Macao Special Administrative Region
เขตบริหารพิเศษมาเก๊าข้อมูลพื้นฐาน
เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรษฐกิจ
การคมนาคมและโลจิสติกส์
เศรษฐกิจ
นโยบายด้านการบริหาร
ที่ตั้ง / ขนาดพื้นที่
มาเก๊าตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของจีน และอยู่ทางตะวันตกของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล (Pearl River Delta) โดยมีพรมแดนติดกับมณฑลกวางตุ้ง และมีระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตรจากฮ่องกง ในปี 2565 มาเก๊ามีพื้นที่ 33.3 ตารางกิโลเมตร เพิ่มเติมจากในอดีตอันเนื่องมาจากการถมทะเล โดยพื้นที่มาเก๊าจะประกอบด้วยคาบสมุทรมาเก๊า (Macao Peninsula) เกาะ Taipa และเกาะ Coloane โดยมีสะพาน 3 สะพานเชื่อมคาบสมุทรมาเก๊ากับเกาะ Taipa ได้แก่ Governor Nobre de Carvalho Bridge (Ponte Governador Nobre de Carvalho), Amizade Bridge (Ponte da Amizade) และ Sai Van Bridge (Ponte de Sai Van) สำหรับเกาะทั้งสองเชื่อมติดกันด้วยพื้นที่ส่วนที่เป็นการถมทะเลที่ นอกจากนี้มาเก๊ายังมีพื้นที่เพิ่มมาจากการสร้างขึ้นใหม่ในส่วนที่เรียกว่า New Urban Zone และพื้นที่ในส่วนของ Macao border crossing area ในบริเวณด่าน จูไห่-มาเก๊า (Zhuhai – Macao checkpoint) อันเป็นที่ตั้งของสะพานที่เชื่อม ฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า เข้าด้วยกัน
ข้อมูลประชากร
จากสถิติของ Statistics and Census Service ของมาเก๊า ในปี 2564 มาเก๊ามีประชากรประมาณ 682,070 คน ประกอบด้วยเพศชายจำนวน 320,285 คน และเพศหญิงจำนวน 361,785 คน โดยประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 95 เป็นคนจีน และที่เหลือเป็นคนชาติต่างๆ มาเก๊าใช้ภาษาโปรตุเกสและจีนกลางเป็นภาษาราชการ แต่ภาษาจีนกวางตุ้งจะเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมหายาน ลัทธิเต๋า และคริสต์
ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม
– ชาวประมงจากมณฑลฝูเจี้ยนและชาวนาจากมณฑลกวางตุ้งเป็นคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในมาเก๊า โดยมาเก๊าในอดีตเป็นที่รู้จักในชื่อ “Ou Mun” ซึ่งหมายถึง ประตูแห่งการค้า เนื่องจากมาเก๊าตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเพิร์ล และยังเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมในอดีตด้วย
– แม้จีนจะไม่ได้เป็นศูนย์กลางการค้าของโลกแล้ว แต่เมืองกว่างโจวยังคงรุ่งเรืองจากธุรกิจเดินเรือและการค้าทางทะเล ทำให้ในช่วงปี ค.ศ. 1550 ชาวโปรตุเกสที่เป็นพ่อค้าและนักสำรวจเดินทางมายัง Ou Mun และเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า A Ma Gao ซึ่งหมายถึง ดินแดนแห่งเทพผู้คุ้มครองกะลาสีเรือ จึงเป็นที่มาของชื่อมาเก๊า (Macau) ในปัจจุบัน
– ชาวโปรตุเกสเริ่มเข้ามาก่อร่างสร้างเมืองในมาเก๊า ทำให้มาเก๊ากลายเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และยุโรป และเป็นพื้นที่ที่วัฒนธรรมตะวันออกผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันตก
– หลังหมดยุคทองของการล่าอาณานิคมของโปรตุเกส ชาวดัชต์และอังกฤษเริ่มเข้ามาครอบครองกิจการ อย่างไรก็ดี จีนยังเลือกทำการค้ากับต่างประเทศโดยผ่านชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่ในมาเก๊า ต่อมาเมื่อเกิดสงครามฝิ่นในปี ค.ศ. 1841 ฮ่องกงตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทำให้พ่อค้าต่างชาติเริ่มเดินทางออกจากมาเก๊า
– ปัจจุบัน มาเก๊าเป็นเขตบริหารพิเศษของจีนภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” โดยมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและบันเทิงระดับโลก โดยมีเอกลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตกเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว
ทรัพยากรสำคัญ
มาเก๊ามีพื้นที่จำกัดและไม่มีพื้นที่ที่เป็นป่าธรรมชาติ จึงไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ รายได้หลักของมาเก๊าจึงมาจากการท่องเที่ยว และธุรกิจคาสิโน
สภาพภูมิอากาศ
มาเก๊ามีภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้น โดยมีค่าความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 75-90 สภาพอากาศได้รับผลกระทบจากมรสุมเป็นส่วนใหญ่ และมีความแตกต่างของอุณหภูมิและความชื้นในฤดูร้อนและฤดูหนาวอย่างเห็นได้ชัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีของมาเก๊าในปี 2564 คือ 23.5 องศาเซลเซียส โดยเดือน ก.ค. จะเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุด และเดือน ม.ค. จะเป็นเดือนที่อากาศเย็นที่สุด นอกจากนี้ มาเก๊ายังมีฤดูพายุไต้ฝุ่นในช่วงเดือน พ.ค. – ต.ค. โดยจะมีพายุมากที่สุดในเดือน ก.ค. – ส.ค.
2. ข้อมูลด้านการปกครอง
ระบบการเมือง
ผู้บริหารสูงสุด | |
นาย HO lat Sengผู้บริหารสูงสุดฮ่องกง (Chief Executive) |
|
Secretaries | |
นาย CHEONG Weng ChonSecretary for Administration and Justice |
|
นาย LEI Wai NongSecretary for Economy and Finance |
|
นาย WONG Sio ChakSecretary for Security |
|
นางสาว Elsie AO IEONG USecretary for Social Affairs and Culture |
|
นาย Raimundo Arrais do ROSÁRIOSecretary for Transport and Public Works |