใช้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงโดยรอบ 3 เมืองดังกล่าวเป็นฐานกำลังส่งเสริมในหลากหลายด้าน อาทิ กำลังการผลิต แรงงาน และทรัพยากรต่างๆ เป็นต้น เพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลกที่มุ่งหน้าเข้าสู่จีนอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งช่วง การขยายพื้นที่สู่การเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีจำนวนสมาชิก 30 เมืองในปัจจุบันออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 : ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 8 และ 9 (ค.ศ. 1991 – 2000)

  • ช่วงเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1992 มีจำนวนเมืองสมาชิก 14 แห่ง (เซี่ยงไฮ้ / เจียงซู / เจ้อเจียง) ได้แก่
    1. นครเซี่ยงไฮ้
    2. นครหนางจิง
    3. นครหางโจว
    4. เมืองหนิงโป
    5. เมืองซูโจว
    6. เมืองอู๋ซี
    7. เมืองเจิ้นเจียง
    8. เมืองฉางโจว
    9. เมืองหนานทง
    10. เมืองหยางโจว
    11. เมืองเส้าซิง
    12. เมืองหูโจว
    13. เมืองเจียซิง
    14. เมืองโจวซาน
  • ต่อมาในปี ค.ศ. 1996 ได้เพิ่มจำนวนเมืองสมาชิกอีก 1 แห่ง ได้แก่ เมืองไท่โจว(泰州)

ระยะที่ 2 : ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 10 และ 11 (ค.ศ. 2001 – 2010)

  • ปี ค.ศ. 2005 มีจำนวนเมืองสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง ได้แก่ เมืองไทโจว(台州)
  • ปี ค.ศ. 2009 ได้เพิ่มเมืองสมาชิกอีก 6 แห่ง (นำเมืองในอานฮุยเข้าร่วมสมาชิกเป็นครั้งแรก) ได้แก่
    1. นครเหอเฝย
    2. เมืองเหยียนเฉิง
    3. เมืองหม่าอานซาน
    4. เมืองจินหัว
    5. เมืองหวยอาน
    6. เมืองฉวีโจว

ระยะที่ 3 : ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)

  • ปี ค.ศ. 2013 ได้เพิ่มเมืองสมาชิกอีก 8 แห่ง ได้แก่
    1. เมืองอู๋หู
    2. เมืองเหลียนหยุนกั่ง
    3. เมืองสวีโจว
    4. เมืองฉูโจว
    5. เมืองหวยหนาน
    6. เมืองหลีสุ่ย
    7. เมืองหลีสุ่ย
    8. เมืองเวินโจว

หมายเหตุ

  • ตัวอักษรสีแดง – นครเซี่ยงไฮ้
  • ตัวอักษรสีเขียว – เมืองในมณฑลเจียงซู
  • ตัวอักษรสีชมพู – เมืองในมณฑลเจ้อเจียง
  • ตัวอักษรสีส้ม – เมืองในมณฑลอานฮุย

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • เป็นเขตเศรษฐกิจที่มีจำนวน GDP มากที่สุดในจีน ซึ่งสูงเกือบ 12 ล้านล้านหยวนในปี ค.ศ. 2012
  • แหล่งดึงดูดทรัพยากรมนุษย์จำนวนมหาศาล โดยมีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 180 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศจีน
  • แหล่งดึงดูดเงินทุนและเทคโนโลยีจากต่างชาติที่มีความสำคัญระดับแนวหน้าของจีน โดยมีบริษัท Fortune 500 เข้าลงทุนแล้วมากกว่า 400 บริษัท
  • เป็น “ฐานการผลิต” ที่สำคัญของจีน และมีแนวโน้มก้าวขึ้นสู่ฐานะการเป็น “โรงงานระดับโลก” ที่ช่วยกระจายสินค้าไปยังนานาประเทศ
  • เป็นที่ตั้งของเขตการค้าเสรีแห่งแรกของจีน ซึ่งจะเป็นแม่แบบการเปิดกว้างสู่สากลของพื้นที่อื่นๆ ในจีน

ข้อมูลสถิติ GDP ของ 30 เมืองในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง ประจำปี ค.ศ. 2012

 เมืองGDP
(ล้านหยวน)
จำนวนประชากร 
(ล้านคน)
GDP ต่อหัว
(หยวน)
ลำดับ GDP ต่อหัว
1เซี่ยงไฮ้  上海2,010,13323.474685,6305
2ซูโจว  苏州1,201,16510.5187114,1932
3หางโจว  杭州780,3988.802088,6614
4อู๋ซี  无锡756,8156.4322117,6601
5หนานจิง  南京720,1578.109188,8083
6หนิงโป  宁波652,4707.656085,2236
7หนานทง  南通455,8677.648859,60013
8เหอเฝย  合肥416,4347.572054,99716
9สวีโจว  徐州402,0469.766641,16521
10ฉางโจว  常州396,9754.960080,0358
11เวินโจว  温州365,0069.156139,86522
12เส้าซิง  绍兴362,0105.083071,22010
13เหยียนเฉิง  盐城312,0008.206938,01724
14หยางโจว  扬州293,3204.600563,75811
15ไทโจว  台州292,7345.909549,53618
16เจียซิง  嘉兴288,4944.562763,22912
17ไท่โจว  泰州270,1675.626948,01320
18จินหัว  金华270,0125.423049,79017
19เจิ้นเจียง  镇江263,0053.134383,9127
20หวยอาน  淮安192,0915.432435,36025
21อู๋หู  芜湖187,3633.842148,76619
22หูโจว  湖州166,1972.935056,62614
23เหลียนหยุนกั่ง连云港160,3425.051831,74028
24สู้เชียน  宿迁151,6775.550527,32729
25หม่าอานซาน 马鞍山123,2002.187756,31515
26ฉวีโจว  衢州98,2752.525538,91323
27ฉูโจว  滁州97,0703.938024,65030
28หลีสุ่ย  丽水88,5172.613233,87326
29โจวซาน  舟山85,1951.137074,9309
30หวยหนาน  淮南78,1802.334033,49627
 ยอดรวม11,937,300184.1964,810

จัดทำโดย ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ 
ข้อมูลอ้างอิง : 1) เว็บไซต์สารานุกรมไป่ตู้ http://baike.baidu.com 2) เว็บไซต์คลังข้อมูลไป่ตู้ http://wenku.baidu.com 

เขตเศรษฐกิจ
สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (PRD)

ข้อมูลทั่วไป

เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ 9 เมือง ในมณฑลกวางตุ้งแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำจูเจียง ประกอบด้วย นครกว่างโจว เมืองเซินเจิ้น เมืองฝอซาน เมืองจูไห่ เมืองตงกว่าน เมืองจงซาน เมืองเจียงเหมิน บางส่วนของเมืองจ้าวชิ่ง (เขตเมืองของ Zhaoqing, Gaoyao และ Sihui) และบางส่วนของเมืองหุ้ยโจว (เขตเมืองของ Huizhou, Huiyang County, Huidong County และ Boluo County)

เขตเศรษฐกิจ
สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง (Pan Pearl River Delta:PPRD)

เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง 9+2 Pan-Pearl River Delta

พื้นที่สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง (Pearl River Delta 泛珠三角) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือ บริเวณที่ลุ่มแม่น้ำจูเจียงไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ เป็นพื้นที่ที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน เลือกเป็นพื้นที่นำร่องในการนำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้เป็นครั้งแรก ตามนโยบายเปิดประเทศของเติ้ง เสี่ยว ผิง เมื่อ ค.ศ. 1979 โดยประกาศให้เมืองเซินเจิ้น ในมณฑลกวางตุ้ง เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรก

นับจากนั้นเป็นต้นมา การลงทุนจากต่างประเทศได้หลั่งไหลเข้าไปสู่บริเวณนี้ จนทำให้กวางตุ้งได้ชื่อว่าเป็นโรงงานของโลก เพราะเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำนวนมาก มีแรงงานอย่างเพียงพอและค่าแรงถูก การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในอัตราสูง และขยายตัวไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงในเวลาอันรวดเร็ว

ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง นายจาง เต๋อ เจียง (Zhang Dejiang) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ มณฑลกวางตุ้ง ได้มีการริเริ่มโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง (Pan-Pearl River Delta-PPRD) เพื่อรองรับการลงทุนขึ้นในปี 2546 ภายหลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก และการลงนามในความตกลงการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างจีน ฮ่องกงและมาเก๊า (CEPA – Closer Economic Partnership Arrangement) รวมทั้งการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน

ภายใต้โครงการ PPRD ได้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ (Economic Super Zone) ประกอบด้วยมณฑล 9 แห่งทางตอนใต้ของจีนคือ มณฑลกวางตุ้ง ฝูเจี้ยน เจียงซี กุ้ยโจว เสฉวน ยูนนาน หูหนาน ไห่หนาน และเขตปกครองตนเองกวางสี รวมกับเขตปกครองพิเศษอีกสองแห่ง คือ ฮ่องกงและมาเก๊า โครงการนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าเป็น “ความร่วมมือ 9+2” โดยมีการลงนามเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการร่วมกันระหว่างผู้นำทั้ง 9 มณฑลรวมทั้งฮ่องกง และมาเก๊า เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 ที่ฮ่องกง

พื้นที่ 9 มณฑลที่อยู่ในโครงการ PPRD นี้ คิดเป็น 1 ใน 5 ของพื้นที่ประเทศจีน มีประชากรประมาณ 1 ใน 3 หรือประมาณ 456 ล้านคน และมีผลผลิตทางเศรษฐกิจมากกว่า 1ใน 3 ของผลผลิตทางเศรษฐกิจทั้งหมดของจีน เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้เป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจจีน โดยรัฐบาลจีนตั้งเป้าว่าภายในปี 2563 GDP ในเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้จะสูงถึง 2,000 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กรอบความร่วมมือ 10 สาขา

มณฑลและเขตการปกครองพิเศษในเขตเศรษฐกิจพิเศษ PPRD จะมีการประชุมเพื่อหารือการดำเนินงานปีละ 1 ครั้ง เรียกการประชุมครั้งนี้ว่า PPRD Forum โดยจะผลัดเปลี่ยนกันไปในแต่ละมณฑล การประชุมมีเป้าหมายเพื่อกำหนดแนวทางและนโยบายในการลดความอุปสรรคยุ่งยาก เพิ่มความคล่องตัวในการลงทุน ตลอดจนเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน รวมทั้งการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคภายพื้นที่ในเพื่อรองรับการลงทุนที่จะไหลเข้ามาสู่ภูมิภาค โดยมีการวางกรอบความร่วมมือระหว่างกันใน 10 สาขา ได้แก่

1. ความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน

โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการหลักคือ ด้านพลังงานและด้านการคมนาคมขนส่ง โดยในด้านพลังงานจะสร้างเครือข่ายสำหรับขนถ่ายทรัพยากรทางพลังงานจากแหล่งที่อุดมสมบรูณ์ไปยังแหล่งที่มีความต้องการสูง ส่วนในด้านการคมนาคมขนส่งจะสร้างเครือข่ายการคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงภายในภูมิภาค อันประกอบไปด้วย ถนน ทางรถไฟ และเส้นทางการคมนาคมทางน้ำ รวมทั้งการคมนาคมทางอากาศภายในภูมิภาค สำหรับด้านการคมนาคม มีเป้าหมายในการพัฒนาในช่วงแรกคือการขยายระบบการขนส่งภายในภูมิภาค เช่น ระบบทางรถไฟ ระบบขนส่งทางบก ระบบขนส่งทางน้ำ เนื่องจากปัจจุบันระบบต่างๆ ที่กล่าวมายังล้าหลังอยู่มากเมื่อเทียบกับระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาระบบเหล่านี้ถูกบรรจุเข้าไปอยู่ในแผนแม่บท โดยกำหนดให้นครกว่างโจวเมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้งเป็นศูนย์กลางเส้นทางขนส่งทางราง ความเร็วของระบบรถไฟจะถูกพัฒนาขึ้นไปสูงถึงมากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะขยายทางรถไฟให้ยาวออกไปจากเดิม 19,000 กิโลเมตร ไปถึง 29,000 กิโลเมตรภายในปี 2563 ซึ่งจะทำให้ประหยัดเวลาในการเดินทางมากขึ้น

ส่วนระบบขนส่งทางบก นครกว่างโจวและเขตการปกครองพิเศษฮ่องกงจะเป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งจะมีการเพิ่มและขยายเส้นทางซูเปอร์ไฮเวย์ โดยจะมีการสร้างถนนซูเปอร์ไฮเวย์เพิ่มขึ้น 22 สาย มีความยาวทั้งหมด 30,000 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อภายในภูมิภาค นอกจากนั้นจะมีการก่อสร้างสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊าเพื่อจะขยายเครือข่ายการขนส่งและให้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางด้านการค้าระหว่างประเทศและด้านโลจิสติกส์

จากผลการประชุม PPRD Forum ครั้งที่ 1 ในปี 2548 ที่ผ่านมามณฑลกวางตุ้งได้รับอนุมัติวงเงิน 555.76 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อใช้ในโครงการนี้ในระยะเวลา 6 ปีจนถึงปี 2553 เพื่อใช้ในการปรับปรุงและยกระดับระบบขนส่งทางน้ำ มีแผนการจัดทำระบบร่องน้ำใหม่ ซึ่งทำให้ขยายเส้นทางทางน้ำได้ถึง 2,000 กิโลเมตร ทำให้ แม่น้ำขนาดเล็กบางสายจะถูกปรับปรุง ขุดลอกร่องน้ำ เพื่อใช้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปสู่ฮ่องกงและมาเก๊า โครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลให้เศรษฐกิจใน 9 มณฑลนี้เติบโตแข็งแรงเท่านั้นยังเป็นการพัฒนาการส่งเสริมการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นของประเทศด้วย

นอกจากนี้มณฑลยูนนานแสดงจุดยืนที่จะเป็นประตูเชื่อมระหว่างจีนและอาเซียนซึ่งดำเนินการทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ เช่น การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงมายังประเทศต่างๆ ในอาเซียนทั้งทางบกถนนสายคุนหมิง-กรุงเทพฯ และทางรถไฟคุนหมิง-สิงคโปร์ และทางน้ำโดยผ่านแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง เป็นต้น

นอกจากระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้ง 3 แล้ว ระบบการขนส่งทางอากาศก็ได้ถูกพัฒนาเช่นเดียวกัน โดยมีการปรับขยายสนามบินในเขตโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 49 สนามบิน ให้เป็นสนามบินนานาชาติ 20 สนามบิน ซึ่งประมาณ 20 สนามบินเป็นสนามบินนานาชาติ

2. ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและการลงทุน

ส่งเสริมการสร้างบรรยากาศการลงทุนโดยอาศัยหลักความเสมอภาค การเปิดโอกาส การชักจูงการลงทุน โดยสร้างความโปร่งใส และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและกลไกส่งเสริมการลงทุนที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมและแรงงานในลักษณะที่จะเสริมสร้างซึ่งกันและกัน โดยมุ่งเน้นให้มณฑลกวางตุ้งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก

มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกด้านการลงทุนขึ้นที่มณฑลหูหนาน โดยมีหน้าที่หลักในการเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการลงทุน และอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนเพื่อให้การลงทุนในภูมิภาคนี้ปราศจากปัญหาและอุปสรรค นอกจากงานด้านการส่งเสริมแล้ว ศูนย์นี้ยังมีหน้าที่รับคำร้องเรียน หากนักลงทุนไม่ได้รับการช่วยเหลือ หรือไม่ได้รับการอำนวยความสะดวก หรือพบเห็นการทุจริต ทั้งยังมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานและความโปร่งใสของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนด้วย

3. ความร่วมมือด้านการพาณิชย์และการค้า

ส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้าในภูมิภาคได้อย่างเสรี ร่วมมือกันกำหนดมาตรฐานสินค้า และการรับประกับการตรวจสอบสินค้าร่วมกัน นอกจากนี้โครงการพัฒนาสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง ยังมุ่งเน้นขจัดข้อจำกัดในการลงทุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุนในภูมิภาค รวมทั้งการใช้ระบบภาษีเดียวกัน

4. ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว

มีการร่วมมือกันประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของภูมิภาค โดยมีฮ่องกงและมาเก๊าเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากอุตสาหกรรมหลักของ 2 เขตปกครองพิเศษนี้ คือ การบริการ เช่น การท่องเที่ยว การเงินและการลงทุนเป็นหลัก ฮ่องกงได้ถูกจัดเป็นศูนย์กลางทางการเงินแห่งหนึ่งของโลก และยังเป็นแหล่งช๊อปปิ้งที่มีชื่อเสียงของโลก ส่วนมาเก๊าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวรวมถึงการเป็นแหล่งรวมสถานบันเทิงที่ครบวงจร

5. ความร่วมมือด้านเกษตรกรรม

สร้างกลไกเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการตลาดให้กับสินค้าเกษตรของมณฑลกวางตุ้ง เสฉวน กว่างซี และยูนนาน ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ทั้งสินแร่และทรัพยากรการเกษตร ซึ่งมณฑลอื่นในเขตภูมิภาคสามารถเข้าไปพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตโดยใช้ทรัพยากรที่มณฑลเหล่านี้มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ได้

6. ความร่วมมือด้านทรัพยากรมนุษย์และแรงงาน

สร้างศูนย์ระบบข้อมูลด้านตลาดแรงงาน อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในภูมิภาค ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาด้านการป้องกันสิทธิของแรงงาน และร่วมกันพัฒนาทักษะ ฝีมือ และประสิทธิภาพแรงงาน

7. ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม

เพิ่มความแข็งแกร่งในด้านการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาขั้นสูง และสร้างรูปแบบสำหรับความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีภายในภูมิภาค รวมทั้งการวิจัยในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดีงามระหว่างกัน

8. ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

สนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศภายในภูมิภาค สร้างความแข็งแกร่งและกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานในด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งร่วมมือด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมต่างๆ

9. ความร่วมมือด้านการป้องวกันสิ่งแวดล้อม

สร้างกลไกเพื่อความร่วมมือภายในภูมิภาคในดานการป้องกันสิ่งแวดล้อม กำหนดแผนสำหรับการป้องกันสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค และให้ความสำคัญกับการรักษาระบบนิเวศวิทยาของแหล่งต้นลุ่มแม่น้ำจูเจียง

10. ความร่วมมือด้านการป้องกันสุขอนามัย

ประสานงานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันในการควบคุมโรคและโรคระบาด และการใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าในการป้องกันโรคระบาด

การแบ่งบทบาทสำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจตามจุดแข็งของพื้นที่

ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียงอีกประการหนึ่ง คือ การกำหนดบทบาทและหน้าที่ให้แต่ละพื้นที่ตามความแข็งแกร่งโดยมณฑลกวางตุ้งถูกกำหนดให้เป็นฐานการผลิตของโลกและศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ เขตปกครองพิเศษฮ่องกงจะเป็นศูนย์กลางสำหรับด้านโลจิสติกส์ แหล่งชอปปิ้ง การค้า การเงิน การบริการทันสมัย มาเก๊าจะเป็นศูนย์กลางของการบันเทิงและท่องเที่ยวครบวงจร มณฑลฝูเจี้ยน เจียงซี หูหนานจะเป็นแหล่งของพลังงาน ปิโตรเลียม ถ่านหินของภูมิภาค มณฑลไห่หนานจะเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ มณฑลยูนนานเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว มณฑลกุ้ยโจวเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้า มณฑลกว่างซีเป็นแหล่งแร่ธาตุ พลังงาน และการท่องเที่ยว มณฑลเสฉวนจะเป็นแหล่งผลิแรงงานคุณภาพสูง

โอกาสของนักลงทุนไทย

ขนาดของเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง PPRD นั้นมีขนาดใหญ่มากเทียบเท่าได้กับขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียนทั้งในด้านประชากร มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ และการลงทุนจากต่างประเทศ รัฐบาลไทยจึงได้มีคามพยายามผลักดันให้เขตเศรษฐกิจทีจะรวมเป็นอันหนึ่งเดียวกันของอาเซียนเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียงแห่งนี้

สำหรับธุรกิจไทยที่มีความสนใจต้องการเข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจนั้น อาจะต้องพิจารณาจุดเด่นและจุดด้อยของแต่มณฑลประกอบกันไปด้วย ธุรกิจที่ยังมีโอกาสเข้าไปทำตลาดได้แก่

  • กลุ่มธุรกิจอาหาร เพราะในเขตจีนตอนใต้ประชากรนิยมบริโภคอาหารรสจัด เวลานี้มีกลุ่มร้านอาหารไทยเข้าไปเปิดบริการบ้างแล้ว
  • กลุ่มธุรกิจอัญมณี ทั้งของจริงและของเทียมก็มีลู่ทางที่สดใส เพราะประชาชนในเขตนี้มีความสามารถในการจับจ่ายสินค้าได้ดี
  • กลุ่มเกษตร ผลไม้ไทยที่คนจีนนิยมบริโภคได้แก่ กล้วยไข่ ทุเรียน ลำไย ส้มโอ ชมพู่ มังคุด ในเวลานี้ไทยใช้ศูนย์กระจายสินค้าในคุนหมิง และสิบสองปันนา

เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่อยู่ใกล้กับมณฑลและเขตปกครองพิเศษซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียงมากที่สุด และไทยเองก็มีความสัมพันธ์อันดีกับจีน ดังนั้น โครงการนี้จึงเป็นช่องทางในการลงทุนที่ดีช่องทางหนึ่งสำหรับนักลงทุนจากประเทศไทย

ศักยภาพของมณฑลทั้ง 9 ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยนลุ่มแม่น้ำจูเจียง

มณฑลกวางตุ้ง (Guangdong)

เกษตรกรรม มีพื้นที่เกษตรกรรมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สำหรับการปลูกข้าว นอกจากนี้ยังมีการปลูก อ้อย กล้วย และเป็นแหล่งผลิตสัตว์น้ำสำคัญ

อุตสาหกรรม มณฑลกวางตุ้งเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมเบา ได้แก่ การผลิตโทรทัศน์ ตู้เย็น สิ่งทอ จักรยาน ของเล่น รองเท้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และสามารถส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าส่งออกเป็นอันดับสูงสุดของจีน

มณฑลฝูเจี้ยน (Fujian)

เกษตรกรรม มีแหล่งปลูกลำไยมานานกว่าศตวรรษ มีชื่อเสียงในการผลิตลำไยแห้งคุณภาพสูง มีการปลูกข้าว สาลี่ กล้วย และมีการผลิตเนื้อสุกร

อุตสาหกรรม มณฑลฝูเจี้ยนเป็นศูนย์กลางการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม มีการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ สิ่งทอและเสื้อผ้า อาหาร ผลิตภัณฑ์จากหนัง พลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรมเบา ได้แก่ กระดาษ นาฬิกาข้อมือและนาฬิกาแขวน กระป๋อง รองเท้าและกระเป๋าหนัง เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้

มณฑลเจียงซี (Jiangxi)

ทรัพยากรธรรมชาติ มีแหล่งแร่ทองแดง เงิน และยูเรเนียมอยู่ในอันดับแรกของจีน ในขณะที่แร่ทังสเตนและทองคำอยู่ในอันดับ 2 และมีแหล่งทรัพยากรที่ให้พลังงานความร้อน

เกษตรกรรม บริเวณพื้นที่ราบทะเลสาบโบหยาง เป็นที่ขนานนามว่าเป็นดินแดนแห่งข้าวและปลา เป็นแหล่งสินค้าเกษตรสำคัญ ได้แก่ ข้าว ฝ้าย ชา อ้อย งา ถั่ว

อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมหนักที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การหลอมโลหะ รถยนต์ สิ่งทอและปิโตรเคมี บริษัท เจียงหลิง จำกัด เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถบรรทุกเล็กที่สำคัญของจีน

มณฑลกุ้ยโจว (Guizhou)

ทรัพยากรธรรมชาติ กุ้ยโจว มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก มีแร่ 22 ชนิดที่มีปริมาณมากเป็นอันดับ3 ของประเทศ เช่น ฟอสฟอรัสและบ็อกไซด์ซึ่งมีปริมาณมากอยู่ในอันดับ 2 และ 3 ของจีนตามลำดับ นอกจากนี้กุ้ยโจวยังมีแร่อะลูมิเนียมมาเป็นลำดับต้นๆ ในจีน มีปริมาณถ่านหินมากที่สุดทางตอนใต้ โดยมีผลผลิตถ่านหินเท่ากับ 50 ล้านตัน มากเป็นอันดับ10 ของจีน กุ้ยโจวยังเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำอีกด้วย

เกษตรกรรม มีการส่งเสริมให้ปลูกพืชแบบขั้นบันไดและพัฒนาระบบชลประทาน กุ้ยโจวเป็นแหล่งผลิตยาสูบที่สำคัญ ทำให้มีปริมาณส่งออกยาสูบอยู่ในอันดับสองของประเทศ มีการปลูกชา ผลไม้ กล้วย ข้าวโพด สมุนไพรทางยา มัน เมล็ดเรพ (rape seed)

อุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมในกุ้ยโจวส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขั้นปฐม หรืออุตสาหกรรมเบา การแปรรูปยาสูบ ยาและเวชภัณฑ์ เครื่องดื่ม การผลิตและแปรรูปอาหาร นอกจากนี้มีการผลิตตู้เย็น อุปกรณ์ขนส่ง การผลิตและจ่างพลังงานไฟฟ้า การถลุงและรีดโลหะ

มณฑลเสฉวน (Sichuan)

ทรัพยากรธรรมชาติ มณฑลเสฉวนเป็นฐานผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเป็นอันดับหนึ่งของจีน และยังเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับหนึ่งด้วยเช่นด้วยกัน

เกษตรกรรม เป็นแหล่งผลิตข้าว ธัญพืช พืชน้ำมัน ส้ม ลูกท้อ สาลี่ อ้อย ข้าวโพดหวาน

อุตสาหกรรม

  • อุตสาหกรรมเกษตร ผักดอง ไวน์อู่เหลียงเย่เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศมาเป็นเวลานาน การผลิตอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป
  • อุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า การผลิตโทรทัศน์สี ปุ๋ยเคมี ซีเมนต์
  • อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง มณฑลเสฉวนเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้วิทยาการชั้นสูง เนื่องจากเคยเป็นที่ตั้งฐานอุตสาหกรรมทางด้านการทหาร ความมั่นคงและ การพาณิชย์ มีความโดดเด่นในด้านการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บริษัท GE ผลิตอุปกรณ์ เอกซเรย์ บริษัท EMCEE Broadcast Products ตั้งบริษัทร่วมทุนผลิตเคเบิลไร้สาย ซึ่งจะเป็นโรงงานผลิตโพลิซิลิคอนที่ใหญ่ที่สุดของจีน บริษัทAlcatelตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา

มณฑลยูนนาน(Yunnan)

ศูนย์กลางการขนส่ง มณฑลยูนนานเชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ ในอาเซียนโดยทางบก มณฑลยูนนานจึงเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญ สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน นอกจากจะมีทางด่วนสายพิเศษและทางรถไฟที่กำลังก่อสร้างเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศไทย เวียดนามและประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ยังมีเส้นทางน้ำเชื่อมแม่น้ำล้านช้างงและแม่น้ำโขงอีกด้วย

ทรัพยากรธรรมชาติ มีการค้นพบสินแร่มากกว่า 150 ชนิด ที่สำคัญได้แก่ แร่โลหะ แร่ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก นอกจากนี้มณฑลยูนนานยังเป็นแหล่งป่าไม้ที่สำคัญแหล่งหนึ่งของจีน มีพืชสมุนไพร เครื่องเทศ พืชพันธุ์ไม้ประดับมากกว่า 2,000 ชนิด มีจำนวนพันธุ์สัตว์ป่ามากกว่า 2,860 ชนิด

เกษตรกรรม ธัญพืชที่สำคัญ คือ ข้าวเจ้า ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่ว มันฝรั่ง พืชเศรษฐกิจสำคัญ คือ ต้นRape ยาสูบ อ้อย ใบชา ฝ้าย ปริมาณการผลิตใบยาสูบของมณฑลยูนนานมากเป็นอันดับแรกของจีน เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของยางพารา กาแฟ น้ำมันปาล์ม ควินิน พริกไทย

อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมหนักที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกล โลหะ เหล็ก พลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรมเบา ได้แก่ การผลิตใบยาสูบ ชา น้ำตาล อุตสาหกรรมเคมี

มณฑลหูหนาน(Hunan)

ทรัพยากรธรรรมชาติ มีทรัพยากรแร่ที่สำคัญ เช่น ทังสเตน พลวง สังกะสี แร่บ็อกไซด์ ตะกั่ว ดีบุก แบไรต์ กราไฟท์

เกษตรกรรม มณฑลหูหนานผลิตข้าวมากที่สุดในจีน มีการผลิตชา ยาสูบ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ และเป็นแหล่งไม้ที่สำคัญของจีนทางตอนใต้

อุตสาหกรรม ที่สำคัญ ได้แก่ การหลอมโลหะ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เคมี สิ่งทอ พลังงาน วัสดุก่อสร้าง รถยนต์และรถมอเตอร์ไซด์ ปุ๋ยเคมี

มณฑลไห่หนาน(Hainan)

ทรัพยากรธรรรมชาติ รัฐบาลกลางได้เร่งรัดให้มีขุดหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติบริเวณทะเลจีนใต้ และผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องในเมืองตงฟางซึ่งเป็นเมืองทางชายฝั่งตะวันตกของมณฑลไห่หนาน ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนีย และโรงงานเมทานอล การใช้นโยบายเชิงรุกในการค้นหาแหล่งพลังงานนี้จะช่วยให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจการสำรวจขุดเจาะแหล่งน้ำมัน และแก๊สธรรมชาติใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานในประเทศที่มีการขยายตัวสูง

การคมนาคมขนส่ง มณฑลไห่หนานเน้นการพัฒนาระบบคมนาคมและการขนส่งระหว่างเกาะไห่หนานกับจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ โดยมีแพบรรทุกรถยนต์ และเส้นทางรถไฟไปกลับระหว่างกวางตงกับไห่หนาน

เขตปกครองตนเองกว่างซี (Guangxi)

เกษตรกรรม ผลิตผลเกษตรหลัก คือ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่ว งา ยาสูบ ชา ฝ้าย นอกจากนี้ยังมีการปลูกผลไม้ เช่น ส้ม มะนาว กล้วย มะละกอ

อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเบาที่สำคัญ คือ สิ่งทอ กระดาษ แป้ง ผ้าไหม หนัง เคมีและเวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมหนัก ได้แก่ การแปรรูปโลหะ การผลิตเครื่องจักร ซีเมนต์

เขตเศรษฐกิจ
ภาคตะวันตก

แผนพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตก (Go West Policy, 西部大开发)

ข้อมูลทั่วไป

รัฐบาลจีนได้เริ่มดำเนิน “นโยบายการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตก” (Go West Policy) ภายใต้แนวคิดการพัฒนาประเทศของนายเติ้ง เสี่ยวผิง อดีตผู้นำสูงสุดคนที่ 2 ของจีน ทั้งนี้ ในเมื่อปี 2543 (ค.ศ.2000) รัฐบาลกลางได้ยกร่างเป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายความเจริญและส่งเสริมการพัฒนาของพื้นที่ตอนในทางภาคตะวันตกให้ทัดเทียมกับมณฑลทางภาคตะวันออก รวมทั้งตระเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับกระแสการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมจากภาคตะวันออกที่กำลังจะอิ่มตัวในเร็ววันนี้

ขนาด/ที่ตั้ง

แผนพัฒนาฯ มีอาณาเขต 12 เขตบริหารระดับมณฑล ได้แก่ 6 มณฑล (กานซู่ กุ้ยโจว ชิงไห่ ส่านซี เสฉวน ยูนนาน) 5 เขตปกครองตนเอง (กว่างซี มองโกเลียใน หนิงเซียหุย ทิเบต และซินเจียง) และ 1 เทศบาลนคร (นครฉงชิ่ง)

  • พื้นที่รวม 685 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 71.4 หรือ 2/3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
  • ประชากรราว 360 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 26.8 (ปี 2555)
  • ขนาดเศรษฐกิจราว 12 ล้านล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ 20 ของทั้งประเทศ (ปี 2556)

แผนงานพัฒนา

แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ (รวม 50 ปี) ดังนี้

  1. ระยะใกล้(ระหว่างปี 2544-2553) เน้นการปรับปรุงโครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการศึกษา สร้างและบูรณาการกลไกการตลาด ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นจุดแข็ง สร้างบรรยากาศการลงทุนขั้นต้นในภาคตะวันตก ส่งเสริมกระแสหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และยกระดับอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจทัดเทียมกับทั้งประเทศ
  2. ระยะกลาง (ระหว่างปี 2554-2573) เน้นการพัฒนาต่อยอดจากแผนงานขั้นพื้นฐาน ยกระดับระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ระบบตลาด ระบบนิเวศอย่างรอบด้าน และยกระดับอัตราขยายตัวทางเสรษฐกิจแบบก้าวกระโดด
  3. ระยะไกล(ระหว่างปี 2574-2593) เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับพื้นที่ผู้นำการพัฒนา เร่งบุกเบิกพัฒนาพื้นที่ห่างไกลความเจริญรวมถึงพื้นที่เกษตรปศุสัตว์ที่มีความล้าหลัง (รวมถึงพื้นที่ชนกลุ่มน้อย พื้นที่ชายแดน และพื้นที่สงครามในอดีต) ลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างภูมิภาค ยกระดับประสิทธิภาพการผลิต คุณภาพชีวิตของประชากรในภาคตะวันตก

ตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Positioning)

รัฐบาลกลางได้กำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตก 4 ด้าน ดังนี้

  1. การดำเนินนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจและสังคม “เสี่ยวคัง” (อยู่ดีกินดี) ส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคีในชนชาติ รักษาความสงบในสังคมและชายแดน
  2. การขยายสัดส่วนทางเศรษฐกิจของภูมิภาคตะวันตก และการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
  3. การพัฒนาไปสู่ความทันสมัย (Modernization) ตามแผนงานระยะไกล โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรลุเป้าหมาย “สังคมเสี่ยวคัง”
  4. การปรับตัวให้เข้ากับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมโลก และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจีน แสดงศักยภาพทางการตลาด ทรัพยากรธรรมชาติ และต้นทุนแรงงาน

นโยบายที่น่าสนใจ

นโยบายการมุ่งเน้นพัฒนาภูมิภาคจีนตะวันตกตามแผนพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกจะจัดทำตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี (ปัจจุบัน แผนพัฒน์ฯ 5 ปี ฉบับที่ 12 ระหว่างปี 2554-2558)

ทั้งนี้ มาตรการทางเศรษฐกิจที่สำคัญสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1. การลงทุนของภาครัฐ รัฐบาลจีนได้ส่งเสริมการพัฒนาความเป็นเมือง (Urbanization) และระบบอุตสาหกรรม (Industrialization) โดยมุ่งเน้นลงทุนด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ อาทิ ระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงาน และการศึกษา ฯลฯ
  2. การส่งเสริมการลงทุนของเอกชน ให้ความสำคัญกับการค้าและการลงทุนของต่างชาติ ดำเนินนโยบายพิเศษด้านต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้นักลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษี การใช้ประโยชน์ที่ดิน การให้เงินรางวัล/เงินอุดหนุน/เงินชดเชย การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและเขตควบคุมพิเศษทางศุลกากร ฯลฯ

SWOT Analysis

จุดแข็งจุดอ่อน
รัฐบาลกลางให้ความสำคัญในฐานะ “ยุทธศาสตร์แห่งชาติ”ทำเลที่ตั้งใกล้อาเซียนช่วยสร้างโอกาสความร่วมมือทางการค้าการลงทุนระหว่างกันเส้นทางเชื่อมโยงกับอาเซียน โดยเฉพาะเขตฯกว่างซีจ้วง (R8 R9 และR12) และมณฑลยูนนาน (R3A)นโยบายส่งเสริมการลงทุน เช่น เขตอารักขาทางศุลกากร สิทธิประโยชน์ทางภาษี การใช้ประโยชน์ที่ดิน และเงินรางวัล/เงินอุดหนุน/เงินชดเชยจากภาครัฐทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ (ภาคเกษตร ป่าไม้ และเหมืองแร่)ต้นทุนการประกอบกิจการต่ำกว่าภาคตะวันออกเปิดสู่ภายนอกได้ไม่นาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีประสบการณ์และความพร้อมในการค้ากับต่างประเทศสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูงเหนือระดับน้ำทะเล และเป็นพื้นที่ในแผ่นดินไม่ติดทะเล (Land Lock) ยกเว้นเขตฯ กว่างซีจ้วงภัยธรรมชาติ อาทิ ภัยแล้ง อุทกภัย ภัยหิมะซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจการพัฒนาด้านบุคลากรและระบบบริหารจัดการ (Software) ตามไม่ทันการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Hardware)ขาดการเชื่อมโยงนวัตกรรมสู่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานขั้นสมบูรณ์ (Supply Chain) ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
โอกาสของไทยความท้าทาย
ตลาดเกิดใหม่ที่น่าสนใจ เนื่องจากยังมีผู้ประกอบการไม่มาก การแข่งขันยังมีไม่สูงใช้ประโยชน์จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนสำหรับภาคตะวันตกจีน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมประเภทส่งเสริม และอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (ตามมณฑล)ใช้ประโยชน์จากกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน (China-ASEAN FTA) ทั้งภาคการค้า การลงทุน และการบริการใช้ประโยชน์/บุกเบิกเส้นทางเชื่อมสู่จีน ทั้งทางบก ทางทะเล ทางแม่น้ำ และทางอากาศใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติหายากหรือมีอยู่อย่างจำกัดในพื้นที่มณฑลต่าง ๆ มีการแข่งขันกันดึงดูดการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศขาดผู้ประกอบการที่มีศักยภาพความพร้อมด้านการค้าต่างประเทศกำลังซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังมีไม่สูง โดยพิจารณาจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวโครงสร้างอุตสาหกรรมขาดความสมดุล ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาแรงงานเข้มข้น ขาดแคลนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงภาคบริการยังไม่พัฒนาเท่ามณฑลทางภาคตะวันออกพื้นที่ตอนในยังไม่ค่อยรู้จักและใกล้ชิดกับประเทศไทยมากนักการพัฒนาจากพื้นที่ปิดไม่ติดทะเล (Land Lock) สู่พื้นที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (Land Link)กฎระเบียบมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง

ข้อมูลสถิติอ้างอิง

ลำดับมณฑลมูลค่า GDP (ล้านหยวน)อัตราขยายตัว (%)
ปี 2556 (ค.ศ.2013)ปี 2555 (ค.ศ.2012)
1มณฑลเสฉวน2,626,0772,384,98010.0
2เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน1,700,0001,598,8349.0
3มณฑลส่านซี1,604,5211,445,11811.0
4เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง1,437,8001,303,10410.2
5นครฉงชิ่ง1,265,6691,145,90012.3
6มณฑลยูนนาน1,172,0911,030,98012.1
7เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์851,000746,63211.1
8มณฑลกุ้ยโจว800,679680,22012.7
9มณฑลกานซู่630,000565,02012.1
10เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย260,000232,66410.0
11มณฑลชิงไห่210,300188,45411.0
12เขตปกครองตนเองทิเบต80,20069,55812.5

พื้นที่ศักยภาพและอุตสาหกรรมส่งเสริม

เขตเศรษฐกิจ
Greater Bay Area (GBA)

อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า 粤港澳大湾区 :Guangdong -Hongkong-Macao Greater Bay Area

โครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (粤港澳大湾区 ) หรือ Guangdong -Hongkong-Macao Greater Bay Area) เป็นหนึ่งในโครงการยุทธศาสตร์ตามแนวคิด One Belt, One Road ของจีน ที่ได้ดำเนินงานตามที่ได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี ฉบับที่ 13 ของจีน โครงการดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของจีนตอนใต้คือ มณฑลกวางตุ้ง เขตปกครองพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า
โดยในเขตมณฑลกวางตุ้งครอบคลุม 9 พื้นที่ได้แก่ นครกว่างโจว เมืองเซินเจิ้น เมืองจูไห่ เมืองฝอซาน
เมืองหุ้ยโจว เมืองตงกวน เมืองจงซาน เมืองเจียงเหมินและเมืองจ้าวชิ่ง

กรอบข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมการสร้างเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกงมาเก๊าและความร่วมมือเชิงลึก
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดให้เกิดขึ้นในจีนตอนใต้และยกระดับขีดความสามารถของเศรษฐกิจภาพรวมของจีน ผ่านโครงการความร่วมมือเชิงลึกในระดับภูมิภาคและนานาชาติ ผลักดันบทบาทการเป็นผู้นำในทุก ๆ ด้านให้กับมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า มีระยะเวลาการดำเนินงานทั้งสิ้น 5 ปี
โดยระหว่างนี้ทั้ง 4 ฝ่ายประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและปฎิรูปแห่งชาติ รัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง รัฐบาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกงและมาเก๊าจะร่วมจัดการประชุมเพื่อร่วมกำหนดยุทธศาสตร์โครงการ ติดตามผลงาน และแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวอาศัยความได้เปรียบจากอุตสาหกรรมของแต่ละพื้นที่ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตของมณฑลกวางตุ้ง อุตสาหกรรมการเงินและโลจิสติกส์ของฮ่องกงและอุตสาหกรรมบริการของมาเก๊า ซึ่งโครงการอ่าวฯ จะเป็นโครงการที่เชื่อมพื้นที่ทั้ง 3 เข้าด้วยกัน โดยแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความได้เปรียบในแต่ละด้านระหว่างกัน โดยมีรัฐบาลกลางเป็นหน่วยงานเชื่อมและสนับสนุน โครงการฯ

ภูมิหลัง

  • ปี 2552 รัฐบาลกวางตุ้งประกาศแผนวิจัยและพัฒนากลุ่มเมืองในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง
    และเป็นการหยิบยกประเด็นความร่วมมือของเขตพื้นที่ “อ่าว” เป็นครั้งแรก โดยขณะนั้นมีแนวความคิด
    “1 อ่าว 3 พื้นที่” ประกอบด้วยอ่าวบริเวณปากแม่น้ำจูเจียง กว่างโจว-ฝอซาน ฮ่องกง-เซินเจิ้น
    และ มาเก๊า-จูไห่ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและพื้นที่อยู่อาศัย
  • ปี 2554 รัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า ร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินโครงการสำคัญ
    สร้างเขตที่อยู่อาศัยในบริเวณอ่าวรอบปากแม่น้ำจูเจียง โดยศึกษาและพัฒนาเพื่อผลักดันให้พื้นที่ดังกล่าว
    เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ มีระบบนิเวศวิทยาและการพัฒนาเศรษฐกิจแบบบูรณาการ ในพื้นที่นครกว่างโจว เมืองเซินเจิ้น เมืองจูไห่ เมืองตงก่วน เมืองจงซาน ฮ่องกงและมาเก๊า
  • ปี 2558 โครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    5 ปี ฉบับที่ 13 ของจีน ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือที่ได้รับการยกระดับจากโครงการเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (Pearl River Delta:PRD) และเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง (Pan-Pearl River Delta:PPRD)
  • ปี 2559 รัฐบาลกวางตุ้งได้หยิบยกประเด็นความร่วมมือระหว่างมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า
    ในการสร้าง “เขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า” ให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายความร่วมมือด้านการพัฒนาเขตเมืองและชนบทเข้าด้วยกัน
  • มีนาคม 2560 การประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน ชุดที่ 12 สมัยประชุมที่ 5 ที่จัดขึ้น
    ณ กรุงปักกิ่ง โดยนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ได้กล่าวถึงแผนการดำเนินงานของรัฐบาลในปี 2560
    โดยได้หยิบยกโครงการวิจัยแผนพัฒนากลุ่มเมืองในเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า เป็นครั้งแรกในการประชุมระดับชาติ
  • กรกฎาคม 2560 นายเหอ ลี่เฟิง ประธานคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและปฎิรูปแห่งชาติ
    นายหม่า ซิ่งรุ่ย ผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้ง นางแครี แลม (Carrie Lam) ผู้บริหารสูงสุดของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง และนายชุย ซื่ออัน ผู้บริหารสูงสุดของเขตบริหารพิเศษมาเก๊า ร่วมลงนาม “กรอบข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมการสร้างเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกงมาเก๊าและความร่วมมือเชิงลึก” (The Framework Agreement on Deepening Guangdong-Hong Kong-Macao Cooperation in Development of the Bay Area)
    โดยมีนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนเป็นสักขีพยาน

ศักยภาพของอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า

ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ

มณฑลกวางตุ้งกับฮ่องกงและมาเก๊า เป็นพื้นที่ที่เป็นมิตรต่อการค้าและการลงทุนมาอย่างยาวนาน สามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนมากมาย มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งในภูมิภาคและของจีน ความร่วมมือของ 9 เมืองในมณฑลกวางตุ้ง กับ 2 เขตปกครองพิเศษ ภายใต้โครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า จะยิ่งเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจในพื้นที่เติบโตต่อเนื่อง ก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับโลกได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  เขตอ่าวฯ มีตลาดหลักทรัพย์ที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกงที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 และตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก ปัจจุบัน GDP ของพื้นที่ในเขตอ่าวฯ คิดเป็นร้อยละ 12 ของ GDP จีน และคาดว่า GDP ของเขตอ่าวฯ จะเท่ากับ 4.6 ล้านล้านในปี 2573

ข้อมูลทางเศรษฐกิจของเมืองในเขตเศรษฐกิจอ่าวกว่างตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ประจำปี 2559

 กว่างโจวเซินเจิ้นจูไห่ฝอซานหุ้ยโจวตงก่วนจงซานเจียงเหมินจ้าวชิ่งฮ่องกงมาเก๊า
GDP (USD)2.84
แสนล้าน
2.83  แสนล้าน3.23 หมื่นล้าน1.25 แสนล้าน4.95 หมื่นล้าน9.91
หมื่นล้าน
4.64
หมื่นล้าน
3.48
หมื่นล้าน
3.02
หมื่นล้าน
3.19
แสนล้าน
4.47
หมื่นล้าน
การค้ากับต่างประเทศ (USD)1.29
แสนล้าน
3.98 แสนล้าน4.17 หมื่นล้าน6.21 หมื่นล้าน4.61 หมื่นล้าน1.72 แสนล้าน3.38 หมื่นล้าน1.9
หมื่นล้าน
6,938
ล้าน
9.79 แสนล้าน1.02
แสนล้าน
GDPเฉลี่ยต่อหัว (USD)21,37525,21220,26317,45310,78312,45214,9808,0387,70743,54469,372
ประชากร14.04 ล้านคน11.90 ล้านคน1.6
ล้านคน
7.46
ล้านคน
4.77
ล้านคน
8.26
ล้านคน
3.23
ล้านคน
4.54
ล้านคน
4.08
ล้านคน
7.4
ล้านคน
6449,000

ศักยภาพด้านโลจิสติกส์

พื้นที่อ่าวกว่างตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า มีระบบคมนาคมขนส่งที่มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน ประกอบด้วยการคมนาคมทางถนน ทางราง การคมนาคมทางอากาศและทางทะเลครอบคลุมและเชื่อมโยงไปยังพื้นที่โดยรอบ  

เฉพาะมณฑลกวางตุ้งมีเส้นทางหลวงด่วนเชื่อมไปยังเมืองและมณฑลต่าง ๆ กว่า 7,673 กิโลเมตร
18 เส้นทาง เส้นทางขนส่งทางราง 5,500 กิโลเมตร เส้นทางรถไฟระหว่างเมือง 1,430 กิโลเมตร
นอกจากนี้ยังมีโครงการคมนาคมสำคัญอื่น ๆ ที่เชื่อมทั้งสามพื้นที่เข้าด้วยกัน อาทิ โครงการสะพานฮ่องกง-
จูไห่-มาเก๊า ( 
港珠澳大橋Hong Kong-Zhuhai-Macao Bridge) ที่จะดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นในปลายปี 2560 และ โครงการเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกว่างโจว-เซินเจิ้น-ฮ่องกง (Guangzhou-Shenzhen-Hong Kong Express Rail Link: XRL) ที่คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2561

ในเขตพื้นที่อ่าวฯ ยังประกอบด้วยท่าอากาศยานสำคัญได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติไป๋หยุน
(กว่างโจว) ท่าอากาศยานนานาชาติเป่าอัน (เซินเจิ้น) ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงและท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า ขนส่งผู้โดยสารไม่ต่ำกว่า 175 ล้านคนต่อปี ขนส่งสินค้ากว่า 1.6 ล้านตันต่อปี (กวางตุ้ง)
มีท่าเรือสำคัญที่มีปริมาณการขนส่งที่สูงติดอันดับโลก ได้แก่ ท่าเรือเซินเจิ้น อันดับ 3 ท่าเรือฮ่องกงอันดับ 5 และท่าเรือกว่างโจวอันดับ 7 ระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะทำให้อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊ากลายเป็นอ่าวเศรษฐกิจแถวหน้าของโลกได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

กรอบข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมการสร้างเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกงมาเก๊าและความร่วมมือเชิงลึก

  1. ทั่วไป
    • วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ
      นำนโยบาย “1 ประเทศ 2 ระบบ” มาปฎิบัติใช้อย่างถูกต้องและครอบคลุม สร้างความร่วมมืออย่างเป็นระบบ สร้างความร่วมมือแบบ Win-Win ให้เกิดขึ้นระหว่างกัน และร่วมกันส่งเสริมการสร้างเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ให้เป็นรูปธรรม
    • เป้าหมายของความร่วมมือ
      • เสริมสร้างบทบาทของมณฑลกวางตุ้งให้เป็นพื้นที่แห่งการปฎิรูปและเปิดกว้าง
        เป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ สร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์
        และเทคโนโลยี เป็นศูนย์กลางการผลิตด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย
      • เสริมสร้างและยกรับดับฮ่องกงให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินนานาชาติ
        เป็นการขนส่งสินค้าทางเรือและการค้าระดับโลก เสริมสร้างความแข็งแกร่งของการเป็นฮับธุรกิจด้วยเงินหยวนจีนนอกแผ่นดินใหญ่ (Offshore RMB business) เป็นศูนย์กลาง
        การจัดการด้านการลงทุนระดับโลก ส่งเสริมอุตสาหกรรมบริการอย่างมืออาชีพ
        และกิจการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึง
        การสร้างศูนย์บริการด้านกฏหมายและแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศในภูมิภาค
        เอเชีย-แปซิฟิก
  • ส่งเสริมให้มาเก๊าเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวระดับโลก
    สร้างเวทีความร่วมมือด้านการบริการระหว่างจีนกับประเทศที่ใช้ภาษาโปรตุเกส
    สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมจีนและพหุวัฒนธรรม
    ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย
  • ส่งเสริมให้เป็นเขตเศรษฐกิจที่มีชีวิตชีวา
    เหมาะแก่การท่องเที่ยว การทำธุรกิจและอยู่อาศัย เป็นเขตสาธิตความร่วมมือเชิงลึกระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับฮ่องกงและมาเก๊า จับมือกันเพื่อก้าวไปสู่การเป็นเขตอ่าวเศรษฐกิจและกลุ่มเมืองระดับโลก
  • หลักการของความร่วมมือ
    • นำทางอย่างเปิดกว้าง สร้างสรรค์นวัตกรรมขับเคลื่อน
      มีความกระตือรือร้นที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เปิดกว้าง พร้อมทั้งสร้างแพลตฟอร์ม
      ทางเศรษฐกิจระดับสูง เพื่อให้เหมาะแก่การลงทุนระดับสากล รวบรวมทรัพยากร
      ด้านนวัตกรรมเพื่อการแบ่งปัน มีความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างระบบและ
      พัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • ส่งเสริมและช่วยเหลือกัน มีความร่วมมือแบบ win-win
      ใช้ประโยชน์จากความโดดเด่นของแต่ละพื้นที่เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบความร่วมมือ
      ที่มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่นโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ
      ความร่วมมือระหว่างกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมๆ กัน
    • ให้กลไกตลาดเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก รัฐบาลเป็นแรงสนับสนุน
      ให้บทบาทสำคัญกับระบบการจัดการทรัพยากรในตลาด ให้รัฐบาลเป็นฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยด้านการผลิตและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทดลองปฎิบัติ ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้า
      สนับสนุนให้มณฑลกวางตุ้งเกิดการปฎิรูปเชิงลึกรอบด้าน ค้นหาความร่วมมือรูปแบบใหม่ระหว่างกวางตุ้งกับฮ่องกงและมาเก๊า ส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาค โดยมุ่งเน้นความร่วมมือด้านนวัตกรรม
    • ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม มุ่งการพัฒนาสีเขียว
      มุ่งเน้นให้กลุ่มเมืองมีการพัฒนาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริม
      วิถีชีวิตและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ในรูปแบบคาร์บอนต่ำ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้สูงขึ้น
  1. สาขาความร่วมมือที่สำคัญ
    • ส่งเสริมความเชื่อมโยงของเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน
      สร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบคมนาคมระหว่างแผ่นดินใหญ่กับฮ่องกงและมาเก๊า รวมถึง
      ระบบคมนาคมขนส่งแบบบูรณาการที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง ผลักดันให้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลาง
      ของการขนส่งทางเรือนานาชาติและเป็นผู้นำให้กับท่าเรืออื่น ๆ ในเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า นำพาเขตอ่าวฯ ไปสู่การเป็นโครงข่ายด้านโลจิสติกส์รูปแบบต่างๆ ได้แก่ การขนส่งทางเรือ ทางอากาศ ทางถนน ทางราง เครือข่ายการคมนาคมมวลชนทางราง และโครงการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อาทิ
      สะพานจูไห่-ฮ่องกง-มาเก๊า เส้นทางรถไฟความเร็วสูงกว่างโจว-เซินเจิ้น-ฮ่องกง ด่านอัตโนมัติกวางตุ้ง-มาเก๊า[1] รวมถึงโครงการสร้างระบบการจัดส่งพลังงานและน้ำ และการยกระดับระบบข้อมูลเครือข่ายการสื่อสารและอินเตอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    • ยกระดับการตลาดแบบบูรณาการ
      ใช้ประโยชน์จาก ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจจีน-ฮ่องกงและข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจจีน-มาเก๊า (Closer Economic Partnership Arrangement:CEPA) เพื่อส่งเสริมปัจจัยทางเศรษฐกิจให้มี
      ความคล่องตัวมากขึ้น ยกระดับระบบพิธีศุลกากร ส่งเสริมการไหลเวียนของทรัพยากรมนุษย์และธุรกิจระหว่างกัน สร้างสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจให้มีความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ ส่งเสริม
      การขยายตัวด้านการลงทุนระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับฮ่องกงและมาเก๊า สนับสนุนให้นักลงทุน
      จากฮ่องกงและมาเก๊าเข้าไปลงทุนในมณฑลกวางตุ้งมากขึ้น
    • สร้างศูนย์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนานาชาติร่วมกัน
      แบ่งปันทรัพยากรด้านเทคโนโลยีของโลกร่วมกัน สร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างกัน สร้างรูปแบบความร่วมมือระหว่างภูมิภาคที่มีความเป็นสากล เปิดกว้างและยกระดับประสิทธิภาพของความร่วมมืออยู่เสมอ
    • สร้างความร่วมมือในการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่
      สนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของแต่ละพื้นที่อย่างเต็มที่ โดยพัฒนาโครงสร้างอุตสาหกรรม
      เพื่อก้าวสู่ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลก[2] ส่งเสริมการสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่เชิงกลยุทธ์ ร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มความร่วมมือด้านอุตสาหหกรรมให้ก้าวสู่ระดับไฮเอนด์ มีความโดดเด่นและ
      เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (คาร์บอนต่ำ) รวมถึงการสร้างนวัตกรรมของระบบอุตสาหกรรมใหม่
    • ร่วมสร้างพื้นที่ที่เหมาะแก่การอยู่อาศัย การดำเนินธุรกิจและการท่องเที่ยว
      มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ยกระดับการจัดการสังคมและความสามารถ
      ด้านการบริการสาธารณะ จัดหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สร้างพื้นที่แห่งการศึกษาในระดับนานาชาติ ยกระดับการบริการด้านการจัดหางานและการสร้างงาน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกันและการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาค สนับสนุนให้มาเก๊าเป็นพื้นที่ฝึกอบรมด้านการบริการ ร่วมสร้างเขตอ่าวฯ ที่มีคุณภาพ มีระบบ
      การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีและเป็นเขตอ่าวฯ คาร์บอนต่ำ
    • เป็นพื้นที่ความร่วมมือระดับสากล
      พัฒนาฮ่องกงและมาเก๊าให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น สร้างความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ การเงิน สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรบุคคลกับประเทศในเส้นทางตามแนวคิดริเริ่ม One Belt, One Road ส่งเสริมให้มณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า ขยายความร่วมมือในระดับนานาชาติมากขึ้น
      ตามยุทธศาสตร์ “ก้าวออกไป” ซึ่งเป็นยุทศาสตร์ความร่วมมือเชิงรุกของจีน เป็นแพลตฟอร์มการดำเนินธุรกิจที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น เพื่อดึงดูดชาวจีนโพ้นทะเลให้กลับมาลงทุนในจีน
    • สร้างแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนความร่วมมือที่สำคัญ
      ผลักดันเขตเฉียนไห่ในเมืองเซินเจิ้น เขตหนานซาในนครกว่างโจวและเขตเหิงฉินในเมืองจูไห่
      เป็นแพลตฟอร์มการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน วางตำแหน่งให้เป็นเขตสาธิตความร่วมมือ
      แห่งการปฏิวัติด้านเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง ส่งเสริมให้เยาวชนฮ่องกงและมาเก๊าเข้ามาสร้างอาชีพในพื้นที่ความร่วมมือดังกล่าว สนับสนุนโครงการสวนเทคโนโลยีฮ่องกง-เซินเจิ้น โครงการเขตเศรษฐกิจ
      อ่าวกว้างเจียงเหมินและโครงการเขตสาธิตความร่วมมือจงซาน-กวางตุ้ง-มาเก๊า
  2. ระบบและกลไกการจัดการ
    • ปรับปรุงกลไกการประสานงาน
      คณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและปฎิรูปแห่งชาติ รัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง รัฐบาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า ร่วมกันจัดเตรียมแผนพัฒนากลุ่มเมืองในเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า
      โดยกำหนดจัดการประชุมเจรจาประจำปีเพื่อร่วมกันแก้ไขและทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น
      ระหว่างดำเนินโครงการความร่วมมือต่าง ๆ
    • ดำเนินงานภายใต้กลไกความร่วมมือ
      ตัวแทนทั้ง 4 ฝ่ายกำหนดโครงการสำคัญประจำปี โดยคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและปฎิรูปแห่งชาติ รัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง รัฐบาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกงและมาเก๊าร่วมกันลงความเห็นหลังจากมีข้อตกลงร่วมกันเพื่อร่วมผลักดันโครงการต่างๆ ให้ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง
      นอกจากนี้รัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊าร่วมกันจัดสร้างระบบการทำงานร่วมกัน
      เพื่อการประสานงานระหว่างกันได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
    • การขยายการมีส่วนร่วมของประชาชน
      จัดตั้ง Think Tank โดยมีตัวแทนและผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในกวางตุ้ง ฮ่องกง มาเก๊า เข้ามาวิเคราะห์ ศึกษาและวิจัย ยุทธ์ศาสตร์รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโครงการความร่วมมือ
      ส่งเสริมให้หน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีจากมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า
      ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนด้านการค้า ยังเปิดโอกาสให้ธุรกิจชุมชน แรงงาน หน่วยงาน
      การบริการระดับมืออาชีพและแวดวงวิชาการ เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่
      อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ให้เป็นที่รู้จักและเติบโตไปได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  3. อื่น ๆ
    • กรอบข้อตกลงฉบับนี้ลงนามโดยตัวแทน 4 ฝ่าย ได้แก่คณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและปฎิรูปแห่งชาติ รัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง รัฐบาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า มีผล ณ วันที่ร่วมลงนาม (1 กรกฎาคม 2560) ระยะเวลา 5 ปี สามารถแก้ไขและขยายเวลาของกรอบความร่วมมือจาก
      ทั้ง 4 ฝ่าย

โครงการด่านอัตโนมัติจูไห่-มาเก๊า เป็นความร่วมมือระหว่าง Guangdong Nanyue Group กับ University of Macau วิทยาเขตเหิงฉิน โครงการตั้งอยู่ใน โครงการด่าน Gongbei บริเวณประตูด้านตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 800 เมตร มีวัตุประสงค์ที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่บุคคลที่สัญจรไปมาระหว่างสองพื้นที่ให้เดินทางได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลก (Global Value Chain หรือ GVC) ห่วงโซ่ที่แสดงการเชื่อมโยงขั้นตอนในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการ เริ่มตั้งแต่การวิจัยและออกแบบ การผลิตและการจำหน่าย จนถึงมือผู้บริโภคในที่สุด (value chain) โดยที่การสร้างมูลค่าเพิ่มในแต่ละขั้นตอนจะถูกกระจายไปยังประเทศต่างๆ ตามความถนัดและ/หรือความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของแต่ละประเทศทั่วโลก

โอกาสของธุรกิจไทย

เมื่อโครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า เดินเนินการเป็นรูปธรรมมากขึ้น คาดว่ากฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุนจะมีความสะดวกกว่าเดิม ส่งจะผลให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจในพื้นที่
เมื่อพิจารณาพฤติกรรมของผู้บริโภคในพื้นที่แล้ว กลุ่มผู้บริโภคมีความคุ้นชินกับสินค้าและบริการของไทย
ซึ่งถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะนำเสนอสินค้าและบริการรูปแบบต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่นี้

เกิดตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ โครงการสำคัญด้านคมนาคมระกว่างกวางตุ้ง ฮ่องกงกับมาเก๊า
อาทิ สะพานจูไห่-ฮ่องกง-มาเก๊า เส้นทางรถไฟความเร็วสูงกว่างโจว-เซินเจิ้น-ฮ่องกง และด่านอัตโนมัติจูไห่-มาเก๊า ล้วนแล้วแต่เป็นโครงการสำคัญด้านคมนาคมขนส่งมวลชนที่จะอำนวยความสะดวก เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการไหลเวียนของกลุ่มผู้บริโภคระหว่างกันมากขึ้น จากสถิติอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากรพบว่า ในปี 2559 นครกว่างโจวและเมืองเซินเจิ้นมีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดเป็นสองอันดับแรกของจีน
ยิ่งไปกว่านั้น พื้นที่อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า มี GDP คิดเป็นร้อยละ 13 ของทั้งประเทศ ชี้ให้เห็นว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจและการบริโภคสินค้าของประชาชนในพื้นที่แห่งนี้จะทวีกำลังขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นตลาดสำคัญของสินค้าและบริการของไทย

กลุ่มธุรกิจรังนกและอาหารเพื่อสุขภาพ ชาวจีนตอนใต้โดยเฉพาะฮ่องกง มาเก๊าและกวางตุ้ง
นิยมรับประทานรังนกเพื่อสุขภาพ และประจวบเหมาะกับจีนได้ออกประกาศอนุญาตการนำเข้ารังนกไทยแล้ว กลุ่มผู้ประกอบการจึงควรพิจารณานำสินค้าเข้ามาทำตลาดในพื้นที่แห่งนี้ โดยเฉพาะมณฑลกวางตุ้งที่ปัจจุบันความต้องการการบริโภคเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากนโยบายลูกคนที่ 2 ของจีน โดยความเชื่อว่าหากหญิงมีครรภ์ได้บริโภครังนกจะทำให้สุขภาพแม่และลูกแข็งแรง นอกจากนี้สินค้าเพื่อสุขภาพ อาทิ สินค้าออร์แกนิค หรือสินค้าแคลเลอรี่ต่ำ ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มสินค้าที่น่าใจ โดยปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น แต่สินค้าในตลาดที่สามารถตอบโจทย์ยังมีจำกัด

กลุ่มธุรกิจสินค้าสปา เมื่อเมืองจูไห่และมาเก๊าได้รับการผลักดันให้เป็นศูนย์การท่องเที่ยวสำคัญของอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า คาดว่าความต้องการผลิตภัณฑ์สปา รูปแบบต่างๆ อาทิ น้ำมันหอมระเหย ครีมบำรุงผิว ครีมอาบน้ำ สบู่ เป็นต้น จะเพิ่มสูงขึ้น ไม่เพียงแต่การใช้ส่วนบุคคลแต่รวมถึงการนำมาใช้ในรูปแบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม ผู้ประกอบการควรพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้าอยู่เสมอ เพื่อให้มีตัวเลือกที่หลากหลาย ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครกว่างโจว
สถานะ ตุลาคม 2560

เขตเศรษฐกิจ
เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (Guangxi Zhuang Autonomous Region)

  • มีฐานะเทียบเท่ามณฑล แบ่งการปกครองเป็น 14 เมือง มี “นครหนานหนิง” เป็นเมืองเอก
  • กำหนดให้เป็น “ประตูสู่อาเซียน” ของจีน (มีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งและ
    มีชายแดนทางบกติดกับเวียดนามกว่า 1,020 กม.) และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาระดับชาติ อาทิ China-ASEAN Expo / Beibu-Gulf Economic Zone / China-ASEAN Financial Hub / New International Land-Sea Trade Corridor – ILSTC และ New Western Land-Sea Corridor – NWLSC
  • มีเส้นทางถนนเชื่อมต่อกับภาคอีสานของไทย (R8 R9 และ R12)
  • เป็นมณฑลที่มีนักศึกษาจีนเรียนภาษาไทยมากที่สุด (ราว 2,000 คนต่อปี)
  • เป็นแหล่งผลิตและแปรรูปน้ำตาลอ้อยใหญ่ที่สุดในจีน (60% ของประเทศ)
  • เป็นมณฑลที่มีการนำเข้าผลไม้จากอาเซียนมากที่สุดในจีน (จากไทย อันดับ 2 ของจีน)
  • ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ทิศเหนือติดมณฑลกุ้ยโจวและหูหนาน ทิศตะวันตกติดมณฑลยูนนาน ทิศตะวันออกติดมณฑลกวางตุ้ง ทิศใต้ติดทะเล (อ่าวตังเกี๋ย) และประเทศเวียดนาม

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่236,660 ตร.กม.  (ประมาณ 46% ของไทย)
 ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 9 ของประเทศจีน
ประชากร56.9 ล้านคน (ตามสำมะโนครัว)
เมืองเอกนครหนานหนิง (Nanning)
ภาษาจีนกลาง จีนกวางตุ้ง จีนกุ้ยหลิ่ว จ้วง 
ศาสนาพุทธมหายาน คริสต์ อิสลาม (ไม่เคร่ง)
เลขาธิการพรรคฯนายหลิว หนิง (Liu Ning)
ปธ.เขตฯ (ผู้ว่าการ)นายหลาน เทียนลี่ (Lan Tianli)
ปธ. สภาผู้แทน ปชช.นายหลิว หนิง (Liu Ning)
ปธ.สภาที่ปรึกษา            นายซุน ต้าเหว่ย (Sun Dawei) 
ชนชาติหลักฮั่น (62%) จ้วง (32%) เย้า แม้ว ต้ง
 (มีชนชาติจ้วงมากที่สุดในจีน)

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ณ สิ้นปี 2564)

GDP2,474,086 ล้าน RMB
 (อันดับ 19 ของประเทศ)
GDP per Capita  49,400 RMB (อันดับ 29 ของประเทศ)
GDP Growth   7.5% (ไทย: 1.2%)
ทรัพยากรธรรมชาติอลูมิเนียม ดีบุก ไทเทเนียมออกไซด์ผลิตภัณฑ์ทางทะเล                                
การค้ากับต่างประเทศ593,060 ล้าน RMB (+22.2%)
  
สินค้าส่งออกที่สำคัญอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าไฮเทค
สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม สินค้เกษตร
สินค้านำเข้าที่สำคัญอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าไฮเทค สินแร่โลหะ สินค้าเกษตร ถ่านหิน
สกุลเงิน           หยวน (RMB)  
อัตราแลกเปลี่ยน6.37 RMB ต่อ USD / 4.96 บาท ต่อ RMB
CPI (เงินเฟ้อ)0.9% (ไทย: 1.23%)
อุตสาหกรรมหลัก ถลุงและแปรรูปแร่ อุปกรณ์ไอที
 เครื่องจักรกล ยานยนต์ พลังงานไฟฟ้าการแปรรูปสินค้าเกษตร
มูลค่าการส่งออก293,900 ล้าน RMB (+8.6%)
มูลค่าการนำเข้า299,100 ล้าน RMB (+38.3%)
ตลาดส่งออกที่สำคัญเวียดนาม ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย
ตลาดนำเข้าที่สำคัญเวียดนาม ไทย บราซิล ไต้หวัน
ออสเตรเลีย ชิลี แคนาดา สรอ.

สถิติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ปี 2564

การค้ากับไทยปี 2564 มูลค่าการค้ารวม 50,047 ล้าน RMB (+31.5%) ไทยได้ดุลการค้า 38,604 ล้าน RMBโดยกว่างซีนำเข้าจากไทย 44,325 ล้าน RMB (+32.87%) และส่งออกไปไทย 5,721 ล้าน RMB (+22.6%)
สินค้านำเข้าจากไทยฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDD) ทุเรียน มังคุด ลำไยสด สตาร์ชมันสำปะหลัง มันสำปะหลังแห้ง แผงวงจรเครื่องพิมพ์ ถั่วเปลือกแข็ง เครื่องจ่ายไฟสำรอง (UPS) เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบถาวร (SSD) น้ำยางพารา
สินค้าส่งออกไปไทยสินค้าเบ็ดเตล็ด คอมพิวเตอร์เทป ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDD) ธาตุเคมีที่โด๊ปแล้วสำหรับใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์อลูมิเนียมอัลลอยด์ สินค้า CBEC ที่ซื้อขายรูปแบบ B2B แผงควบคุมกระแสไฟฟ้า แป้งทัลคัม (talcum)
การท่องเที่ยวปี 2564 สถานกงสุลใหญ่ฯ ให้การตรวจลงตรา 666 ฉบับ (-81.24%) ส่วนใหญ่เป็น Non-B 284 ฉบับ และ Non-ED 161 ฉบับ (ปี 2563 มีจำนวน 3,551 ฉบับ -92.65% / ปี 2562 มีจำนวน 42,758 ฉบับ -82.31%)
ธุรกิจสำคัญของไทยกลุ่มมิตรผล เครือเจริญโภคภัณฑ์ (อาหารสัตว์และเลี้ยงสัตว์) SCG (การค้า) กลุ่ม ปตท. (คาเฟ่ อเมซอน) และกลุ่ม RATCH (โรงไฟฟ้านิวเคลียร์)
จำนวนคนไทยปี 2564 มีประมาณ 50 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สมรสกับชาวจีน(กว่างซี) นักธุรกิจ อาจารย์และนักศึกษา
หน่วยงานไทยที่มีเขตดูแลในกว่างซี  คสพ.กับ ปทท.สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง สนง. ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (นครหนานหนิง)ททท. สำนักงานคุนหมิง สนง. เศรษฐกิจการลงทุน (นครกว่างโจว) สำนักงานการเกษตร (นครกว่างโจว)
สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร (นครกว่างโจว) และฝ่ายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(กรุงปักกิ่ง)สถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2547
ปัจจุบัน มีคู่ความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง 10 คู่ (ระดับเมือง 8 คู่ และระดับเทศบาลอำเภอ 2 คู่)

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน