LIAONING

มณฑลเหลียวหนิง

1. ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งและพื้นที่

  • มณฑลเหลียวหนิงมีชื่อย่อว่า “เหลียว” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน
  • มีที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นลองจิจูด 118 53’ ถึง 125 46’ องศาตะวันออก และละติจูด 38 43’ ถึง 43 26’ องศาเหนือ
  • ทิศเหนือติดกับมณฑล จี๋หลิน และเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน
  • ทิศใต้ติดกับกรุงปักกิ่ง และเทียนจิน
  • ทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกมีระยะทาง 550 กิโลเมตร
  • จากทิศเหนือไปยังทิศใต้มีระยะทาง 550 กิโลเมตร
  • มณฑลเหลียวหนิงมีความยาวชายฝั่ง 2,178 กิโลเมตร และเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ประเทศจีนทางเหนือและเขตพื้นที่เศรษฐกิจทะเลป๋อไห่

มณฑลเหลียวหนิงมีพื้นที่ทั้งหมด 145,900 ตร.กม. คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.5 ของพื้นที่ประเทศจีนทั้งประเทศ ในจำนวนพื้นที่ทั้งหมด

  • พื้นที่ที่เป็นภูเขาและเนินเขาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.8
  • พื้นที่ราบลุ่มคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.4
  • ส่วนพื้นที่น่านน้ำทะเลมีีขนาด 150,200 กิโลเมตร โดยเป็นพื้นที่บริเวณทะเลป๋อไห่ 78,300 ตร.กม. และทะเลเหลือง 71,900 ตร.กม.

ข้อมูลประชากร

มณฑลเหลียวหนิงประกอบด้วยประชากร 44 ชนชาติ ยกตัวอย่างเช่น

  • ชนชาติฮั่น
  • ชนชาตมองโกล
  • ชนชาตแมนจู
  • ชนชาตหุย
  • ชนชาตเกาหลี
  • ชนชาตซีป๋อ
  • ชนชาตจ้วง
  • ชนชาตเหมียว
  • ชนชาตถู่เจีย
  • ชนชาตอี๋
  • ชนชาตต๋าว่อเอ๋อร์

ชนกลุ่มน้อยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของประชากรโดยในจำนวนนี้ประชากรชนชาติแมนจู มองโกล หุย เกาหลีและซีป๋อมีจำนวนค่อนข้างมาก

ปี 2557 มณฑลเหลียวหนิงมีประชากรจำนวน 43.91 ล้านคน แบ่งออกเป็น

  • ประชากรชาวเมือง 29.44 ล้านคน
  • ประชากรชาวชนบท 14.47 ล้านคน
  • ประชากรเกิดใหม่มีทั้งสิ้น 2.85 แสนคน อัตราการเกิดพันละ 6.49
  • ประชากรเสียชีวิต 2.47 แสนคน อัตราการตายพันละ 6.23 อัตราการเติบโตของประชาชนลบพันละ 0.26

สภาพภูมิอากาศ

มณฑลเหลียวหนิงมีภูมิอากาศแบบลมมรสุมภาคพื้นทวีปแบบอบอุ่นแถบเหนือ ฤดูร้อนอบอุ่น ฤดูหนาวยาวนาน ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงสั้น พื้นที่ทิศตะวันออกชุ่มชื้น ส่วนทิศตะวันตกแห้งแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 7-11 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 400 มิลลิเมตรต่อปี

ทรัพยากรสำคัญ

มณฑลเหลียวหนิงมีแหล่งทรัพยากรพลังงาน ได้แก่ ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และยูเรเนียม
โดยมีทรัพยากรน้ำมันใต้ดินและก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับสามของประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 และร้อยละ 10 ของประเทศตามลำดับ

นอกจากนั้นยังมีทรัพยากรแร่โลหะเหมาะสำหรับการทำอุตสาหกรรมโลหะผสม ได้แก่ แร่เหล็ก แมงกานีส แมกนีเซียมคาร์บอเนต ซีลิกา หินปูน ฟลูออไรด์ และแร่ Dolomite เป็นต้น

โดยแร่เหล็กมีปริมาณมากถึงหนึ่งในสี่ของทั้งประเทศ ส่วนแร่แมงกานีส โบรอน เพชร หยก และหินปูน มีมากอยู่ในอันดับต้นของประเทศ

ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม

ปรากฎหลักฐานฟอลซิลกะโหลกศีรษะมนุษย์ apeman บริเวณต้าฉือเฉียว เทือกเขาจินหนิว เมืองหยิงโข่ว แสดงให้เห็นว่ามีมนุษย์ดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่บริเวณนี้เมื่อ 280,000 ปีก่อน และปรากฎหลักฐานเครื่องมือมนุษย์ช่วงกลางยุคหินเมื่อ 150,000 ปีก่อนที่บริเวณเมืองเฉาหยาง

นอกจากนี้ ยังปรากฎหลักฐานมนุษย์ยุคหินใหม่ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เมื่อ 6,000 – 7,000 ปีก่อนหลงเหลืออยู่ในเมืองเสิ่นหยาง

ศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสตกาล มณฑลเหลียวหนิง ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของ นครรัฐยานในสมัยชุนชิว และเป็นเมืองที่อยู่ติดกับเมืองของราชวงศ์ซาง หลังจากนั้น มณฑลเหลียวหนิงได้ถูกปกครองโดยหลายราชวงศ์ มณฑลเหลียวหนิงปรากฎหลักฐานที่ชัดเจนสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) โดยมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระราชวังโบราณ “เสิ่นหยางกู้กง” ในปี 1931 เมืองเสิ่นหยางถูกปกครองโดยประเทศญี่ปุ่น

หลังจากจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 มณฑลเหลียวหนิงได้ถูกแบ่งออกเป็นสองมณฑลคือ มณฑลเหลียวหนิงตะวันออก และมณฑลเหลียวหนิงตะวันตก ต่อมาในปี 1954 เหลียวหนิงตะวันออก และเหลียวหนิงตะวันตกได้รวมเป็นมณฑลเหลียวหนิงอีกครั้ง โดยมีเมืองเสิ่นหยางเป็นเมืองหลวง

2. ข้อมูลด้านการปกครอง

การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง

มณฑลเหลียวหนิงตั้งอยู่บนคาบสมุทรเหลียวตง
ประกอบด้วยเมืองทั้งหมด 14 เมือง ได้แก่

  • เมืองเสิ่นหยาง
  • เมืองต้าเหลียน
  • เมืองอันซาน
  • เมืองฝู่ซุ่น
  • เมืองเปิ่นซี
  • เมืองจิ่นโจว
  • เมืองฟู่ซิน
  • เมืองเถี่ยหลิง
  • เมืองผานจิ่น
  • เมืองตานตง
  • เมืองหยิงโข่ว
  • เมืองเหลียวหยาง
  • เมืองเฉาหยาง
  • เมืองหูหลูเต่า

รูปแบบการปกครองของมณฑลเหลียวหนิง

หน่วยงานต่าง ๆ ของมณฑลเหลียวหนิง

Construction Department Culture Department (Cultural Heritage Bureau)
Development and Reform Commission Economic and Trade Commission
Education Department Environmental Protection Bureau
Ethnic Affairs Commission (Religious Affairs Bureau) Finance Department
Food and Drug Administration Foreign Trade and Economic Cooperation Department
Forestry Department Grain Bureau
Health Department Industry and Commerce Administration
Information Industry Department Intellectual Property Office
Justice Department Labour and Social Security Department
Land and Resources Department Legislative Affairs Office
Local Taxation Bureau Oceanic and Fishery Department
Office of Foreign Affairs and Overseas Chinese Affairs People’s Air Defence Office
Personnel Department Population and Family Planning Commission
Press and Publication Bureau (Copyright Bureau) Price Bureau
Prison Affairs Bureau Provincial General Office
Public Security Department Quality and Technical Supervision Bureau
Radio and Television Bureau Research Office (Restructuring Economic System Office)
Rural Economic Commission Science and Technology Department
Sport Bureau State Security Department
State-owned Assets Supervision and Administration Commission Statistics Bureau
Supervision Department Tourism Bureau
Township Enterprises Bureau Water Resources Department

ผู้บริหารฝ่ายการเมือง

นายหลี่ ซี (Li Xi)

เลขาธิการพรรคฯ

นายหวาง หมิ่น (Wang min)

รักษาผู้ว่าการมณฑล

นายเซี่ย ฝูจาน (Xie Fuzhan)

ปธ.สภาผู้แทน ปชช.

นายยุ่ว ฝูหง (Yue Fuhong)

ปธ.สภาที่ปรึกษาการเมือง

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลเหลียวหนิงที่ www.ln.gov.cn

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เมืองสำคัญ

1. นครเสิ่นหยาง

  • นครเสิ่นหยาง เป็นเมืองหลวงของมณฑลเหลียวหนิง
  • เป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การค้า และการคมนาคมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน
  • มีพื้นที่ทั้งหมด 13,000 ตร.กม. มีขนาดใหญ่เป็นอันดับหกของประเทศจีน เขตเมืองมีพื้นที่ 3,495 ตร.กม.
  • อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 8.3 องศาเซลเซียส
  • ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 500 มิลลิเมตร

นครเสิ่นหยาง ได้รับการขนานนามว่า “นครแห่งอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ (Equpiment manufacture industry)” ในช่วงเริ่มต้นของการก่อตั้งประเทศจีนในปีค.ษ. 1950 เน้นพัฒนาอุตสาหกรรม Equipment manufacture industry เป็นอุตสาหกรรมหนักพื้นฐาน โดยหนึ่งในสามของอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาจากนครเสิ่นหยาง ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในอุตสาหกรรมถ่านหิน อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตซีเมนต์ และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในการก่อสร้างเส้นทางหลวง เป็นต้น ในภายหลังนครเสิ่นหยางได้มุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นด้วย ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ติดตั้งชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมการผลิตยาเคมี และอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ

ปัจจุบัน บริษัทที่มาลงทุนในนครเสิ่นหยาง ได้แก่ บริษัท Canadian Mining Group Inco โดยร่วมกับบริษัท Korea Nickel Corp ผลิต Nickel foam ซึ่งใช้ในแบตเตอรี่ที่สามารถนำกลับมาชาร์ทใหม่ได้ รวมทั้งสามารถนำมาใช้ในเครื่องยนต์ไฮบริคได้ด้วย

นครเสิ่นหยาง ยังผลิตเครื่องบินเจท หุ่นยนต์ใต้น้ำ Photo-electron spectrometer และ Laser processor และถือเป็นรายแรกของประเทศจีน นครเสิ่นหยางเป็นฐานการผลิตหุ่นยนต์และมีสถาบันวิจัยหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน โดยมีผู้ถือหุ้นหลัก คือ Shenyang Automation Institute ทั้งนี้ ในปี 2020 ประเทศจีนมีแผนส่งพาหนะซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ไปยังดวงจันทร์

นอกจากนี้นครเสิ่นหยางยังมีการลงทุนในด้านอาหารสัตว์และอุตสาหกรรมยาจาก BASF, Hong Kong Pacific Can (ผู้ผลิตพาชนะบรรจุอาหารให้ PepsiCoke) มีการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์จาก Hyundai Mobil และ SEW Eurodrive (ประเทศเยอรมนี) มณฑลเหลียวหนิงเป็นแหล่งผลิตยางรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน โดยมีการลงทุนจาก Michelin ร่วมกับ Shengyang Tyre Factory และการลงทุนจาก Prime Stone, Mitsui และ Bridgestone ประเทศญี่ปุ่น

2. เมืองต้าเหลียน

  • เป็นเมืองท่า เมืองแห่งอุตสาหกรรม การค้า และการท่องเที่ยว ที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศจีน
  • โดยในปี 1930 – 1940 อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นกว่า 300,000 คน อาศัยอยู่ในเมืองต้าเหลียน
  • เมืองต้าเหลียนยังเป็นเมืองที่ได้รับการยอมรับจากนักเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นเมืองหนึ่งในห้าของเมืองที่มีความเป็นสากล และมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรองจากฮ่องกง ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว
  • มีพื้นที่ทั้งหมด 13,800 ตร.กม.
  • อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่อปี 10 องศาเซลเซียส
  • ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปี 700 มิลลิเมตร

เมืองต้าเหลียน เป็นเมืองฐานอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศจีน โดยให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า อุตสาหกรรมเบาประเภทสิ่งทอและเสื้อผ้า อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมหลอมโลหะ อุตสาหกรรมอาหารและยา โดยมีวิสาหกิจและธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ CPC Dalian Shipyard Limited Liability Company ซึ่งเป็นบริษัทต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และ Dalian New Shipbuilding Heavy Industry Co., Ltd. โรงงานต่อเรือทันสมัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน เมืองต้าเหลียนถือเป็นฐานการส่งออกเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และมีโรงงานผลิตหัวรถไฟกำลังสูงที่ใช้พลังงานขับเคลื่อนจากเชื้อเพลิง ปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 50 ของหัวรถไฟกำลังสูงที่ใช้พลังงานขับเคลื่อนจากเชื้อเพลิงล้วนมาจากเมืองต้าเหลียน

เมืองต้าเหลียนมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จากประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ Matsushita Electric Industrial, Toshiba ร่วมลงทุนกับ Dalian Daxian Group ในการผลิตชุดโทรทัศน์ เครื่องดีวีดี และกล้องดิจิตอล, Canon, Sanyo, Mabuchi, Kirin Brewery

นอกจากนั้น มีการลงทุนจากประเทศเกาหลี ได้แก่ Hynix, LG Group จากสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Coca – Cola, Goodyear, Pfizer, US piping manufacturer Victaulic, Volkswagen

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเมืองเสิ่นหยาง
(Shenyang Economic and Technological Development Zone)

เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 1988 มีพื้นที่ทั้งหมด 32 ตร.กม มีบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุนในเขตพื้นที่นี้ 83 ราย และโรงงานมากกว่า 700 โรงงาน เป็นเขตฐานอุตสาหกรรมเก่าของประเทศจีน และเป็นศูนย์กลางทางการค้าและโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดในตอนเหนือของประเทศจีน โดยอุตสาหกรรมที่เด่นในเขตนี้คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมอาหารและยา อุตสาหกรรมการทำโลหะผสม อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

นอกจากนี้ยังเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจที่ได้รับการส่งเสริมให้ลงทุนในด้านอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้า อุปกรณ์ก่อสร้าง ปิโตรเคมี ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ New materials และวิศวกรรมเคมี ในเขตนี้มีการลงทุนจาก Coca-Cola, Matsushita Electric, SEW- EURODRIVE (Shenyang) Holdings Co. Ltd, BASF, Michelin, Bridestone, Novo Nordisk, Alcatel, ITT, Panasonic, Mitsubishi, ABB, Sanyo, Hino, Lavalin

2. เขตพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่เสิ่นหยาง
(Shenyang Hi-tech Development Zone)

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2002 โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 56 ตร.กม. มีมาตรการ และกลยุทธ์หลักคือ การยกระดับการแข่งขันของสินค้าเกษตร เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยความได้เปรียบของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมในพื้นที่ เป็นเขตที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการเกษตรระดับสูงเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร เกษตรกรรมเชิงนิเวศวิทยา และการแปรรูปสินค้าเกษตร ภายในเขตได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ทางวิทยาศาสตร์ พื้นที่เกษตร พื้นที่การแปรรูปเกษตร และพื้นที่ทดลองสมัยใหม่

ผู้ลงทุนหลักในอุตสาหกรรมการแปรรูปในเขตนี้ ได้แก่ Shenyang Huishan Dairy Co.Ltd. (อุตสาหกรรมการแปรรูปนม) Shenyang huishan huamei Hy-line Livestock & poutry co.ltd (อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารสัตว์ปีก COFCO), Holiland (อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร)

3. ห้าเขตพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวชายฝั่งมณฑลเหลียวหนิง

เป็นเขตที่มีพื้นที่ตั้งอยู่บริเวณแนวชายฝั่ง 5 เขตพัฒนาใหม่ที่สำคัญ ได้แก่

  • เขตเศรษฐกิจแนวชายฝั่งจิ่นโจววาน (Liaoxi Jinzhou Bay Coastal Economic Zone)
  • เขตอุตสาหกรรมแนวชายฝั่งหยิงโข่ว (Yingkou coastal industrial base)
  • เขตอุตสาหกรรมริมท่าเรือของเกาะฉางซิงเมืองต้าเหลียน (Dalian Changxing Island Lingang Industrial Zone)
  • Zhuanghe Dalian Huayuankou Industrial Park
  • Dandong Industrial Park

บนฝั่งแม่น้ำเหลือง มีพื้นที่ทั้งหมด 374.33 ตร.กม. ในเดือนสิงหาคม ปี 2005 ทั้งห้าเขตนี้ได้รับการยกระดับให้เป็นเขตพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สำคัญของมณฑล โดยตามแนวชายฝั่งของทั้งห้าเขตนี้มีการสร้างถนนหลวงบินไห่และทางด่วนเชื่อมต่อถึงกัน จึงเปรียบเสมือน “ไข่มุกทั้งห้าเม็ดบนสายเส้นเดียวกัน”

จากเขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศจีน อันได้แก่

  • เขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง)
  • เขตเศรษฐกิจแม่น้ำจูเจียงและเขตเศรษฐกิจจิงจินจี้

ซึ่งปัจจุบันพบว่าเขตเศรษฐกิจต่างๆ เหล่านี้ ต่างเป็นเขตที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม และมีการลงทุนจับจองพื้นที่ต่างๆ จนหมด และไม่มีพื้นที่ว่างเปล่าสำหรับการก่อตั้งอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในขณะที่ห้าเขตพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวชายฝั่งของมณฑลเหลียวหนิงยังมีพื้นที่ว่างเปล่าเหมาะสมสำหรับการเข้ามาลงทุน และการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมอีกมาก ทั้งนโยบายปลอดภาษีที่ดินในบางพื้นที่ของเขตนี้ ซึ่งไม่สามารถมีได้ในเขตเศรษฐกิจชายฝั่งตะวันออก จึงป็นจุดเด่นและศักยภาพสำหรับเขตนี้ โดยในอนาคตจะเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีบทบาทใหม่อีกเขตหนึ่งรองจากเขตเศรษฐกิจทั้งสาม

นอกจากนั้น ห้าเขตพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวชายฝั่งของมณฑลเหลียวหนิง มีทำเลที่ตั้งอันเหมาะสม สืบเนื่องจากเป็นเขตที่มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออก อันได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีบทบาทที่สำคัญ และในแต่ละเขตเศรษฐกิจในห้าเขตนี้ต่างมีท่าเรือขนส่งของตนเอง รวมทั้งมีทางด่วนที่เชื่อมต่อกัน เหมาะสมสำหรับการพัฒนาต่อไปในอนาคต โดยปัจจุบันมีการลงทุนในการสร้างสิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานไปแล้ว 30,000 ล้านหยวน

นอกจากนั้น ห้าเขตพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวชายฝั่งของมณฑลเหลียวหนิง ยังมีศักยภาพที่สำคัญ คือ เป็นเขตที่มีทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน เหมาะสมแก่การตั้งโรงงานอุตสาหกรรม

มณฑลเหลียวหนิงเป็นที่ตั้งของโรงงานกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดเจ็ดแห่งจากสิบแห่งของประเทศจีน โดยในปี 2004 ถึง 2005 ประเทศจีนมีปัญหาขาดแคลนน้ำมัน และพลังงานไฟฟ้า แต่มณฑลเหลียวหนิงยังมีพลังงานเหล่านี้ใช้อย่างเพียงพอ ดังนั้นจึงเป็นเขตที่เหมาะสำหรับการลงทุนและการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในอนาคต

4. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีต้าเหลียน
(Dalian Economic & Technological Development Zone)

เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติแห่งแรกของประเทศจีน โดยเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1984 มีพื้นที่ทั้งหมด 36 ตร.กม. โดยมีการลงทุนจากบริษัทต่างชาติ 1,600 แห่ง และมีการลงทุนจาก 500 บริษัทชั้นนำของโลกจาก 36 ประเทศ โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนในเขตนี้มากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส

เป็นเขตฐานอุตสาหกรรมหนักเดิม ได้แก่

  • อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
  • เหล็กและเหล็กกล้า
  • ปิโตรเคมี
  • เคมี
  • ถ่านหิน
  • ไฟฟ้า
  • วัสดุก่อสร้าง
  • ป่าไม้
  • สิ่งทอ
  • อาหารและอุตสาหกรรมกระดาษ

และจากการที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่ก่อตั้งเป็นแห่งแรกของประเทศจีน มีระยะเวลาในการพัฒนาทางอุตสาหกรรมยาวนานกว่าเขตพัฒนาเศรษฐกิจอื่นๆ จึงทำให้เขตนี้มีการพัฒนาฐานอุตสาหกรรม และมีการยกระดับ ดูดซับเทคโนโลยีชั้นนำต่างๆ ได้ไม่น้อย นับเป็นเขตพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เนื่องจากเป็นเขตพัฒนาที่มีการบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ดี ทำให้ราคาที่ดินในเขตอุตสาหกรรมนี้สูงกว่าเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเทียนจิน (TEDA) หลายปีที่ผ่านมาค่าแรงท้องถิ่นก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในเขตนี้มีการลงทุนจาก Toshiba โดยร่วมกับ Dalian Daxian Group สร้างโรงงานผลิตโทรทัศน์จอสี และ Panasonic ได้เข้าร่วมมาลงทุนสร้างโรงงานผลิตโทรศัพท์ไร้สายและดิสก์ไดรพ์ในปี 2005

5. เขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงต้าเหลียน
(Dalian Hi – Tech Industrail Zone)

เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ โดยเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 1991 มีพื้นที่ทั้งหมด 35.6 ตร.กม.โดยในเขตนี้มีการลงทุนกว่า 2,300 บริษัท เป็นบริษัทต่างชาติกว่า 800 บริษัท จากประเทศต่างๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส ไต้หวัน ฮ่องกง โดย 30 กว่าบริษัทเป็นบริษัทใน Golbal Fortune 500 ในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา ในเขตนี้แบ่งออกเป็นเขตสำคัญใหญ่ๆ 4 เขต ได้แก่

  1. เขตฐานอุตสาหกรรมชีเสียนหลิง ( Qixianling Industrial Base ) มีพื้นที่ทั้งหมด 5.68 ตร.กม. เป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ศูนย์กลางการวิจัย โดยมีบริษัทกว่า 100 บริษัทลงทุนภายในเขตนี้ บริษัทไอทีและไอซี เช่น Hi-Soft, Hualu, Luming, Dell, Bearingpoint, Erricson เป็นต้น
  2. Dalian Software Park มีพื้นที่ทั้งหมด 7.16 ตร.กม. ฐานการส่งออกซอฟแวร์และ China – NEUSOFT Institute of Information Technology ในเขตนี้มีบริษัทลงทุนธุรกิจซอฟแวร์ประมาณ 200 บริษัท เริ่มจัดงาน Software fair ตั้งแต่ปี 2003 บริษัทลงทุนในเขตนี้ เช่น Microsoft, Intel, NEC, Panasonic, IBM
  3. Dalian DD Port ( Digital & DNA ) มีพื้นที่ทั้งหมด 20 ตร.กม. เป็นเขตที่มุ่งเน้นในการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิตอลเทคโนโลยีและเทคโนโลยี ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ Multimedia Information, Computer software and hardware วิศวพันธุกรรม ยาชีวเคมี Marine Biological เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร โดยภายในเขตนี้ยังแบ่งเป็นเขตย่อยๆ ได้แก่ Opticom Industrial Park, Digital Manufacturing Park, Japanese Digital Port, Dd Pioneering Park
  4. Longtou Park มีพื้นที่ทั้งหมด 23.7 ตร.กม. มีระยะทางห่างจากศูนย์กลางเมืองต้าเหลียน 30 กิโลเมตร เป็นเขตที่มุ่งเน้นในอุตสาหกรรม Integrated circuit ระดับสูง

6. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีหยิงโข่ว
(Yingkou Economic & Technical Development Zone : YETDZ)

เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1992 มีระยะทางห่างจากใจกลางเมืองหยิงโข่ว 50 ตร.กม. ห่างจากเมืองต้าเหลียน 150 กม. ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเหลียวตง เมืองหยิงโข่ว เป็นเขตที่มีการลงทุนจากต่างประเทศในการแปรรูปอุตสาหกรรมการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำและพืชในอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นหลัก อุตสาหกรรมการแปรรูปการผลิตสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งทำจากวัสดุไม้และวัสดุทนไฟ รวมทั้งอุตสาหกรรมเสื้อผ้า การตกแต่งก่อสร้างในอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นหลัก และการลงทุนในภาคบริการ ได้แก่ โรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ และมีการลงทุนจากต่างประเทศ 28 ประเทศ ที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ซึ่งลงทุนในอุตสาหกรรมการแปรรูป เสื้อผ้า และเครื่องสำอาง และประเทศอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สิงค์โปร์ อังกฤษ อินเดีย

การคมนาคมและโลจิสติกส์

เส้นทางทางบก

ปี 2557 มณฑลเหลียวหนิงมีทางหลวงความยาว 114,504 ก.ม.โดยมีทางด่วนความยาว 4,172 ก.ม.

โดยเส้นทางด่วนระหว่างเมืองภายในมณฑลที่เปิดให้บริการแล้ว ได้แก่

  • เส้นทางด่วนกรุงปักกิ่ง-นครเสิ่นหยาง
  • เมืองเฉาหยาง-เมืองจิ่นโจว
  • นครเสิ่นหยาง-เมืองตันตง
  • เมืองฟู่ซิน-เมืองจิ่นโจว
  • นครเสิ่นหยาง-เมืองต้าเหลียน
  • เมืองต้าเหลียน-เมืองตันตง
  • นครเสิ่นหยาง-อำเภอจางอู่
  • เมืองเปิ่นซี-อำเภอเหลียวจง
  • เมืองต้าเหลียน-ท่าเรือต้าเหยาวาน
  • เมืองเฉาหยาง-เมืองเถี่ยหลิง
  • เมืองผันจิ่น-เมืองไห่เฉิง

ส่วนเส้นทางด่วนระหว่างมณฑลที่สำคัญคือ เส้นทางด่วนนครเสิ่นหยาง-เมืองจี๋หลิน (มณฑลจี๋หลิน) และเส้นทางด่วนนครเสิ่นหยาง-เมืองซื่อผิง (มณฑลจี๋หลิน) มณฑลเหลียวหนิงมีความหนาแน่นของเส้นทางรถไฟอยู่ในระดับต้น ๆ ของประเทศ เส้นทางทางรถไฟมีความยาว 4,891 ก.ม. มีเส้นทางไปยังเมืองต่าง ๆ ของประเทศจีนรวม 57 เส้นทาง

โดยมีนครเสิ่นหยางเป็นศูนย์กลางการขนส่ง นอกจากนี้ มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงความยาว 1,040 ก.ม. รถไฟความเร็วสูงฮาร์บิน-ต้าเหลียนได้เปิดให้บริการตลอดเส้นทาง โดยมีระยะเส้นทางที่อยู่ภายในมณฑลเหลียวหนิงทั้งสิ้น 555.4 ก.ม.

เส้นทางทางน้ำ

มณฑลเหลียวหนิงมีท่าเรือที่สำคัญ 5 แห่ง ได้แก่

  • ท่าเรือต้าเหลียน
    เป็นท่าเรือในการขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศและท่าโดยสารไปยังเมืองเซี่ยงไฮ้และเทียนจิน และเป็นท่าเรือที่ใหญ่อันดับที่ 4 ของจีน
  • ท่าเรือหยิงโข่ว
    เป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนรองจากท่าเรือต้าเหลียน และเป็นท่าเรือที่ใหญ่อันดับที่ 10 ของจีน
  • ท่าเรือตานตง
  • ท่าเรือจิ่นโจว
  • ท่าเรือหูหลูเต่า

เส้นทางทางอากาศ

มณฑลเหลียวหนิงมีสนามบินทั้งหมด 6 แห่ง อาทิ

  • สนามบินเมืองเสิ่นหยาง
  • สนามบินเมืองต้าเหลียน
  • สนามบินเมืองอันซาน
  • สนามบินเมืองจิ่นโจว
  • สนามบินเมืองตานตง
  • สนามบินเมืองเฉาหยาง

ซึ่งมีเส้นทางการบินระหว่างประเทศทั้งหมด 88 เส้นทางจาก 17 ประเทศ

1. ท่าอากาศยานนานาชาติเถาเซียนเสิ่นหยาง(Shenyang Taoxian International Airpor)

ท่าอากาศยานจี้หนานเปิดให้บริการในปีค.ศ. 1989 และได้รับการขยายในปีค.ศ.1995 เป็น 1 ใน 8 ศูนย์กลางทางอากาศของจีนตั้งอยู่ห่างจากตัวนครเสิ่นหยาง 20 กม. มีอาคารผู้โดยสาร 3 แห่ง โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 25 ล้านคนต่อปีและรองรับการขนถ่ายสินค้าได้ถึง 420,000 ตันต่อปี

2. ท่าอากาศยานนานาชาติโจวสุ่ยจือต้าเหลียน(Dalian Zhoushuizi International Airport)

ปัจจุบันสนามบินนานาชาติต้าเหลียนได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.1975 มีพื้นที่อาคารผู้โดยสาร 136,000 ตร.ม. โดยมีจำนวนเส้นทางการบินทั้งสิ้น 145 เส้นทาง สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 16-20 ล้านคนต่อปี

เศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑล

1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)

  • GDP เติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 11
  • รายได้ของรัฐบาลเพิ่มร้อยละ 15 ต่อปี
  • เพิ่มการจ้างงานใหม่จำนวนไม่ต่ำกว่า 4 ล้านอัตรา พร้อมรักษาอัตราการว่างงาน (ที่ลงทะเบียน) ไม่เกินร้อยละ 4
  • การลงทุนในทรัพย์สินถาวรเพิ่มร้อยละ 15 ต่อปี
  • ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ภาคธุรกิจบริการมีสัดส่วนใน GDP เหลียวหนิงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 42 อัตราความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70
  • การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) สังคมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.2 ของ GDP เหลียวหนิงทั้งหมด
  • รายได้ของประชาชนในเขตเมืองเติบโตร้อยละ 11 ต่อปี รายได้ของประชาชนในเขตชนบทเติบโตร้อยละ 10 ต่อปี

2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2015

  • GDP เติบโตกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 6
  • เพิ่มรายได้การคลังสาธารณะร้อยละ 2
  • เพิ่มการลงทุนในทรัพย์สินถาวรร้อยละ 6
  • ส่งเสริมให้าการเติบโตของรายได้ประชาชนพัฒนาตามทันการเติบโตของเศรษฐกิจ
  • เพิ่มยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคร้อยละ 11
  • รักษาระดับการจ้างงาน ตั้งเป้าให้เกิดการจ้างงานใหม่ 570,000 ตำแหน่ง และควบคุมอัตราการว่างงานให้อยู่ที่ร้อยละ 4.5
  • ควบคุมให้ดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ที่ร้อยละ 3

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมหนักและการแปรรูปวัตถุดิบของจีน
  • เป็นมณฑลที่ผลิตเหล็กกล้ามากเป็นอันดับ 2 ของจีน ผลิตเหล็กหลอมเป็นอันดับ 3 ของจีนและผลิตน้ำมันดิบเป็นอันดับ 4 ของจีน
  • มีคลังขนาดใหญ่ที่สุดในจีนสำหรับเก็บสำรองธัญพืชจำพวกเมล็ดข้าว มีโรงงานแปรรูปแป้งสาลี 1,050 ดันต่อวัน
  • มีพื้นที่ทำประมงน้ำเค็มใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

รัฐบาลเหลียวหนิงได้ดำเนินยุทธศาสตร์ 3 ประการในการเปิดเสรีต่อทุนต่างประเทศและกาพัฒนา ได้แก่ ยุทธศาสตร์การบุกเบิกพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายฝั่งทะเล ยุทธศาสตร์เขตเศรษฐกิจเสิ่นหยางและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวนตกเฉียงเหนือเหลียวหนิง
ซึ่งยุทธศาสตร์ 2 ประการแรกได้ถูกกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ

โดยเหลียวหนิงเน้นสาขาอุตสาหกรรมที่สำคัญ ดังนี้

  • การผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ระดับสูง เช่น เครื่องมือการแพทย์ ชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์โลจิสติกส์ ยางล้อ วัสดุทองเหลืองและเหล็กด้วยกรรมวิธีการผลิตเทคโนโลยีระดับสูง เป็นต้น
  • การผลิตและวิจัยพัฒนาเมล็ดธัญพืช ผักและผลไม้ (บริษัทจีนถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่)
  • การแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
  • อุตสาหกรรมเพื่อการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิ การแปรรูปพลังงาน การปลูกป่าไม้ การปลูกทุ่งหญ้า
  • ธุรกิจสิ่งทอระดับสูง
  • การผลิตและแปรรูปยาชีวภาพ

ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน