NINGXIA
เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยข้อมูลพื้นฐาน
เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรษฐกิจ
การคมนาคมและโลจิสติกส์
เศรษฐกิจ
1. ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง / ขนาดพื้นที่
ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ตอนบนของแม่น้ำฮวงโห พื้นที่ของเขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีลักษณะแคบและยาว มีขนาดพื้นที่ 66,400 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่เพาะปลูก ร้อยละ 41 และพื้นที่ภูเขาร้อยละ 59
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และมณฑลกานซู
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มณฑลส่านซี และมณฑลกานซู
ทิศใต้ ติดต่อกับมณฑลกานซู
ข้อมูลประชากร
ปี 2563 เขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีประชากร 6.94 ล้านคน โดยมีชนชาติหุย (มุสลิม) อาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศจีน โดยมักตั้ง ถิ่นฐานบริเวณเขตภูเขาทางตอนใต้
สภาพภูมิอากาศ
มีภูมิอากาศแบบกึ่งอบอุ่นกึ่งแห้งแล้ง อุณหภูมิทางตอนเหนือและตอนใต้ของเขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีความแตกต่างกันมาก ทางตอนใต้หนาวแต่ชื้นเพราะมักมีฝนตก ตอนเหนืออบอุ่นแต่แห้งแล้ง เขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีแสงแดดเฉลี่ยต่อปี 3,000 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับแสงอาทิตย์มากที่สุดในประเทศจีน และมีพายุทรายมาก จึงสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า
ทรัพยากรที่สำคัญ
1. ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำฮวงโห พาดผ่าน 12 อำเภอ รวมระยะทาง 397 กิโลเมตร
2. ทรัพยากรพลังงาน โดยเฉพาะถ่านหิน ที่มีปริมาณมากและหลากหลายประเภท โดยพื้นที่กว่า 1 ใน 3 ของเขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีถ่านหินสะสมอยู่กว่า 200,000 ล้านตัน มากเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ
3. ทรัพยากรแร่ธาตุ ปัจจุบันค้นพบแร่ธาตุกว่า 50 ชนิด ที่สำคัญได้แก่ ยิปซั่ม (มีปริมาณสำรองมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ) ถ่านหิน ดินเหนียวทนไฟ หินปูนขาว สารละลายซิลิกา เหมืองแร่ซัลเฟอร์และเหล็ก เหมืองแร่ฟอสฟอรัส กระเบื้องดินเหนียว กระจก หินทราย และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
4. ทรัพยากรการท่องเที่ยว ทั้งเชิงธรรมชาติและเชิงประวัติศาสตร์ ได้แก่ ทะเลทรายซาหูที่มีทะเลสาบงดงาม ทะเลทรายซาพัวโถว เขาลิ่วผาน สุสานราชวงศ์ซีเซี่ย โบราณสถานท่อส่งน้ำ วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห และวัฒนธรรมของชนชาติหุย
ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม
มีการค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยปลายยุคหินเก่าอายุราว 30,000 ปี มีการค้นพบการสร้างท่อส่งน้ำ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ได้เข้ามาตั้งรกรากขึ้นที่นี่ พร้อมเครื่องมือที่ทำจากหินและกระดูกสัตว์ รวมไปถึงร่องรอยการใช้ไฟที่เมืองหลิงอู่ นอกจากนี้ในส่วนของการค้นพบวัฒนธรรมยุคหินของถ้ำหินบ้านหม่า และวัฒนธรรมบ้านฉี ได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อราว 3,000-7,000 ปีก่อน สังคมที่นี่เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่สืบเชื้อสายจากมารดา เป็นสังคมที่สืบเชื้อสายจากบิดา เริ่มมีการเพาะปลูกและปศุสัตว์ และมีการติดต่อสัมพันธ์กับบริเวณที่ราบตอนกลางของจีนแล้ว
ในสมัยราชวงศ์ซางและราชวงศ์ซีโจว ชนเผ่าหูและชนเผ่าเชียง ได้เร่ร่อนอยู่ในพื้นที่ที่ปัจจุบันคือเขตฯ หนิงเซี่ยหุย และสมัยกษัตริย์โจวเซวียน (周宣王) ได้เริ่มมีการสำรวจสำมโนครัวในบริเวณเมืองกู้หยวน แสดงให้เห็นว่านอกจากมีจำนวนประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่มากแล้ว ยังมีระบบการบริหารปกครองอีกด้วย
สมัยชุนชิวจ้านกั๋ว (722-481ก่อนคริสตกาล) พบหลักฐานการซ่อมแซมกำแพงเมืองจีนในพื้นที่ และหลังจากปฐมจักรพรรดิฉินซี ได้รวบรวมจีนเป็นหนึ่งประเทศแล้ว มีการส่งกองทัพเข้ามาบุกเบิกและเริ่มพัฒนาการชลประทานทดน้ำจากแม่น้ำฮวงโหเข้าสู่พื้นที่
สมัยราชวงศ์ฮั่น (206-220ก่อนคริตสกาล) เศรษฐกิจและระบบ กสิกรรมของพื้นที่นี้ได้พัฒนาขึ้นมาก กษัตริย์ฮั่นอู่ตี้ (汉武帝) หรือหลิวเช่อ (ปี 140-88 ก่อนคริสตกาล) ได้เคยเสด็จเยือนพื้นที่นี้ถึง 2 ครั้ง และอพยพประชากรกว่า 700,000 คนมาที่นี่ ส่งผลให้การพัฒนาภาคเกษตรกรรม เจริญรุดหน้ามากขึ้น
สมัยราชวงศ์ถัง (คศ. 618- 907) หลังเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายจากนายอัน ลู่ซานและนายสื่อ จือหมิง (เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ราชวงศ์ถังเสื่อมอำนาจลง) ส่งผลให้กษัตรย์ถังซูจง หรือหลี่เสี่ยง (ปี 756) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งมกุฏราชกุมาร ได้เสด็จมายังพื้นที่นี้ และขึ้นครองราชย์ ที่เมืองอู่หลิง ซึ่งสมัยนั้นมีความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจและภาคการเกษตร อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในเส้นทางการค้าและคมนาคม เชื่อมโยงตะวันตกและตะวันออกที่สำคัญ
ในปี 1038 ผู้นำชนชาติต่างเซี่ยง นามว่าหลี่หยวนห้าวได้ก่อตั้งอาณาจักรซีเซี่ยขึ้น โดยมีเมืองหลวงชื่อ “ซิงชิ่งฝู่” (ปัจจุบัน คือ นครหยินชวน) แต่มีระยะเวลาเรืองอำนาจเพียง 189 ปี
ปี 1227 หลังจากราชวงศ์หยวนได้ทำลายราชวงศ์ซี่เซี่ยลง ปี 1288 ได้ก่อสร้างถนนชื่อ “หนิงเซี่ยฟู่” ชื่อ “หนิงเซี่ย” จึงเริ่มมีการเรียกใช้นับจากนั้น
ในสมัยราชวงศ์หมิง (ปี 1368-1644) ได้ก่อสร้างฐานที่มั่นทางทหารที่เรียกว่า “หนิงเซี่ยเหว้ย”
ต่อมาราชวงศ์ชิง (ปี 1616-1911) ได้สร้าง เขตปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่า “หนิงเซี่ยฝู่” (宁夏府)
และต้นสมัยสาธารณรัฐ (ปี 1912-1949) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เขตปกครองซั่วฟาง”
- คศ. 1929 ก่อตั้งมณฑลหนิงเซี่ย
- คศ. 1954 ภายหลังจากก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้วได้เพิกถอนมณฑลหนิงเซี่ย และกำหนดเส้นแบ่งเขตพื้นที่ใหม่ โดยให้พื้นที่อาลาส้าน (阿拉善盟) ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลหนิงเซี่ย ให้กลายเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเขตฯ มองโกเลียใน และมณฑลกานซู และเป็นพื้นที่หนึ่งในความปกครองของเขตฯ มองโกเลียใน ในเวลาต่อมา
วันที่ 25 ตุลาคม 1958 ก่อตั้งเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย
2. ข้อมูลด้านการปกครอง
(ภาพแผนมณฑลที่มีแบ่งแยกแต่ละเขต)
การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง
หนิงเซี่ยมีระบบการปกครองของตนเอง คือ ให้ประชาชนชาวหุย มีสิทธิบริหารงานภายใน และมีสิทธิปกครองตนเองทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษา
เขตฯ หนิงเซี่ยหุย แบ่งการปกครองออกเป็น 5 เมือง
- เมืองเอกของเขตปกครองตนเอง คือ นครหยินชวน
- 5 เมืองที่ขึ้นตรงต่อเขตปกครองตนเอง ได้แก่ นครหยินชวน เมืองสือจุ่ยซาน เมืองจงเว่ย เมืองอู่จง และเมืองกู้หยวน
ผู้บริหารฝ่ายการเมือง
นายเหลียง เหยียนซุ่น (Liang Yanshun)
เลขาธิการพรรคฯ (ตั้งแต่ มี.ค. 2565) ปธ.สภาผู้แทน ปชช. (ตั้งแต่ พ.ค. 2565)
นายจาง ยวีผู่ (Zhang Yupu)
ประธานเขตฯ (เทียบเท่าผู้ว่าการมณฑล) (ตั้งแต่ มิ.ย. 2565)
นายชุย ปัว (Cui Bo)
ปธ. สภาที่ปรึกษาทางการเมือง (ตั้งแต่ ม.ค. 2561)
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยได้ที่ http://www.nx.gov.cn
เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ
การคมนาคมและโลจิสติกส์
เส้นทางขนส่งทางบก
ถนนภายในเขตหนิงเซี่ยมีทางหลวงระดับประเทศ 6 สาย มีถนนสายหลักผ่านเมืองกู้หยวน อู๋จง หย่งหนิง หลิงอู่ จงเว่ย ต้าอู๋โค้ว โดยผ่านปาอินหาวเทอและอูหลันควงในเขตมองโกลเลีย ผ่านติงเปียนในมณฑลส่านซี และผ่านผิงเหลียงในมณทลกานซู และมีเส้นทางผ่านแถบทุกเขตทุกเมืองทุกอำเภอและมณทลข้างเคียง โดยแบ่งเป็น 3 เส้นทางดังนี้
- เส้นทางเดินรถระยะทางไกล มีสถานีหยินชวนและสถานีสือจุ่ยซานให้บริการ โดยสถานีหยินชวนมีเส้นทางเดินรถจากหยินชวนไปยังปักกิ่ง ซานตง ซานซี เหอเป่ย เหอหนาน มองโกลเลีย ชิงไห่ ส่านซี และกานซู เป็นต้น ส่วนสถานีสือจุ่ยซานมีเส้นทางการเดินรถจากเมืองสือจุ่ยซานไปยังปักกิ่ง เหอหนาน มองโกลเลีย ส่านซี และกานซู เป็นต้น
- เส้นทางการเดินรถระยะปานกลาง มีสถานีกู้หยวน สถานีอู๋จง และสถานีต้าอู๋โควในเมืองสือจุ่ยซาน ให้บริการ โดยให้บริการเดินรถภายในท้องถิ่นและเขตข้างเคียง
- เส้นทางการเดินรถระยะสั้น สถานีในทุกอำเภอจะมีรถบริการเข้าหมู่บ้าน
เส้นทางรถไฟ
- เส้นทางรถไฟเปาหลาน โดยเริ่มต้นจาก (เขตมองโกลเลียใน) เปาโถว – หลินเหอ – อูไห่ – (เขตหนิงเซี่ย) สือจุ่ยซาน – ผิงหลัว – หยินชวน – ชิงถงเสีย – จงหนิง – จงเว่ย – (มณทลกานซู) จิ่งไท้ – ไป๋หยินซี – หลันโจว ระยะทางรวม 990 กม. โดยจุดเริ่มต้นที่เมืองเปาโถวจะมีรถไฟสายปักกิ่ง – เปาโถว เชื่อมต่อ และปลายทางของเส้นทางรถไฟเปาหลานที่เมืองหลานโจวจะมีเส้นทางรถไฟ 3 สายเชื่อมต่อ ได้แก่ เส้นทางรถไฟหลานโจว – ซินเจียง เส้นทางรถไฟหลานโจว-ชิงไห่ซีหนิง และเส้นทางรถไฟหล่งหนาน
- เส้นทางรถไฟเป่าจง เป็นเส้นทางที่ผ่าน 3 มณทล คือเส้นทางจากเมืองเป่าจีมณฑลส่านซี – เมืองผิงเหลียงมณฑลกานซู – เมืองจงเว่ยเขตหนิงเซี่ย ระยะทางรวม 511 กม.
- เส้นทางรถไฟกานอู่ คือเส้นทางจากตำบลกานถังเมืองจงเว่ยเขตหนิงเซี่ยไปยังเมืองอู่เวยมณฑลกานซู ระยะทางรวม 172 กม.
- เส้นทางรถไฟไท่จงหยิน ระยะทางรวม 944 กม. (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง) เส้นทางแรกจากเมืองไท่หยวนมณทลซานซี – ติงเปียนมณฑลส่านซี – เมืองจงเว่ยเขตหนิงเซี่ย ระยะทาง 752 กม. ส่วนเส้นทางที่สองเป็นทางแยกจากติงเปียนมณฑลส่านซี – เมืองหยินชวนเขตหนิงเซี่ย ระยะทาง 192 กม.
เส้นทางทางอากาศ
เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยมีท่าอากาศยานทั้งหมด 3 แห่ง ดังนี้
1. ท่าอากาศยานเหอตง
ตั้งอยู่ที่เมืองหลิงอู่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหยินชวน ห่างจากเมืองหยินชวน 19 กม. ครอบคลุมพื้นที่ 5,560 หมู่ การเดินทางจากเมืองหยินชวนสู่ท่าอากาศยานเหอตงสามารถใช้รถบริการของสายการบินหรือแท็กซี่ เที่ยวบินที่เปิดให้บริการเช่น ปักกิ่ง ฮ่องกง เซียงไฮ้ กวางโจว เซิ่นเจิ้น หนานจิง เสิ่นหยาง เทียนจิน คุนหมิง ฉงชิ่ง อู่ฮั่น เฉิงตู ซีอาน ไท่หยวน อูรุมชี จี่หนาน หางโจว เจิ้งโจว ชิงเต่า ฉางซา เป็นต้น เที่ยวบินต่างประเทศที่เปิดให้บริการ ปัจจุบันมีกรุงโซล และกรุงเทพฯ
2. ท่าอากาศยานภายในประเทศจงเว่ย
ตั้งอยู่ห่างจากเมืองจงเว่ยไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 9 กม. ครอบคลุมพื้นที่ 2,745 หมู่ เส้นทางการบินจากจงเว่ยไปยัง ปักกิ่ง ซีอาน หลานโจว เฉิงตู และหยินชวนในช่วงแรก และจะขยายไปยังกวางโจว เซียงไฮ้ อูรุมชี และเซี่ยเหมินต่อไปในอนาคต
3. ท่าอากาศยานภายในประเทศกู้หยวน
เป็นสนามบินภายในประเทศระดับ 4C ครอบคลุมพื้นที่ 150.2 เฮคตาร์ มีความยาวรันเวย์ทั้งหมด 2,800 เมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูง สามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 122,000 คน รองรับการขนส่งสินค้าและไปรษณีย์ได้ 535 ตัน และรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่อย่างโบอิ้ง 737 และแอร์บัส 320 อยู่ห่างจากนครกู้หยวน 339 กิโลเมตร ห่างจากนครหลานโจว 410 กิโลเมตร และห่างจากนครซีอาน 400 กิโลเมตรเที่ยวบินที่เปิดให้บริการ เช่น หยินชวน ซีอาน เป็นต้น
การเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงหนิงเซี่ย
ทางอากาศ
ปัจจุบันสามารถเดินทางโดยเครื่องบินโดยตรงจากกรุงเทพ – นครหยินชวน ได้แล้ว ผ่านสายการบินโอเรียนท์ไทย โดยได้เปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ไปเมื่อวันที่ 13 ม.ค.2556 ด้วยเที่ยวบิน OX8350 จากกรุงเทพมายังนครหยินชวน และเที่ยวบิน OX8351 จากนครหยินชวนไปยังกรุงเทพ
ทางถนน
กรุงเทพ-คุนหมิง ใช้ทางด่วนสายคุนหมิง-กรุงเทพ รวมระยะทางประมาณ 1,800 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 ชั่วโมง
คุนหมิง-เฉิงตู ใช้ทางด่วนสายสุ่ยหมา รวมระยะทาง 880 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง
เฉิงตู-ซีอาน ทางด่วนสายเฉิงตู-ซีอาน (บางช่วงอยู่ระหว่างการก่อสร้าง) คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 2009-2010 รวมระยะทาง 910 กิโลเมตร ใช้เวลา 8 ชั่วโมง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้รถไฟมากกว่า การเดินทางจากเฉิงตูไปซีอาน รถบัสธรรมดา ใช้เวลาประมาณ 23 ชั่วโมง ส่วนรถบัสเร็วใช้เวลา 15 ชั่วโมง ซีอาน-หยินชวน ระยะทาง 720 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง
ทางรถไฟ
คุนหมิง-ซีอาน ระยะทาง 1,942 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 37 ชั่วโมง และจากซีอาน-หยินชวน ระยะทาง 806 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง
คุนหมิง-เฉิงตู ระยะทาง 1,100 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 20 ชั่วโมง และจากเฉิงตู-หยินชวน ระยะทาง1,640 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 30 ชั่วโมง
เศรษฐกิจ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย
1.) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2015
- อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2015 ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8
- เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยได้วางเป้าหมายการเป็นเมืองศูนย์กลางของจีน ในการเชื่อมโยงกับประเทศมุสลิม โดยเฉพาะในธุรกิจส่งออกอาหารและสินค้าฮาลาลของชาวมุสลิม
- รัฐบาลตั้งเป้าแผนการทำงานจากปี 2013-2017 (แผนการทำงาน 5 ปี) โดยตั้งเป้าเมื่อถึงปี 2017 จะต้องถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
- มูลค่าผลผลิตมวลรวม 470,000 ล้านหยวน
- รายได้งบประมาณท้องถิ่น 110,000 ล้านหยวน
- หลักการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างทางเศรษฐกิจและพัฒนาเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย
ให้ไปสู่ความร่ำรวย และเร่งการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ อุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ในระยะยาว ในส่วนของอุตสาหกรรมการเกษตรเน้นการดำเนินงานตามหลักยุทธศาสตร์ “一优三高” ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาเขตพื้นที่สาธิตทางการเกษตรขนาดใหญ่ 3 แห่งเดินหน้าพัฒนาฐานการผลิตองุ่นตงหลู่บนเทือกเขาเฮ่อหลาน ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่มีศักยภาพให้สามารถผลิตสินค้าที่มีศักยภาพได้โดยคิดเป็นร้อยละ 85 ของผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้ทั้งหมด พร้อมกันนี้จะเดินหน้าพัฒนารูปแบบการค้าขายสินค้าเกษตรออนไลน์ และพัฒนาระบบโลจิสติกส์การจัดเก็บและถนอมอายุสินค้า - รัฐบาลหนิงเซี่ยยังได้ตั้งเป้าการพัฒนา และสร้างฐานการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นในด้านของพลังงาน เคมี โลหะ วัสดุ การผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วน โดยตั้งเป้าเมื่อถึงปี 2017 จะต้องมีเขตอุตสาหกรรมที่ส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านหยวน จำนวน 15 แห่ง พร้อมกันนี้รัฐบาลยังตั้งเป้าการรายรับ/ปี ในอุตสาหกรรมชั้นนำของเขต ฯ ไว้ดังนี้- รายรับ 30,000 ล้านหยวนขึ้นไป จำนวน 6 แห่ง
- รายรับ 10,000 ล้านหยวนขึ้นไป จำนวน 17 แห่ง
- รายรับ 5,000 ล้านหยวนขึ้นไป จำนวน 22 แห่ง
- นอกจากนี้ได้เร่งพัฒนาในส่วนของอุตสาหกรรมบริการให้สามารถตอบสนองแก่นักท่องเที่ยวได้ตามมาตรฐาน และเร่งพัฒนาในส่วนของร้านอาหาร สถานบันเทิงเพื่อให้ความสะดวกและเพลิดเพลินแก่นักท่องเที่ยว
- พัฒนา “2 เขต” เพื่อการปฏิรูปหนิงเซี่ยให้ทันสมัย เขตดังกล่าวคือ
เขตทดลองทางเศรษฐกิจหนิงเซี่ยหรือ (Ningxia Inland Pilot zone) และเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนนครหยินชวน ที่เป็นแผนยุทธศาตร์สำคัญของรัฐบาลกลาง ที่มีต่อหนิงเซี่ย ด้วยการเร่งพัฒนามาตรฐานในการจัดงานประชุมและงานแสดงสินค้าประจำปีอันได้แก่
งานประชุมประจำปีระหว่างจีน-อาหรับ กับงานมหกรรมการค้าและการลงทุนหนิงเชี่ยฮุ่ย เพื่อบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันกับเขตทั้ง 2 - เร่งดำเนินการ 2 ยุทธศาสตร์ใหญ่ เพื่อเร่งพัฒนาหนิงเซี่ยให้เจริญทัดเทียมกับพื้นที่อื่น ๆ
- เร่งพัฒนาเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำเหลือง รวมไปถึงเขตพื้นที่ยากจนบริเวณทางตอนกลาง และตอนใต้ของหนิงเซี่ย และพื้นที่ยากจนบริเวณเชิงเขาจำนวน 6 แห่งด้วยกัน
- นอกจากนี้ยังคงเร่งดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิน และพัฒนาเป็นเขตท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
เร่งพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและวงการวิทยาศาสตร์หนิงเซี่ย
- หนิงเซี่ยจะเพิ่มการดำเนินการเชิงลึกในการพัฒนาวงการการศึกษาในหนิงเซี่ย
โดยยึดเอาการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลัก- แผนการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาหนิงเซี่ยระยะกลางและระยะยาว
- 宁夏中长期教育改革和发展规划纲要
- มุ่งเน้นพัฒนาการศึกษาสายอาชีพให้ทันสมัย และตอบสนองสภาพตลาดในปัจจุบัน โดยเร่งออกนโยบายแผนการที่มีการรองรับ และสนับสนุนการอบรมบุคลากรในพื้นที่ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
- เร่งพัฒนาการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์
โดยเน้นให้มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา และศูนย์วิจัยต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนให้วิสาหกิจแต่ละแห่งมีการใช้บริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากยิ่งขึ้น ตั้งเป้าเมื่อถึงปี 2017 เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยจะต้องมีปริมาณการลงทุนทางด้านการวิจัยและพัฒนามูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 ใน 8 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของทั้งมณฑล - เร่งการก่อสร้างโครงการใหญ่จำนวน 50 โครงการด้วยกัน
โดยมากเป็นโครงการทางด้านพลังงาน อาทิ- โครงการความร่วมมือกันระหว่าง เขตอุตสาหกรรมหนิงตงกับมณฑลเจ้อเจียงในการก่อสร้างระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแรงสูง ระบบส่งตรง HVDC (High Voltage Direct Current) ขนาด 800 กิโลโวลต์ มูลค่ากว่า 34,300 ล้านหยวน
- เร่งการก่อสร้างทางด่วนชิงหลาน เชื่อมต่อไปยังเหมาเจียโกว อ.หลานเถียนนครซีอาน
- โครงการก่อสร้างสนามบินเหอตงเฟสที่ 3 และศูนย์โลจิสติกส์จำนวน 12 แห่ง ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 6,700 ล้านหยวน
- โครงการพัฒนาระบบน้ำในชนบทกว่า 7,000 ล้านหยวน
- โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟคู่ขนานเปาหลาน (นครหยินชวน-นครหลานโจว)
- โครงการก่อสร้างหมู่บ้านวัฒนธรรมมุสลิมรวม 26 โครงการ
- เร่งการก่อสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ด้วยการตั้งกองทุนสนับสนุนและโครงการประกันความเสี่ยงต่าง ๆ
เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจที่เข้าลงทุนในอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ โดยมากเป็นกิจการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต- ตั้งเป้าปริมาณการผลิตของถ่านหินและปิโตรเคมีต้องไม่ต่ำกว่า 10 และ 9.5 ล้านตัน/ปีตามลำดับ
- ปริมาณการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อน ด้วยพลังงานลม
- ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ต้องไม่ต่ำกว่า 660,000 400,000และ 100,000 กิโลวัตต์
- คิดเป็นมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมกว่า 100,000 ล้านหยวนหรือเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 14
- พัฒนาเกษตรกรรมเด่นของมณฑล
- ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีการชลประทานที่จะสามารถช่วยประหยัดน้ำได้ถึง 400,000 หมู่ (166,666 ไร่)
- รวมไปถึงการยกระดับมาตรฐานของเกษตรขั้นพื้นฐานให้สูงขึ้นจำนวน 600,000 (250,000 ไร่)
- เร่งปฏิรูปพื้นที่การเกษตรที่ล้าหลังกว่า 350,000 หมู่ (145,833 ไร่)
- เพิ่มปริมาณฐานการเลี้ยงสัตว์ประเภทวัวและแพะเพิ่ม 100 แห่ง
- พื้นที่เพาะปลูกองุ่นเพิ่มอีก 60,000 หมู่ (25,000 ไร่)
- ต่อยอดด้วยการจัดตั้งแบรนด์ไวน์องุ่นเพิ่มอีก 10 แบรนด์
- ก่อตั้งพื้นที่การเพาะปลูกเก๋ากี้และพุทราแดงจำนวนรวม 140,000 หมู่ (58,333 ไร่)
- สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเหลืองด้วยการเร่งก่อตั้งศูนย์ธุรกิจ(吴忠CBD商务中心)
- เขตพัฒนาทะเลสาบซิงไห่(石嘴山环星海湖开发区)
- เขตใหม่กู่หยวน(固原西南新区)
- ฐานการผลิตปิโตรเคมีจงเว่ย(中卫(甘塘)能源化工基地)
- เร่งการขยายและประชาสัมพันธ์การจัดงานมหกรรมประจำปีเพื่อเร่งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างจีน (หนิงเซี่ย) กับประเทศอาหรับ
- ตั้งเป้าเมื่อการก่อสร้างเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนนครหยินชวนเสร็จสิ้นแล้วจะสามารถดึงดูดให้วิสาหกิจทั้งจากในและนอกประเทศ 500 อันดับแรกเข้าลงทุน
- เร่งการก่อสร้าง Expo Center นานาชาติไวน์องุ่นของหนิงเซี่ย
- ขยายขอบเขตการค้าระหว่างประเทศได้ตั้งเป้าหมาย มูลค่าการค้าระหว่างประเทศจะต้องทะลุ 2,400 ล้าน USD หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 8 และดึงดูดการลงทุนใน 5 โครงการใหญ่ให้เกิดการลงทุนด้วยเม็ดเงินที่ไม่ต่ำกว่า 140,000 ล้านหยวน
- เร่งการปลูกป่าให้ได้จำนวนไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านหมู่ (625,000ไร่)
- พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของที่ดินแห้งแล้งจำนวน 520,000 หมู่ (216,666 ไร่)
- ตั้งเป้าต้องมีพื้นที่ป่าปกคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 13.8 จากเดิม
- ตั้งเป้าพัฒนาคุณภาพของสังคมและความเป็นอยู่ของประชาชน
- ตั้งเป้าอัตราการว่างงานจะต้องได้รับการดูแลและไม่สูงไปกว่าร้อยละ 4.5
- รัฐบาลจะเร่งการเพิ่มและจัดหาตำแหน่งงานให้ได้กว่า 30,000 ตำแหน่ง
- ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถจ้างงานได้มากกว่า 72,000 คน
- ปรับปรุงมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ เด็กกำพร้า และคนพิการ
- เร่งการแก้ปัญหาความปลอดภัยในน้ำดื่มแก่ประชาชนกว่า 305,000 คน
- โครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยราคาถูกกว่า 47,200 ชุด
- เร่งการก่อสร้างศูนย์การให้บริการทางด้านสาธารณสุขทั้งสิ้น 30 แห่ง
- พัฒนาให้หมู่บ้านในแต่ละแห่งได้มาตรฐานความสะอาดตามเป้าหมายที่กำหนด 689 แห่ง
ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ
- หนิงเซี่ยได้เปรียบในทำเลที่ตั้งไม่ไกลกับประเทศมุสลิมในแถบเอเชียกลาง ส่งผลให้รัฐบาลจีนผลักดันให้หนิงเซี่ยเป็นศูนย์กลาง
การเชื่อมต่อเข้ากับประเทศมุสลิม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลและสินค้าของชาวมุสลิม - มีทรัพยากรยิปซั่มมากเป็นอันดับ 1ของจีน และมีปริมาณถ่านหินมากเป็นอันดับ 5 ของจีน
- เป็นแหล่งเพาะปลูกเก๋ากี้และผลิตภัณฑ์แปรรูปเก๋ากี้คุณภาพดีเป็นอันดับ 1ของจีน
- รัฐบาลสนับสนุนการผลิตและแปรรูปไวน์องุ่น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการปลูกองุ่นชั้นดี
- พื้นที่ส่วนใหญ่รับแสงแดดได้มาก จึงมีศักยภาพในการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์
- มีศักยภาพในการผลิตวัตถุดิบที่ใช้ในการปศุสัตว์ จึงทำให้หนิงเซี่ยสามารถดำเนินการทางด้านปศุสัตว์ (แพะ,วัว,แกะ)
ได้ด้วยตนเองตั้งแต่ต้นจนจบ
ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ
ตัวเลขทางเศรษฐกิจเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย
GDP | 275,210 ล้านหยวน | CPI | ร้อยละ 1.9 |
GDP per Capita | 40,173.67 หยวน | อุตสาหกรรมหลัก | – แร่ธาตุ – ผ้าขนแคชเมียร์ – เงิน – อาหารฮาลาลและสินค้ามุสลิม – ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า – ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง – ไวน์ |
GDP Growth | ร้อยละ 8 | มูลค่าการส่งออก | 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.6 |
ทรัพยากรธรรมชาติ | – ยิปซั่ม – ถ่านหิน – ดินเหนียวทนไฟ – หินปูนขาว – สารละลายซิลิกา – แร่ซัลเฟอร์และเหล็ก – แร่ฟอสฟอรัส |
มูลค่าการส่งออก | 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.6 |
มูลค่าการนำเข้า | 1,130 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ70.3 |
||
การค้ากับต่างประเทศ | 5,430 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.9 |
||
การขยายตัวของการค้า | ร้อยละ 37.6 | ตลาดส่งออกที่สำคัญ |
|
สินค้าส่งออกที่สำคัญ |
|
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ |
|
สินค้านำเข้าที่สำคัญ |
|
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ |
|
อุตสาหกรรมฮาลาล | ปี 2557 มูลค่าการผลิตอาหารฮาลาลและสินค้ามุสลิมของเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย มีประมาณ 39,000 ล้านหยวน เติบโตร้อยละ 15.6 |
||
การท่องเที่ยว | จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศ 1.68 ล้านคน เติบโตร้อยละ 9 นักท่องเที่ยวต่างชาติ 33,657 คน เติบโตร้อยละ 32.7 รายได้รวมจากการท่องเที่ยว 14,269 ล้านหยวน |
ตัวเลขเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยปี 2557
การค้ากับไทย |
76.27 ล้านUSD เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 โดยหนิงเซี่ยนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย 13.06 ล้าน USD ลดลงร้อยละ 51 และส่งออกไปไทย 63.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 |
สินค้านำเข้าจากไทย |
|
สินค้าส่งออกไปไทย |
|
การท่องเที่ยว |
จำนวนนักท่องเที่ยวจากหนิงเซี่ยไปไทย 2,009 คน |