FUJIAN

มณฑลฝูเจี้ยน

1. ข้อมูลทั่วไป

ตั้ง / ขนาดพื้นที่

มณฑลฝูเจี้ยน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ตรงข้ามเกาะไต้หวัน มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 23 ของประเทศ มีเนื้อที่ทั้งหมด 121, 400 ตร.กม. มีภูมิประเทศเป็นภูเขาคิดเป็นร้อยละ 80 ของพื้นที่ มีน่านน้ำทะเล 136,300 ตร.กม. มีชายฝั่งทะเลยาวเป็นอันดับ 2 ของประเทศ คือ 3,324 กม. มีเกาะน้อยใหญ่รวมทั้งสิ้น 1,546 เกาะ ทิศตะวันออกหันหน้าสู่เกาะไต้หวันและติดช่องแคบไต้หวัน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับมณฑลเจ้อเจียง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือคือเทือกเขาอู่อี๋ซึ่งเป็นแนวกั้นระหว่างมณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลเจียงซี ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับมณฑลกวางตุ้ง มณฑลฝูเจี้ยนตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์การคมนาคมทางทะเลที่สำคัญ เนื่องจากอยู่กึ่งกลางระหว่างทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ เป็นทางออกของจีนสู่เอเชียอาคเนย์ เอเชียตะวันตก แอฟริกาตะวันออก กลุ่มประเทศแถบทวีปออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังตั้งอยู่ระหว่างเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง และเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำจูเจียงซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศจีนอีกด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มณฑลฝูเจี้ยนได้ก้าวสู่การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีกุญแจสำคัญอยู่ที่ไต้หวัน ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากมณฑลฝูเจี้ยนเพียง125-160 กม.

ข้อมูลประชากร

มีจำนวน 38.06 ล้านคน (ปี 2557) แบ่งเป็นชนชาติฮั่นประมาณ 98 % และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ประมาณ 2 % ทั้งนี้ มณฑลฝูเจี้ยนยังเป็นบ้านเกิดของชาวไต้หวันและชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ

สภาพภูมิอากาศ

ตั้งอยู่ในเขตโซนร้อน มีภูมิอากาศอบอุ่น อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 17 – 21 °C นับเป็นมณฑลที่มีปริมาณฝนมาก ช่วงเดือนมกราคมมีอุณหภูมิเฉลี่ย 2.2 – 11.6 °C ช่วงเดือนกรกฎาคมอุณหภูมิเฉลี่ย 28.9 – 38.6°C ขณะที่ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,200 – 2,000 มิลลิเมตรต่อปี

ทรัพยากรสำคัญ

จากความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้มณฑลฝูเจี้ยนเป็นหนึ่งในสี่แหล่งทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญของประเทศ มีพื้นที่ที่เป็นป่าไม้ครอบคลุมกว่า 6 ล้านเฮคเตอร์หรือร้อยละ 62.9 มากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ มีพื้นที่ทางทะเลที่กว้างขวาง มีชายหาดยาวกว่า 3,300 กม. ยาวเป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีเกาะใหญ่น้อยกว่า 1,400 เกาะ มีท่าเรือน้ำลึกที่มีศักยภาพในการรองรับเรือบรรทุกสินค้าที่มีระวางบรรทุก 10,000 ตัน กว่า 22 แห่ง นอกจากนี้มณฑลฝูเจี้ยนยังเป็นแหล่งประมงที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศจีน

ประวัติศาสตร์

– สมัยจั้นกั๋วหรือรัฐสัประยุทธ์ มณฑลฝูเจี้ยนได้ชื่อว่าเป็นดินแดนของชาวหมิ่นเยว่ ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนที่มีกำลังทหารแข็งแรงที่สุดและมีความเจริญที่สุดในเขตภาคตะวันออกของจีน

– ราชวงศ์ฉิน ประเทศหมิ่นเยว่ กลายเป็นประเทศราชภายใต้อาณัติของราชวงศ์ฉิน โดยใช้ชื่อเป็นเขตหมิ่นจงแทน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่อู่อี๋ซาน

– ราชวงศ์ฮั่น ประเทศหมิ่นเยว่ถูกทำลาย ก่อนตั้ง เขตปกครองระดับอำเภอแห่งแรกของมณฑลฝูเจี้ยนขึ้นมาชื่อว่า เขตหุ้ยจีหรือนครฝูโจวในปัจจุบัน ซึ่งขณะนั้นราชวงศ์ฮั่นต้องการปกครองประเทศหมิ่นเยว่อย่างเบ็ดเสร็จจึงนำชาวฮั่นจำนวนมากอพยพเข้ามาอาศัยในมณฑลฝูเจ้ยน

– ราชวงศ์ซ่ง มณฑลฝูเจี้ยนมีเขตการปกครองรวม 8 เขต ดังนั้นจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปาหมิ่น” การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของ ฝูเจี้ยนรุ่งเรืองอย่างมาก การค้าทางทะเลที่เจริญทำให้เมืองเฉวียนโจวกลายเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของโลกตะวันออก และเป็นจุดกำเนิดของเส้นทางสายไหมทางทะเล

– ราชวงศ์หยวน เมืองเฉวียนโจวได้พัฒนาเป็นเมืองท่าสากล มีการทำการค้ากับชาวอาหรับและเปอร์เซีย ทำให้ศาสนาอิสลามเข้าสู่จีนเป็นครั้งแรกผ่านเมืองท่าแห่งนี้ ซึ่งมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน คือ มัสยิดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดของจีน และศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกได้ผ่านเข้าสู่จีนทางเมืองเฉวียนโจวเช่นเดียวกัน

– ราชวงศ์หมิง ทางการได้ออกนโยบายห้ามกิจกรรมทางทะเล “Ocean Forbidden” เพื่อป้องกันปัญหาโจรสลัดปล้นระดมเรือสินค้า ทำให้กิจกรรมการลักลอบขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และเกิดกระแสการอพยพออกนอกประเทศของชาวจีนโพ้นทะเล

– ราชวงศ์ชิง ไต้หวันกลายเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลฝูเจี้ยน ก่อนที่จะถูกยึดครองโดยเนเธอร์แลนด์ ซึ่งภายหลังโคซิงกาหรือเจิ้งเฉิงกงได้กอบกู้กลับมา ต่อมามีชาวฮั่นจากเฉวียนโจวและจางโจวจำนวนมากอพยพไปยังไต้หวัน

-นครฝูโจวและเมืองเซี่ยเหมินกลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองท่าที่สำคัญ 5 แห่งของประเทศซึ่งรวมถึงนครกว่างโจว เมืองหนิงโปและนครเซี่ยงไฮ้ที่ถูกกำหนดให้เปิดทำการค้ากับต่างชาติตามสนธิสัญญานานกิง

– ในยุคราชวงศ์หมิงและชิง อุตสาหกรรมผ้าไหม น้ำตาล ชา การต่อเรือ และการทำกระดาษของมณฑลฝูเจี้ยนมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการดำเนินนโยบาย “ห้ามประกอบการค้าระหว่างประเทศ”เศรษฐกิจของมณฑลฝูเจี้ยนก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก และยิ่งเลวร้ายมากขึ้นเมื่อประเทศจีนเข้าสู่ยุคกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา

ภาพแผนที่มณฑลฝูเจี้ยน

ประเพณีวัฒนธรรม

สักการะเจ้าแม่มาจู่ ชากังฟู การแข่งเรือมังกร เทศกาลไหว้พระจันทร์ งิ้วท้องถิ่น เครื่องแต่งกายสาวชาวหุ้ยอัน ฯล

2. ข้อมูลด้านการปกครอง

การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง

มณฑลฝูเจี้ยนประกอบด้วย 9 เมืองคือ ฝูโจว เซี่ยเหมิน จางโจว เฉวียนโจว ผู่เถียน ซานหมิง หนานผิง หลงเหยียนและ หนิงเต๋อ และยังมี 72 อำเภอ โดยมีนครฝูโจวเป็นเมืองหลวงของมณฑล และมีเมืองเซี่ยเหมินเป็นเมืองขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง

ผู้บริหารฝ่ายการเมือง

นายโยว เฉวียน (Mr. You Quan)

เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และ
ประธานสภาผู้แทนประชาชานประจำมณฑล

นายซู ซู่ หลิน (Mr. Su Shu Lin)

ผู้ว่าราชการมณฑล

นายจาง ชาง ผิง (Mr. Zhang Chang Ping)

ประธานสภาที่ปรึกษาการเมือง

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เมืองสำคัญ

1. นครฉางชุน

นครซีหนิง

  • เมืองหลวงของมณฑลชิงไห่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก
  • เป็นศูนย์กลางของมณฑลทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการคมนาคม
  • มีพื้นที่ทั้งหมด 7,649 ตร.กม.
  • เป็นพื้นที่เขตเมือง 350 ตร.กม.
  • มีชนชาติต่างๆ อาศัยอยู่รวม 37 ชนชาติหลัก ได้แก่ ชาวฮั่น หุย ถู่ ทิเบต มองโกล เป็นต้น

ลักษณะภูมิประเทศของนครซีหนิงเป็นที่ราบสูง ยอดเขาที่สูงที่สุดมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 4,394 เมตร พื้นที่ในเขตเมืองมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,261 เมตร และเนื่องจากภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูง ทำให้มีอากาศเบาบาง ฤดูร้อนและฤดูหนาว อากาศไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัด

  • อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 4.9 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 31 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิต่ำสุด -18 องศาเซลเซียส
  • ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 379 มิลลิเมตร

อุตสาหกรรมหลักในนครซีหนิงคืออุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้า เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมเบาอื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมพลาสติก กระดาษ อาหาร เป็นต้น

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีซีหนิง (Xining Economic and Technological Development Area)

เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 12.79 ตร.กม. มีระยะห่างจากใจกลางเมืองซีหนิง 5 กิโลเมตร ห่างจากสถานีรถไฟซีหนิง 4 กิโลเมตร และห่างจากสนามบินซีหนิง 12 กิโลเมตร

เป็นเขตที่เน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง อาทิ อุตสาหกรรมเคมีโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเคมีที่มีความเกี่ยวข้องกับทะเลสาปน้ำเค็ม (Salt Lake Chemicals) อุตสาหกรรมโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง อุตสาหกรรมโทรคมนาคม อุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการแปรรูปและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมพิเศษเฉพาะพื้นที่ เช่น อุตสาหกรรมที่นำทรัพยากรพืชและสัตว์จากที่ราบสูง โดยนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาท้องถิ่นของชาวทิเบต อุตสาหกรรมอาหารท้องถิ่น เป็นต้น จนถึงปัจจุบันภายในเขตมีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 200 ล้านหยวน

คณะกรรมการฝ่ายบริหารประจำเขตฯ
โทรศัพท์: 86-971-8125306
โทรสาร: 86-971-8125196
อีเมล: [email protected]
เว็บไซด์: www.xnkfq.com

2. เขตใหม่เฉิงหนาน (Chengnan New Zone)

ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของนครซีหนิง มีพื้นที่ทั้งหมด 30 ตร.กม. เป็นเขตที่เน้นให้เกิดการพัฒนาด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจการค้าทั้งภายในและนอกประเทศ ธุรกิจการสื่อสาร การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การแปรรูปทรัพยากรที่มีความเฉพาะของเขตที่ราบสูงชิงจ้าง

3. นิคมอุตสาหกรรมกานเหอ (Ganhe Industrial Park)

ก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของนครซีหนิง มีพื้นที่ทั้งหมด 10 ตร.กม. ห่างจากเมืองซีหนิง 35 กิโลเมตร
เป้าหมายในการพัฒนาคือ อาศัยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแร่ธาตุของมณฑลชิงไห่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแร่ พีวีซี ปุ๋ยเคมี และอุตสาหกรรมปลายน้ำที่เกี่ยวกับโลหะเป็นหลัก ปัจจุบันมีวิสาหกิจที่เข้ามาลงทุนรวมจำนวน 27 ราย

การคมนาคมและโลจิสติกส์

เส้นทางทางบก

1. มีเส้นทางหลวง 6 สายสำคัญที่ตัดผ่านไปยังมณฑลอื่นๆ ได้แก่ ฝูโจว – คุนหมิง(福州 – 昆明)ฝูโจว – ปักกิ่ง(福州 – 北京)และเซี่ยเหมิน – เฉิงตู(厦门 – 成都)มีเส้นทางหลวงระดับที่ 1 ได้แก่ ฝูโจว – ฉวนโจว – เซี่ยเหมิน – จางโจว(福州 – 泉州 – 厦门 – 漳州)และเส้นทางสายเวินโจว – ฝูโจว(温州 – 福州) สายจางโจว – หลงเหยียน(漳州 – 龙岩)และทางหลวงระดับประเทศซึ่งเชื่อมกรุงปักกิ่งและฝูโจว

2. มีเส้นทางเดินรถไฟเชื่อมต่อไปยังมณฑลอื่นๆ 7 สาย เชื่อมต่อเมืองหลักในมณฑลทั้ง 7 มณฑลพร้อมกันนี้ยังเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟในประเทศทั้งหมดอีกด้วย รวมระยะทางทั้งสิ้นกว่า 1,630 กม.

เส้นทางทางน้ำ

ระยะทางตลอดแนวชายฝั่งทะเลมีความยาวรวม 3,324 กม. คิดเป็น 1 ใน 6 ของความยาวชายฝั่งทะเลทั้งหมดของประเทศ

มณฑลฝูเจี้ยนมีท่าเทียบเรือน้ำลึกและน้ำตื้นรวมกว่า 340 แห่ง เป็นท่าเทียบเรือน้ำลึกสำหรับเรือบรรทุกสินค้าขนาด 100,000 ตันขึ้นไป 7 แห่ง ท่าเรือที่สำคัญอยู่ในเขตเมืองฝูโจว คือท่าเรือหมาเหว่ย(马尾港口)เมืองเซี่ยเหมินคือท่าเรือตงตู้(东渡港口)และท่าเรือเหมยโจว(湄州港口)เมืองเฉวียนโจว เมืองผู่เถียน และเมืองจางโจว โดยท่าเรือเซี่ยเหมินเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลฝูเจี้ยน นอกจากนี้ท่าเรือฝูโจวและท่าเรือเซี่ยเหมินยังเป็น 1 ใน 10 ท่าเรือสำคัญของประเทศ ท่าเรือในมณฑลฝูเจี้ยนให้บริการขนส่งแก่ผู้ใช้บริการจากมณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลเจียงซีเป็นหลัก และยังเป็นท่าเรือสำคัญที่ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจีนและไต้หวันโดยผ่านเส้นทางการเดินเรือ เซี่ยเหมิน – จินเหมิน(厦门 – 金门)หมาเหว่ย – มาจู่(马尾 – 妈祖)และเฉวียนโจว –จินเหมิน(泉州 – 金门) นอกจากนี้ ยังเป็นเส้นทางการเดินเรือไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 160 เส้นทาง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ยุโรป อาเซียน ฮ่องกงและไต้หวัน เป็นต้น

เส้นทางทางอากาศ

มีสนามบินนานาชาติ 2 แห่ง ได้แก่ สนามบินฉางเล่อของเมืองฝูโจว(福州长乐机场)สนามบินกาวฉีของเซี่ยเหมิน(厦门高崎国际机场)และที่กำลังก่อสร้างอยู่อีกแห่งคือ สนามบินนานาชาติเสียงอันของเซี่ยเหมิน นอกจากนี้ยังมีสนามบินท้องถิ่นอีก 2 แห่ง ได้แก่ สนามบินอู่อี๋ซาน(武夷山机场) และสนามบินจิ้นเจียง(晋江机场)

ฝูเจี้ยนมีเส้นทางการบินให้บริการทั้งในประเทศและระหว่างประเทศกว่า 120 สาย เป็นเส้นทางบินตรงไปยัง 58 สนามบินทั่วประเทศ และบินตรงไปยัง 20 ประเทศ ที่สำคัญสนามบินของมณฑลฝูเจี้ยนยังเป็นศูนย์กลางการบินของภาคตะวันออกของประเทศจีน ที่ให้บริการสายการบินไปยังไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า อาเซียน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และยุโรปเป็นหลัก

เศรษฐกิจ

ข้อมูลทั่วไปทางเศรษฐกิจประจำปี 2557

ตารางแสดงดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจของมณฑลฝูเจี้ยนประจำปี 57

ดัชนีทางเศรษฐกิจ หน่วย มูลค่า อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)
มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม(GDP) ล้านล้านหยวน 2.40 +9.9
GDP Per Capita หยวน 63,472 +9.1
– อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ แสนล้านหยวน 2.01 +4.4
– อุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ ล้านล้านหยวน 1.25 +11.7
– อุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิ แสนล้านหยวน 9.52 +8.3
ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) +2.0
รายได้เฉลี่ยต่อปีของชาวเมือง หยวน 23,331 +10.0
รายได้เฉลี่ยต่อปีของชาวชนบท หยวน 12,650 +10.9
อัตราการว่างงาน 3.47
มูลค่าการค้าปลีก แสนล้านหยวน 9.20 +12.9
ปริมาณการขนถ่ายสินค้าท่าเรือ ล้านตัน 492 +8.1
ปริมาณขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ล้านตู้(TEUs) 12.70 +8.7
มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ล้านดอลลาร์สหรัฐ 177,499 +4.8
-มูลค่าการนำเข้า ล้านดอลลาร์สหรัฐ 64,042 +1.9
-มูลค่าการส่งออก ล้านดอลลาร์สหรัฐ 113,457 +6.6
การลงทุนของต่างชาติตามสัญญา ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2,772 +62
การใช้ประโยชน์จากทุนต่างชาติที่เกิดขึ้นจริง ล้านดอลลาร์สหรัฐ 7,115 +6.5
รายรับด้านการคลัง แสนล้านหยวน 3.8 +11.6
มูลค่ารวมการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ล้านล้านหยวน 1.84 +18.8

แหล่งข้อมูล: รายงานการดำเนินงานของรัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยนประจำปี 2557

มูลค่าผลผลิตมวลรวม (GDP)

ปี 2553 2554 2555 2556 2557
GDP (ล้านล้านหยวน) 1.47 1.74 1.97  2.18  2.40
ร้อยละการเปลี่ยนแปลง 13.9 12.2 11.4  11.0 9.9

ปี 2557 ผลผลิตมวลรวม (GDP) ของมณฑลฝูเจี้ยนมีมูลค่า 2.40 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 9.9 ในจำนวนนี้แบ่งเป็นมูลค่าผลผลิตอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ 201,491ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 อุตสาหกรรมทุติยภูมิ 1,251,536 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 อุตสาหกรรมตติยภูมิ 952,549ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 โดยสัดส่วนของมูลค่าผลผลิตที่เกิดจากอุตสาหกรรมทั้ง 3 ประเภทต่อผลผลิตมวลรวมทั้งมณฑลอยู่ที่ 8.4 : 52.0 : 39.6

รายได้

รายรับการคลังของฝูเจี้ยนในปี 2557 มีค่า 382,802ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ในจำนวนนี้เป็นรายรับของรัฐบาลท้องถิ่น 236,629 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6

รายได้เฉลี่ยต่อปีของชาวเมืองมีค่า 23,331 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 รายได้เฉลี่ยต่อปีของชาวชนบท 12,650 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9

CPI

ดัชนีราคาผู้บริโภคของมณฑลฝูเจี้ยนประจำปี 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0

การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคมณฑลฝูเจี้ยน ปี 2554

รายการ เปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
ดัชนีราคาผู้บริโภค( CPI) +2.0
อาหาร + 3.3
– ธัญพืช
– เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป
– ไข่
– น้ำมัน
– ผัก
– ผลไม้
สุรา บุหรี่และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง -0.8
เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม +2.6
เครื่องใช้ในครัวเรือนและการบริการการซ่อมแซม +0.4
การรักษาสุขภาพและของใช้ส่วนตัว +0.7
การคมนาคมและการสื่อสาร +0.2
สินค้าและบริการด้านความบันเทิง การศึกษา และวัฒนธรรม +1.7
ที่อยู่อาศัย +2.3

การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

ปี 2557 มณฑลฝูเจี้ยนมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1.84 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.8แบ่งออกเป็นการลงทุนในเขตเมือง 1,814,137 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และการลงทุนในเขตชนบท 30,811 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4

การค้าปลีก

ตลาดการบริโภคของมณฑลฝูเจี้ยนยังคงขยายตัวในระดับสูงส่งผลให้มูลค่าการค้าปลีกเติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยมูลค่าการค้าปลีกในปี 2557 มีค่า 920,555 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 จากปีก่อนหน้า แบ่งเป็นมูลค่าการค้าปลีกในเขตเมือง 841,825 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 และมูลค่าการค้าปลีกในเขตชนบท 78,731 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 และเมื่อพิจารณาตามประเภทสินค้าพบว่า มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคมีค่า 816,590 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 และมูลค่าการค้าปลีกอาหารและเครื่องดื่มมีค่า 103,966 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3

มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของมณฑลฝูเจี้ยนในปี 2557 

ประเทศและเขตอาณา มูลค่าการส่งออก(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) อัตราการเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ) มูลค่าการนำเข้า(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) อัตราการเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
สหภาพยุโรป 21,377 +12.1 4,596 +4.1
สหรัฐอเมริกา 19,956 +8.2 6,670 +10.8
อาเซียน 16,732 +2.6 8,351 +4.9
ฮ่องกง 10,146 -3.9 235 -50.6
ญี่ปุ่น 6,529 +1.0 2,971 -6.0
ไต้หวัน 3,821 +18.6 8,619 -10.5
เกาหลีใต้ 3,338 +15.1 3,246 -4.4
รัสเซีย 1,828 -8.0 615 +32.8

ปี 2557 มณฑลฝูเจี้ยนมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม 177,499 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 จากปีก่อนหน้า แบ่งเป็นการส่งออก 113,457 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 และการนำเข้า 64,042 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เท่ากับเกินดุลการค้า 49,415 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มจากปีก่อนหน้า 5,786 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

คู่ค้าสำคัญ 5 อันดับแรกของมณฑลฝูเจี้ยนในปี 2557 ได้แก่ ยุโรป อเมริกา อาเซียน ฮ่องกง และญี่ปุ่นตามลำดับ ซึ่งการค้ากับอเมริกาถือได้ว่ามีการเติบโตมากที่สุดในบรรดาคู่ค้าสำคัญ โดยมีมูลค่ารวม 26,626 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตถึงร้อยละ 19.0

การค้ากับไทย

ในส่วนของการค้าระหว่างมณฑลฝูเจี้ยนกับประเทศไทย พบว่าปี 2557 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 3,366 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับปี 2556 แบ่งเป็นฝูเจี้ยนส่งออกไปไทย 2,055 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 และฝูเจี้ยนนำเข้าจากไทย 1,311 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.3

ประเภทสินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่มณฑลฝูเจี้ยนส่งออกไปยังประเทศไทย ได้แก่ 1) เครื่องจักรไฟฟ้า (Electrical Machinery) 2) รถยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 3) ปลาและอาหารทะเล 4) เสื้อผ้าและสิ่งทอ 5) ร่ม ส่วนสินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่มณฑลฝูเจี้ยนนำเข้าจากไทย ได้แก่ 1) ยางพารา 2) พลาสติก  3) เครื่องจักรไฟฟ้า (Electrical Machinery) 4) เคมีอินทรีย์ (Organic Chemicals) 5) สินค้าเกษตร

การลงทุนระหว่างประเทศ

ปี 2557 มณฑลฝูเจี้ยนอนุมัติโครงการลงทุนโดยตรงของเงินทุนต่างชาติไปทั้งสิ้น 1,044 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 จากปีก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนตามสัญญารวม 7,115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และมูลค่าการใช้ประโยชน์จากเงินลงทุนที่เกิดขึ้นจริง 1,377 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 116.5

การลงทุนโดยตรงของต่างชาติในมณฑลฝูเจี้ยนแยกตามสาขากิจการประจำปี 2557

รายการ จำนวนโครงการ มูลค่าการใช้ที่เกิดจริง
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
การลงทุนโดยตรงของต่างชาติรวม 1,044 7,114.99
กสิกรรม ป่าไม้ ปศุสัตว์ และประมง 53 115.71
อุตสาหกรรมแร่ 1 1.67
อุตสาหกรรมการผลิต 178 3,922.81
พลังงานไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ 11 332.70
การก่อสร้าง 11 217.73
การคมนาคมขนส่ง คลังสินค้า และไปรษณีย์ 8 246.05
เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริการด้านคอมพิวเตอร์ และซอฟแวร์ 48 87.18
ค้าปลีก และค้าส่ง 451 352.24
การบริการที่พัก และร้านอาหาร 24 55.03
การเงิน 23 240.15
อสังหาริมทรัพย์ 12 1,078.65
การบริการด้านธุรกิจ และการจัดเช่า 91 234.94
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การบริการด้านเทคนิคและการสำรวจทางธรณีวิทยา 93 108.78
การจัดการระบบชลประทาน สภาพแวดล้อม และสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน 10 39.17
การบริการด้านที่อยู่อาศัย และบริการที่เกี่ยวข้อง 13 6.57
การศึกษา 2 0
อนามัย ประกันสังคม และสวัสดิการสังคม 0 0
วัฒนธรรม กีฬาและบันเทิง 15 75.61

ภาคเกษตรกรรม

ปี 2557 ผลผลิตด้านกสิกรรม ป่าไม้ ปศุสัตว์ และประมงของมณฑลฝูเจี้ยนมีมูลค่ารวม 352,231 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากปีก่อน โดยมีพื้นที่เพาะปลูกธัญพืชรวมทั้งหมด 17.96 ล้านหมู่(2.4 หมู่ เท่ากับ 1 ไร่) ลดลงจากปีก่อนหน้า 64,600 หมู่ (ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว 12.06 ล้านหมู่ ลดลง 195,200 หมู่) พื้นที่เพาะปลูกใบยาสูบ 1.08 ล้านหมู่ ลดลง 59,200 หมู่ พื้นที่เพาะปลูกพืชสกัดน้ำมันได้ 1.75 ล้านหมู่ เพิ่มขึ้น 28,600 หมู่ พื้นที่เพาะปลูกผัก 10.85 ล้านหมู่ เพิ่มขึ้น 268,100 หมู่ ผลผลิตธัญพืชที่เก็บเกี่ยวได้ตลอดปีรวม 6.67 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 26,800 ตัน ในจำนวนนี้เป็นผลผลิตข้าว 4.97 ล้านตัน ลดลง 49,500 ตัน หรือลดลงเท่ากับร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของมณฑลฝูเจี้ยนประจำปี 2557

ประเภทสินค้า ปริมาณผลผลิต (ตัน) อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ธัญพืช 6,670,300 +0.4
พืชน้ำมัน 298,200 +3.5
– ถั่วลิสง 278,000 +3.4
– เรพซีด 18,200 +2.5
อ้อย 531,200 -9.4
ใบยาสูบ 155,100 -4.6
ใบชา 372,100 +7.2
ผลไม้ 7,908,500 +6.3
ผัก 16,971,000 +3.9
เห็ดกินได้ 104,250 +8.6
เนื้อสัตว์ 2,137,100 +1.2
– เนื้อหมู 1,511,200 -4.2
– เนื้อวัว 28,500 +7.9
– แพะ 22,200 +6.9
– สัตว์ปีก
ผลิตภัณฑ์นม 149,700 +0.2
ผลิตภัณฑ์สัตว์และพืชน้ำ 6,959,800 +5.7
– น้ำจืด 924,500 +6.5
– น้ำเค็ม (ตามธรรมชาติ) 2,241,000 +3.2
– น้ำเค็ม (จากการเพาะเลี้ยง) 3,794,300 +6.9

ภาคอุตสาหกรรม

ปี 2557 ภาคอุตสาหกรรมของมณฑลฝูเจี้ยนสร้างมูลค่าเพิ่มได้รวม 1,042,671 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 จากปีก่อนหน้า โดยจำนวนนี้เป็นมูลค่าเพิ่มจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 340,241 ล้านหยวน  เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมหลักของมณฑลทั้ง 3 ประเภทยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องดังนี้ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรและชิ้นส่วนสร้างมูลค่าเพิ่มได้รวม 147,831 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศสร้างมูลค่าเพิ่มได้รวม 69,265 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีสร้างมูลค่าเพิ่มได้รวม 123,145 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงสร้างมูลค่าเพิ่มได้รวม 91,771 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2

ปริมาณผลผลิตสินค้าสำคัญที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของ
มณฑลฝูเจี้ยน ประจำปี 2557 

รายชื่อสินค้า หน่วย ปริมาณผลผลิต อัตราการเปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
ด้าย ล้านตัน 3.95 +15.8
ผ้า ล้านเมตร 6,855 +2.5
ไฟเบอร์สังเคราะห์ ล้านตัน 4.54 +16.7
น้ำตาล ตัน 8,500 -43.6
บุหรี่ ล้านมวน 96,973 +2.2
กระดาษหนังสือพิมพ์ ตัน 12,000 -20.8
โทรทัศน์สี ล้านเครื่อง 14.74 +65.8
ถ่านหิน ล้านตัน 15.04 +4.9
กำลังการจ่ายพลังงานไฟฟ้า ล้านกิโลวัตต์/ชม 187,045 +4.5
เหล็กดิบ ล้านตัน 18.20 +3.9
ผลิตภัณฑ์เหล็ก ล้านตัน 30.19 +8.4
โลหะมีสี10ชนิด ตัน 388,400 +0.2
-ทองแดง ตัน 227,600 +7.5
-อะลูมิเนียม ตัน 142,700 -4.2
ปูนซีเมนต์ ล้านตัน 77.32 -1.4
กรดกำมะถัน ล้านตัน 1.86 +20.8
โซเดียมคาร์บอเนต ตัน 8,600 +39.6
โซเดียมไฮเดรต ตัน 252,300 +10.5
ปุ๋ยเคมี ตัน 487,100 -10.1
อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ล้านกิโลวัตต์ 8.70 -91.6
รถยนต์ คัน 180,900 -12.1
-รถยนต์ส่วนบุคคล คัน 65,000 -43.1
แผงวงจรไฟฟ้า ล้านชิ้น 45 +19.3
โทรศัพท์มือถือ ล้านเครื่อง 12.77 -66.7
ไมโครคอมพิวเตอร์ ล้านเครื่อง 9.85 -23.3

ภาคบริการ

ธุรกิจการเงิน หลักทรัพย์และประกันภัย

ปี 2557 สถาบันการเงินในมณฑลฝูเจี้ยนมียอดเงินฝากรวมทั้งสิ้น 3,185,843 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากปีก่อนหน้า และมียอดการปลอยสินเชื่อรวม 3,005,127 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7

เงินฝากและการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินในมณฑลฝูเจี้ยนประจำปี 2557

รายการ มูลค่า
(ล้านหยวน)
อัตราการเปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
ยอดรวมเงินฝาก 3,185,843 +10.1
     สกุลเงินหยวน 3,074,761 +9.6
      – เงินฝากภาควิสาหกิจ 1,605,299 +8.4
      – เงินฝากส่วนบุคคล 1,325,723 +6.8
ยอดรวมการปล่อยสินเชื่อ 3,005,127 +15.7
     สกุลเงินหยวน 2,841,770 +16.1
      – สินเชื่อระยะสั้น 1,268,440 +8.6
      – สินเชื่อระยะกลาง – ยาว 1,633,012 +21.0

ปี 2557 ตัวเลขบริษัทจากมณฑลฝูเจี้ยนที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กระดาน A มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 93 บริษัท คิดเป็นมูลค่าตลาดรวมกัน 1,069,061 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.6 จากปีก่อนหน้า ส่วนกระดาน B มีจำนวน 1 บริษัท มูลค่าตลาด 712 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3

ธุรกิจประกันภัยมีรายได้จากเบี้ยประกันตลอดทั้งปี 68,580 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 จากปีก่อน แบ่งเป็นรายได้จากเงินประกันชีวิต 8,260 ล้านหยวน รายได้จากเงินประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ 23,930 ล้านหยวน และรายได้จากเงินประกันทรัพย์สิน 23,930 ล้านหยวน

ธุรกิจการท่องเที่ยว

ปี 2557 มณฑลฝูเจี้ยนมีนักท่องเที่ยวจากนอกจีนแผ่นดินใหญ่เดินทางเข้ามาทั้งสิ้น 5.44 ล้านคน/ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 จากปีก่อนหน้า แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไต้หวัน 2.25 ล้านคน/ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงและมาเก๊า 1.24 ล้านคน/ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 และนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆ 1.95 ล้านคน/ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นเงินสกุลต่างชาติรวม 4,912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4

ในส่วนของนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 228.87 ล้านคน/ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 จากปีก่อนหน้า สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นมูลค่ารวม 136,166 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 รวมรายได้ด้านการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี 2554 ของมณฑลฝูเจี้ยนมีค่า 240,584 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1

ปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด พ.ย. 2558

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน