GUANGDONG

มณฑลกวางตุ้ง

1. ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง / ขนาดพื้นที่

มณฑลกวางตุ้งหรือมณฑลกว่างตง (广东省) มีชื่อย่อว่า เยี่ยว์ (粤, Yue) ตั้งอยู่ทางแนวชายฝั่งทะเลตอนใต้ของจีน มีพื้นที่ 179,812.7 ตร.กม. มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 35 ของพื้นที่ประเทศไทย ทิศเหนือติดกับมณฑลหูหนานและมณฑลเจียงซี ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับมณฑลฝูเจี้ยน ทิศตะวันตกติดกับเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสี และตลอดแนวชายฝั่งทะเลทิศใต้ติดกับทะเลจีนใต้ ใกล้กับเมืองฮ่องกงและเมืองมาเก๊า พื้นที่จุดยุทธศาตร์ด้านเศรษฐกิจและการคมนาคมขนส่งที่สำคัญของประเทศจีน ซึ่งเป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะภูมิประเทศของมณฑลกวางตุ้งมีพื้นที่ทางเหนือยกตัวสูงกว่าทางใต้ มีเทือกเขาและภูเขาขนาดเล็กตัดสลับกับที่ราบ มีที่ราบร้อยละ 23 ที่ราบสูงร้อยละ 19 และภูเขาร้อยละ 58 ของพื้นที่ทั้งหมด มีชายฝั่งทะเลยาว 4,114.3 กม.

แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านมณฑลกวางตุ้งคือ แม่น้ำจูเจียง (珠江) หรือ Pearl River ซึ่งเป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับ 4 ของประเทศจีน ไหลผ่านเมืองต่าง ๆ เป็นระยะทาง 2,214 กม. ความยาวรองจากแม่น้ำแยงซี (长江) แม่น้ำฮวงโห (黄河) และแม่น้ำซ่งฮัวเจียง (松花江)

มณฑลกวางตุ้งแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 21 เมืองใหญ่ 23 เมืองระดับอำเภอ 41 อำเภอ และ 3 เขตปกครองตนเอง โดยมีนครกว่างโจว เป็นเมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง

ข้อมูลประชากร

ในปี 2555 มณฑลกวางตุ้งมีประชากร 105.94 ล้านคน เป็นมณฑลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศจีน หรือคิดเป็น 7.8% ของประชากรรวมทั้งประเทศ โดยมีสัดส่วนของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คิดเป็นชาย 52.6% หญิง 47.4% มีความหนาแน่นประชากร 590 คน ต่อตร.กม. มีอัตราการเกิด 11.60% และอัตราการตาย 4.65% นครกว่างโจวมีประชากรประมาณ 12.8 ล้านคน เป็นชนชาติฮั่น 97.46%

สภาพภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อนชื้น ทำให้มีฤดูร้อนที่ยาวนานและฤดูหนาวที่อบอุ่น โดยฤดูฝนจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงกันยายน อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 16-19 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม และสูงสุด 28-29 องศาเซลเซียสในเดือนกรกฎาคม โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 22.3 องศาเซลเซียส

ทรัพยากรสำคัญ

มณฑลกวางตุ้งมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย และเป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ ซึ่งกินพื้นที่ถึง 99.8 เปอร์เซ็น ของพื้นที่ มีแนวชายฝั่งทะเลที่ยาว และมีอาณาเขตทะเลที่กว้าง จึงทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตสินค้าทางการประมงได้ถึง 4 ล้านตันต่อปี อีกทั้งมณฑลกวางตุ้งมีสภาพภูมิอากาศและดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก โดยผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญคือ อ้อย ข้าว ชา ลิ้นจี่ ลำไย กล้วยเป็นต้น

ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม

มณฑลกวางตุ้งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่ 1แสนปี ถูกเรียกชื่อเป็นกวางตุ้ง ในสมัยราชวงศ์ชิงตั้งแต่ปี ค.ศ. 887 กวางตุ้งใช้เทคโนโลยีการผลิตของตะวันตก กลายเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลที่สำคัญหลังสงครามฝิ่น ในปี ค.ศ. 1842 อีกทั้งเป็นที่ตั้งโรงงานผลิตปืนในปี ค.ศ. 1866 และโรงงานปั่นด้ายแห่งชาติในปี ค.ศ. 1873 มณฑลกวางตุ้งกลายเป็นฐานการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในประเทศจีน ภายหลังการปฏิวัติประเทศ ทำให้กวางตุ้งมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ในปี 1984 กวางตุ้งกลายเป็นมณฑลอันดับ 1 ของประเทศ ที่มีมวลรวมการบริโภคสินค้าปลีกในสังคม มวลรวมการส่งออก ยอดรวมการลงทุนจากต่างชาติ และตัวบ่งชี้การเติบโตทางเศรษฐกิจอื่นๆ มากที่สุด ของจีน

กวางตุ้งเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมหลิ่งหนาน (岭南)เป็นบ้านเกิดและวัฒนธรรมดั่งเดิมของชาวจีนโพ้นทะเลส่วนใหญ่ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ นิสัยเปิดกว้าง เมตาอารี และรักความสงบ

– วัฒนธรรมอาหารหลิ่งหนาน

มาจากการผสมผสานของ อาหารกว่างโจว เฉาโจว เค่อเจีย และกุ้ยโจว เน้นความสดใหม่ของวัตุดิบ มีลักษณะรส 5 ประการคือ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม และสด

– วัฒนธรรมการดื่มชา หรือ หยัมฉา (饮茶)

ในภาษาถิ่นกวางตุ้ง ซึ่งนิยมดื่มชา พร้อมกับรับประทานติ่มซัมในตอนเช้า อีกทั้งยังเป็นวัฒนธรรมทางธุรกิจที่สำคัญของคนกวางตุ้ง ทำให้วัฒนธรรรมการดื่มชาของกวางตุ้งนั้นมีอัตลักษณ์ ที่บ่งบอกความเป็นกวางตุ้งอย่างชัดเจน

2. ข้อมูลด้านการปกครอง

การแบ่งเขตการปกครองของจีนจะแบ่งเป็นแต่ละมณฑล ซึ่งแต่ละมณฑลก็จะมีเมืองสำคัญ และเมืองต่าง ๆ โดยแต่ละเมืองจะแบ่งเป็นเขตและอำเภอ โดยถ้าบริเวณนั้นอยู่ใกล้เมืองจะเรียกว่าเขต ถ้าอยู่ไกลออกไปจากเมืองจะเรียกว่าอำเภอ และในแต่ละเขตหรืออำเภอ ก็จะประกอบด้วยตำบล ชุมชนและหมู่บ้าน โดยหมู่บ้านที่อยู่ในเขตเมืองก็จะเรียกว่าเป็นชุมชน ทั้งนี้ อำเภอเมื่อมีการพัฒนามากขึ้นก็สามารถยกระดับขึ้นเป็นเมืองระดับอำเภอได้

ตารางแสดงเขตการปกครองของมณฑลกวางตุ้ง

ชื่อเมือง ชื่อเขตอำเภอและเมืองระดับอำเภอ จำนวนตำบลชุมชนและหมู่บ้าน
เมืองกว่างโจวหรือกวางเจา
(广州市)
(10 เขต 2 เมืองระดับอำเภอ)
เขตเยี่ยซิ่ว (越秀区)
เขตลี่วาน (荔湾区)
เขตไป๋หยุน (白云区)
เขตฮัวตู (花都区)
เขตหลัวกั่ง (萝岗区)
เมืองฉงฮั่ว (从化市)
เขตไห่จู่ (海珠区)
เขตเทียนเหอ (天河区)
เขตหวงผู่ (黄埔区)
เขตพานหยู (番禺区)
เขตหนานซา (南沙区)
เมืองเจิงเฉิง (增城市)
34 ตำบล
131 ชุมชน
เมืองเซินเจิ้น (深圳市)
(6 เขต )
เขตฝูเถียน (福田区)
เขตหลัวหู (罗湖区)
เขตเหยียนเถียน (盐田区)
เขตหนานซาน (南山区)
เขตเป่าอัน (宝安区)
เขตหลงกั่ง (龙岗区)
57 ชุมชน
เมืองจูไห่ (珠海市)
(3 เขต)
เขตเซียงโจว (香洲区)
เขตจินวาน (金湾区)
เขตโต้วเหมิน (斗门区)
15 ตำบล
8 ชุมชน
เมืองซ่านโถวหรือซัวเถา
(汕头市)
(6 เขต 1 อำเภอ)
เขตจินผิง (金平区)
เขตหลงหู (龙湖区)
เขตเฉิงไห่ (澄海区)
เขตเหาเจียง (濠江区)
เขตเฉาหยาง (潮阳区)
เขตเฉาหนาน (潮南区)
อำเภอหนานเอ้า (南澳县)
32 ตำบล
37 ชุมชน
เมืองฝอซาน (佛山市)
(5 เขต)
เขตฉานเฉิง (禅城区)
เขตหนานไห่ (南海区)
เขตซุ่นเต๋อ (顺德区)
เขตเกาหมิง (高明区)
เขตซันสุ่ย (三水区)
21 ตำบล
12 ชุมชน
เมืองเสากวน (韶关市)
(3 เขต 4 อำเภอ 1 อำเภอปกครองตนเอง 2 เมืองระดับอำเภอ)
เขตเจินเจียง (浈江区)
เขตอู่เจียง (武江区)
เขตฉีเจียง (曲江区)
เมืองเล่อชัง (乐昌市)
เมืองหนานโสง (南雄市)
อำเภอเหรินฮั่ว (仁化县)
อำเภอสื่อซิ่ง (始兴县)
อำเภอเวิงหยวน (翁源县)
อำเภอซินเฟิง (新丰县)
อำเภอปกครองตนเองหลูหยวน –
ชนกลุ่มน้อยเผ่าเหยา (乳源瑶族自治县)
93 ตำบล
9 ชุมชน
1 หมู่บ้านชนกลุ่มน้อย
เมืองเหอหยวน (河源市)
(1 เขต 5 อำเภอ)
เขตหยวนเฉิง (源城区)
อำเภอตงหยวน (东源县)
อำเภอเหอผิง (和平县)
อำเภอหลงชวน (龙川县)
อำเภอจื่อจิน (紫金县)
อำเภอเหลียนผิง (连平县)
94 ตำบล
4 ชุมชน
1 หมู่บ้านชนกลุ่มน้อย
เมืองเหมยโจว (梅州市)
(1 เขต 6 อำเภอ 1 เมืองระดับอำเภอ)
เขตเหมยเจียง (梅江区)
เมืองซิ่งหนิง (兴宁市)
อำเภอเหมย (梅县)
อำเภอผิงหยวน ( 平远县)
อำเภอเจียวหลิ่ง (蕉岭县)
อำเภอต้าผู่ (大埔县)
อำเภอเฟิงซุ่น (丰顺县)
อำเภออู่หัว (五华县)
104 ตำบล
6 ชุมชน
เมืองหุ้ยโจว (惠州市)
(2 เขต 3 อำเภอ)
เขตหุ้ยเฉิง (惠城区)
เขตหุ้ยหยาง (惠阳区)
อำเภอหุ้ยตง (惠东县)
อำเภอปั๋วหลัว (博罗县)
อำเภอหลงเหมิน (龙门县)
52 ตำบล
16 ชุมชน
1 หมู่บ้านชนกลุ่มน้อย
เมืองซ่านเหว่ย (汕尾市)
(1 เขต 2 อำเภอ 1 เมืองระดับอำเภอ)
เขตเฉิง (城区)
เมืองลู่เฟิง (陆丰市)
อำเภอไห่เฟิง (海丰县)
42 ตำบล
10 ชุมชน
เมืองตงกว่าน (东莞市) 28 ตำบล
4 ชุมชน
เมืองจงซาน (中山市) 18 ตำบล
6 ชุมชน
เมืองเจียงเหมิน (江门市)
(3 เขต 4 เมืองระดับอำเภอ)
เขตเผิงเจียง (蓬江区)
เขตเจียงไห่ (江海区)
เขตซินหุ้ย (新会区)
เมืองไถซาน (台山市)
เมืองไคผิง (开平市)
เมืองเหอซาน ( 鹤山市)
เมืองเอินผิง (恩平市)
62 ตำบล
17 ชุมชน
เมืองหยางเจียง (阳江市)
(1 เขต 2 อำเภอ 1 เมืองระดับอำเภอ)
เขตเจียงเฉิง (江城区)
เมืองหยางชุน (阳春市)
อำเภอหยางตง (阳东县)
อำเภอหยางซี (阳西县) 39 ตำบล
9 ชุมชน
เมืองจ้านเจียง (湛江市)
(4 เขต 2 อำเภอ 3 เมืองระดับอำเภอ)
เขตชื่อข่าน (赤坎区)
เขตเสียซาน (霞山区)
เขตหมาจาง (麻章区)
เขตพัวโถว (坡头区)
เมืองเหลยโจว (雷州市)
เมืองเหลียนเจียง (廉江市)
เมืองอู๋ชวน (吴川市)
อำเภอซุ่ยซี (遂溪县)
อำเภอสีเหวิน (徐闻县)
85 ตำบล
34 ชุมชน
2 หมู่บ้าน
เมืองเม่าหมิง (茂名市)
(2 เขต 1 อำเภอ 3 เมืองระดับอำเภอ)
เขตเม่าหนาน (茂南区)
เขตเม่ากั่ง (茂港区)
เมืองซิ่นอี๋ (信宜市)
เมืองเกาโจว (高州市)
เมืองฮั่วโจว (化州市)
อำเภอเตี้ยนไป๋ (电白县)
87 ตำบล
22 ชุมชน
เมืองจ้าวชิ่ง (肇庆市)
(2 เขต 4 อำเภอ 2 เมืองระดับอำเภอ)
เขตตวนโจว (端州区)
เขตติ่งหู (鼎湖区)
เมืองซื่อหุ้ย (四会市)
เมืองเกาเหย้า (高要市)
อำเภอกว่างหนิง (广宁县)
อำเภอเต๋อชิ่ง (德庆县)
อำเภอเฟิงไค (封开县)
อำเภอหวยจี๋ (怀集县)
95 ตำบล
12 ชุมชน
1 หมุ่บ้านชนกลุ่มน้อย
เมืองชิงหย่วน (清远市)
(1 เขต 3 อำเภอ 2 อำเภอปกครองตนเอง 2 เมืองระดับอำเภอ)
เขตชิงเฉิง (清城区)
เมืองอิงเต๋อ (英德市)
เมืองเหลียนโจว (连州市)
อำเภอฝอกัง (佛冈县)
อำเภอชิงซิน (清新县)
อำเภอปกครองตนเองเหลียนซาน-ชนกลุ่มน้อยเผ่าจ้วงและเผ่าเหยา (连山壮族瑶族自治县)
อำเภอปกครองตนเองเหลียนหนาน-ชนกลุ่มน้อยเผ่าเหยา (连南瑶族自治县)
อำเภอหยางซาน (阳山县)
77 ตำบล
5 ชุมชน
3 หมู่บ้านชนกลุ่มน้อย
เมืองเฉาโจวหรือแต้จิ๋ว
(潮州市) (1 เขต 2 อำเภอ)
เขตเซียงเฉียว (湘桥区)
อำเภอเหยาผิง (饶平县)
อำเภอเฉาอัน (潮安县
41 ตำบล
9 ชุมชน
เมืองเจียหยาง (揭阳市)
(1 เขต 3 อำเภอ 1 เมืองระดับอำเภอ)
เขตหรงเฉิง (榕城区)
เมืองผู่หนิง (普宁市)
อำเภอเจียตง (揭东县)
อำเภอเจียซี (揭西县)
อำเภอหุ้ยไหล (惠来县)
63 ตำบล
18 ชุมชน
2 หมู่บ้าน
เมืองหยุนฝู๋ (云浮市)
(1 เขต 3 อำเภอ 1 อำเภอระดับเมือง)
เขตหยุนเฉิง (云城区)
เมืองหลัวติ้ง (罗定市)
อำเภอซินซิ่ง (新兴县)
อำเภอหยูหนาน (郁南县)
อำเภอหยุนอัน (云安县)
55 ตำบล
10 ชุมชน
สรุปรวมทั้งมณฑล มี 21 เมือง 23 เมืองระดับอำเภอ 41 อำเภอ 3 อำเภอปกครองตนเอง 54 เขตภายใต้การควบคุมของเมือง 7 หมู่บ้านของชนกลุ่มน้อย 1137 ตำบล และสำนักงานชุมชน 433 แห่ง

3. ผู้บริหารฝ่ายการเมือง

นายหู ชุนหัว (胡春华)

เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์
(เข้ารับตำแหน่งเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2012)
วันเกิด : เดือนเมษายน ค.ศ. 1963
ภูมิลำเนาเดิม : มณฑลหูเป่ย

นายจู เสี่ยวตาน (朱小丹)

นายกเทศมนตรี
(เข้ารับตำแหน่งเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2011)
วันเกิด : เดือนมกราคม ค.ศ. 1953
ภูมิลำเนาเดิม : มณฑลเจ้อเจียง

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลกวางตุ้งได้ที่ http://www.gd.gov.cn/

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

1. นครกว่างโจว

นครกว่างโจว หรือ กวางเจา (广州) เป็นเมืองเอกของมณฑล กวางตุ้ง อีกทั้งเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญของเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียง (珠三角) ตลอดจนเป็นศูนย์กลาง การคมนาคมและ “ประตูการค้า” ที่สำคัญของจีนตอนใต้ นครกว่างโจวมีพื้นที่ 7,434 ตร.กม. มีประชากรกว่า 12.7 ล้านคน (มากที่สุดในมณฑลกวางตุ้ง) เป็นเมืองสำคัญในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและเป็นศูนย์กลางทางการค้าและธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของจีนตอนใต้ เศรษฐกิจของนครกว่างโจวมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน รองจากนครเซี่ยงไฮ้และกรุงปักกิ่ง

ในปี 2554 มีมูลค่า GDP รวม 1.23 ล้านล้านหยวน มีมูลค่า GDP ต่อหัว 89,082 หยวน และยังเป็นศูนย์กลางการค้าและการบริการ ที่สำคัญของจีน ทั้งในด้านการเงิน การค้า และการคมนาคมขนส่งของมณฑลกวางตุ้ง

2. เมืองเซินเจิ้น

เซินเจิ้นเป็นเมืองแรกของจีนที่รัฐบาลจีนจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในปี 2523 (ในระยะแรกครอบคลุมพื้นที่ 4 เขต 395.81 ตร.กม. ได้แก่ เขตฝูเถียน หลัวหู หนานซานและเหยียนเถียน) และตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2553 ได้ขยายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษครอบคลุมทั้งเมือง เมืองเซินเจิ้นยังเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์ (Shenzhen Stock Exchange) ในจีนนอกจากเซี่ยงไฮ้ และได้พัฒนาจนไม่มีเขตชนบทตั้งแต่ปี 2547

อุตสาหกรรมหลักของเมืองมี 4 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยีขั้นสูง การเงิน โลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมด้านวัฒนธรรม รวมถึงเป็นฐานการผลิตสินค้าเทคโนโลยีและบริการที่มีชื่อเสียงของจีน อาทิ Huawei, ZTE, Lenovo, China Merchants Bank, Ping An

3. เมืองจูไห่

เมืองจูไห่ได้รับจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตั้งแต่ปี 2523 และได้ขยายพื้นที่เขตฯ ครอบคลุมทั้งเมืองตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553

เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญในบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (Pearl River Delta: PRD) ซึ่งมีพื้นที่ติดกับเขตบริหารพิเศษมาเก๊า และมีการสร้างเขตสาธิตความร่วมมือรูปแบบใหม่ระหว่างมณฑลกวางตุ้งและมาเก๊าในเขตใหม่เหิงฉิน ที่เน้นอุตสาหกรรมภาคการบริการขั้นสูง มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกว่างโจว-จูไห่ ผ่านเมืองฝอซานและเจียงเหมิน ใช้เวลาเดินทางเพียง 45 นาที (ส่วนจากสถานีจูไห่เป่ยไปยังบริเวณด่านผ่านแดนก๋งเป่ยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า) ในอนาคตจะสามารถเชื่อมกับมาเก๊าและฮ่องกงได้ด้วยทางถนนผ่านสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ที่เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2552 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2559 ทำให้การเดินทางจากจูไห่ไปฮ่องกงรวดเร็วมากขึ้น

4. เมืองซ่านโถว

รัฐบาลจีนจัดตั้งซัวเถาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2524 โดยในระยะแรกครอบคลุมพื้นที่ 22.6 ตร.กม. ในเขตหลงหู ปี 2527 ขยายเป็น 52.6 ตร.กม. ปี 2534 ขยายเป็น 234 ตร.กม. และตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2554 ได้ขยายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษครอบคลุมทั้งเมือง เมืองซัวเถาเป็นศูนย์กลางด้านการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของภาคตะวันออกของมณฑลกวางตุ้งและเป็นบ้านเกิดของชาวจีนโพ้นทะเลมากกว่า 3.4 ล้านคน ใน 40 กว่าประเทศ/ดินแดนทั่วโลก

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

1. เขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียง (Pearl River Delta:PRD)

เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ 9 เมือง ในมณฑลกวางตุ้งแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำจูเจียง ประกอบด้วย นครกว่างโจว เมืองเซินเจิ้น เมืองฝอซาน เมืองจูไห่ เมืองตงกว่าน เมืองจงซาน เมืองเจียงเหมิน บางส่วนของเมืองจ้าวชิ่ง (เขตเมืองของ Zhaoqing, Gaoyao และ Sihui) และบางส่วนของเมืองหุ้ยโจว (เขตเมืองของ Huizhou, Huiyang County, Huidong County และ Boluo County) โดยเมืองศูนย์กลางที่สำคัญในกลุ่มคือ นครกว่างโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง และเมืองเซินเจิ้นซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแรกของจีนที่ประสบความสำเร็จและเป็นแม่แบบให้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่น ๆ ของจีน ด้วยศักยภาพของเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงทำให้มณฑลกวางตุ้งมีบทบาททางเศรษฐกิจมากที่สุดในจีนมาเนิ่นนาน

2. เขตสหพื้นที่สามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียง (Pan Pearl River Delta:PPRD)

เป็นการร่วมมือกันในการพัฒนาของ 9 มณฑลในประเทศจีน ประกอบด้วย 3 มณฑลชายฝั่ง คือ มณฑลกวางตุ้ง มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) 2 มณฑลตอนกลาง คือ มณฑลหูหนาน และมณฑลเจียงซี และ 4 มณฑลตอนใน คือ มณฑลเสฉวน มณฑลยูนนาน เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และมณฑลกุ้ยโจว และร่วมมือกับอีก 2 เขตบริหารพิเศษของจีน คือ เมืองฮ่องกง และเมืองมาเก๊า รวมเรียกว่า “กลุ่ม 9+2 หรือ PPRD 9+2” ครอบคลุมพื้นที่ราว 1 ใน 5 ของประเทศจีน

3. เขตใหม่เหิงฉิน (横琴新区)

เขตใหม่เหิงฉิน ตั้งอยู่บนเกาะเหิงฉินทางใต้ของเมืองจูไห่ ใกล้กับมาเก๊า เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2551 ได้ผ่านการอนุมัติ “แผนพัฒนาโดยรวมของเหิงฉิน” จากคณะรัฐมนตรี โดยถูกวางยุทธศาสตร์ “1 ประเทศ 2 ระบบ” ซึ่งจะเป็นเขตสาธิตของความร่วมมือรูปแบบใหม่ระหว่างมณฑลกวางตุ้งและ มาเก๊า เขตใหม่เหิงฉินเน้นการพัฒนาภาคการให้บริการ โดยตั้งเป้าหมายภายในปี 2563 ให้มูลค่าการผลิตภาคการบริการมีสัดส่วนร้อยละ 75 ของGDP มุ่งเป้าพัฒนาอุตสาหกรรมการบริการขั้นสูง เป็นฐานให้บริการทางด้านธุรกิจ ศูนย์กลางการเงิน โลจิสติกส์ การท่องเที่ยวและพักผ่อน การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมไฮเทคโนโลยีโดยยังคงรักษาสภาพนิเวศวิทยาเดิมที่สมบูรณ์ และมีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ ในเขตใหม่เหิงฉิน วันที่ 6 มีนาคม 2554 มณฑลกวางตุ้งและมาเก๊าได้ลงนามร่วมใน “ กรอบความตกลงร่วมมือระหว่างกวางตุ้งและมาเก๊า ” โดยในเบื้องต้นจะเป็นการร่วมสร้างนิคมอุตสาหกรรมความร่วมมือกวางตุ้ง-มาเก๊า พื้นที่ 86 ตร.กม. ประกอบไปด้วยนิคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ด้านแพทย์แผนจีน เขตรีสอร์ทเพื่อการพักผ่อน เขตนวัตกรรมด้านวัฒนธรรม และเขตให้บริการทางด้านธุรกิจ

4. เขตใหม่หนานซา นครกว่างโจว (广州南沙新区)

เป็นศูนย์กลางการบริการที่ครบวงจรและเป็นศูนย์กลางการคมนาคมใน บริเวณสามเหลี่ยมปาก แม่น้ำจูเจียง โดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหลัก ๆ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการขนส่งทางทะเล การผลิตอุปกรณ์เครื่องจักร การค้นคว้าและวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริการทางด้านธุรกิจ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เขตใหม่หนานซา เดิมเป็นเขตทำประมงและพัฒนาเป็นเขตท่าเรือ และด้วยความสะดวกของการเชื่อมโยงทางเส้นทางคมนาคมและการขนส่งสินค้า พร้อมทั้งศักยภาพในด้านกำลังคน ถูกออกแบบให้เป็น “เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี” (Economic and Technological Development Zone: ETDZ) ตามแผนแม่บทของการพัฒนานครกว่างโจว เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนไปสู่ความก้าวหน้ายในศตวรรษที่ 21ได้พัฒนากลายเป็นเมืองท่าที่มีอัตราโดยเฉพาะ อาทิ ถนนด่วนพิเศษ 3 สาย ตามนโยบาย “five vertical, five horizontal” เชื่อมต่อหนานซากับ South China Expressway, Guangzhou-Shenzhen Expressway, Zhuhai Expressway, Luntou และเส้นทางรถไฟสายปักกิ่ง-กว่างโจว ที่จะเชื่อมต่อถึงเกาะ Longxue, ท่าเรือหนานซา ตลอดจนฐานการผลิตปิโตรเคมี เหล็ก และโลหะหนักในหนานซา

5. เขตความร่วมมืออุตสาหกรรมการบริการสมัยใหม่เซินเจิ้น-ฮ่องกง เฉียนไห่

เขตความร่วมมืออุตสาหกรรมการบริการสมัยใหม่เซินเจิ้น-ฮ่องกง เฉียนไห่ (前海深港现代服务业合作区) หรือ เขตพัฒนาเฉียนไห่ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น เป็นส่วนหนึ่งของเขตหนานซา ซึ่งเขตดังกล่าวมีพื้นที่ประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร มีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้ง เขตพัฒนาเฉียนไห่ ด้านหลังชิดภูเขาด้านหน้าติดทะเล อีกทั้งยังอยู่ใกล้กับฮ่องกง นอกจากคุณสมบัติทางพื้นที่ตามธรรมชาติที่เอื้ออำนวยแล้ว ยังมีระบบการคมนาคมที่พร้อมสรรพ ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่โดดเด่นอย่างมาก จึงเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ความร่วมมือที่สำคัญระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับฮ่องกง มีบทบาท 4 ด้าน ได้แก่ 1) เขตนวัตกรรมระบบการบริการสมัยใหม่ 2) เขตศูนย์รวมการพัฒนาอุตสาหกรรมการให้บริการสมัยใหม่ 3) เขตแบบอย่างความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ และ 4) เขตยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (PRD) เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม 4 ด้าน ได้แก่ การเงิน โลจิสติกส์สมัยใหม่ การบริการด้านข้อมูลข่าวสาร และการบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี 2563 มีการตั้งเป้าว่า เขตพัฒนาเฉียนไห่จะกลายเป็นศูนย์บริการผู้ผลิตที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และจะมีบทบาทสำคัญต่อโลกโดยจะเป็นฐานสำคัญของโลกในเรื่องการบริการทางอุตสาหกรรม โดยมีการตั้งเป้าผลผลิตมวลรวมมีมูลค่าสูงถึง 150,000 ล้านหยวนต่อปี นั่นคือเฉลี่ยแล้วพื้นที่แต่ละกิโลเมตรจะสามารถสร้างผลผลิตมวลรวมได้ถึง 10,000 ล้านหยวน

 

การคมนาคมและโลจิสติกส์

มณฑลกวางตุ้งเป็นศูนย์กลางของจีนภาคใต้ทั้งด้านการผลิตสินค้า เศรษฐกิจและการลงทุน อีกทั้งเป็นมณฑลที่มีบทบาทอย่างมากในกรอบความร่วมมือเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียง (PRD) และเขตสหพื้นที่สามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียง (PPRD)

การคมนาคมและโลจิสติกส์จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะต้องร่วมก้าวไปกับการพัฒนาของมณฑล ถึงแม้มณฑลกวางตุ้งจะมีระบบการคมนาคมที่มีศักยภาพในการรับรองการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศอยู่แล้ว แต่รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งก็ยังคงเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังคงเน้นการขยายเส้นทางการคมนาคมทั้งท่าเรือ ถนน และระบบพลังงานไฟฟ้าด้วยเช่นกัน เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของมณฑลให้พร้อมสำหรับการแข่งขันของเมืองอื่น ๆ และนานาประเทศ

เส้นทางทางบก

ตารางสภาพเส้นทางคมนาคมของมณฑลกวางตุ้งปี พ.ศ. 2555

เส้นทาง ระยะทาง (กม.)
เส้นทางรถไฟ 2,577
เส้นทางถนน 194,943
เส้นทางน้ำ 13,780
เส้นทางการบิน 1,851,000

แม้ว่ามณฑลกวางตุ้งจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งก็ยังคงเน้นการขยายเส้นทางการคมนาคมทั้งท่าเรือ ถนน และระบบพลังงานไฟฟ้าด้วยเช่นกัน เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เพิ่มสูงขึ้นและรองรับการแข่งขันของเมืองอื่น ๆ ในเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียงที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย

1.1 ระบบทางด่วน

ระบบทางด่วนมีระยะทางครอบคลุม 5,500 กิโลเมตร และคาดการณ์ว่าในปี 2030 จะเพิ่มเป็น 8,800 กิโลเมตร การพัฒนาระบบทางด่วนของมณฑลกวางตุ้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการสร้างทางด่วนเพิ่มเติมเพื่อให้เชื่อมกับพื้นที่โดยรอบและเสริมสร้างเครือข่ายทางด่วนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยทางด่วนของมณฑลกวางตุ้งมี “9 แนวตั้ง 5 แนวนอน 2 วงกลม” ได้แก่

  • ทางด่วนซัวเถา-ฝูเจี้ยน 汕头至福建龙
  • ทางด่วนซ่านเหวย-เจียงซี汕尾至江西瑞金
  • ทางด่วนเซินเจิ้น-เจียงซี 深圳至江西赣州
  • ทางด่วนเซินเจิ้น-หูหนาน深圳至湖南汝城
  • ทางด่วนปักกิ่ง-จูไห่京珠高速公路
  • ทางด่วนจูไห่-เหลียนโจว珠海至连州
  • ทางด่วนจูไห่-หูหนาน珠海至湖南永州
  • ทางด่วนหยางเจียง-หยุนฝู阳江至云浮
  • ทางด่วนม้าวหมิง-กว่างซี 茂名至广西岑溪
  • ทางด่วนฝูเจี้ยน-แต้จิ๋ว福建漳州
  • ทางด่วนซัวเถา-จ้านเจียง 汕头至湛江
  • ทางด่วนหุ้ยโจว-กว่างซี 惠州至广西梧州
  • ทางด่วนฝูเจี้ยน-แต้จิ๋ว 福建漳州
  • ทางด่วนหราวผิง-เลี่ยนเจียง (เมืองจ้านเจียง) 饶平至湛江
  • ทางด่วนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (วงใน) 珠江三角洲环形高速公路
  • ทางด่วนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (วงนอก) 珠江三角洲外环高速公路

อีกทั้งมณฑลกวางตุ้งยังมีเส้นทางด่วนระดับชาติที่เชื่อมต่อกับมณฑลอื่น ๆ อีก 15 เส้นทาง

1.2 ระบบรถไฟ

มณฑลกวางตุ้งมีการพัฒนาระบบรถไฟอย่างต่อเนื่อง เป็นชุมทางรถไฟสำคัญทางตอนใต้ของจีนและมีเส้นทางเชื่อมโยงไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศ เส้นทางรถไฟที่ตัดผ่านมณฑลกวางตุ้ง ได้แก่

  • สายกรุงปักกิ่ง-นครกว่างโจว 京广铁路
  • สายกรุงปักกิ่ง-เขตเกาลูน เมืองฮ่องกง 京九铁路
  • สาย เซี่ยเหมิน-เซินเจิ้น 厦深铁路
  • สายมณฑลกวางตุ้ง-มณฑลไห่หนาน粤海铁路
  • สายนครกว่างโจว-เมืองเซินเจิ้น 广深铁路

ปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลของมณฑลกวางตุ้งได้จัดสรรงบประมาณ 1.08 แสนล้านหยวน ในการก่อสร้างเครือข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างนครกว่างโจว เมืองฮ่องกง เมืองมาเก๊า เมืองเซินเจิ้นและเมืองสำคัญในพื้นที่ปากแม่น้ำจูเจียงและในมณฑลอื่น ๆ ประกอบด้วยเส้นทางรถไฟระหว่างเมืองต่าง ๆ 9 เส้นทาง รวมระยะทางทั้งหมด 930 กม. และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2563

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2550 ทางการรถไฟจีนได้มีการปรับเพิ่มความเร็วรถไฟเป็นครั้งที่ 6 โดยหนึ่งในเส้นทางนั้น คือ เส้นทางนครกว่างโจว-เมืองเซินเจิ้น โดยขบวนรถไฟที่ใช้ในการปรับความเร็วเส้นทางนี้จะใ้ช้รถไฟหัวกระสุนความเร็วสูง (bullet train) 59 ขบวน ขบวนเดินรถไฟหัวกระสุน CRH (เหอเสียเห้า,和谐号) ใช้ตัวอักษรย่อ “D” ในตารางเดินรถ จะใช้เวลาในการเดินทางระหว่างนครกว่างโจว-เมืองเซินเจิ้นประมาณ 1 ชม. ทั้งนี้รถไฟหัวกระสุน CRH นั้นเป็นขบวนรถไฟรุ่นใหม่มีตู้รถ 8 ตู้ โดยมี 5 ตู้ติดเครื่องยนต์และ 3 ตู้ไม่ติดเครื่องยนต์ สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ 668 คนและวิ่งในความเร็วสูงสุด 200 กิโลเมตรต่อชม.

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2554 ได้มีการเปิดใช้เส้นทางรถไฟหัวกระสุนเชื่อมโยงระหว่างเมืองกว่างโจว-ฝอซาน-จงซานและจูไห่ โดยใช้ความเร็วในการเดินรถ 200 กม./ชม.

รถไฟความเร็วสูง (300 กิโลเมตร/ชั่วโมง)

นอกจากพัฒนาระบบรถไฟให้ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคแล้ว มณฑลกวางตุ้งยังเข้าสู่ยุคแห่งรถไฟความเร็วสูง ด้วยการขยายความก้าวหน้าของรถไฟความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งมั่นให้คนกวางตุ้งสามารถเดินทางระหว่างเมืองใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง และเดินทางระหว่างมณฑลใช้เวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง เส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ให้บริการได้แก่

  • สายปักกิ่ง-กว่างโจว京广高铁 ระยะทาง 2,298 กิโลเมตร ใช้เวลา 8 ชั่วโมง
  • สายอู่ฮั่น-กว่างโจว 武广高铁 ระยะทาง 1,068 กิโลเมตร ใช้เวลา 3.12  ชั่วโมง
  • สายกุ้ยหยาง(มณฑลกุ้ยโจว) – กว่างโจว贵广高铁  ระยะทาง 861.7 กิโลเมตร ใช้เวลา 4 ชั่วโมง
  • สายหนานหนิง-กว่างโจว南广高铁  ระยะทาง 577.1 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 ชั่วโมง
  • สายหางโจว-กว่างโจว 杭广高铁 ระยะทาง 1121 กิโลเมตร ใช้เวลา 4 ชั่วโมง (จะเสร็จสิ้นในปี 2015)
  • สายเซี่ยเหมิน-เซินเจิ้น 厦深高铁 ระยะทาง 502.5 กิโลเมตร ใช้เวลา 2.5 ชั่วโมง
  • สายม้าวหมิง-จ้านเจียง 茂湛高铁 ระยะทาง 103 กิโลเมตร ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
  • สายกว่างโจว-เซินเจิ้น-ฮ่องกง 广深港高铁ระยะทาง 142 กิโลเมตร ใช้เวลา 51 นาที  (จะเสร็จสิ้นในปี 2015)
  • สายจี่หนาน(มณฑลซานตง) – กว่างโจว- 济广高铁 ระยะทาง 2000 กิโลเมตร ใช้เวลา 9.58 ชั่วโมง
  • สายกว่างโจว-ชิงต่าว青广高铁 ระยะทาง 2,477 กิโลเมตร ใช้เวลา 12.57 ชั่วโมง

ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน

ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินเมืองกว่างโจว

มณฑลกวางตุ้งเริ่มมีการสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินในนครกว่างโจวโดยเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2540 ปัจจุบันมีเส้นทางให้บริการทั้งสิ้น 9 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางสาย 1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, เส้นทางกว่างโจว-ฝอซานและเส้น APM (Automated People Mover systems) รวมความยาวทั้งสิ้น 260.5 กม.

โครงการรถไฟใต้ดินเชื่อมระหว่างนครกว่างโจว-เมืองฝอซานซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินเชื่อมระหว่างเมืองสายแรกของจีนได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอย่างเป็นทางการ โดยเป็นโครงการเส้นทางรถไฟใต้ดินยาว 32.16 กม. ซึ่งสามารถลดเวลาในการเดินทางจากนครกว่างโจวไปเมืองฝอซานเหลือเพียง 40 นาที และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553

ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินเมืองเซินเจิ้น

เมืองเซินเจิ้นได้เปิดให้บริการรถไฟใต้ดินเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 ปัจจุบันมีเส้นทางให้บริการทั้งสิ้น 5 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางสายหลัวเป่า (Luobao) เสอโข่ว (Shekou) หลงกั่ง (Longgang) หลงฮั่ว (Longhua) และหวนจง (Huanzhong) รวมความยาวทั้งสิ้น 178 กม. โดยมีแผนจะเพิ่มเป็น 10 เส้นทางในปี พ.ศ 2559

เส้นทางทางน้ำ

มณฑลกวางตุ้งเป็นมณฑลชายฝั่งทะเลจีน มีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ (ระวาง 10,000 ตันขึ้นไป) ทั้งสิ้น 237 ท่า และยังมีท่าเทียบเรือขนาดเล็กอีก 2,819 ท่า มีท่าเรือที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลจำนวน 36 แห่ง (Class A Ports) ซึ่งมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการขนส่งสินค้าที่ทันสมัยมาก ในปี 2554 มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือทั้งสิ้น 1,091 ล้านตัน

ท่าเรือที่สำคัญในมณฑลกวางตุ้ง

  • ท่าเรือกว่างโจว หนานซา เหลียนฮัวซาน และซินถาง ของนครกว่างโจว
  • ท่าเรือเสอโข่ว เหยียนเถียน ชื่อวาน เหมยซา มาวาน ตงเจี่ยวโถว และซีชง ของเมืองเซินเจิ้น
  • ท่าเรือจิ่วโจว วานไจ๋ จูไห่ ว่านซาน โต้วเหมิน ของเมืองจูไห่
  • ท่าเรือซัวเถา เฉาหยาง และหนานเอ้า ของเมืองซัวเถา
  • ท่าเรือเมืองจ้านเจียง
  • ท่าเรือหู่เหมิน เมืองตงกว่าน
  • ท่าเรือเมืองหุ้ยโจว

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งได้ออก “กฎหมายท่าเรือ” ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจทั้งในและต่างประเทศรวมถึงธุรกิจส่วนบุคคลสามารถเข้ามาลงทุน ทำกิจการเกี่ยวกับท่าเรือ นอกเหนือไปจาก 5 เมืองที่ได้เปิดไปแล้ว คือ นครกว่างโจว เมืองเซินเจิ้น เมืองจูไห่ เมืองซัวเถา และเมืองจ้านเจียง

กฎหมายท่าเรือฉบับใหม่นี้เป็นการเปิดเสรีการบริหารจัดการท่าเรือ ทำให้โปร่งใส และลดการผูกขาดของกลุ่มธุรกิจ หรือการปิดกั้นของกลุ่มคนในท้องถิ่น สนับสนุนให้ระบบตลาดเติบโตได้อย่างเต็มที่ เพื่อดึงดูดเงินลงทุน อุปกรณ์ และสิ่งก่อสร้างจากหลาย ๆ ฝ่าย เสริมสร้างให้ทั้งการลงทุนและการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบ ครบถ้วนทุกด้าน มีมาตรฐานและมีความเป็นเอกภาพทางการบริหาร ทั้งนี้ยังเป็นการลดอำนาจและหน้าที่ของกองการท่าเรือซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐ แล้วมาเพิ่มบทบาทให้กับการดูแลควบคุมท่าเรือของเอกชนแทน

 

เส้นทางทางอากาศ

มณฑลกวางตุ้งมีท่าอากาศยาน 6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติไป๋หยุน (Guangzhou Baiyun International Airport : CAN) ในนครกว่างโจว ท่าอากาศยานนานาชาติเมืองเซินเจิ้น (Shenzhen Baoan International Airport : SZX) ท่าอากาศยานนานาชาติเจียหยางเฉาซ่าน (Jieyang Chaoshan International Airport: SWA) ท่าอากาศยานจูไห่ (Zhuhai Airport : ZUH) ท่าอากาศยานเมืองเหมยเซี่ยน (Meixian Airport : MXZ) และท่าอากาศยานจ้านเจียง (Zhanjiang Airport : ZHA) ให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศไปยังเมืองใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ และเส้นทางบินตรงระหว่างประเทศ ในปี 2555 ท่าอากาศยานนานาชาติไป๋หยุน (白云国际机场) ติดอันดับที่ 2 ของจีนและอันดับที่ 18 ของโลกที่มีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุด โดยในปี 2555 รองรับผู้โดยสารได้ถึง 48,548,430 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 รองจากท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งและแซงหน้าท่าอากาศยานนานาชาติผู่ตง นครเซี่ยงไฮ้ (จัดอันดับโดย Airports Council International)

ตารางแสดงเที่ยวบินระหว่างประเทศไทย-มณฑลกวางตุ้ง
เส้นทาง จำนวนเที่ยวบิน ระยะเวลา
กรุงเทพฯ – กว่างโจว วันละ 8-11 เที่ยว (การบินไทย, China southern airline, Ethiopian airline, Kenya airline, Srilankan airline, Madagascar airline, Thai Air Asia) ประมาณ 2 ชม. 50 นาที
กรุงเทพฯ – ซัวเถา วันละ 1 เที่ยว (China southern airline) ประมาณ 3 ชม.
กรุงเทพฯ – เซินเจิ้น วันละ 1 เที่ยว (Thai Air Asia) ประมาณ 2 ชม. 50 นาที

ทั้งนี้การพัฒนาด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของมณฑลกวางตุ้ง เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเสริมศักยภาพในการยกระดับมณฑลขึ้นเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแถบจีนตอนใต้ ด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ในเขตเมืองใหญ่รอบนครกว่างโจว เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงและเชื่อมโยงให้เป็นเอกภาพ

เศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑล

1. แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 ค.ศ. 2011 – 2015

  • กระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ
    – GDP ของทั้งมณฑลเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ
  • ยกระดับและพัมนาอุตสาหกรรมการผลิต
    – พัฒนาโครงสร้างของอุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภันฑ์ และกลุ่มวิสาหกิจให้มีคุณภาพและพร้อมสำหรับการแข่งขัน
    – กระตุ้นให้มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมที่ 3  ภาคบริการครองสัดส่วนร้อยละ 48 ของ GDP ทั้งหมดของกวางตุ้ง
  • – เพิ่มศักยภาพในการคิดค้นนวัตกรรมให้มีความแข็งแกร่งและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
    ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
    – สร้างมูลค่าการพัฒนาและวิจัยทางด้านนวัตกรรม ให้ถือครองสัดส่วนร้อยละ 2.8 ของ GDP ทั้งหมดของกวางตุ้ง
  • ลดช่องว่างระหว่างความเจริญของแต่ละเมืองให้ลดน้อยลง
    – ยกระดับการพัฒนากวางตุ้งเขตตะวันออก ตะวันตกและเหนือ ให้มีความเจริญทัดเทียมกับมณฑล
    – บูรณาการพัฒนากวางตุ้งเขตตะวันออก ตะวันตกและเขตเหนือเข้ากับเมืองในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง
  • เพิ่มรายได้ของประชากรทั้งในเมืองและชนบทให้มากขึ้น
    – รายได้เฉี่ลยต่อบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8
  • พัฒนาสังคมในทุก ๆ ด้าน อาทิ การศึกษา วัฒนธรรม สุขอนามัย พละศึกษา เป็นต้น
    – เพิ่มจำนวนเยาวชนให้ได้รับการศึกษาช่วงมัทธยมตอนปลาย ถึงร้อยละ 90
    – เพิ่มจำนวนเยาวชนให้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี (ระดับประถมศึกษาถึงระดับมัทยมตอนต้น) ถึงร้อยละ 93
  • ปรับปรุงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
    – การบริโภคพลังงานลดลงร้อยละ 16
    – ปริมาณการปล่อยกาซคาร์บอนไดออกไซลดลงร้อยละ 17
  • มุ่งมั่นเปิดและปฏิรูปในเชิงลึกในทุกด้าน

2. แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ประจำปี 2013

  • ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและมั่งคง
  • กระตุ้นการเติบโตของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการลงทุน
  • ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้เติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
  • ให้นวัตกรรมเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • เร่งการปฏิรูปและยกระดับเศรษฐกิจของมณฑลกวางตุ้ง
  • ส่งเสริมการทำเกษตรกรรมให้มีความทันสมัยพร้อมกับเร่งพัฒนาชนบท
  • ปรับปรุงความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
  • การส่งเสริมและยกระดับความร่วมมือกับต่างประเทศทั้งในด้านการลงทุนทางการเงิน ความร่วมมือด้านการส่งออกและนำเข้า การบริการและรวมถึงการดำเนินการเชิงรุกในการค้นหาความร่วมมือจากต่างประเทศ
  • ให้ชุมชนเมืองและชนบทมีการพัฒนาที่ประสานและสอดคล้องกัน
  • เสริมสร้างความศิวิไลซ์ให้แก่สังคม
  • ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในมณฑลกวางตุ้งให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • เป็นมณฑลที่มีประชากรและมูลค่า GDP มากที่สุดในจีน
  • มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 แห่งที่เมืองเซินเจิ้น จูไห่และซัวเถา และโครงการสำคัญด้านเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยวมากกว่า 100 โครงการ
  • เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ของจีนตอนใต้ โดยเฉพาะทางอากาศที่มีสนามบินนานาชาติไป๋หยุนของนครกว่างโจวเป็นศูนย์กลางติดต่อกับภูมิภาคต่าง ๆ ในจีนและต่างประเทศ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากสนามบินนานาชาติปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้
  • สถิตินำเข้าผลไม้ไทยมากเป็นอันดับที่ 1 ร้อยละ 80 ของผักและผลไม้จากไทยถูกส่งไปที่ตลาดขายส่งผลไม้เจียงหนาน นครกว่างโจวก่อนกระจายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของจีน
  • มีการจัดงานแสดงสินค้านำเข้าและส่งออก (Canton Fair) ที่ใหญ่ที่สุดในจีน โดยจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ที่นครกว่างโจวในช่วงเดือนเมษายนและตุลาคม
  • เป็นแหล่งผลิตสินค้าที่สำคัญและเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของจีน
  • มีบทบาทนำความร่วมมือในกลุ่มสหพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (PPRD: Pan Pearl River Delta) ซึ่งประกอบด้วย 9 มณฑลตอนใต้ของจีนกับฮ่องกงและมาเก๊า

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

  • ดำเนินการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าให้ทันสมัย
  • พัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
  • เสริมสร้างและยกระดับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
  • ในส่วนของเขตเศรษฐกิจพิเศษ มณฑลกวางตุ้งมีเขตเศรษฐกิจพิเศษถึง 3 แห่ง ที่เมืองเซินเจิ้น จูไห่และ ซัวเถา ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษสามารถบริหารงานเป็นอิสระจากรัฐบาลมณฑล โดยขึ้นตรงต่อรัฐบาลปักกิ่ง พร้อมกับการให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ ในการจูงใจให้มีการลงทุนหรือเกิดความร่วมมือจากต่างประเทศมากที่สุด โดยเฉพาะให้อำนาจดำเนินการปฏิรูปและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น การอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารต่างชาติในเขตได้ การก่อสร้างสาธารณูปโภค การออกกฎหมายพิเศษ และสิทธิพิเศษด้านภาษีอากรสำหรับเครื่องจักรและเทคโนโลยี การลดหย่อนภาษีแก่ผู้ประกอบการต่างชาติ การให้สิทธิเช่าที่ดินแก่ต่างชาติได้ระยะนานกว่า ดังนั้นเขตเศรษฐกิจพิเศษจึงมีขอบเขตการให้สิ่งจูงใจและการให้สิทธิพิเศษแก่ต่างชาติที่กว้างขวางและมากกว่าเขตพื้นที่เปิดอื่นๆ
  • ในด้านความร่วมมือกับฮ่องกงและมาเก๊าในปี 2546 จีนได้มีการลงนามความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด (Closer Economic Partnership Agreements: CEPA) ร่วมกับฮ่องกงและมาเก๊า โดยกำหนดให้มณฑลกวางตุ้งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลประโยชน์จากความตกลงดังกล่าวมากที่สุดเนื่องจากมีพื้นที่ใกล้กับทั้งฮ่องกงและมาเก๊า โดยเป็นการลงนามความตกลง
  • ลดอัตราภาษีจำนวนหนึ่งให้กับฮ่องกงก่อนเวลาที่จีนทำข้อตกลงกับ WTO และเปิดทางให้กับบริษัทเข้ามาประกอบธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ได้ง่ายและสะดวกขึ้น

ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ ปี ค.ศ. 2012

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน