SHANGHAI

นครเซี่ยงไฮ้

1. ข้อมูลทั่วไป

– ตั้งอยู่บนชายผั่งทะเลทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทิศเหนือติดบริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง ทิศใต้ติดกับอ่าวหังโจว ทิศตะวันตกติดมณฑลเจียงซูและเจ้อเจียง ทิศตะวันออกติดกับทะเลตงไห่ เซี่ยงไฮ้มีพื้นที่ประมาณ 6,340.5 ตร.กม. คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.06 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยเป็นผืนแผ่นดิน 6,218.65 ตร.กม. และเป็นผืนน้ำ 121.85 ตร.กม. (ใหญ่กว่า กทม. ประมาณ 4 เท่า) ทิศเหนือจรดทิศใต้คิดเป็นระยะทาง 120 ก.ม. ทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกคิดเป็นระยะทาง 100 ก.ม. โดยมีแม่น้ำหวงผู่เป็นแม่น้ำสายหลักและแหล่งน้ำสำคัญไหลผ่านใจกลางเมืองเป็นระยะทาง 80 กิโลเมตร เซี่ยงไฮ้ประกอบด้วยเกาะสำคัญ 3 เกาะ คือ เกาะฉงหมิง เกาะฉางซิง และเกาะเหิงซา โดยเกาะฉงหมิงมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุด คือ 1,200 ตร.กม. อีกทั้งนับเป็นเกาะขนาดใหญ่อันดับสามของจีน ซึ่งอุดมด้วยแหล่งน้ำและทะเลสาบธรรมชาติ

– เป็นมหานครศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ เมื่อปี 2560 เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองแรกในจีนที่มีขนาด GDP มากกว่า 3 ล้านล้านหยวน (USD 4.80 แสนล้าน) ขยายตัวร้อยละ 6.6 มีปริมาณการขนส่งตู้คอนเทอเนอร์ 42 ล้านตู้ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดในโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 9
– เป็นเมืองที่มีบรรษัทข้ามชาติ (MNC) ตั้งอยู่มากที่สุดในจีน โดยเป็นสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาค 674 แห่ง มี MNC ที่มีขนาดการลงทุนสูงกว่า USD 91 ล้าน 1,477 แห่ง และมีศูนย์วิจัยพัฒนา 426 แห่ง
– Oxford Economics Financial Centres Index (GFCI) จัดให้เซี่ยงไฮ้อยู่ในอันดับ 6 ของศูนย์กลางทางการเงินของโลกเมื่อปี 2560
– เซี่ยงไฮ้ตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของโลกภายในปี 2563

Download Factsheet: https://drive.google.com/open?id=16fevBMFFKLg2JjI1mEybVu7KTeEleAzy

  1. ข้อมูลทั่วไป
    1.1 ที่ตั้ง / ขนาดพื้นที่ – ตั้งอยู่บนชายผั่งทะเลทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทิศเหนือติดบริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง ทิศใต้ติดกับอ่าวหังโจว ทิศตะวันตกติดมณฑลเจียงซูและ
    เจ้อเจียง ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนตะวันออก เซี่ยงไฮ้มีพื้นที่ประมาณ 6,340.5 ตร.กม. คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.06 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยเป็นผืนแผ่นดิน 6,218.65 ตร.กม. และเป็นผืนน้ำ 121.85 ตร.กม. (ใหญ่กว่า กทม. ประมาณ 4 เท่า) ทิศเหนือจรดทิศใต้คิดเป็นระยะทาง 120 ก.ม. ทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกคิดเป็นระยะทาง 100 ก.ม. โดยมีแม่น้ำหวงผู่เป็นแม่น้ำสายหลักและแหล่งน้ำสำคัญไหลผ่านใจกลางเมืองเป็นระยะทาง 80 กิโลเมตร เซี่ยงไฮ้ประกอบด้วยเกาะสำคัญ 3 เกาะ คือ เกาะฉงหมิง เกาะฉางซิง และเกาะเหิงซา โดยเกาะฉงหมิงมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุด คือ 1,200 ตร.กม. อีกทั้งนับเป็นเกาะขนาดใหญ่อันดับสามของจีน ซึ่งอุดมด้วยแหล่งน้ำและทะเลสาบธรรมชาติ
    1.2 ข้อมูลประชากร – ประชากรรวม 24.19 ล้านคน แบ่งเป็นชนชาติฮั่น (98.8%) และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ (1.2%) โดยใช้ภาษาจีนกลางและภาษาจีนเซี่ยงไฮ้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ และอิสลาม
    1.3 สภาพภูมิอากาศ – เซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ในเขตมรสุมร้อนเอเชียเหนือ แบ่งเป็น 4 ฤดูกาล คือ ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงระยะเวลาค่อนข้างสั้น ในขณะที่ฤดูหนาวและฤดูร้อนค่อนข้างยาว อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 18.4 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุด 38.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด -3.5 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,042.6 มิลลิเมตร โดยปริมาณน้ำฝนมากกว่าร้อยละ 70 วัดได้ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน
    1.4 ทรัพยากรสำคัญ – เนื่องจากนครเซี่ยงไฮ้อยู่ติดกับทะเลจีนตะวันออก ทำให้ชายฝั่งทะเลของเซี่ยงไฮ้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลหลายชนิด โดยเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจถึง 20 กว่าชนิด อีกทั้งมีพื้นที่ติดบริเวณปากแม่น้ำแยงซีซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดชนิดต่างๆ ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
    1.5 ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม – นครเซี่ยงไฮ้เดิมเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง ต่อมาได้จัดตั้งเป็นตำบลเซี่ยงไฮ้เมื่อปี พ.ศ. 1810 ซึ่งขณะนั้นมีพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอหัวถิง (คือ เขตซงเจียงในปัจจุบัน) ต่อมาปี 1835 ทางการจีนได้แยกตำบลเซี่ยงไฮ้ออกมาจากอำเภอหังถิง และจัดตั้งเป็นอำเภอเซี่ยงไฮ้ ภายหลังได้จัดตั้งเป็นเมืองเซี่ยงไฮ้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2386 ต่อมาด้วยทำเลทางภูมิศาสตร์ที่เซี่ยงไฮ้มีลำคลองและทะเลสาบที่เชื่อมต่อการคมนาคม ทำให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองท่าเปิด และเริ่มมีประเทศต่างๆ เข้ามาติดต่อค้าขาย และรุ่งเรืองมากในช่วงทศวรรษที่ ค.ศ. 1930 นอกจากนี้ ผลจากการที่ประเทศตะวันตก ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐฯ และฝรั่งเศส เข้ามาเช่าพื้นที่หลายแห่งของเซี่ยงไฮ้ ทำให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองท่าการค้านานาชาติที่สำคัญ อีกทั้งอาคารและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ของนครเซี่ยงไฮ้ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบตะวันตก และมีลวดลายสวยงามตามแบบยุโรป จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “กรุงปารีสแห่งตะวันออก” ในปัจจุบัน
  2. ข้อมูลด้านการปกครอง

    2.1 การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง – นครเซี่ยงไฮ้ปกครองโดยเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ซึ่งขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง
และมีนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Mayor) เป็นผู้บริหารสูงสุด มีฐานะเทียบเท่ากับผู้ว่าการมณฑล
เซี่ยงไฮ้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 เขต เซี่ยงไฮ้แบ่งเป็น 4 พื้นที่หลัก ได้แก่ ผู่ซี (Puxi) ผู่ตง (Pudong)
เมืองรอบนอก และเกาะฉงหมิง (Chongming)

– เขตผู่ซี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำหวงผู่ เป็นศูนย์กลางการค้าแห่งแรกของนครเซี่ยงไฮ้ ก่อนย้ายบางส่วนไปอยู่ผู่ตง ผู่ซีครอบคลุมเขตการปกครอง 9 เขต ได้แก่ เขตหวงผู่ เขตหลูวาน เขตสวีฮุ่ย เขตฉางหนิง เขตจิ้งอัน เขตผู่ถัว เขตจ๋าเป่ย เขตหงโข่ว และเขตหยางผู่

– เขตผู่ตง ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำหวงผู่ เรียกว่า “เขตใหม่ผู่ตง” (Pudong new area) เป็นศูนย์กลางทางการเงินและธุรกิจของเซี่ยงไฮ้และจีน

– เมืองบริเวณรอบนอก 7 เขต ได้แก่ เขตเปาซาน เขตหมิ่นหาง เขตเจียติง เขตจินซาน เขตซงเจียง เขตชิงผู่ และเขตเฟิ่งเสียน

– เกาะฉงหมิง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเซี่ยงไฮ้บริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่รวม 1,200 ตร.กม. ถือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

3.ผู้บริหารฝ่ายการเมือง

นายหลี่ เฉียง
(Mr. Li Qiang)
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์
(เข้ารับตำแหน่งเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2017)

นายอิง หย่ง
(Mr. Ying Yong)

นายกเทศมนตรี
(เข้ารับตำแหน่งเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2017)

นางอิง อีชุย
(Mrs. Ying Yicui)

ประธานสภาผู้แทนประชาชน

นายต่ง หยุนหู่
(Mr. Dong Yunhu)

ประธานสภาที่ปรึกษาการเมือง
(เข้ารับตำแหน่งเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2018)

ดาวน์โหลดข้อมูลพื้นฐาน มณฑลเซี่ยงไฮ้

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เขตพื้นที่สำคัญของนครเซี่ยงไฮ้

1. ย่านใจกลางเมือง

1.1 เขตหวงผู่(黄浦)

เป็นที่ตั้งของย่านธุรกิจ และแหล่งอาหาร แหล่งช้อปปิ้งที่มีชื่อเสียงที่สุดของเซี่ยงไฮ้ อย่างถนนคนเดินหนานจิง สวนยวี่หยวน People’s Square และ The Bund ซึ่งแหล่งรวมร้านทองและจิวเวลรี่ที่ใหญ่ที่สุดของเซี่ยงไฮ้ก็จัดตั้ง ณ เขตแห่งนี้

1.2 เขตหลูวาน(卢湾)

ในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของเขตเช่าของฝรั่งเศส จึงได้ใช้จุดเด่นในการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมและความทันสมัยในการดึงดูดการลงทุนและการท่องเที่ยว ผ่านแนวคิด ‘อนุรักษ์ เก็บรักษา บูรณา อนุวัฒน์’ โดยมีแหล่งท่องเที่ยวและช้อปปิ้งที่เป็นพระเอกคือ ถนนหวยไห่ ซินเทียนตี้ ถนนเม่าหมิง และถนนไท่คัง เป็นต้น ในด้านธุรกิจ หลูวานเน้นเป็นฐานธุรกิจ outsource 4 ประเภท คือ ธุรกิจสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ โลจิสติกส์ และการออกแบบก่อสร้าง โดยมีบริษัทชั้นนำที่เข้ามาจัดตั้ง เช่น IBM Beyer Dupont เป็นต้น

1.3 เขตสวีฮุ่ย(徐汇)

เป็นที่ตั้งของย่านพาณิชย์สวีเจียฮุ่ย ซึ่งเป็นแหล่งรวมสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์แหล่งใหญ่ที่สุดของเซี่ยงไฮ้ และยังมีถนนเหิงซานที่เป็นแหล่งรวมร้านอาหารและผับบาร์ไฮเอ็นด์ที่มีชื่อเสียงในหมู่คนต่างชาติในเซี่ยงไฮ้

062 P40-41-1

1.4 เขตฉางหนิง(长宁)หรือเรียกอีกชื่อว่าหงเฉียว (虹桥)

กำลังมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางธุรกิจพาณิชย์และศูนย์กลาง โลจิสติกส์และคมนาคมของเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซี ด้วยการเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติหงเฉียว ซึ่งรัฐบาลเซี่ยงไฮ้ได้สร้าง 2 โครงการใหญ่ต่อยอดเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ ศูนย์การเปลี่ยนถ่ายคมนาคมหงเฉียว ณ บริเวณใกล้กับสนามบินหงเฉียว ทำให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมจากทางเครื่องบินต่อรถไฟใต้ดิน รถไฟความเร็วสูง รถไฟธรรมดา และรถประจำทาง ได้ในพื้นที่แห่งนี้ ขณะเดียวกันยังกำลังสร้างย่านธุรกิจและการพาณิชย์หงเฉียว (Hongqiao Business Park) ซึ่งจะเป็นโครงการพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่จะดึงดูดธุรกิจการค้า เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของเซี่ยงไฮ้ต่อจากการจัดงาน World Expo 2010 ในบริเวณใกล้กันนี้ด้วย นอกจากนี้ เขตฉางหนิงยังเป็นพื้นที่จัดตั้งที่ทำการของสถานกงสุลใหญ่หลายประเทศซึ่งรวมถึงสถานกงสุลใหญ่ของไทยที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

1.5 เขตจิ้งอัน(静安)

เป็นเขตจัดตั้งธุรกิจและที่อยู่อาศัยไฮเอนด์ของเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากตั้งอยู่ย่านใจกลางเมืองที่มีสิ่งสาธารณูปโภคครบวงจรและเดินทางสะดวก จึงเป็นแหล่งคุณภาพชีวิตชั้นสูงของเซี่ยงไฮ้

2.1 เขตชิงผู่(青浦): เสน่ห์เมืองน้ำ

ชิงผู่ได้ใช้จุดเด่นจากด้านภูมิศาสตร์ที่ติดกับตอนต้นของแม่น้ำหวงผู่และตอนปลายของ ทะเลสาบซีหู อีกทั้งทำเลที่ตั้งที่เป็นเขตชานเมืองของเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีอาณาเขตติดกับมณฑลเจียงซูและมณฑลเจ้อเจียงในการสร้างจุดขายของแหล่งท่องเที่ยว “เมืองน้ำ” ที่มีบรรยากาศวัฒนธรรมเมืองเก่าที่มีคูคลองไหลพาดผ่าน โดยเฉพาะการ โปรโมทแหล่งท่องเที่ยว “จูเจียเจี่ยว” ให้เป็นจุดท่องเที่ยวมีชื่อติดอันดับของเซี่ยงไฮ้ไปแล้ว ซึ่งไม่เพียงนำประโยชน์ด้านเศรษฐกิจมาสู่เขตชิงผู่เท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างเสน่ห์แห่งกลิ่นอายวัฒนธรรมเมืองเก่าของเขตลุ่มแม่น้ำแยงซีให้กับเมืองสมัยใหม่แห่งนี้ด้วย

นอกจากจุดเด่นด้านเมืองท่องเที่ยวแล้ว ชิงผู่ยังได้เร่งพัฒนาความเจริญในด้านอื่นๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ได้ทัดเทียมกับพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งในนครเซี่ยงไฮ้ และเมืองโดยรอบของมณฑลเจียงซูและมณฑลเจ้อ เจียง โดยได้จัดพื้นที่ด้านตะวันตกของเขตให้เป็นศูนย์รวมภาคบริการ ได้แก่ การจัดให้มีศูนย์การประชุม อาคารแสดงสินค้า หอศิลป์ และศูนย์การกีฬาครบวงจร เพื่อให้ชิงผู่เป็นฐานการจัดงานมหกรรมขนาดใหญ่ และพัฒนาส่วนเหนือของเขตให้เป็นฐานอุตสาหกรรมที่เน้นด้านการวิจัย

2.2 เขตเจี้ยติ้ง(嘉定): เมืองแห่งรถยนต์และสนามแข่ง F1

เจี้ยติ้งเป็นฐานอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์แต่ดั้งเดิมของนครเซี่ยงไฮ้ โดยใช้พื้นที่ทั้งหมด 8 ตารางกิโลเมตร จัดไว้สำหรับอุตสาหกรรมดังกล่าวโดยเฉพาะ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบริษัทผลิตรถยนต์กว่า 333 บริษัท จึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งรถยนต์” โดยมีไฮไลท์ คือ “สนามแข่งรถยนต์ Formula 1”

เขตเจียติ้งได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในฐานะฐานอุตสาหกรรมรถยนต์ดั้งเดิมในการต่อยอดตั้งเป้าเป็นเมืองแห่งรถยนต์ระดับนานาชาติที่ครบวงจรทั้งการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ โรงงานประกอบรถยนต์ สนามแข่งรถยนต์ ศูนย์จัดแสดงมอเตอร์โชว์ และเขตชุมชนโดยเน้นดึงดูดธุรกิจด้านวิจัยพัฒนา บริการสมัยใหม่ประเภทธุรกิจอีคอมเมิร์สรถยนต์ รวมถึงธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงให้เข้ามาจัดตั้ง ทั้งนี้ รัฐบาลเซี่ยงไฮ้จะเร่งสร้างให้เจียติ้งเป็นเมืองใหม่ที่เป็นทั้งศูนย์กลางธุรกิจ โดยเน้นธุรกิจ E-commerce และเขตอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ด้านกีฬาและวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นชุมชนที่อยู่อาศัย ซึ่งมีความพร้อมทั้งเส้นทางรถไฟใต้ดิน โรงแรมชั้นนำ ศูนย์การค้า สวนสาธารณะ และศูนย์กีฬา

2.3 เขตเฟิ่งเสียน(奉贤): เมืองนิเวศวิทยาเพื่อธุรกิจสีเขียว

เฟิ่งเสียนแต่เดิมเป็นเขตชานเมืองที่เป็นฐานอุตสาหรรมของเซี่ยงไฮ้ โดยเน้นอุตสาหกรรมหลัก 8 สาขา ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่ส่วนใหญ่จะสร้างมลพิษ ได้แก่ เครื่องจักรกล เครื่องจักรทั่วไป เสื้อผ้า กระเป๋า วัสดุก่อสร้าง ยางและพลาสติก ปิโตรเคมี และสิ่งทอ

ปัจจุบันเขตเฟิ่งเสียนยกระดับอุตสาหกรรมใหม่ที่ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายของรัฐบาลเซี่ยงไฮ้ โดยเลือกเอาข้อดีที่มีภูมิประเทศเป็นต่อในการตั้งอยู่ติดกับทะเลและแม่น้ำ ซึ่งมีผลต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมในการสร้างจุดเด่นใหม่ที่สอดรับกับทิศทางการพัฒนาของเซี่ยงไฮ้ให้เป็นเมืองสีเขียวที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ และเป็นมิตรกับรสิ่งแวดล้อม โดยเลือกพื้นที่บริเวณตำบลหนานเฉียว ซึ่งเป็นเขตใจกลางเมืองสร้างให้เป็นฐานอุตสาหกรรมด้านยาชีวภาพและพลังงานใหม่ ส่วนอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสิ้นเปลืองและก่อให้เกิดมลพิษจะถูกเชิญให้ย้ายออกไปอยู่บริเวณรอบนอกแทน

2.4 ตำบลฉงหมิง(崇明): แหล่งเกษตรนิเวศ / แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศของเซี่ยงไฮ้

ตำบลฉงหมิง ประกอบด้วย เกาะ 3 เกาะทางทิศเหนือของนครเซี่ยงไฮ้ ได้แก่ เกาะฉงหมิง เกาะเหิงซา และเกาะฉางซิง ซึ่งมีพื้นที่รวมแล้วเป็นเกาะใหญ่อันดับ 3 ของจีน รองจากเขตปกครองพิเศษไต้หวันและเกาะไห่หนาน (หรือไหหลำ) ด้วยทำเลที่อยู่ห่างจากจุดศุนย์กลางความเจริญของเซี่ยงไฮ้ ทำให้ในอดีตที่ผ่านมาตำบลฉงหมิงนับเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลการพัฒนามากที่สุดของเซี่ยงไฮ้ แต่ปัจจุบันเขตที่ไม่มีอะไรเขตนี้ ได้กลายเป็นพื้นที่เกษตรนิเวศและแหล่งท่องเที่ยวตากอากาศแห่งหลักของเซี่ยงไฮ้ไปแล้ว

โครงการน่าทึ่งมูลค่ากว่า 12,000 ล้านหยวนที่ช่วยดึงฉงหมิงให้กระเถิบเข้ามาใกล้พื้นที่ในแผ่นดินส่วนที่เจริญแล้วของเซี่ยงไฮ้ คือ การสร้างอุโมงค์เดินรถเชื่อมต่อกับสะพานข้ามแม่น้ำรวมความยาว 25.5 ก.ม. เพื่อข้ามแม่น้ำ แยงซีไปยังเกาะฉงหมิง อีกทั้งเชื่อมเกาะทั้ง 3 แห่งถึงกัน โดยแบ่งเป็นส่วนอุโมงค์เดินรถยาว 8.9 ก.ม. และส่วนสะพานข้ามแม่น้ำแยงซีาว 10.3 ก.ม. ทำให้การเดินทางทางรถยนต์จากจากพื้นที่ในแผ่นดินถึงเกาะฉงหมิงทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งได้ช่วยดึงดูดทั้งการลงทุนและนักท่องเที่ยวมายังเกาะแห่งนี้มากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น สะพานข้ามทะเลดังกล่าวยังเตรียมความพร้อมด้านเทคนิครองรับการสร้างรถไฟลอยฟ้าบนสะพานเพื่อในอนาคตด้วย

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

เขตเมืองใหม่ผู่ตง(浦东)

เขตเมืองใหม่ผู่ตง มีพื้นที่ทั้งหมด 1,210 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 4.12 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรนครเซี่ยงไฮ้ ผู่ตงมีลักษณะตามภูมิศาสตร์เป็นสามเหลี่ยม ด้านตะวันออกติดกับแม่น้ำหวางผู่ ด้านตะวันตกติดกับปากแม่น้ำแยงซีเกียง (Yangtze River) และยังเป็นจุดศูนย์กลางของท่าเรือสำคัญของประเทศจีน ที่ซึ่งแม่น้ำแยงซีเกียงไหลลงทะเลจีน อันเป็นดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียงที่กว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้ยังสามารถขยายการค้าไปยังประเทศที่อยู่ริมมหาสมุทรแปซิฟิก และประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วได้อีกด้วย ซึ่งวันที่ 24 เมษายน ปี 2552 คณะรัฐมนตรีจีนยุบเขตหนานฮุ่ยรวมเข้ากับเขตผู่ตง ซึ่งนับแต่นี้ไปเขตผู่ตงจะไม่เพียงแต่เป็นที่ตั้งของย่านศูนย์กลางการเงินลู่เจียจุ่ย ท่าเรือไว่เกาเฉียว เขตพัฒนาอุตสาหกรรมจินเฉียวและจางเจียงเท่านั้น แต่จะเป็นที่ตั้งของเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนท่าเรือน้ำลึกหยางซานและเมืองใหม่หลินกั่งด้วย ซึ่งจะทำให้เขตผู่ตงกลายเป็นศูนย์รวมแหล่งอุตสาหกรรมการค้าและการเงินสำคัญแห่งใหม่ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของจีน

การปฎิรูปเขตการปกครองครั้งใหญ่นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผลให้จำนวนประชากร พื้นที่ และ GDP ของเขตผู่ตงเพิ่มขึ้น แต่ยังช่วยแก้ไขปัญหาจำนวนเที่ยวเรือโดยสารระหว่างท่าเรือไว่เกาเฉียวและท่าเรือหยางซานที่มีน้อย และลดปัญหาในการสับเปลี่ยนขนถ่ายสินค้าระหว่างเขตปลอดภาษีภายในของท่าเรือทั้ง 2 อีกด้วย ซึ่งรัฐบาลจัดให้เป็น 2 ท่าเรือนำร่องที่จะนำนโยบายการเดินเรือรูปแบบใหม่มาใช้ เพื่อสร้างฐานการพัฒนาศูนย์กลางการเดินเรือของโลกที่แข็งแกร่งของจีน รวมถึงเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลางการเงินโลกของนครเซี่ยงไฮ้อีกด้วย

การพัฒนาของเขตผู่ตงเริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นคริสตศตวรรษที่ 20 หลังจากผ่านไป 10 ปี ความพยายามในการเปิดประเทศและ การพัฒนาก็สัมฤทธิ์ผล ปัจจุบันผู่ตงจัดว่าเป็นไข่มุกแห่งปากแม่น้ำแยงซี มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ 4 เขตที่ฝั่ง Pudong ดังนี้

1. Lujiazui Finance and Trade Zone

เขตการเงินและการค้าระหว่างประเทศ image “ลู่เจียจุ่ย” มีพื้นที่ 28 ตารางกิโลเมตร เป็นศูนย์รวมของบริษัทข้ามชาติที่สำคัญ (รวมทั้งห้างสรรพสินค้า Super Brand Mall ของไทยด้วย) และมีตลาดธุรกิจระดับชาติ 6 ตลาด ได้แก่ 1) Shanghai Stock Exchange 2) Shanghai Securities Exchange 3) Shanghai Property Rights Exchange 4) Shanghai Real Estate Market 5) Shanghai Human Resource Market 6) Shanghai Diamond Exchange

2. Jinqiao Export Processing Zone

ขนาดพื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตร ในปลายปี ค.ศ. 2004 เขตนี้ได้ดึงดูดบริษัทลงทุนท้องถิ่นและจากต่างชาติถึง 410 แห่ง ยอดเงินลงทุนสูงถึง 11,064 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้มีการลงทุนจริงแล้ว 3,611 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าสินค้าอุตสาหกรรมรวม 123,407 ล้านหยวน ซึ่งในจำนวนนี้ 65,754 ล้านหยวนคิดเป็นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ และเทคโนโลยีระดับสูง เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์การสื่อสาร ยารักษาโรค อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนสมัยใหม่ เป็นแหล่งลงทุนสำคัญของกลุ่ม GM, NEC, Sharp ฯลฯ

3. Zhangjiang High-tech Park

ประกอบด้วยพื้นที่รวม 25 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ IT Biomedicine รวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ ตัวอย่างเช่น กลุ่มบริษัท Grace Semiconductor (ที่ร่วมทุนโดยบริษัทไต้หวัน กับ Silicon Storage Technology ของสหรัฐ) Semiconductor Inter ลงทุนมูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ บริษัท Honeywell International ผู้ผลิตชิ้นส่วนอัตโนมัติของอุปกรณ์ขนส่งและอากาศยาน บริษัทต่างๆ มากกว่า 382 แห่ง รวมถึง Citibank Asia-Pacific Software Sony BearingPoint Kyocera ได้ย้ายเข้ามาตั้งในแหล่งตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 2004

684-5

4. Waigaoqiao Free Trade Zone

เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนไว่เกาเฉียว จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2533 มีพื้นที่รวม 10 ตารางกิโลเมตร จัดเป็นเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนที่ มีความพร้อมด้านการบริหารจัดการและการบริการมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน โดยรัฐบาลนครเซี่ยงไฮ้มีเป้าหมายให้เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนไว่เกาเฉียวเป็นต้นแบบเขตการค้า และเป็นหน้าต่างสะท้อนจุดมุ่งหมายการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้าโลกของนครเซี่ยงไฮ้

การคมนาคมและโลจิสติกส์

นครเซี่ยงไฮ้เร่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของเซี่ยงไฮ้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบการคมนาคมที่รุดหน้าจนไปสู่ขั้น การเป็นโมเดลการพัฒนาให้กับ เมืองอื่นๆ ในจีน รวมถึงประเทศกำลังพัฒนา ทั้งระบบทางหลวง ทางด่วน อุโมงค์เดินรถที่มีมากกว่า 10 สาย สะพานข้ามทะเล สะพาน-อุโมงค์ข้ามเกาะ และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อนครเซี่ยงไฮ้เข้ากับเมืองเศรษฐกิจโดยรอบ

นครเซี่ยงไฮ้ยังเป็นเพียงเมืองเดียวของจีนที่มีรถไฟความเร็วสูงพลังแม่เหล็ก หรือ Maglev ที่ วิ่งด้วยความเร็วสูงสุดที่ 500 ก.ม. ต่อช.ม. ขณะเดียวกันก็มีระบบขนส่งสาธารณะก็มีความทันสมัยและสะดวกสบาย ทั้งรถไฟฟ้าที่เชื่อมการเดินทางทั้งเมืองอย่างทั่วถึงด้วยจำนวนมากกว่า 14 สาย รถประจำทางที่ขับเคลื่อนด้วยระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้โดยสารสามารถใช้บัตรโดยสารคมนาคมระบบเติมเงินเพียงใบเดียวในการใช้ บริการขนส่งสาธารณะทั้งรถประจำทาง รถไฟฟ้า รถแท็กซี่ รวมถึงรถไฟ Maglev

เส้นทางทางบก

นครเซี่ยงไฮ้ได้มีการพัฒนาเส้นทางการคมนาคมขนส่งทางบกไว้อย่างสมบูรณ์ โดยมีการบูรณาการเส้นทางเชื่อมถึงกันทั้งทางรถยนต์ ทางเรือ และทางเครื่องบิน รวมถึงเชื่อมต่อไปยังเมืองและมณฑลโดยรอบ โดยนครเซี่ยงไฮ้มีเส้นทางด่วนสายหลักยาว 650 กิโลเมตรที่เชื่อมต่อกับมณฑลเจียงซู เจ้อเจียง และเมืองต่างๆในเขตสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง โดยมีดาวเทียมควบคุมการจราจรทำให้การเดินทางจากนครเซี่ยงไฮ้ไปยังมณฑลอื่นๆครอบคลุมเขตสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงภายใน 4 ชั่วโมง

นอกจากนี้ ยังมีสะพานข้ามอ่าวหางโจวที่เป็นสะพานข้ามทะเลที่มีระยะทาง (เฉพาะส่วนที่ข้ามทะเล) ยาวที่สุดในโลก เชื่อมต่อนครเซี่ยงไฮ้ไปถึงเมืองหนิงโปและเมืองในมณฑลเจ้อเจียง ที่ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางลงได้ถึงเกือบ 2 ช.ม. นอกจากนี้ นครเซี่ยงไฮ้ยังมีสะพาน-อุโมงข้ามเกาะฉงหมิงที่ทำให้การเดินทางระหว่างเกาะของเซี่ยงไฮ้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

ระบบราง

1.รถไฟใต้ดิน

การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของนครเซี่ยงไฮ้ให้ความสำคัญสูงสุดที่ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ โดยเฉพาะระบบรถไฟใต้ดิน-บนดินที่ไม่เพียงเร่งขยายเส้นทางให้ครอบคลุมถึงเขตชานเมืองโดยรอบของนครเซี่ยงไฮ้ แต่ยังมีเส้นทางที่เชื่อมต่อไปถึงมณฑลข้างเคียงอีกด้วย เพื่อเพิ่มสมรรถนะของรถไฟใต้ดิน-บนดินให้เป็นระบบขนส่งเพื่อมวลชนอย่างแท้จริง โดยตั้งเป้าให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25 ในปัจจุบันเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนผู้โดยสารทั้งเมือง

ทั้งนี้ นครเซี่ยงไฮ้ตั้งเป้าก่อสร้างเส้นทางรถไฟใต้ดิน-บนดินทั้งสิ้น 800 กิโลเมตร โดยตั้งเป้าระยะใกล้ว่าจะขยายเส้นทางให้มีระยะทางเป็น 570 กิโลเมตร ภายในสิ้นปีค.ศ. 2012 โดยปัจจุบันที่มีเส้นทางที่เปิดให้บริการแล้วรวม 14 สาย คิดเป็นระยะทางประมาณ 600 ก.ม. คิดอัตราค่าโดยสารตามระยะทางตั้งแต่ 3 – 9 หยวน (หรือประมาณ 13 – 40 บาท : อัตราแลกเปลี่ยน 4.5 บาท/ 1 หยวน) มีผู้โดยสารประมาณ 5.4 ล้านคนต่อวัน

การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่จีนกระทำมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ นครเซี่ยงไฮ้ถือเป็นเมืองต้นแบบด้านการคมนาคมที่ทันสมัยของพื้นที่ในเขตลุ่มแม่น้ำแยงซี ซึ่งระบบรถไฟที่สะดวกรวดเร็วและมีเครือข่ายครอบคลุมไปยังเมืองสำคัญในพื้นที่โดยรอบจะเป็นปัจจัยในการเสริมสมรรถนะด้านการท่องเที่ยวและระบบโลจิสติกส์ของภาคตะวันออกของจีนที่มีท่าเรือสำคัญหลายแห่งให้สามารถเชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างทางเรือและทางบก ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งแล้ว ยังเป็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจและความเจริญจากนครเซี่ยงไฮ้สู่มณฑลในภูมิภาคด้วย

2. เส้นทางรถไฟความเร็วสูง

ได้แก่ (1) สายปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ (2) สายนครเซี่ยงไฮ้ – เมืองหางโจว (3) สายนครเซี่ยงไฮ้ – นครหนานจิง และ (4) รถไฟความเร็วสูงสายสถานนีหงเฉียวถึงเมืองเหอเฝย มณฑลอันฮุย

3. รถไฟ Maglev (Magnetic Levitation)

รถไฟความเร็วสูงระบบแม่เหล็กไฟฟ้าสายนี้เป็นรถไฟ Maglev เชิงพาณิชย์สายแรกของโลก โดยได้รับการบันทึกลงใน”กินเนสบุ๊ค เวิลด์ เรคคอร์ด” ว่าเป็นระบบการเดินรถภาคพื้นดินที่เร็วที่สุดในโลก และขณะนี้ถือว่าจีนเป็นประเทศแรกในโลกที่เปิดให้บริการรถไฟ Maglev ในเชิงพาณิชย์ ขณะที่ประเทศยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่นและเยอรมนียังอยู่ในช่วงการทดลองเท่านั้น

รถไฟ Maglev ของนครเซี่ยงไฮ้มีระยะทางรวม 30 กิโลเมตร เริ่มจากสถานี Longyang ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับ Metro Line 2 ถึงสถานีสนามบินนานาชาติผู่ตง ออกแบบให้มีความเร็วสูงสุดที่ 505 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ปัจจุบันวิ่งอยู่ที่ระดับความเร็วไม่เกิน 430 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากมีระยะทางสั้น โดยใช้เวลาทั้งสิ้นเพียง 7 นาทีเท่านั้นในการเดินทางจากสนามบินนานาชาติผู่ตงถึงตัวเมืองนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งขณะที่รถไฟ Maglev วิ่งด้วยความเร็วสูงจะมีระยะห่างระหว่างตัวรถกับรางเพียง 10 มิลลิเมตรเท่านั้น และควบคุมการวิ่งโดยระบบคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องมีพนักงานขับ

ระบบอุโมงค์

1. อุโมงค์ถนน Dalian

อุโมงค์ Dalian รอดใต้แม่น้ำ Huangpu เริ่มจากถนน Dalian บนฝั่งผู่ซีทางทิศเหนือและไปบรรจบที่ถนน Dongfang บนฝั่งผู่ตงทางทิศใต้ อุโมงค์ดังกล่าวมีช่องทางจราจร 4 ช่องทาง ความกว้างช่องทางละ 3.75 เมตร ถูกออกแบบให้จำกัดความเร็วของยานพาหนะที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี ค.ศ. 2003

2. อุโมงค์ถนน Fuxing ตะวันออก

เริ่มจากสี่แยกถนน Fuxing ตะวันออก กับถนน Guangqi บนฝั่งผู่ซี ไปออกที่ถนน Zhangyang ฝั่งผู่ตง ความยาวทั้งสิ้น 2,785 เมตร ประกอบด้วย 6 ช่องทางจราจร โดยสองช่องทางจราจรชั้นบนมีความกว้าง 3 เมตร ออกแบบสำหรับรถที่มีความสูงห้ามเกิน 2.4 เมตร ส่วนช่องทางจราจรที่ต่ำกว่ามีความกว้าง 3.5 เมตร และ ช่องทางฉุกเฉินมีความกว้าง 2.5 เมตร โดยมีความสูงจำกัดที่ 3.8 เมตร และมีความเร็วจำกัดที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อุโมงค์แห่งนี้เปิดให้บริการเมื่อปี ค.ศ. 2004

3. อุโมงค์ถนน Xiangyin

เป็นอุโมงค์ที่สร้างเพิ่มเชื่อมต่อกับทางด่วน Shanghai-Jiaxing ทางด้านทิศตะวันตก และเชื่อมต่อกับสี่แยกถนน Handan ตัดกับทางยกระดับวงแหวนรอบกลาง อุโมงค์แห่งนี้มีสองช่องอุโมงค์และแบ่งเป็น 4 ช่องทางจราจร ด้วยจำกัดความเร็วที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เริ่มให้บริการเมื่อปี ค.ศ. 2005

ระบบทางด่วน

ระบบทางด่วนมีระยะทางครอบคลุม 560 กิโลเมตร รองรับการขนถ่ายสินค้าได้ปีละ 327 ล้านตัน และรองรับจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการปีละ 24.68 ล้านคน ระบบทางด่วนนี้เชื่อมเมือง 392 เมือง 104 ตำบล และ 17 จังหวัด โดยแบ่งเป็นช่องทางด่วน Hu-Hang, Hu-Ning, Hu-Qing-Ping, Tong-San National และ Hu-Lu

1. ทางด่วน Hu-Qing-Ping

เริ่มจากถนน Zhongchun (ทิศตะวันออก) และสิ้นสุดที่ทางด่วน Zhufeng (ทิศตะวันตก) ระยะทางรวม 28 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างมณฑลเจ้อเจียง เจียงซูและเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ทางด่วนสายนี้ถูกออกแบบให้ใช้ระดับความเร็วอยู่ที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

2. ทางด่วนแห่งชาติ Tong-San

เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนที่ทอดตัวทางทิศเหนือจรดทิศใต้ของประเทศจีนตามพิมพ์เขียวของกระทรวงคมนาคมจีนเพื่อจะเชื่อมเมือง Tongjiang ของมณฑลเฮยหลงเจียง (Heilongjiang) กับเมือง Sanya ของมณฑลไห่หนาน (Hainan) ทางด่วนในส่วนของเซี่ยงไฮ้นี้เริ่มจากเขตจินซาน (Jinshan) ผ่านชิงผู่ (Qingpu), ซงเจียง (Songjiang) และจินซาน (Jinshan) ตามลำดับ ด้วยระยะทางทั้งสิ้น 75 กิโลเมตร โดยควบคุมความเร็วที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

3. ทางด่วน Hu-Lu

เป็นทางด่วนสายสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของนครเซี่ยงไฮ้ที่เชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกหยางซาน เขตเมืองใหม่โลจิสติกส์ Lingang New City เข้ากับตัวเมืองนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเริ่มจาก Huandong ทอดตัวข้ามวงแหวนรอบนอก ผ่านเขต Nanhui, Fengxian และ ผู่ตง ด้วยระยะทางรวมทั้งสิ้น 42.4 กิโลเมตร ประกอบด้วย สะพานข้ามถนน 8 สะพาน และสะพานข้ามแม่น้ำ 40 สะพาน ทางด่วนแห่งนี้ถูกจำกัดความเร็วที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ระบบทางยกระะดับ

เครือข่ายทางยกระดับในนครเซี่ยงไฮ้ประกอบด้วยทางยกระดับวงแหวนรอบใน ทางยกระดับถนนเหนือ-ใต้ และทางยกระดับถนน Yan An ซึ่งทางยกระดับวงแหวนรอบในมีระยะทางทั้งสิ้น 48 กิโลเมตร ประกอบด้วยวงแหวน Zhongshan ที่เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำ Huangpu ด้วยสะพาน Nanpu และสะพาน Yangpu ทางยกระดับถนนเหนือ-ใต้ตัดผ่านใจกลางเมืองเซี่ยงไฮ้ ผ่านเขต Zhabei, Jing An, Huangpu และ Luwan ตามลำดับ โดยรวมระยะทางทั้งสิ้น 8.45 กิโลเมตร และทางยกระดับถนน Yan An เริ่มจากถนน Zhongshan Dong 1 ทางด้านทิศตะวันออก และบรรจบกับสนามบินหงเฉียวทางด้านทิศตะวันตก ด้วยระยะทางรวมทั้งสิ้น 14.8 กิโลเมตร ซึ่งทางยกระดับถนน Yan An เป็นทางยกระดับที่สามารถเชื่อมต่อกับทางยกระดับทั้งสองตามที่กล่าวไว้ข้างต้น

ระบบทางสะพาน

1. สะพาน Nanpu

สะพาน Nanpu เป็นสะพานแขวน มีความยาวทั้งสิ้น 8,346 เมตร กว้าง 30.35 เมตร แบ่งเป็น 6 ช่องทางจราจร สูงจากระดับแม่น้ำ Huangpu (under-clearance) 46 เมตร จึงสามารถให้เรือบรรทุกสินค้าขนาด 55,000 ตันรอดผ่านใต้สะพานได้ สะพานแห่งนี้ถูกออกแบบให้ดูเหมือน “มังกรบินข้ามแม่น้ำ Huangpu” เริ่มเปิดใช้เมื่อ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1991

2. สะพาน Yangpu

สะพาน Yangpu เป็นสะพานแขวนที่ออกแบบให้คู่กับสะพาน Nanpu เพื่อสนับสนุนทางยกระดับวงแหวน รอบในให้มีความสมบูรณ์ในการข้ามแม่น้ำ Huangpu สะพานแห่งนี้มีความยาวทั้งสิ้น 7,658 เมตร มีความกว้าง 602 เมตร เปิดใช้เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993

3. สะพาน Lupu

สะพานแห่งนี้มีความยาวทั้งสิ้น 8.7 กิโลเมตร เริ่มจากถนน Luban บนฝั่งผู่ซี ข้ามแม่น้ำ Huangpuไปยังถนน Jiyang บนฝั่งผู่ตง ลักษณะโครงสร้างสะพานเป็นโครงสร้างเหล็ก มี 6 ช่องทางจราจร มี under-clearance 46 เมตร และมีช่องทางจราจรทางน้ำใต้สะพานกว้าง 340 เมตร สะพานแห่งนี้เริ่มเปิดใช้เมื่อปี ค.ศ. 2003

เส้นทางทางน้ำ

เซี่ยงไฮ้ได้บรรลุถึงการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงที่เชื่อมการขนส่งทางบก และทางทะเลเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีท่าเรือเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลาง การขนส่งทางทะเลนานาชาติ เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับท่าเรือสำคัญๆตลอดแนวแม่น้ำแยงซีเกียงภายในประเทศจีน เช่น ท่าเรือเมืองอู่ฮั่น ท่าเรือนครฉงชิ่ง ท่าเรือเมืองเจียงยิน ท่าเรือเวิ่นโจว ท่าเรือเมืองหนิงโป และท่าเรือเมืองโจวซาน การเลือกท่าเรือของนครเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการเดินเรือสินค้าเนื่องจากปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจทางด้านการเดินเรือ และปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งตรงกลางของประเทศ โดยมีมณฑลเจียงซูทางทิศเหนือ และมณฑลเจ้อเจียงทางทิศใต้เป็นมณฑลหลักในการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียงที่ยาว 763 กิโลเมตร เชื่อมกับทะเลตะวันออกซึ่งกินพื้นที่ทางทะเลขนาด 8,000 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทอดตัวยาว 186 กิโลเมตร และแนวเกาะยาว 577 กิโลเมตร จำนวน 16 เกาะ ซึ่งมีเกาะ Chongming เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศจีนตั้งอยู่

1. ท่าเรือไว่เกาเฉียว(外高桥โครงการก่อสร้างท่าเรือไว่เกาเฉียวเป็นโครงการที่เริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1993 เป็นท่าเรือขนาด 1.63 ตารางกิโลเมตร ลึก 13 เมตร และสามารถรองรับเรือขนถ่ายตู้สินค้าได้ 4 ลำ ลำละ 4,000 TEU

เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 ท่าเรือไว่เกาเฉียวเปิดให้บริการโครงการส่วนขยายต่อล่าสุด คือ ระยะที่ 6 ซึ่งมีพื้นที่ 1.819 ล้าน ตร.ม. ตั้งอยู่ริมฝั่งด้านทิศใต้ของปากแม่น้ำแยงซี ตรงข้ามกับเกาะฉางซิง ติดกับพื้นที่ของโครงการที่ 5 และใกล้กับอุโมงค์เดินรถใต้ดินฉางเจียง (The Yangtze Tunnel-Bridge) มีเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเลยาว 1,538 เมตร รวมมูลค่าการลงทุน 4,791 ล้านหยวน

ในส่วนของโครงการที่ 6 ประกอบด้วยท่าเทียบเรือที่สามารถรองรับเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 150,000 ตัน จำนวน 3 ท่า และท่าเทียบเรือขนส่งยานยนต์ขนาด 5,000 – 50,000 ตัน จำนวน 4 ท่า ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับปริมาณการขนถ่ายสินค้าตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 2.1 ล้านตู้ TEUs ต่อปี และการขนส่งรถยนต์จำนวน 730,000 คันต่อปี

2. ท่าเรือน้ำลึกหยางซาน(洋山)

รัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้อนุมัติการสร้างท่าเรือน้ำลึก หยางซานขึ้นที่เกาะหยางซานใหญ่และหยางซานเล็ก ในช่วงกลางปี ค.ศ. 2002 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในระยะสุดท้ายปี ค.ศ. 2020 โดยท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลของเซี่ยงไฮ้ทางทิศใต้ 27.5 กิโลเมตร อยู่ในอ่าวหางโจวโดยขึ้นอยู่กับเขตการปกครองของมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งภาครัฐมีความประสงค์ให้เป็นท่าเรือขนาดใหญ่ 18 ตารางกิโลเมตร มีความยาวชายฝั่งตลอดแนวน้ำลึก 22 กิโลเมตร สามารถรองรับเรือบรรทุกตู้สินค้าได้มากกว่า 50 ลำ ในขณะเดียวกันสามารถรองรับเรือดังกล่าวได้ทั้งรุ่นที่ 5 และ 6 (5,000-6,000 TEU) คิดเป็นความสามารถในการรองรับสินค้าต่อปีถึง 25 ล้าน TEU ซึ่งจะทำให้เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดและมีการขนส่งที่หนาแน่นที่สุดในโลก และจะทำให้ร่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้าระหว่างสองฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกลดลงจาก 16-17 วัน เหลือเพียง 10 วัน

3. ท่าเรือหลัวจิง(罗泾)

ท่าเรือแห่งนี้มีโครงการที่จะพัฒนาให้เป็นท่า Bulk Cargo อัตโนมัติแห่งแรกของโลก ซึ่งปัจจุบันท่าเรือแห่งนี้เป็นท่าสำหรับขนถ่ายลำเลียงถ่านหิน แร่ ปุ๋ยเคมี และสินค้าอื่นๆ ที่เป็นแบบ Bulk

เส้นทางทางอากาศ

เซี่ยงไฮ้มีเครือข่ายการคมนาคมทางอากาศที่เชื่อมต่อกับทุกๆ เมืองในจีนและทุกๆ เขตการบินพลเรือนของจีน ยกเว้นไต้หวัน นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับอีก 59 ประเทศทั่วโลก มี 31 สายการบินชั้นนำของโลกที่ให้บริการเที่ยวบินไปสู่นครเซี่ยงไฮ้ โดยท่าอากาศยานนานาชาติผู่ตงเป็นท่าอากาศยานหลักเพื่อการโดยสารระหว่างประเทศ ส่วนท่าอากาศยานหงเฉียวเป็นท่าอากาศยานรองที่ทำการบินทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ คาดว่าในปี ค.ศ. 2015 สนามบินผู่ตงและสนามบินหงเฉียวจะมีผู้โดยสารใช้บริการถึง 110 ล้านคน และมีสินค้าเข้าออกจำนวน 7 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้นครเซี่ยงไฮ้ได้รับการยกฐานะให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

1. ท่าอากาศยานนานาชาติหงเฉียว (Hong Qiao)

ท่าอากาศยานหงเฉียวได้ทำการขยายสนามบินเมื่อปี ค.ศ. 2007 โดยการเพิ่มลานบิน 2 ลาน และก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร 2 อาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการเมื่อกลางเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 ซึ่งได้เพิ่มศักยภาพของสนามบินหงเฉียวให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 40 ล้านคนต่อปี และรองรับปริมาณขนถ่ายสินค้าได้ 1 ล้านตันต่อปี

อาคารผู้โดยสาร 2 ของสนามบินหงเฉียวยังเชื่อมต่อกับศูนย์เปลี่ยนถ่ายคมนาคมหงเฉียวซึ่งมีที่ตั้งที่เชื่อมต่อกับทางยกระดับเหยียนอันซึ่งเป็นทางยกระดับสายหลักที่ตัดผ่านใจกลางเมืองนครเซี่ยงไฮ้ และทางด่วนที่เชื่อมต่อกับนครหนานจิง เมืองหางโจวและซูโจว ดังนั้นผู้โดยสารที่เดินทางลงเครื่องบิน ณ สนามบินหงเฉียวจึงสามารถเปลี่ยนการเดินทางไปเป็นรถไฟใต้ดิน / รถแท๊กซี่/ รถประจำทาง / รถยนต์ส่วนตัวได้ทันทีที่ศูนย์เปลี่ยนถ่ายคมนาคมดังกล่าว อีกทั้งยังสามารถเดินทางต่อไปเปลี่ยนเครื่องบินระหว่างประเทศที่สนามบินนานาชาติผู่ตงโดยทางรถไฟใต้ดินสาย 2 ด้วย ซึ่งเป็นรถไฟใต้ดินสายแรกของนครเซี่ยงไฮ้ที่เชื่อมสนามบินทั้ง 2 แห่งของนครเซี่ยงไฮ้ถึงกัน

ปัจจุบันสายการบินในประเทศส่วนใหญ่ได้ย้ายเค้าเตอร์ Check-in จากอาคารผู้โดยสาร 1 ไปที่อาคารผู้โดยสาร 2 ของสนามบินหงเฉียวแล้ว ส่วนอาคารผู้โดยสาร 1 จะเปิดให้บริการผู้โดยสารประเภทเครื่องบินเช่าเหมาลำของสายการบิน Spring Airlines และสายการบินที่เดินทางสู่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี

2. ท่าอากาศยานนานาชาติผู่ตง (Pudong International Airport)

ปัจจุบันสนามบินนานาชาติผู่ตงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 32 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองนครเซี่ยงไฮ้ 30 กิโลเมตร และห่างจากสนามบินหงเฉียวประมาณ 40 กิโลเมตร มีพื้นที่อาคารผู้โดยสาร 272,000 ตารางเมตร โดยมีจำนวนประตูขึ้นเครื่องบิน 28 ช่องทาง การก่อสร้างช้เงินลงทุนประมาณ 13,000 ล้านหยวน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปี และรองรับการขนถ่ายสินค้าได้ถึง 750,000 ตันต่อปี ลานบินที่หนึ่งมีขนาดความยาว 4,000 เมตร กว้าง 60 เมตร สามารถรองรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่เดินทางระยะไกลได้ ส่วนลานบินที่สองมีขนาดความยาว 3,800 เมตร กว้าง 60 เมตร สร้างแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2004

ท่าอากาศยานนานาชาติผู่ตงทำการขยายสนามบินเมื่อ 1 ตุลาคม ปี ค.ศ. 2006 โดยสร้างถนนเชื่อมเข้าสู่สนามบินทางทิศใต้ เพื่อเชื่อมเข้ากับทางด่วน Shenjiahu ซึ่งเป็นทางที่เชื่อมไปยังมณฑลเจ้อเจียง และเชื่อมไปยังท่าเรือน้ำลึกหยางซาน การมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกดังกล่าวทำให้บริษัทขนส่งสินค้ารายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก UBS ได้เลือกท่าอากาศยานดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าทางอากาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาติผู่ตงได้เปิดใช้อาคารผู้โดยสาร 2 แล้วเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2008 หลังจากได้เริ่มโครงการก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี 2548 มีเนื้อที่รวม 546,000 ตารางเมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอาคาร 1 ถึงเกือบ 1 เท่าตัว

นอกจากบริการภายในตัวอาคารผู้โดยสารแล้ว ด้านโครงสร้างยังมีศูนย์จราจรแห่งใหม่ที่เชื่อมระหว่างอาคาร 1 และอาคาร 2 เปิดให้บริการในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย โดยผู้โดยสารที่จะเดินทางมายังสนามบินนานาชาติผู่ตงสามารถใช้บริการคมนาคมผ่านศูนย์จราจรดังกล่าว ได้แก่ บริการรถโดยสารสนามบิน (airport shuttle service) รถโดยสารประจำทางระยะไกล รถไฟหัวกระสุน (Maglev) รถแท็กซี่ และรถโดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสาร 1 และ 2 ที่ให้บริการเป็นระยะทุกๆ 10 นาที เป็นต้น

เส้นทางการบินที่สำคัญ

ปัจจุบันมีเที่ยวบินตรงระหว่างเซี่ยงไฮ้ – กรุงเทพฯ (ไป – กลับ) เฉลี่ยวันละ 24 เที่ยวบิน จากสายการบิน 6 บริษัท ได้แก่

  • Thai Airways (TG)
  • China Eastern Airlines (MU)
  • Shanghai Airlines (FM)
  • Spring Airlines (9C)
  • JUNEYAO Airlines
  • SriLankan Airlines (UL)

เศรษฐกิจ

ข้อมูลเศรษฐกิจปี 2561

GDP – USD ๔.๘๐ แสนล้าน (+6.6%)
GDP per Capita – USD 20,38.86  /   CPI – 1.6%
การค้าระหว่างประเทศ – USD 971,520 ล้าน (+10.2%)
มูลค่าการนำเข้า – USD 409,080 ล้าน (+12.1%) โดยมีสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้ากลุ่มนวัตกรรมขั้นสูง ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยา และตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ สหภาพยุโรป อาเซียน อเมริกาเหนือญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี
มูลค่าการส่งออก – USD 562,440 ล้าน (+8.9%) โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อุปกรณ์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรศัพท์ และตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง
การค้ากับไทย – USD 18,393 ล้าน (+11.40%) ไทยขาดดุลการค้า โดยเซี่ยงไฮ้นำเข้าสินค้าจากไทย USD 7,419 ล้าน (+15.12%) และส่งออกไปไทย USD 10,978 ล้าน (+9.02%)
สินค้าที่นำเข้าจากไทย – เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล พลาสติก อุปกรณ์ทางการแพทย์ และยางพารา
สินค้าที่ส่งออกไปไทย – เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และพลาสติก

ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 2561 (ข้อมูลจากสำนักงานสถิตินครเซี่ยงไฮ้ http://www.stats-sh.gov.cn)
– มูลค่าการนำเข้าและส่งออกที่ศุลกากรนครเซี่ยงไฮ้ ระหว่างเดือน ม.ค.-ต.ค. 2561 5.285 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ในช่วงเดียวกันจากปี 2560 โดยการนำเข้ามีมูลค่า 2.256 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6และการส่งออกมีมูลค่า 3.029 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7
– มูลค่าการนำเข้าและส่งออกนครเซี่ยงไฮ้ ระหว่างเดือน ม.ค.-ต.ค. 2561 มูลค่าการค้าต่างประเทศรวมอยู่ที่ 2.811 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในช่วงเดียวกันจากปี 2560 โดยการนำเข้ามีมูลค่า 1.694 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8  โดยเป็นการนำเข้าจากภาคเอกชนต่างประเทศที่มาลงทุน 1.087 ล้านล้านหยวน รัฐวิสาหกิจจีน 3.048 แสนล้านหยวน และภาคเอกชนจีน 2.902 แสนล้านหยวน การส่งออกมีมูลค่า 1.116 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ในช่วงเดียวกันจากปี 2560 โดยเป็นการนำเข้าจากภาคเอกชน ตปท. ที่มาลงทุน 7.210 แสนล้านหยวน รัฐวิสาหกิจจีน 1.291 แสนล้านหยวน และภาคเอกชนจีน 2.576 แสนล้านหยวน โดยสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับที่หนึ่ง 2.554 แสนล้านหยวน รองลงมาคือญี่ปุ่น 1.154 แสนล้านหยวน และสหภาพยุโรป 1.952 แสนล้านหยวน
– การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ระหว่างเดือน ม.ค.-ก.ย. 2561 เซี่ยงไฮ้มีการจัดทำสัญญาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จำนวน 3704 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 3.36 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 ในช่วงเดียวกันจากปี 2560
– การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ระหว่างเดือน ม.ค.-ต.ค. 2561 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 แบ่งเป็นการลงทุนในสามประเภท ได้แก่ (1) การลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8  (2) การลงทุนในด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4  (3) การลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8
– รายได้ภาคประชากรนครเซี่ยงไฮ้ ณ สิ้นปี 2560 โดยรายได้เฉลี่ยหลังหักภาษีของผู้อยู่อาศัยในเซี่ยงไฮ้
อยู่ที่ 58,988 หยวน สูงที่สุดเมื่อเทียบกับเมืองต่าง ๆ ในจีน และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 8.7
– รายจ่ายภาคประชาชนของนครเซี่ยงไฮ้ ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2561 มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีรายจ่ายต่อหัวอยู่ของผู้อยู่อาศัยในเมืองอยู่ที่ 22,587 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 และรายจ่ายของเกษตรเฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 10,233 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5
– การบริโภคสินค้าอุปโภคบริโภค ระหว่างเดือน ม.ค.-ต.ค. 2561 มีมูลค่า 1.028 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 8  แบ่งเป็นสินค้าอุปโภค 9.373 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 สินค้าบริโภค 9.14 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 

ภาพรวมการพัฒนาของนครเซี่ยงไฮ้

  • ในปี 2560 เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองแรกในจีนที่มีขนาด GDP มากกว่า 3 ล้านล้านหยวน โดยในปี 2561 มีขนาด GDP 80 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีอัตราการขยายตัวของ GDP ที่ร้อยละ 6.6 มีมูลค่าการค้าบริการคิดเป็นร้อยละ 30 ของการค้าต่างประเทศ มีปริมาณการค้าปลีกร้อยละ 54.4 มากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีปริมาณการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 40 ล้านตู้ ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดในโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 9
  • นครเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่มีบรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation : MNC) ตั้งอยู่มากที่สุดในจีน เป็นสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคจำนวน 674 แห่ง มี MNC ที่มีขนาดการลงทุนสูงกว่า 91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 1,477 แห่ง และมีศูนย์วิจัยและพัฒนา 426 แห่ง
  • Oxford Economics คาดการณ์ว่าในปี 2578 นครเซี่ยงไฮ้จะมีขนาด GDP เป็นอันดับ 5 ของโลกต่อจากนิวยอร์ก โตเกียว ลอนดอน ลอสแอนเจลิสตามลำดับ (กรุงเทพฯ อันดับที่ 46) และ Global Financial Centres Index (GFCI) จัดอันดับนครเซี่ยงไฮ้อยู่ในอันดับ 6 ศูนย์กลางทางการเงินของโลกในปี 2560
  • นครเซี่ยงไฮ้มีการลงทุนจากต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด คิดเป็น 1 ใน 4 ของ GDP สร้างรายได้ทางภาษีคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 และมีการจ้างงานแรงงานคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 โดยจวบจนถึงปี 2560 มีสัญญาการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 4.24 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีทุนที่ชำระแล้ว จำนวน 2.23 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ มีจำนวนโครงการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งหมด 91,400 โครงการ เป็นโครงการใน Shanghai Free Trade Zone จำนวน 2,400 โครงการ โดยการลงทุนจากต่างประเทศในนครเซี่ยงไฮ้ 3 อันดับแรกประกอบไปด้วยฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
  • นครเซี่ยงไฮ้ตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางของโลกด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภายในปี 2563 (Global center for technology and innovation) และแผนแม่บทของนครเซี่ยงไฮ้ ปี 2560-2578 มุ่งให้เป็นมหานครที่ทันสมัยในด้านนวัตกรรม ศิลปกรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีมาตรการสำคัญดังนี้ (1) ควบคุมจำนวนประชากรให้อยู่ที่ประมาณ 25 ล้านคน (มากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก) (2) ควบคุมให้ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของ WHO (3) สร้างพื้นที่ป่าไม้ครอบคลุมร้อยละ 23
    (4) มีการลงทุนในด้านนวัตกรรมคิดเป็นร้อยละ 5 ของ GDP
  • เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2561 ธนาคารโลกรายงานผลการประกอบธุรกิจประจำปี 2562 (World Bank’s Doing Business 2019) สนับสนุนการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจของจีนและนครเซี่ยงไฮ้ โดยจีนได้รับการจัดอันดับที่ 46 จากจำนวน 190 ประเทศ จากอันดับที่ 78 เมื่อปีที่แล้ว (ไทยอันดับที่ 27) โดยนครเซี่ยงไฮ้
    จัดอันดับเป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจของจีนที่ร้อยละ 55 และกรุงปักกิ่งร้อยละ 45 และสนับสนุนการลดขั้นตอนในการจัดตั้งธุรกิจจาก 22 วัน เหลือ 9 วัน และลดจำนวนค่าใช้จ่ายในการขออนุมัติก่อสร้างจาก 200,000 หยวนเป็น 70,000 หยวน
  • นอกจากนี้ในปี 2561 มีจำนวนบริษัทจัดตั้งใหม่ในนครเซี่ยงไฮ้จำนวน 1,333 แห่งต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.97 จากปีที่แล้ว นครเซี่ยงไฮ้เป็นอันดับที่ 9 ในด้าน Globalization จากผลการรายงานของ World Cities Research Network Survey และอันดับที่ 5 ในดัชนี Global Financial Centers
    โดยคณะกรรมการปฏิรูปนครเซี่ยงไฮ้ระบุผลการรายงานดังกล่าวสะท้อนความพยายามของภาครัฐจีนในการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงนโยบายของรัฐบาลเซี่ยงไฮ้ในการลดขั้นตอนราชการต่าง ๆ
  • แผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 13 (2559-2563) ของนครเซี่ยงไฮ้ ตั้งเป้าหมายให้นครเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศ 4 ด้านภายในปี 2020 ได้แก่ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางการเงิน ศูนย์กลางการค้า และศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางเรือ และสนับสนุนนโยบายปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคการผลิตไปสู่ภาคบริการและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงมากขึ้น ส่งเสริมให้ภาคเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของนครเซี่ยงไฮ้และมณฑลชายฝั่งภาคตะวันออกของจีน

พัฒนาการที่สำคัญของนครเซี่ยงไฮ้

  • การจัดงาน China International Import Expo (CIIE) มีขึ้นระหว่างวันที่ 5-10 พ.ย. 2561ที่นครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายทางการทูตที่สำคัญประการหนึ่งของจีนในปี 2561 โดยงาน CIIE จัดขึ้นเพื่อแสดงบทบาทนำของจีนในการส่งเสริม economic liberalization/ globalization เป็นงานนิทรรศการสินค้าที่ส่งเสริมการ “นำเข้า” ครั้งแรกของโลกในโอกาสครบรอบ 40 ปีการปฏิรูปประเทศจีน
  • ภายในงาน CIIE มีการจัดนิทรรศการจาก 172 ประเทศ และองค์กรระหว่างต่างประเทศมีบริษัทเข้าร่วม 3,600 บริษัท ในพื้นที่ 300,000 ตรม. และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 400,000 คน ภายใต้หัวข้อ “New Era, Shared Future โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ (1) Country Pavilion (2) นิทรรศการแสดงสินค้า และ
    (3) Hongqiao International Trade Forum เวทีอภิปรายเพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้า โดยมีกลุ่มบริษัท Fortune Global 200 แห่งระดับโลกเข้าร่วมด้วย อาทิ นาย Bill Gates และนาย Jack Ma
  • งานดังกล่าวถือเป็นการ show case ว่าจีนพร้อมที่จะปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้เปิดกว้างและเป็นไปตามกลไกระหว่างประเทศมากขึ้น ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่มีนัยสำคัญ นอกเหนือไปจากการแสดงเชิงสัญลักษณ์ผ่านการจัดงาน CIIE เท่านั้น ทั้งนี้ จีนอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการส่งออก (export-led growth) ไปสู่การบริโภคภายในประเทศ (domestic consumption) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 78 ของ GDP ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 ภายใน 5 ปี โดยงาน CIIE จะช่วยส่งเสริมการปฏิรูปด้านอุปทาน (supply-sided reform) ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างมีคุณภาพ (high-quality growth) และส่งเสริมภาคเอกชนซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 60 ของ GDP และร้อยละ 90 ของการจ้างงานใหม่
  • ความคืบหน้าการดำเนินตามแผนพัฒนา 5 ปีของจีนของนครเซี่ยงไฮ้

– เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2561 Shanghai Daily รายงานว่ารัฐบาลนครเซี่ยงไฮ้ประกาศผลการดำเนินตามแผนการพัฒนา 5 ปีของจีนฉบับที่ 13 (ปี ค.ศ. 2016-2020) โดยระบุว่าการขยายตัวของ GDP ในปี 2560 สูงกว่าร้อยละ 6.5 และมีมูลค่ามากกว่า 3 ล้านล้านหยวนเป็นครั้งแรก เป็นอันดับที่ 7 ของโลกในด้าน Urban GDP มีปริมาณ GDP ต่อหัว 127,000 หยวน ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาสิ้นสุดแผนฉบับที่ 12 ร้อยละ 19.5 เทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้วขนาดกลาง โดย ณ สิ้นปี 2560 ชาวเซี่ยงไฮ้มีรายได้ต่อปี 58,988 หยวน สูงที่สุดในจีน ขยายตัวร้อยละ 8.7/ ปี
– ภาคการบริการยังคงเป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างอุตสาหกรรมของเซี่ยงไฮ้โดยคิดเป็นร้อยละ 70 ของ GDP  ขณะที่อุตสาหกรรมด้านการผลิตคิดเป็นร้อยละ 25  ขณะที่มูลค่าเพิ่มของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธศาสตร์ใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 จากช่วงสิ้นสุดแผนฉบับที่ 12 ค่าใช้จ่ายในด้านการวิจัยและพัฒนา เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 3.9 ของ GDP (จากร้อยละ 3.7) และการเป็นเจ้าของสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นจาก 28.9 ฉบับเป็น 44.5 ฉบับ/ ประชากร 10,000 คน

– มูลค่าการส่งออกและนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยมีมูลค่าการค้าที่ท่าเรือมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงที่สุดในบรรดาเมืองต่าง ๆ ของโลก มูลค่าการส่งออกและนำเข้าด้านการบริการคิดเป็นร้อยละ 30 ของจีน มูลค่าตลาดด้านการเงินของนครเซี่ยงไฮ้คิดเป็นร้อยละ 85 ของจีน และมีการก่อตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ 107 แห่ง ในช่วง 2 ปี 6 เดือน
– ชาวเซี่ยงไฮ้มีค่าเฉลี่ยของอายุ 83.4 ปี ณ สิ้นปี 2560 และมีค่าเฉลี่ยของมลภาวะในอากาศ (PM2.5)
39 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ในปี 2560 ซึ่งลดลงร้อยละ 26.4 จากปี 2558 สัดส่วนของรถเมล์พลังงานสะอาดเพิ่มเป็นร้อยละ 43 และไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 134 จากปี 2558
– การขนส่งสาธารณะขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีการขยายเส้นทางรถเมล์ 62 กม. และร้อยละ 62
ของผู้ที่ใช้การขนส่งสาธารณะเดินทางโดยรถไฟใต้ดิน
– มีนักท่องเที่ยวจีนมาเซี่ยงไฮ้ 318 ล้านคน นักท่องเที่ยวต่างประเทศ 8.7 ล้านคน รายงานดังกล่าวยังระบุความท้าทายของเซี่ยงไฮ้ในด้านบริการสาธารณสุข อาทิ ปัญหาจำนวนเตียงผู้ป่วย การดูแลด้านการพยาบาลแก่เด็กในชุมชน ขาดแคลนบ้านพักคนชราที่มีบริการการแพทย์ และภาระด้านการศึกษาที่นักเรียนต้องแบกรับ

  • นครเซี่ยงไฮ้ดึงดูดบริษัทด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาด้านการวิจัย

– นครเซี่ยงไฮ้เตรียมจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนบริษัทด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสนับสนุน
ด้านนโยบายและการเงินมากที่สุด 2 ล้านหยวน ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์การเป็นมหานครของโลกด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยปัจจุบันเซี่ยงไฮ้มี บริษัทด้าน high-tech 9,000 แห่ง และตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มเป็น 20,000 แห่ง ภายในปี 2565 นโยบายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันเชิงเทคโนโลยีในระดับโลก ส่งเสริมการมีสิทธิบัตรเป็นของตนเอง โดยมุ่งเน้นส่งเสริมในด้าน biological medicine อุตสาหกรรมการการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง และยานยนต์พลังงานสะอาด

– นโยบายดังกล่าวสอดคล้องกับคำกล่าวของ ปธน. สีฯ ในห้วงงาน CIIE ที่ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการ ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมประจำ Shanghai Stock Exchange เพื่อส่งเสริมการจัดหาทุนของกลุ่มธุรกิจ start-ups และขยายเขตทดลองการค้าเสรีให้มากขึ้น (Shanghai FTZ) โดยเฉพาะในภาคการบริการ ทั้งนี้ แม้ว่ารายได้และผลกำไรด้านเทคโนโลยีของนครเซี่ยงไฮ้จะมีมูลค่าสูงที่สุดในจีน แต่จำนวน start-ups ด้านเทคโนโลยียังมีน้อยกว่ากวางตุ้ง กรุงปักกิ่ง รวมถึงมณฑลข้างเคียง เช่น เจ้อเจียงและเจียงซู

  • บริษัทในกลุ่ม New Business บรรลุของตกลงใน FTZ

– เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2561 Shanghai Daily รายงานความคืบหน้าการลงทุนของ บริษัทเอกชนต่างชาติ 12 แห่ง ในกลุ่ม “ธุรกิจใหม่” ลงทุนใน FTZ อาทิ IfFP Shanghai สถาบันด้านการวางแผนทางการเงินชั้นนำจากสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจะเป็นสถาบันฝึกอบรมด้านการเงินจากต่างชาติแห่งแรกในจีน Travelex บริษัทแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศใหญ่ที่สุดในโลกจากอังกฤษ ซึ่งจะจัดตั้งสำนักงานในภูมิภาคเอเชียแห่งแรกใน FTZ  China-Russia Commercial Aircraft Corp เป็นบริษัทร่วมทุนพัฒนาเครื่องบินระยะไกล และบริษัท Elekta จากสวีเดนที่พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ด้านการฉายรังสีโดยพลังงานสนามแม่เหล็ก

– นโยบายการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจมากขึ้นภายใน FTZ ทำให้มีบริษัทต่างชาติมาลงทุนภาคการบริการเพิ่มมากขึ้น 340 แห่ง ระหว่างช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 โดยจนถึงปัจจุบัน FTZ ได้ดึงดูดธุรกิจเข้ามาลงทุนแล้ว จำนวนทั้งหมด 2,744 แห่ง สอดคล้องกับแนวนโยบายที่ประกาศโดยนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ (นายอิง หย่ง) ที่สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้ บริษัทเอกชนคิดเป็น 1 ใน 4 ของ GDP ของนครเซี่ยงไฮ้ 1 ใน 5 ของการค้าต่างประเทศ 1 ใน 3 ของรายได้ภาษี และมากกว่าร้อยละ 70 ของการจ้างงานใหม่ ภาคเอกชนยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยี โดยบริษัทด้านเทคโนโลยีนครเซี่ยงไฮ้ร้อยละ 90 มาจากภาคเอกชน นอกจากนี้ นครเซี่ยงไฮ้ยังได้จัดตั้งกองทุน 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจของเอกชนอีกด้วย

  • บริษัทต่างชาติมีปริมาณการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น

– เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2561 รัฐบาลนครเซี่ยงไฮ้รายงานภาพรวมบริษัทต่างชาติในปี 2560 โดยมี 1,348 แห่ง ที่มีการนำเข้าและส่งออกมากกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผลกำไรมากกว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 จากปีก่อนหน้า โดย SAIC Volkswagen Automotive มีรายรับและการจ่ายภาษีมากที่สุดในบรรดาบริษัทต่างชาติทั้งหมด ขณะที่ Pegatron Technology บริษัทอิเล็กทรอนิกส์จากไต้หวัน มีการนำเข้าและส่งออกและการจ้างงานมากที่สุด โดยจนถึงสิ้นเดือน ต.ค. 2560 เซี่ยงไฮ้ได้ดึงดูดโครงการลงทุนจากต่างชาติ 95,000 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนจริง 237.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เขตเศรษฐกิจพิเศษนครเซี่ยงไฮ้

  • เขตทดลองการค้าเสรีนครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Free Trade Zone: SFTZ) ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2556 มีขนาดพื้นที่ประมาณ 28.78 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่สำคัญ 3 แห่ง ได้แก่ (1) เขตท่าเรือสินค้าทัณฑ์บนหยางซาน (2) เขตคลังสินค้าทัณฑ์บน/เขตโลจิสติกส์ไว่เกาเฉียว และ (3) เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนสนามบินผู่ตง  ต่อมารัฐบาลนครเซี่ยงไฮ้ได้ประกาศแผนการขยายพื้นที่เขตทดลองการเสรีฯ ครอบคลุมพื้นที่ 120.72 ตารางกิโลเมตร โดยขยายพื้นที่บูรณาการไปยัง (1) เขตเศรษฐกิจฝั่งผู่ตง (2) เขตธุรกิจการเงินลู่เจียจุ่ย และ (3) เขตพัฒนาเศรษฐกิจสากลจินเฉียว และ (4) เขตพัฒนาอุตสาหกรรมชั้นสูงจางเจียงเกาเคอ เพื่อขยายการทดลองการปฏิรูปภาคการเงินให้กว้างขวางมากขึ้น
  • กล่าวได้ว่าเขตทดลองการค้าเสรีฯ คือ เขตที่ก่อตั้งขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีกฎระเบียบ/นโยบายการบริหารจัดการและควบคุมแตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ ภายในจีน โดยจะมีลักษณะเสมือนเป็นพื้นที่นอกอาณาเขตของจีน และสร้างให้เป็นเขตที่มีการเปิดสู่ภายนอกสูงที่สุดในด้านการค้า การลงทุน การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศระหว่างกัน และมีการคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพและสะดวก รวมทั้งระบบกฎหมายและกฎระเบียบที่ได้มาตรฐาน โดยมุ่งปฏิรูปและเปิดกว้างเศรษฐกิจใน 4 ด้านหลักดังกล่าว ดังนี้
  • ในโอกาสครบรอบ 5 ปี ของการก่อตั้งเขตทดลองการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเปิดตัวเป็นแห่งแรกในจีน
    เมื่อเดือน ก.ย. 2556 ปธน.สีฯ ย้ำเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่จะพัฒนาเขตทดลองการค้าเสรีแห่งนี้ ให้มีรูปแบบการค้าเสรีที่นำโดยนวัตกรรม และหลีกเลี่ยงการค้ารูปแบบดั้งเดิมที่อาจมีปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยประกาศใช้ Negative List หรือรายการสาขาธุรกิจต้องห้าม 100 กว่ารายการ ด้านการค้า มีการจัดการแยกประเภทของสินค้า โดยใช้ระบบ “Frontier Opening, Second-tier Effective and Efficient Control” ทำให้สินค้าผ่านเข้าออกด่านได้เร็วขึ้น ลดต้นทุนการขนส่งของบริษัท
    และมาตรการอื่น ๆ เช่น “Enter First, Declare Later” และ “Self-transportation” ด้านการเงิน มีการจัดตั้งระบบFree Trade Account เพื่อบริหารจัดการเงินหยวนและเงินตราต่างประเทศ
  • ในปี 2560 มีเงินทุนใน 3 พื้นที่แรกของเขตทดลองการค้าเสรีนี้ สูงถึง 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อนหน้า ในกลางปี 2561 มีบริษัทจดทะเบียนใหม่มากกว่า 5 หมื่นรายชื่อ มีสัดส่วนบริษัทต่างชาติมาลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 20% เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคของบรรษัทข้ามชาติกว่า 250 บรรษัท มีมูลค่าการส่งออกและนำเข้า 6.08 ล้านล้านหยวน หรือ 885 พันล้านเหรียญสหรัฐ
  • ในด้านการปฏิรูปภาคการเงิน การสร้างระบบบัญชีการค้าเสรีเป็นพื้นฐานสำคัญในการส่งเสริม
    การแปลงบัญชีทุนและการเปิดกว้างตลาดการเงิน ภายใต้ระบบบัญชีการค้าเสรีนี้ ผู้ประกอบการและสถาบันการเงินสามารถแลกเปลี่ยนเงินหยวนผ่านบัญชีทุนได้เป็นอิสระมากขึ้น (capital account) ซึ่งจีนได้พยายามลดการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ จนถึงเดือนเมษายนของปี 2561 สถาบันการเงินในเซี่ยงไฮ้ได้เปิดบัญชีการค้าเสรีกว่า 71,000 บัญชี  ผู้ประกอบการสามารถรับการสนับสนุนทางการเงินถึง 1.2 ล้านล้านหยวน ทั้งสกุลเงินหยวนและสกุลเงินต่างประเทศจากบัญชีการค้าเสรีนี้ ในอนาคต จะมีการใช้รูปแบบบัญชีการค้าเสรีเช่นนี้กับภูมิภาคเขตลุ่มน้ำแยงซีทั้งหมด
Download ตารางข้อมูลบริษัท:
กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน