SICHUAN

มณฑลเสฉวน

1. ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งและพื้นที่

ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ระหว่างลองติจูดตะวันออกที่ 97º21′ – 110º21′ และละติจูดเหนือที่ 26º03′ – 34º19′ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 485,000 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของจีน) คิดเป็น 5.1% ของพื้นที่ประเทศจีน ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงและภูเขาสูงทางตะวันตกของมณฑล มีความสูงเฉลี่ย4,000เมตรเหนือระดับน้ำทะเลและลาดลงในทางตะวัน ออก ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและเนินเขา มีความสูงประมาณ 1,000-3,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มีพื้นที่ติดกับมณฑลหูเป่ย มณฑลหูหนาน มณฑลกุ้ยโจว มณฑลยูนนาน เขตปกครองตนเองทิเบต มณฑลชิงไห่มณฑลส่านซีและมณฑลกานซูเป็นมณฑลที่ไม่มีทางออกทะเล (land lock)

ประชากร

มณฑลเสฉวนมีจำนวนประชากรราว 90,000,000 คน เป็นจำนวนประชากรตามสำมะโนครัว 80,418,200 คน ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 20,307 หยวน (เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ประมาณ13.5%)และมีนครเฉิงตูเป็นเมืองเอกของมณฑลมีจำนวนประชากรราว 14 ล้านคน สำหรับประชากรเฉิงตูนั้น มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 27,194 หยวน (เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ประมาณ 13.6%) ประชากรประกอบด้วยชนชาติหลักจำนวน 15 ชนชาติ ประกอบด้วยชาวฮั่น หยี ทิเบต เย้า เฉียง ฮุย มองโกล ลีซอ แมนจู น่าซี ไป๋ ไต ปูยี แม้ว และถูเจีย โดยชาวฮั่นเป็นประชากรส่วนใหญ่ (ชาวฮั่น 93.90% และชนกลุ่มน้อยอีก 6.10%)

ภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศในพื้นที่ทางด้านตะวันออกเป็นแบบเขตกึ่งร้อนชื้น ความชื้นและปริมาณน้ำฝนสูงในฤดูร้อนอากาศร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 29º เซลเซียสและในฤดูหนาวอุณหภูมิประมาณ 3º-6º เซลเซียสซึ่งช่วยให้พื้นที่ราบของมณฑลเสฉวนเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นหนึ่งในพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญของจีนในด้านตะวันตกของมณฑล ซึ่งเป็นที่สูงมีลักษณะอากาศเป็นแบบที่ราบสูง (plateau climate) ความชื้นและปริมาณน้ำฝนต่ำ อากาศเย็นในฤดูหนาว

แหล่งพลังงาน

มีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำรวจพบแล้วกว่า 150 ล้านลูกบาศก์เมตร และเชื่อว่าน่าจะมีปริมาณสำรองการใช้ได้ถึง 100 ปี เช่น แหล่งก๊าซธรรมชาติผู่กวง เมืองต๋าโจว ซึ่งมีปริมาณ exploitable reserves จำนวน 3.56 แสนล้านคิวบิคเมตร โดยบริษัท Sinopec มีแผนทำท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากผู่กวงให้กับมณฑลหูเป่ย เจียงซี อันฮุย เจียงซู เจ่อเจียง และ นครเซี่ยงไฮ้ พลังงานไฟฟ้าซึ่งใช้ในมณฑลมาจากการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ โดยมณฑลเสฉวนถือเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากถึง 100 ล้านกิโลวัตต์ และมีปริมาณสำรองพลังน้ำ 150 ล้านกิโลวัตต์ สูงเป็นอันดับ 2 ของจีนรองจากทิเบต สำหรับแหล่งพลังงานไฟฟ้าทดแทนที่ใช้ในมณฑล ประกอบด้วย พลังงานไฟฟ้าจากมูลสัตว์ เนื่องจาก มณฑลเสฉวนเป็นแหล่งเลี้ยงสุกร/เป็ดที่สำคัญในประเทศจีน ปริมาณพลังงานไฟฟ้าผลิตได้จากเสียจากการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ยังมีปริมาณไม่ มากนัก แต่ก็สามารถใช้ได้เพียงพอในฟาร์มหรือในบ้านพัก

ทรัพยากรธรรมชาติ

เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของจีน เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของจีนมาตั้งแต่อดีต สินค้าหลักประกอบด้วยข้าว ข้าวจ้าว ข้าวฟ่าง ผลไม้รสเปรี้ยว พีช น้ำตาล มันฝรั่ง โดยเป็นมณฑลหลักที่ผลิตสินค้าบริโภคของประเทศ มีแร่ธาตุประมาณ 132 ชนิด มีไททาเนียมมากที่สุดในโลก แร่ vanadium มากอันดับ 3 ของโลกนักวิจัยเสฉวนได้พัฒนาสายพันธุ์สบู่ดำให้สามารถ ผลิตเมล็ดที่ให้น้ำมันได้มากถึง 65% นอกจากนี้ผลจากการคำนวณ ค่าใช้จ่าย เชื้อเพลิงผสมดังกล่าวยังมีค่าใช้จ่ายย่อมเยากว่า กล่าวคือ มีต้นทุนการผลิต 540 หยวน (+10%)/ พื้นที่ 0.06 เฮคเตอร์ โดยสามารถผลิตน้ำมันได้ 100-175 กิโลกรัม โดยต้นสบู่ดำต้องใช้เวลาเพาะปลูก 5 ปีก่อนให้ผลผลิต นอกจากนี้ มณฑลเสฉวนยังอยู่ระหว่างการทดลองนำน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดสบู่ดำมาผสมกับน้ำมันดีเซล แอลกอฮอล์และสารลดการปล่อยควันเสียเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถบรรทุกและรถใหญ่หรือทดแทนการใช้น้ำมันหมายเลข 0 ของจีน เนื่องจาก บริเวณตะวันตกของมณฑล เช่น เมืองพานจือฮัว และเขตปกครองตนเองชนชาติหยีเหลียงซานเป็นพื้นที่ที่มีต้นสบู่ดำมาก

การเมืองการปกครอง

มณฑลเสฉวนแบ่งส่วนการปกครองออกเป็น 18 เมือง และ 3 เขตปกครองตนเอง ประกอบด้วย

18 เมือง

  • นครเฉิงตู (Chengdu/ 成都)
  • เมืองเหมียนหยาง (Mianyang/ 绵阳)
  • เมืองเต๋อหยาง (Deyang/ 德阳)
  • เมืองอี๋ปิน (Yibin/ 宜宾)
  • เมืองพานจือฮัว (Panzhihua/ 攀枝花)
  • เมืองเล่อซาน (Leshan/ 乐山)
  • เมืองหนานชง (Nanchong/ 南充)
  • เมืองจื้อกง (Zigong/自贡)
  • เมืองหลูโจว (Luzhou/ 泸州)
  • เมืองเน่ยเจียง (Neijiang (内江)
  • เมืองกว่างหยวน (Guangyuan/ 广元)
  • เมืองซุ่ยหนิง (Shuining/ 遂宁)
  • เมืองจือหยาง (Ziyang/ 资阳)
  • เมืองกว่างอาน (Guang’an/ 广安)
  • เมืองหย่าอาน (Ya’an/ 雅安)
  • เมืองเหม่ยซาน (Meishan/ 眉山)
  • เมืองต๋าโจว (Dazhou/ 达州)
  • เมืองปาจง (Bazhong/ 巴中)

3 เขตปกครองตนเอง

  • เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต เชียง อาป้า
  • (Aba Tibetan Qiang Autonomous Prefecture/ 阿坝藏族羌族自治州)
  • เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตกานจือ
  • (Ganzi Tibetan Autonomous Prefecture/甘孜藏族自治州)
  • เขตปกครองตนเองชนชาติอี๋เหลียงซาน
  • (Liangshan Yi Autonomous Prefecture/ 凉山彝族自治州)

ผู้นำ 

 

นายหวัง ตงหมิง (Mr. Wang Dongming)

เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลเสฉวน / ปธ. สภาผู้แทน ปชช.
(Secretary of the CPC Sichuan Provincial Committee) รับตำแหน่งเมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

นายเว่ย หง (Mr. Wei Hong)

ผู้ว่าการมณฑลเสฉวน (Governor of Sichuan Provincial
People’s Government) รับตำแหน่งเมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2555

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลเหลียวหนิงที่ www.ln.gov.cn

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

  • ปัจจุบันรัฐบาลมณฑลเสฉวน มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนายกระดับความเจริญเติบโตในพื้นที่พร้อมกันทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ โดยพยายามดึงดูดการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศ เร่งส่งเสริมเขตนิคมอุตสาหกรรมในเมืองที่มีศักยภาพหลายแห่ง ซึ่งประกอบด้วยอุตสาหกรรมหลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ไอทีการบิน และรถยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ มณฑลเสฉวนมีเขตอุตสาหกรรมกว่า 200 แห่ง โดย แห่งเป็นอุตสาหกรรมระดับชาตินอกจากนี้ รัฐบาลมณฑลเสฉวนยังได้วางพื้นฐานการพัฒนา ด้วยการกำหนดเขตเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ เพื่อการผลักดันและกระตุ้น

    เศรษฐกิจในภาพรวมของมณฑลฯ ตลอดจน กระจายความเจริญไปสู่ทุกภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ มีดังนี้

  • 1. เขตเศรษฐกิจกลุ่มเฉิงตู-ฉงชิ่งเขตเศรษฐกิจกลุ่มเฉิงตู-ฉงชิ่ง(成渝经济区)ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 โดยมีนครเฉิงตู มณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่ง เป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 206,100 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 15 เมือง (117 เขต) ในมณฑลเสฉวนและ 31 เขตในนครฉงชิ่ง และมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 91.402 ล้านคน เขตเศรษฐกิจกลุ่มดังกล่าวครอบคลุมเมืองเศรษฐกิจสำคัญในมณฑลเสฉวน รวมไปถึงนครฉงชิ่ง อันประกอบด้วย 1) เขตพัฒนาเศรษฐกิจเฉิงตูเหมียนหยางเล่อซาน 2) เขตพัฒนาเศรษฐกิจเฉิงตูซุ่ยหนิงฉงชิ่ง 3) เขตพัฒนาเศรษฐกิจเฉิงตูเหน่ยเจียงฉงชิ่ง 4) เขตพัฒนาเศรษฐกิจฉงชิ่งกวางอันต๋าโจว 5) เขตพัฒนาเศรษฐกิจตามเส้นทางแม่น้ำ

    โดยเขตเศรษฐกิจกลุ่มเฉิงตู-ฉงชิ่ง เป็นเขตเศรษฐกิจกลุ่มหลักที่สำคัญแห่งที่ 4 ในจีน ต่อจาก เขตเศรษฐกิจกลุ่มสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

    แยงซีเกียง, เขตเศรษฐกิจกลุ่มสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไข่มุก และ เขตเศรษฐกิจกลุ่มมหานครปักกิ่ง-เทียนสิน-มณฑลเหอเป่ย (รวม 8 เมืองของ

    มณฑลเหอเป่ย) ในปี 2011 มูลค่ารวม GDP ของเขตเศรษฐกิจกลุ่มเฉิงตู-ฉงชิ่งอยู่ที่ 2.75 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ถึง 16.2 % ครองสัดส่วน 7% ของค่าGDP ทั่วประเทศจีน

    อีกทั้ง เขตเศรษฐกิจดังกล่าว ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในเขตพื้นที่จีนตะวันตก เนื่องด้วย เป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ระดับแนวหน้าของจีน เป็นฐานอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ประชากรในพื้นที่มีคุณภาพมีความรู้ความสามารถในระดับสูง

  • ที่มา : Sichuan Investment Service Guide

ตามแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจกลุ่มเฉิงตู-ฉงชิ่ง ระบุว่าจะผลักดันให้นครเฉิงตูและนครฉงชิ่งเป็นศูนย์กลางที่มีศักยภาพสูงสามารถรองรับการพัฒนาในอนาคต เป็นหัวรถจักรชักนำความเจริญเติบโตมาสู่พื้นที่จีนตอนในภาคตะวันตก โดยเริ่มจากการเสริมสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานและยกระดับการบริการสาธารณะในเขตชนบท รวมถึง วางแผนการบริหารจัดการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและลดช่องว่างรายได้ของประชาชนเมืองกับชนบท

นอกจากนั้น ยังมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบอุตสาหกรรมหลักของเขตเศรษฐกิจกลุ่มเฉิงตู-ฉงชิ่งให้มีความทันสมัยเพิ่มมากขึ้น โดยเร่งรัด

พัฒนาภาคเกษตรกรรมสมัยใหม่ อาทิ ด้านการเพาะปลูกพืชและผลไม้ การเลี้ยงสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นต้น อีกทั้งเพิ่มความแข็งแกร่งให้

กับอุตสาหกรรมชั้นนำเดิมในท้องถิ่น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุอุปกรณ์ การผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมการสื่อสาร

โทรคมนาคม อุตสาหกรรมทางเคมีและด้านการสาธารณสุข เป็นต้น ตลอดจน ยกระดับอุตสาหกรรมภาคบริการ ได้แก่ การขนส่งโลจิสติกส์ การเงินการธนาคาร การค้าขายระหว่างประเทศ และการท่องเที่ยว เป็นต้น

              ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจกลุ่มเฉิงตู-ฉงชิ่ง เป็นตลาดที่มีประชากรมากที่สุดในภาคตะวันตกของจีนและมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเป็นสำคัญ คาดการณ์ไว้ว่า ปี 2015 เขตเศรษฐกิจกลุ่มเฉิงตู-ฉงชิ่งจะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญในจีนตะวันตก และในปี 2020 เขตเศรษฐกิจกลุ่มเฉิงตู-ฉงชิ่งจะกลายเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุดแห่งหนึ่งในจีน

  1. เขตเศรษฐกิจระดับชาติของมณฑลเสฉวน

เขตเศรษฐกิจระดับชาติของมณฑลเสฉวน แบ่งออกเป็น 5 เขตตามลักษณะภูมิภาค โดยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไว้ ดังนี้

     2.1 เขตเศรษฐกิจเฉิงตู (ประกอบด้วยเมืองเฉิงตู เต๋อหยาง เหมียนหยาง เหมยซานและจือหยาง) เร่งผลักดันและเพิ่มประสิทธิภาพของการพัฒนา เพื่อยกระดับเขตเศรษฐกิจเฉิงตูให้กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญในจีนตะวันตก เป็นใจกลางการคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร เป็นฐานของอุตสาหกรรมการผลิตที่ทันสมัยและฐานของนวัตกรรมใหม่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจน ฐานของการแปรรูปสินค้าเกษตรกรรม

2.2 เขตเศรษฐกิจเสฉวนตอนใต้ (ประกอบด้วยเมืองอี๋ปิน จื้อก้ง เน้ยเจียงและเล่อซาน) เร่งสร้างและพัฒนาให้เขตนี้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจคลื่นลูกใหม่ ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและน่าจับตามองมากที่สุดในมณฑลเสฉวน และอาศัย “เส้นทางขนส่งทางน้ำ” เป็นตัวกลางขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเน้นพัฒนาและปรับปรุงระบบการขนถ่ายระบายสินค้าของท่าเรือหลูโจว ท่าเรืออี๋ปิน ให้มีความทันสมัยและมีความสามารถในการขนส่งและรองรับสินค้าในปริมาณที่มากขึ้น

2.3 เขตเศรษฐกิจเสฉวนตะวันออกเฉียงเหนือ (ประกอบด้วยเมืองหนานชง สุ้ยหนิง ต๋าโจว กว่างอัน ปาจงและกว่างหยวน) วางเป้าหมายที่จะพัฒนาให้เป็นฐานการผลิตพลังงาน สารเคมี และฐานการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรที่สำคัญในจีนตะวันตก อีกทั้งเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและปรับปรุงการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2.4 เขตเศรษฐกิจเสฉวนตะวันตก (ประกอบด้วยเมืองพานจือฮวา หย่าอันและเขตปกครองตนเองเหลียงซาน) วางแแผนจัดการทรัพยากรท้องถิ่นอย่างชาญฉลาดและใช้สอยให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด โดยเฉพาะแร่ธาตุวาเนเดียมและไทเทเนียม ในขณะเดียวกัน เร่งคิดค้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ เพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นฐานอุตสาหกรรมแร่ธาตุวาเนเดียมและไทเทเนียมที่สำคัญในจีน ตลอดจน พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเดิม ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรม ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวมากขึ้น
2.5 เขตเศรษฐกิจเสฉวนตะวันตกเฉียงเหนือ (ประกอบด้วยเขตปกครองตนเองกันจือและอาป้า) อนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ พร้อมกับพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อีกทั้ง ผลักดันอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ภายใต้ระบบการจัดการที่ได้มาตรฐานและทันสมัยปรับปรุงภาคเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ตลอดจน ส่งเสริมภาคการบริการสาธารณะให้มากขึ้นเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น          

    1. เขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่ นครเฉิงตู

    เขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่(天府新区)นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน ก่อตั้งขึ้นในปี 2010 โดยเป็นเขตเศรษฐกิจลำดับที่ 4 ในจีนต่อจากเขตเศรษฐกิจผู่ตง นครเซี่ยงไฮ้ เขตเศรษฐกิจปินไห่ นครเทียนสิน และเขตเศรษฐกิจเหลียงเจียง นครฉงชิ่ง ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,578 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 3 เมือง (นครเฉิงตู เมืองเหมยซาน เมืองจือหยาง) 7 เขต (เขตเกาซิน เขตซวงหลิว เขตหลงฉวนอี้ เขตซินจิน เขตเผิงซาน เขตเจี่ยนหยาน และเขตเหรินโส้ว) และ 37 ตำบล มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 650 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 1.736 ล้านคน และในปี 2011 มีมูลค่ารวม GDPประมาณ 77,100 ล้านหยวน

  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่ เน้นพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตที่ทันสมัยเป็นสำคัญ เป็นศูนย์รวมของภาคการบริการระดับไฮเอนท์ และเป็นเขตชุมชนที่มีความทันสมัยในแบบสากลเหมาะสำหรับการประกอบธุรกิจ การลงทุน และพักอยู่อาศัย               เขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ด้าน คือ เป็นประตูบานสำคัญในการเชื่อมต่อของจีนตอนในภาคตะวันตกกับต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเป็นพื้นที่สาธิตเพื่อการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์

    โดยรัฐบาลได้วางกรอบยุทธศาสตร์พัฒนาในเขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่ออกเป็น 3 ระยะ คือ 

    ระยะที่ 1ปี 2011-2015 ช่วงเริ่มต้นการพัฒนา  

    ในระยะเริ่มต้น จะมุ่งมั่นพัฒนาในพื้นที่อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อถึงปี 2015 โครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายจะสามารถเริ่มเข้าทดลองใช้งานในระบบได้ พื้นที่ในโครงการพัฒนาเริ่มดำเนินการพัฒนาตามกรอบที่วางไว้ อุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่และการบริการระดับไฮเอนท์ เริ่มวางกลยุทธ์แผนการพัฒนาในขั้นต้นรวมถึง เร่งบรรลุเป้าหมายของมูลค่ารวม GDP ที่จำนวน 250,000 ล้านหยวน    

    ระยะที่ 2: ปี 2016-2020 ช่วงกลางการพัฒนา

    รับช่วงต่อจากระยะเริ่มต้น โครงการพัฒนาพื้นที่จะสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเมื่อถึงปี 2020 อุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่และอุตสาหกรรมการบริการระดับไฮเอนด์จะมีความชัดเจนขึ้น เขตชุมชนระดับสากลจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในขั้นต้น ตลอดจน เร่งบรรลุ

    เป้าหมายของมูลค่ารวม GDP ที่จำนวน 650,000 ล้านหยวน     

                  ระยะที่ 3: ปี 2021-2030 ช่วงการพัฒนาในระยะยาว

    ในระยะยาว จะมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเมื่อถึงปี 2030 เขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่จะกลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่เปี่ยมด้วยศักยภาพสำหรับการแข่งขันในตลาดโลกและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลสำคัญต่อทิศทางของเศรษฐกิจโลก อีกทั้ง เร่งบรรลุเป้าหมายของมูลค่ารวม GDP ที่จำนวน 1.2 ล้านล้านหยวน

                     นอกจากนี้ เขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่ มีข้อดีที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในทางยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของจีนตอนใน 5 ประการ ได้แก่ 

  • 1) อาศัยอิทธิพลทางเศรษฐกิจของนครเฉิงตู (เมืองใหญ่ในจีนตะวันตกที่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง) ทั้งในด้านมูลค่ารวม GDP ด้านจำนวนรายรับและค่าครองชีพของประชากรในเมืองและชนบทที่สูงที่สุดในจีนตะวันตก และเป็นเขตการพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดและเป็นสากลมากที่สุดตามแผนพัฒนาภาคตะวันตกของจีน2) เป็นตลาดของจีนตอนในที่เพียบพร้อมด้วยศักยภาพสำหรับการเจริญเติบโตมากที่สุด เป็นเมืองที่มีตลาดของประชากรขนาดใหญ่ที่สุดในจีนประมาณ 1 ร้อยล้านคน เป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรด้านการผลิตที่มีคุณภาพชั้นเยี่ยม รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    3) เป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางโลจิสติกส์ระบบรางที่สำคัญจากจีน ผ่านเอเชียกลาง สู่ทวีปยุโรป และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศในจีนตะวันตก โดยเฉพาะกับทวีปยุโรปและเอเชีย ซึ่งประกอบด้วยเส้นทางมอเตอร์เวย์ ระบบรางและทางอากาศ

    4) เป็นฐานการผลิตใหญ่ที่สำคัญในจีนตะวันตก โดยภายในเขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่ มีเขตนิคมอุตสาหกรรมระดับประเทศ 2 แห่ง ซึ่งมีบริษัทชั้นนำในด้านต่างๆ มาลงทุนประกอบธุรกิจเป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัทโทรคมนาคมสื่อสาร บริษัทผลิตอะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

    5) สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรการท่องเที่ยวระดับโลก มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมอยู่มากมาย กอปรกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ จึงสามารถดึงดูดผู้คนให้มาลองสัมผัสและเยี่ยมชม   ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่ กำลังจะกลายเป็นช่องทางและเวทีสำคัญสำหรับการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ ข่าวสาร เทคโนโลยีและวัฒนธรรมของจีนตอนในภาคตะวันตกกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกในอนาคตอันใกล้นี้

การคมนาคมและโลจิสติกส์

โครงสร้างพื้นฐานด้านเส้นทางคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ของมณฑลเสฉวน

               มณฑลเสฉวน มีความพยายามอย่างเต็มกำลังเพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็น ศูนย์กลางคมนาคมแบบครบวงจรแห่งภาคตะวันตก ในปี 2563 ซึ่งรัฐบาลได้ทุ่มเทงบประมาณมากกว่า 1 ล้านล้านหยวน เพื่อเร่งพัฒนาก่อสร้างระบบสาธาณูปโภคพื้นฐานสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ ระบบราง ทางหลวงมอเตอร์เวย์ ท่าเรือดินแดนตอนใน สนามบินนานาชาติ และ ระบบอินเตอร์เน็ตสารสนเทศ โดยมีนครเฉิงตูเป็นศูนย์กลางจุดเชื่อมโยงที่สำคัญไปสู่ศูนย์กลางเมืองในระดับภูมิภาค
การคมนาคมทางบกในมณฑลเสฉวนมี 2 ประเภท คือทางหลวงแผ่นดินและทางรถไฟ

1. ทางหลวงแผ่นดิน แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ ทางหลวงทั่วไปและทางหลวงมอเตอร์เวย์

ทางหลวงทั่วไป ปัจจุบัน (ปี 2556) มีระยะทางยาวประมาณ 300,000 กม. (รวมแล้วยาวเป็นอันดับ 1 ของประเทศ) นอกจากนี้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ปี 2554-2558) ฉบับที่ 12 ระบุว่า เมื่อสิ้นสุดปี 2558 ตั้งเป้าก่อสร้างทางหลวงทั่วไปในมณฑลเสฉวนให้ได้ระยะทางเพิ่มมากกว่า 350,000 กม.

ทางหลวงมอเตอร์เวย์ ปัจจุบัน (ปี2556) มีระยะทางยาวประมาณ 5,000 กม. เป็นช่องทางสำคัญในการเชื่อมมณฑลเสฉวนออกสู่มณฑลและเมืองสำคัญอื่นๆ มีทั้งสิ้น 12 สาย นอกจากนั้น ยังตั้งเป้าก่อสร้างทางหลวงมอเตอร์เวย์ในมณฑลเสฉวนให้ได้ระยะทาง 6,350 กม. ในปี 2558 และให้ได้ระยะทาง 8,200 กม.ในปี 2563
ปัจจุบัน โครงข่ายทางหลวงของมณฑลเสฉวนนั้น มีนครเฉิงตูเป็นศูนย์กลางโครงข่ายทั้งหมดและสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางหลวงของมณฑลอื่นๆ อย่างสมบูรณ์ ทำให้การเดินทางไปถึงเมืองเอกของมณฑลต่างๆ (ยกเว้นนครลาซา) ไปถึงได้ภายใน 22 ชม. ตามแผน “วงแหวนการจราจรทางหลวง 22 ชม.”

 

 

 

 

 

 

 

การพัฒนาศักยภาพในอนาคต

แผนโครงข่ายทางหลวงมอเตอร์เวย์มณฑลเสฉวน (2551-2573) ระบุว่าในปี 2563 ให้ได้ระยะทาง 8,200 กม. รวมทั้งก่อสร้างทางหลวงมอเตอร์เวย์เชื่อมมณฑลเสฉวนออกสู่มณฑลและเมืองสำคัญอื่นๆ เป็น 21 สาย ในปี 2573 ตั้งเป้าก่อสร้างทางหลวงมอเตอร์เวย์ให้มีระยะทาง 8,600 กม. เป็นทางหลวงที่เชื่อมมณฑลเสฉวนออกสู่มณฑลและเมืองสำคัญอื่นๆ เป็น 23 สาย มีนครเฉิงตูเป็นศูนย์กลางระบบทางหลวงมอเตอร์เวย์ที่สามารถเชื่อมไปยังนครลาซา ทิเบต มณฑลกานซู่และมณฑลชิงไห่ เป็นต้น นอกจากนี้ จะทำให้การเดินทางไปถึงเมืองเอกของและมณฑลโดยรอบ ถึงได้ภายในวันเดียวกัน และเดินทางไปถึงเมืองเอกของมณฑลอื่นๆ ที่ไกลออกไป เช่น ทางเหนือถึงกรุงปักกิ่ง ทางตะวันออกถึงนครเซี่ยงไฮ้ ทางตะวันออกเฉียงใต้ถึงนครกว่างโจว ทางตะวันตกถึงนครลาซา (ความยาว 647 กม.) เป็นต้น ตามแผน “วงแหวนการจราจรทางหลวง 22 ชม.”

 2.เส้นทางรถไฟการคมนาคมด้วยระบบรางในมณฑลเสฉวน มี 2 ประเภท คือ เส้นทางรถไฟธรรมดาและเส้นทางรถไฟความเร็วสูง

ปี 2556 มณฑลเสฉวนมีเส้นทางรถไฟ 3,500 กม. (ความเร็ว 160 กม./ชม. ความเร็ว 200  กม./ชม. และความเร็ว 300 กม./ชม.) ในปี 2563 ตั้งเป้าสร้างเส้นทางรถไฟให้ได้ระยะทางยาว 8,000 กม. เชื่อมออกสู่มณฑล 18 เส้นทาง

โครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในเขตมณฑลเสฉวน

เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในการกระจายความเจริญเข้าสู่ภาคตะวันตกของจีน รัฐบาลกลางจีนได้มีเป้าหมายที่จะให้นครเฉิงตูเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภาคตะวันตก เพื่อเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศจีน จึงได้มีโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงหลายเส้นทาง ทั้งที่เปิดใช้แล้วและที่กำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้างตาม “โครงการก่อสร้างระบบรางแห่งชาติ” ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2549-2553) และอยู่ใน “แผนโครงข่ายระบบรางระยะกลางและระยะยาวแห่งชาติ” เป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางขนส่งผู้โดยสารระบบรางด่วน “4 แนวตั้ง 4 แนวขนาน” ที่จะเชื่อมโยง “เขตเศรษฐกิจเฉิงตู-ฉงชิ่ง” สู่ทุกภูมิภาคของประเทศจีนได้อย่างสะดวกรวดเร็วภายในเวลา 8 ชม. โดยมีโครงการก่อสร้างที่เป็นรูปธรรมแล้ว ดังนี้

โครงการที่เสร็จสมบูรณ์และเปิดให้บริการแล้ว

1) เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเฉิงตู-ฉงชิ่ง ระยะทาง 315 กม. เปิดให้บริการเดือน ก.ย. 52 นับเป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของภาคตะวันตก วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 160-230 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากนครเฉิงตูถึงนครฉงชิ่ง 2 ชั่วโมง 15 นาที ปัจจุบันมีการเดินรถวันละ 16 เที่ยวไปกลับ ขนส่งผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 11,000 คน โดยเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ประทับรถไฟขบวนนี้ ขณะเสด็จพระราชดำเนินจากนครเฉิงตูไปยังนครฉงชิ่ง

2.) เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเฉิงตู-ตูเจียงเอี้ยน ระยะทาง 68 กม. เปิดให้บริการเดือน พ.ค. 53 วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 200 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทางจากนครเฉิงตูถึงเมืองตูเจียงเยี่ยนประมาณ 30 นาที และเป็นโมเดลสำหรับการเดินทางแบบเช้าไปเย็นกลับระหว่างเขตเมืองและปริมณฑล อีกทั้งเป็นเส้นทางท่องเที่ยวสู่มรดกโลกเขื่อน 2,000 ปี โดยในปัจจุบันกำลังมีการปรับปรุงสถานีเหนือของนครเฉิงตูอย่างขนานใหญ่ เพื่อยกระดับความทันสมัยของการเชื่อมต่อปริมณฑลของนครสถานีรถไฟตะวันออกนครเฉิงตู

– เป็น 1 ใน 6 ศูนย์กลางสถานีรถไฟโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และใหญ่ที่สุดในเขตภาคตะวันตก มีพื้นที่ใช้สอย 108,000 ตร.ม. เป็นงบประมาณก่อสร้าง 3,830 ล้านหยวน เปิดให้บริการเดือน พ.ค.54

– เป็นสถานีต้นทางและปลายทางสำหรับรถไฟความเร็วสูงสายสำคัญของนครเฉิงตู และยังสามารถเชื่อมโยงสู่ระบบขนส่งมวลชนในเมืองได้อย่างสะดวก

– ในปี 2563 จะมีปริมาณขนส่งผู้โดยสารสูงถึงวันละ 171,000 คน และในปี 2573 จะมีปริมาณขนส่งผู้โดยสารสูงถึงวันละ 376,000 คน หรือปีละ 137 ล้านคน

การพัฒนาศักยภาพในอนาคต

แผนปรับปรุงโครงข่ายระบบรางมณฑลเสฉวน ระบุว่า ในปี 2563 ตั้งเป้ามณฑลเสฉวนสร้างเส้นทางรถไฟธรรมดาให้ได้ระยะทางยาว 8,000 กม. เชื่อมออกสู่มณฑล 18 เส้นทาง และเปิดให้บริการเดินรถครอบคลุมทุกเขตปกครองตนเองของมณฑลเสฉวน นอกจากนี้ การเดินทางสู่เมืองสำคัญๆ ในมณฑลอื่นทั่วประเทศ จะเป็นไปตามแผน “วงแหวนจราจร 1,2,4,8 ชม.” รวมถึงเปิดเส้นทางระบบรางเชื่อมโยงสู่ต่างประเทศสู่ตะวันออกกลางและทวีปยุโรป และเชื่อมโยงระบบรางสู่อาเซียน ในปี 2563 ทางรถไฟในมณฑลเสฉวนที่สามารถใช้ความเร็ว 160 กม./ชม. ขึ้นไป จะมีระยะทางยาวทั้งสิ้น 4,900 กม. ความเร็ว 200  กม./ชม. ขึ้นไป จะมีระยะทางยาวทั้งสิ้น 3,200 กม. และ ความเร็ว 300 กม./ชม. ขึ้นไป จะมีระยะทางยาวทั้งสิ้น 900 กม.

แผน “วงแหวนจราจร 1,2,4,8 ชม.” จะทำให้การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงจากนครเฉิงตูถึงเมืองเหมียนหยาง เล่อซาน เน่ยเจียง ได้ภายในระยะเวลา 30 นาที จากนครเฉิงตูถึง เมืองกว่างหยวน อี๋ปิน หย่าอัน นครฉงชิ่ง ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง จากนครเฉิงตูถึงนครซีอาน เมืองซีชาง เมืองคังติ้ง นครกุ้ยหยาง ได้ภายในระยะเวลา 2 ชม. จากนครเฉิงตูถึงนครหลานโจว เจิ้งโจง อู่ฮั่น ฉางซา คุนหมิง ได้ภายในระยะเวลา 4 ชม. จากนครเฉิงตูถึงกรุงปักกิ่ง นครกว่างโจว ได้ภายในระยะเวลา 6 ชม. และจากนครเฉิงตูถึงนครเสิ่นหยาง นครเซี่ยงไฮ้ ได้ภายในระยะเวลา 8 ชม.

เส้นทางทางน้ำ

มณฑลเสฉวนตั้งอยู่ตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง เป็นจุดที่มีแม่น้ำสายใหญ่ 3 สายหลักมาบรรจบกัน  คือ แม่น้ำหมินเจียงไหลลงใต้มาบรรจบกับแม่น้ำสายที่ 2 คือ แม่น้ำจินซาเจียง และสุดท้ายคือแม่น้ำแยงซีเกียง เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติทางน้ำที่อุดมสมบูรณ์เป็นทุนเดิม จึงสามารถสร้างเป็นเครือข่ายการคมนาคมขนส่งทางน้ำระหว่างเมืองหลูโจว อี๋ปิน กว่างอัน กว่างหยวน  หนานชงและเล่อซาน รวมมีระยะทางการขนส่งทางน้ำ 11,725 กิโลเมตร โดยปัจจุบัน มณฑลเสฉวนมีท่าเรือจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือหลูโจว ท่าเรืออี๋ปิน ท่าเรือหนานชง ท่าเรือกว่างหยวน และท่าเรือกว่างอัน ซึ่งทั้งหมดจะมีขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าตู้คอนเท็นเนอร์รวมแล้วได้ถึง 2.33 ล้านตู้ และเมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12 การขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือจะมีปริมาณที่มากกว่า 120 ล้านตัน/ปี

1.ท่าเรืออี๋ปิน

เมืองอี๋ปิน ถือว่าเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ รองจากเฉิงตู และเป็นเมืองท่าที่สำคัญของมณฑล มีศักยภาพด้านการคมนาคมขนส่งทางน้ำเพื่อกระจายสินค้าออกสู่ทะเลยังสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานมีเครือข่ายถนนและทางรถไฟที่เชื่อมสู่เมืองสำคัญต่างๆโดยสินค้าส่วนใหญ่ที่ถูกขนส่งผ่านในหลายท่าเรือโดยใช้แม่น้ำแยงซีเกียงนั้น 

   ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำพวกสินแร่ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมเคมี โดยเฉพาะแรฟอสฟอรัส เพื่อการส่งออกต่างประเทศเป็นสำคัญ มีระยะเวลาการขนส่งขาล่องจากท่าเรือต่างๆ ในเมืองอี๋ปินสู่ท่าเรือเซียงไฮ้นั้น จะใช้เวลาประมาณ วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในแม่น้ำแยงซีเกียง ในช่วงฤดูหนาว จะใช้เวลาประมาณ วัน ปริมาณการขนส่งต่อเที่ยวที่ 1,400 ตัน สำหรับขาขึ้นนั้น จะใช้เวลานานกว่าอยู่ที่ประมาณ 15 วัน ปริมาณการขนส่งต่อเที่ยวที่ 1,000 ตัน โดยทั้งขาขึ้นและขาล่องนี้จะใช้เวลาประมาณ ช.ม.ในการผ่านประตูน้ำที่เขื่อนสามโตรกและเขื่อนเก่อโจวป้า มณฑลหูเป่ย

2. ท่าเรือหลูโจว

ท่าเรือหลูโจว เป็น ใน 28 ท่าเรือน้ำจืดภายในประเทศ

ที่สำคัญของจีน และเป็นท่าเรือสินค้าประเภทที่ 2 (ภายใต้การดูแลและดำเนินงานโดยรัฐบาลระดับมณฑล) แห่งเดียวของมณฑลเสฉวน โดยมีปริมาณขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าประเภทกล่องขนาดมาตรฐานที่ 500,000 ตู้/ปี คาดในปีหน้าจะเพิ่มศักยภาพในการรองรับที่ล้านตู้ และท่าเรือหลูโจว ยังเป็นท่าเรือที่สามารถเชื่อมโยงการขนส่งจากน้ำสู่ระบบราง ทำให้เครือข่ายการขนส่งเกิดความสมบูรณ์ครบวงจร ทั้งจากทางหลวงสู่น้ำ และจากทางรางสู่น้ำ ในตลอดระยะเวลา ปีที่ผ่านมา

         นอกจากนี้ ผลจากการตั้งฐานผลิตรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า โฟล์คสวาเก้น และโรงงานที่มีชื่อเสียงระดับโลกอื่นๆ ยิ่งทำให้มีปริมาณการขนส่งสินค้าตู้คอนเท็นเนอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ท่าเรือขนส่งตู้คอนเท็นเนอร์นานาชาติหลูโจว มีปริมาณการขนส่งที่ 38,000 ตู้ ในปี 2549 เพิ่มขึ้นถึง100,000 ตู้ในปัจจุบัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 21.4%

เส้นทางทางอากาศ

ภาคอากาศยานของมณฑลเสฉวน มีการเจริญเติบโตอย่างขึ้นรวดเร็วมาก มีท่าอากาศยานานาชาติซวงหลิว นครเฉิงตู เป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลเสฉวน รวมถึงมีสนามบินระดับภูมิภาคอีกจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ สนามบินเหอซื่อ เมืองต๋าโจว, สนามบินหลานเถียน เมืองหลูโจว, สนามบินหนานเจียว เมืองเหมียนหยาง, สนามบินหวงหลงจิ่วไจ้, สนามบินไช่ป้า เมืองอี๋ปิน, สนามบินเกาผิง เมืองหนันชง, สนามบินชิงซัน เมืองซีชาง, สนามบินคังติ้ง, สนามบินเป่าอันอิ่ง, เมืองพานจือฮัว และสนามบินผานหลง เมืองก่วงหยวน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2554-2558) ฉบับที่ 12 เร่งพัฒนาให้นครเฉิงตูก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางการบินระดับนานาชาติ และ เป็นประตูแห่งศูนย์กลางการบินของภาคตะวันตก

ท่าอากาศยานานาชาติซวงหลิว นครเฉิงตู

– เป็น 1 ใน 4 ท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่มีการจราจรทางอากาศคับคั่งมากที่สุดในเขตภาคกลางและภาคตะวันตกของจีน รวมถึงมีทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ 2 แห่งเดียวในภาคตะวันตก

– เป็นศูนย์กลางทางการบินและศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางอากาศแห่งภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ มีเส้นทางโลจิสติกส์ทางอากาศ 27 เส้นทาง ทั้งภายในประเทศและเส้นทางระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายเส้นทางขนส่งเพิ่มสู่อเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย และอาเซียน ปัจจุบัน ได้มี บ.สายการบินโลจิสติกส์ทางอากาศ อาทิ UPS, FedEX, DHL เป็นเส้นทางบินตรงสู่นครเฉิงตูแล้ว

– ปัจจุบัน เปิดทำการบินภายในประเทศจำนวน 151 เส้นทาง และเปิดทำการบินตรงสู่ต่างประเทศแล้วจำนวน 71 เส้นทาง

– เส้นทางบินตรงสู่ต่างประเทศเส้นทางแรกและเป็นเส้นทางเดียวในเขตภาคกลางและภาคตะวันตกของจีนที่มีจุดเริ่มต้นจากนครเฉิงตู มี 6 เส้นทาง ได้แก่ กรุงอัมสเตอร์ดัม กรุงอาบูดาบี กรุงโตเกียวกรุงการาจี เมืองบังกาลอว์ และนครมุมไบ

– ปี 2555 มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 31,595,000 ล้านคน อยู่ในลำดับที่ 5 ของจีน ด้านปริมาณการขนส่งสินค้า (ปี 2554) อยู่ที่ 477,770 ตัน ทำให้ก้าวขึ้นของท่าอากาศยานที่มีปริมาณการขนส่งทางอากาศมากที่สุด โดย นครเฉิงตู ก้าวขึ้นอยู่ในลำดับที่ 4 ของเมืองที่มีปริมาณการขนส่งทางอากาศมากที่สุด

– ปี 2556 มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสารมากถึง 33,440,000 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่า 2 ล้านคน และจัดเป็นศูนย์กลางการบินที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของจีน รองจากกรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้และนครกว่างโจว

– ปัจจุบันอาคารพักผู้โดยสารแห่งที่ 2  ของสนามบินนานาชาติซวงหลิว นครเฉิงตูได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อเดือน ก.ย. 2555มีพื้นที่5 แสน ตร.ม. รองรับปริมาณผู้โดยสารต่อปีที่50  ล้านคน รวมถึง อาคารคลังสินค้า 3  หลัง รวมพื้นที่ 1.2 แสน ตร.ม. รองรับปริมาณการขนส่งสินค้าต่อปีที่ 1.5 ล้านตัน มากสุดเป็นอันดับ1  ของภูมิภาคจีนตอนกลางและตะวันตก

 

 

  กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์หลักของมณฑลเสฉวนแบ่งได้เป็น 7 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมหนัก 2) กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ข้อมูลสารสนเทศ 3) กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์สุรา 4) กลุ่มธุรกิจ โลจิสติกส์เหล็กกล้า 5) กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์สินค้าเกษตร 6) กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ธัญหาร และ 7) กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์รับส่งพัสดุภัณฑ์

ปัจจุบัน บริษัท 500 อันดับแรกของโลกจำนวน 269 บริษัท อาทิ บ. Foxconn, บ. Compal, บ. Dell และอื่นๆ เข้ามาตั้งฐานการผลิตที่มณฑลเสฉวน เนื่องจากเห็นถึงศักยภาพของระบบโลจิสติกส์ของมณฑลเสฉวน

การพัฒนาศักยภาพในอนาคต

  1.       แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2554-2558) ฉบับที่ 12 มีเป้าหมายในการพัฒนาให้นครเฉิงตูเป็น ศูนย์กลางโลจิสติกส์ในเขตตะวันตก ในปี 2558 และจะพัฒนาให้มณฑลเสฉวนทั้งหมดเป็น ศูนย์กลางโลจิสติกส์แห่งภาคตะวันตก ในปี 2563 สำหรับในปี 2558 มณฑลเสฉวนได้มีเป้าหมายก้าวขึ้นสู่

1.1 การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระบบรางที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก

1.2 เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางหลวงแผ่นดินที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก

1.3 เป็นศูนย์กลางการบินนานาชาติ (ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า) ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ

1.4 เป็นเขตศูนย์กลางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่สมบูรณ์ที่สุดในภาคตะวันตก โดยมีนครเฉิงตูเป็นศูนย์กลาง

  1. ก่อสร้างศูนย์กลางโลจิสติกส์ส่วนกลาง ตั้งอยู่ที่นครเฉิงตู และ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ส่วนภูมิภาค 8 แห่ง เพื่อการก้าวขึ้นสู่เป็น ศูนย์กลางโลจิสติกส์แห่งภาคตะวันตก ในปี 2563 ประกอบด้วย

2.1 ศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับกลาง มีที่ตั้งอยู่ในนครเฉิงตู ภายในประกอบด้วย

2.1.1 เขตนิคมโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่

– เขตนิคมโลจิสติกส์ทางอากาศ (มีสนามบินนานาชาติซวงหลิวเป็นศูนย์กลางการบินแห่งภาคตะวันตกเชื่อมโยงสู่ทั่วโลก)

– เขตนิคมโลจิสติกส์กระจายสินค้ากล่องนานาชาติ (มีศูนย์กลางกระจายสินค้าบรรจุหีบห่อระบบรางแห่งดินแดนตอนในเชื่อมโยงสู่ทั่วโลก)

– เขตนิคมโลจิสติกส์ชิงไป๋เจียง (มีศูนย์กลางขนส่งระบบรางสถานีต้าวานเชื่อมโยงสู่ทั่วโลก)

– เขตนิคมโลจิสติกส์ซินจิน (มีศูนย์กลางขนส่งระบบรางสถานีซินจินเชื่อมโยงสู่ทั่วโลก)

2.1.2 ศูนย์โลจิสติกส์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่

– ศูนย์โลจิสติกส์ซินตู (มีทางหลวงแผ่นดินเชื่อมโยงสู่เมืองที่อยู่ทางทิศเหนือของนครเฉิงตูสู่เขตเศรษกิจเฉิงตู-เต๋อหยาง-เหมียนหยาง และกระจายไปทั่วประเทศ)

– ศูนย์โลจิสติกส์หลงฉวน (มีทางหลวงแผ่นดินเชื่อมโยงสู่เมืองที่อยู่ทางทิศตะวันออกของนครเฉิงตูสู่เขตเศรษกิจเฉิงตู-ฉงชิ่ง เชื่อมโยงสู่ท่าเรือสินค้าแม่น้ำแยงซีเกียง)

– ศูนย์โลจิสติกส์ซวงหลิว (มีทางหลวงแผ่นดินเชื่อมโยงสู่เมืองที่อยู่ทางทิศใต้ของนครเฉิงตูและกระจายไปทั่วประเทศ)

– ศูนย์โลจิสติกส์ทัณฑ์บน (มีเขตแปรรูปสินค้าส่งออก เชื่อมโยงนครเฉิงตู และศูนย์โลจิสติกส์ทัณฑ์บนในมณฑลเสฉวน)

2.2 ศูนย์กลางโลจิสติกระดับภูมิภาค 8 แห่ง ประกอบด้วย

– ศูนย์โลจิสติกส์เมืองพานจือฮัว (กระจายสินค้าประเภทแร่ธาตุ เหล็ก และสินค้าเกษตร ในห่วงโซ่ความเย็น)

– ศูนย์โลจิสติกส์เมืองจื้อก้ง-หลูโจว-อี๋ปิน (กระจายสินค้าประเภทสุรา สารเคมี เครื่องจักร เกลือ)

– ศูนย์โลจิสติกส์เมืองต๋าโจว (กระจายสินค้าประเภทปิโตรเคมี สินค้าเกษตร และทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น)

– ศูนย์โลจิสติกส์เมืองเหมียนหยาง-ก่วงหยวน (กระจายสินค้าประเภทอิเล็คทรอนิกส์ สินค้าเกษตร)

– ศูนย์โลจิสติกส์เมืองหนันชง-ก่วงอัน (กระจายสินค้าประเภทธุรกิจค้าปลีก สินค้าเกษตร วัสดุก่อสร้าง)

– ศูนย์โลจิสติกส์เมืองซุ่ยหนิง-เน่ยเจียง (คลังสินค้าสำหรับกระจายสินค้าสู่เขตนิคมโลจิสติกส์เสฉวน-ฉงชิ่ง)

– ศูนย์โลจิสติกส์เมืองเล่อซาน (กระจายสินค้าขนาดใหญ่ และเป็นจุดเชื่อมระหว่างการขนส่งทางบกและทางน้ำ

– ศูนย์โลจิสติกส์เมืองหย่าอัน (กระจายทรัพยากรไฟฟ้าพลังน้ำ เหมืองแร่ เครื่องจักรเพื่อการแปรรูป และสินค้าเกษตร)

3. กำหนดพื้นที่ในมณฑลเสฉวนเพื่อแบ่งกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ออกเป็น 3 ประเภท คือ

3.1 พัฒนาพื้นที่ในนครเฉิงตู เมืองเหมียนหยาง ซุ่ยหนิง สู่ ศูนย์โลจิสติกส์ประเภทสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ขนาดใหญ่

3.2 พัฒนาพื้นที่ในเมืองเต๋อหยาง จื้อก้ง สู่ ศูนย์โลจิสติกส์ประเภทคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ และ

3.3 พัฒนาพื้นที่ในเมืองซุ่ยหนิง หนันชง ต๋าโจว ก่วงหยวน ศูนย์โลจิสติกส์ประเภทก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเคมี และสินค้าเกษตรแบบพิเศษ

4. ในปี 2563 โดยลดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ลงร้อยละ 5 ของ GDP (หรือ ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ที่ลดลงทุกๆ ร้อยละ 1 สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยตรงได้ถึง 14,000 ล้านหยวน)

การเชื่อมโยงโลจิสติกส์ระบบรางจากมณฑลเสฉวนสู่ตะวันออกกลางและทวีปยุโรป

รถไฟสายนครเฉิงตู-เมืองลอดซ์ โปแลนด์ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย. 56 รวมระยะทางทั้งสิ้น 9,826 กม.ใช้ระยะเวลาการขนส่งเพียง 12 วัน จนถึงเดือน พ.ค.57 ได้มีการขนส่งสินค้าจากนครเฉิงตูสู่ยูโรปไปแล้วทั้งสิ้น 48 เที่ยว จำนวนทั้งสิ้น 3,704 ตู้คอนเทนเนอร์ สินค้ามีน้ำหนักรวมกันกว่า 90,473,000 ตัน มีมูลค่ารวมกว่า 170 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ สินค้าขนส่งไปยุโรปที่สำคัญได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่รถยนต์ และเสื้อผ้า

ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าดังกล่าว มีจุดเริ่มต้นจากสถานีชิงไป่เจียงนครเฉิงตู มุ่งหน้าสู่เมืองอาลาซานโข่ว มณฑลซินเจียงเพื่อออกนอกประเทศ จากนั้นเดินทางผ่านประเทศคาซัคสถาน รัสเซีย เบลารุส และสิ้นสุดที่สถานีปลายทางเมืองลอดซ์ โปแลนด์ ซึ่งเมื่อขบวนรถไฟดังกล่าวมาถึงสถานีเมืองลอดซ์ และภายใน 1-3 วันก็จะทำการขนถ่ายสินค้า “เมดอินไชน่า” เพื่อส่งต่อไปยังหลายประเทศปลายทางในกลุ่มยุโรปโดยระบบรางต่อไปโดยเส้นทางนี้สามารถลดเวลาการขนส่งแบบปกติ (ทางเรือ) ที่ถึงเมืองท่าสำคัญเดียวกันในทวีปยุโรปได้ถึง 20 วัน

 

การเชื่อมโยงโลจิสติกส์ระบบรางจากอาเซียนสู่มณฑลเสฉวน

นโยบายยุทธศาสตร์พัฒนาภาคตะวันตกของจีน ทำให้เกิดการกระจายความเจริญมาสู่ดินแดนตอนในอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจีนยังได้มีแผนเร่งพัฒนาและสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ทางหลวงแผ่นดิน ทางรถไฟ เพื่อเปิดช่องทางเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้านทางตอนล่างโดยมีอาเซียนเป็นจุดหมายสำคัญ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจตามแนวพัฒนา (โดยเฉพาะด้านการค้าชายแดน) ต่อเนื่องลงมาสู่ไทยอันเป็นจุดศูนย์กลางของกลุ่มประเทศอาเซียน

ไทยกำลังก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (Asean Economic Community)” ในอีก 3 ปี ข้างหน้า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเติบโตของกิจกรรมบนเส้นทางเศรษฐกิจดังกล่าว การเร่งพัฒนาศักยภาพโครงสร้างพื้นฐาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบราง) เพื่อเชื่อมโยงสู่ระบบคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันและต่อเนื่องสู่ประเทศที่กำลังก้าวขึ้นสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกอย่างจีน จึงเป็นสิ่งที่ไทยต้องรีบดำเนินการเพราะโอกาสทางเศรษฐกิจอันมหาศาลกำลังหลั่งไหลเข้าสู่เส้นทางที่กำลังจะได้รับการเชื่อมโยงระบบคมนาคมอย่างสมบูรณ์ในอนาคต

เป็นสิ่งที่น่ายินดีที่รัฐบาลไทย ส่งสัญญาณเดินหน้าพัฒนาศักยภาพเส้นทางระบบรางจากแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันสู่เส้นทางรถไฟความเร็วสูง (รางกว้าง 1.435 ม.) และพร้อมเชื่อมโยงสู่โครงข่ายระบบราง ตั้งแต่ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด (ที่ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลตะวันออกEastern Seaboard) และทางหลวงมอเตอร์มุ่งสู่ท่าเรือทวาย (ประตูการขนส่งสู่ชายฝั่งทะเลตะวันตก) เพื่อเป็นการเชื่อมต่อโครงข่ายโลจิสติกส์สู่มาเลเซียและมีจุดหมายที่สิงคโปร์ รวมถึงกระจายสินค้าสู่ทั่วโลก

เส้นทางโลจิสติกส์ ระยะทาง (กม.) ระยะเวลา (ชม.) ขนส่งระบบ หมายเหตุ
ธรรมดา ความ เร็วสูง ธรรมดา ความ เร็วสูง
1 กรุงเทพฯ-พัทยา (ท่าเรือแหลมฉบัง)-ระยอง (ท่าเรือมาบตาพุด) 269 220 4 1 ราง 1 ม./ 1.435 ม. เส้นทางรถไฟความเร็วสูง เริ่มก่อสร้างปี 2557-2562
2 กรุงเทพฯ-ท่าเรือทวาย 320 4 ทางหลวงมอเตอร์เวย์ อยู่ในระหว่างก่อสร้าง ทางรถไฟอยู่ในระหว่างการออกแบบ
รวม 520 5

เส้นทางโลจิสติกส์ ระยะทาง (กม.) ระยะเวลา (ชม.) ขนส่งระบบ หมายเหตุ
ธรรมดา ความ เร็วสูง ธรรมดา ความ เร็วสูง
1 กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ 990 982 18 4.54 ราง 1 ม./1.435 ม. เส้นทางรถไฟความเร็วสูง เริ่มก่อสร้าง 2557-2562
2 ปาดังเบซาร์-มาเลเซีย-สิงคโปร์ 956 28 ราง 1 ม.
รวม 1,946 1,938 46 32.54

นอกจากนั้น เส้นทางจากท่าเรือดังกล่าว ยังสามารถเชื่อมเข้าสู่โครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูง สายที่ 1 เชื่อมสู่ทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ (เริ่มก่อสร้างปี 2557) สิ้นสุดที่ จ.หนองคาย เชื่อมเข้าสู่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศลาว (รออนุมัติการสร้างจากรัฐบาลลาว) ผ่านหลวงพระบาง หลวงน้ำทา บ่อเต็น บ่อหาน มุ่งสู่เมืองสิบสองปันนา เมืองยู่ซี นครคุนหมิง และนครเฉิงตู

เส้นทางโลจิสติกส์ ระยะทาง (กม.) ระยะเวลา (ชม.) ขนส่งระบบ หมายเหตุ
ธรรมดา ความ เร็วสูง ธรรมดา ความ เร็วสูง
1 กรุงเทพฯ-หนองคาย 651 615 12.25 3.04 ราง 1 ม./ 1.435 ม. เส้นทางรถไฟความเร็วสูง เริ่มก่อสร้าง 2557-2562
2 หนองคาย-นครเวียงจันทน์-หลวงพระบาง-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น-บ่อหาน (โม่ฮัน) 421 2.30 ราง 1.435 ม รออนุมัติการก่อสร้าง
3 โม่ฮัน-สิบสองปันนา-ยู่ซี- นครคุนหมิง 520 5 ราง 1.435 ม เส้นทางรถไฟความเร็วสูง สร้างแล้วเสร็จปี 2558
4 นครคุนหมิง-นครเฉิงตู 1,100 737 18.22 4.30 ราง 1.435 ม เส้นทางรถไฟความเร็วสูง สร้างแล้วเสร็จปี 2557
รวม 2,483 13.34

 สายที่ 2 เชื่อมสู่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ (เริ่มก่อสร้าง ปี 2557) สิ้นสุดที่ จ. เชียงใหม่ จากนั้นเปลี่ยนมาให้เส้นทางมอเตอร์เวย์สายเชียงใหม่-เชียงราย (กำลังอยู่ระหว่างศึกษาโครงการ) จากนั้นข้ามสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (คาดแล้วเสร็จ ก.ค. 56) เชื่อมต่อกับเส้นทาง R3Aมุ่งหน้าสู่ ห้วยทราย หลวงน้ำทา บ่อเต็น บ่อหาน เมืองสิบสองปันนา และใช้เส้นทางหลวงสู่เมืองยู่ซี นครคุนหมิง และนครเฉิงตู

เส้นทางโลจิสติกส์ ระยะทาง (กม.) ระยะเวลา (ชม.) ขนส่งระบบ หมายเหตุ
ธรรมดา ความ เร็วสูง ธรรมดา ความ เร็วสูง
1 กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 751 745 11.40 3.43 ราง 1 ม./ 1.435 ม. เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เริ่มก่อสร้าง 2557-2562
2 เชียงใหม่-เชียงราย-เชียงของ 200 2 ทางหลวงมอเตอร์เวย์ กำลังอยู่ระหว่างศึกษาโครงการ
3 กรุงเทพฯ-เชียงของ 890 12 ทางหลวงแผ่นดิน
4 เชียงของ-ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น-บ่อหาน (โม่ฮัน) 229 4 ทางหลวงR3A
5 โม่ฮัน-สิบสองปันนา-ยู่ซี- นครคุนหมิง 688 9 ทางหลวงR3
6 นครคุนหมิง-นครเฉิงตู 875 12.30 ทางหลวงแผ่นดิน
รวม 2,682 2,737 37.30 31.13

 

ภาพรวมการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมโลจิสติกส์โดยเริ่มต้นจากประเทศไทยสรุปได้ดังนี้

  1. เส้นทางโลจิสติกส์ จากท่าเรือมาบตาพุด/ท่าเรือแหลมฉบัง-กรุงเทพฯ-เชียงของ-นครคุนหมิง-นครเฉิงตู รวมมีระยะทางประมาณ 3,094 กม. รวมเวลาเดินทางประมาณ 41 ชม. 30 นาที หรือ ประมาณ 1 วัน 17 ชม. 30 นาที (ไม่รวมเวลาที่ต้องเสียไปในกระบวนการขนส่ง หากรวมระยะเวลากระบวนการขนส่งสินค้าจะอยู่ที่ 4-5 วัน) ซึ่งเมื่อเทียบกับเส้นทางโลจิสติกส์ทางทะเลจากท่าเรือมาบตาพุด/ท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือเมืองก่วงโจว (5-7 วัน)–นครเฉิงตู (ทางราง 1-2 วัน,ทางหลวง 3-4 วัน) ต้องใช้เวลานานถึง 6-9 วัน หรือ 8-11 วัน (รวมกระบวนการขนส่ง)
  2. เส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-เวียงจันทน์-นครคุนหมิง-นครเฉิงตู หากเชื่อมต่อโครงข่ายระบบรางสมบูรณ์ทั้งระบบ จะทำให้มีระยะทางประมาณ 2,483 กม. และจะทำให้การเดินทางจากประเทศไทยสู่มณฑลเสฉวน รวมเวลาเดินทางสุทธิประมาณ 13 ชม. 34 นาที หรือประมาณ ครึ่งวัน (ไม่รวมเวลาที่ต้องเสียไปในกระบวนการขนส่ง) ซึ่งเมื่อเทียบกับการเดินทางจากกรุงเทพฯ-เชียงของ-คุนหมิง-เฉิงตู ในปัจจุบัน ซึ่งใช้เวลาเดินทางประมาณ 41 ชม. 30 นาที (ไม่รวมเวลาที่ต้องเสียไปในกระบวนการขนส่ง)
  3. เส้นทางโลจิสติกส์ระบบรางจาก กรุงเทพฯ-ด่านอาลาซานโข่ว มีระยะทางประมาณ 6,024 กม. เส้นทางโลจิสติกส์ระบบรางจาก สิงคโปร์-กรุงเทพฯ-กรุงเวียงจันทน์-นครเฉิงตู มีระยะทางประมาณ 4,429 กม. เส้นทางโลจิสติกส์ระบบรางจาก สิงคโปร์-ด่านอาลาซานโข่ว มีระยะทางประมาณ 7,970 กม. เส้นทางโลจิสติกส์ระบบรางจาก กรุงเทพฯ-เมืองท่าประเทศเนเธอร์แลนด์ มีระยะทางประมาณ 12,077 กม.

การเชื่อมโยงการคมนาคมและโลจิสติกส์ทางบกของจีนและอาเซียน ถ้าจะให้สัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริง ต้องลากขึ้นไปให้ถึงนครเฉิงตู ซึ่งกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบก ทางราง ทางอากาศ ภายในปี 2563 ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่เขตเศรษฐกิจสำคัญในแต่ละภูมิภาคของจีนและส่งออกนอกทวีปผ่านเอเชียกลางไปถึงยุโรป ฉะนั้น แนวทางเชื่อมโยงโลจิสติกส์ระบบรางจากไทย ในฐานะศูนย์กลางอาเซียน สู่มณฑลเสฉวน ในฐานะศูนย์กลางภาคตะวันตกของจีน หากสามารถพัฒนาให้เป็นรูปธรรมได้อย่างมีระบบก็จะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุดแก่ประเทศไทยอย่างแท้จริงในระยะยาว

เศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑล

1แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011  2015)

  • มูลค่าเศรษฐกิจของมณฑลฯ ทะลุ 3 ล้านล้านหยวน
  • มูลค่า GDP ต่อหัวประชากร ไม่ต่ำกว่า 36,000 หยวน พัฒนาสู่เขตที่มีรายได้ปานกลาง
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัว/ปี ของประชากรเมืองไม่ต่ำกว่า 24,600 หยวน
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัว/ปี ของประชากรชนบทไม่ต่ำกว่า 8,200 หยวน
  • ลดอัตราการเสียภาษีของประชากรที่มีรายได้ปานกลาง
  • ส่งเสริมการปฎิรูประบบการลงทะเบียนสำมะโนครัว
  • ผลักดันนครเฉิงตูให้กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลางและตะวันตกของจีน
  • เร่งพัฒนาให้มณฑลเสฉวนกลายเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมที่ครบวงจรในจีนตะวันตก

2แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2014

  • มูลค่า GDP ไม่ต่ำกว่า 2,626,000 หยวน หรือเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10%
  • มีเม็ดเงินการลงทุนด้านสินทรัพย์ถาวรไม่ต่ำกว่า 2.1 ล้านล้านหยวน ขยายตัวจากเดิม 16.7%
  • มูลค่าการค้าปลีกสูงขึ้นประมาณ 12%
  • มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ (นำเข้า-ส่งออก) เพิ่มขึ้นประมาณ 6%
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัว/ปี ของประชากรเมืองเพิ่มขึ้นประมาณ 10%
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัว/ปี ของประชากรชนบทเพิ่มขึ้นประมาณ 11%
  • พัฒนาและผลักดันด้านการประกันภัยสุขภาพ การรักษาพยาบาล และด้านสุขอนามัยของประชาชน

เปิดเส้นทางการบินระหว่างประเทศเพิ่ม 8 เส้นทาง 71 เที่ยวบิน และยกเว้นวีซ่า โดยเข้าพำนักในประเทศได้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • มณฑลเสฉวนโดยเฉพาะนครเฉิงตู เป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจ การค้าที่สำคัญที่สุดของภาคตะวันตกของจีน มีประชากรประมาณ 90ล้านคน (ในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในนครเฉิงตูซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑล มีประชากร 14 ล้านคน) มณฑลนี้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในจีน
  • ตั้งแต่ปี 2543 รัฐบาลกลางได้วางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภาคตะวันตกของจีน ให้มีความเจริญเพื่อลดปัญหาช่องว่างของการพัฒนาเมืองเมื่อเทียบกับมณฑลชายฝั่งภาคตะวันออก โดยกำหนดให้มณฑลเสฉวนให้เป็นศูนย์กลางของภาคตะวันตกทั้ง 12 มณฑล
  •  ปี 2550 รัฐบาลมณฑลเสฉวนวางแผนให้ความสำคัญกับการพัฒนาใน ด้าน คือ การพัฒนาด้านเทคโนโลยี การศึกษา วัฒนธรรมและการให้บริการทางการแพทย์
  • ครึ่งปีแรก ปี 2557 บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับใน Top 500 ระดับโลก จำนวน 247 บริษัท เข้ามาลงทุนในมณฑลเสฉวน
  • เป็นศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ และมีศูนย์ส่งดาวเทียมที่เมืองซีฉาง (Xichang Satellite Launch Center: XSLC) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 รัฐบาลจีนส่งดาวเทียมฉางเอ๋อ 1 (Chang’e 1) ขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์ โดยเป็นการสำรวจดวงจันทร์ครั้งแรกของจีน
  • กระทรวงทรัพยากรมนุษย์และประกันสังคมแห่งชาติ อนุมัตินครเฉิงตู เมืองเอกมณฑลเสฉวน ให้เป็นเมืองแห่งแม่แบบการบุกเบิกธุรกิจใหม่ระดับประเทศของประเทศ และติดท็อป 50 โดยจัดอยู่ในลำดับที่ 37 เมืองแห่ง Service Outsourcing ระดับโลก
  • กระตุ้นให้เมืองเฉิงตูพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างเต็มกำลังและสร้างความเป็นผู้นำด้านธุรกิจในภูมิภาค (Leading Enterprise)โดยจัดตั้งและเพิ่มศักยภาพสถาบันวิจัยและพัฒนาทางเศรษฐกิจ
  • สร้างมาตรการในการเชิญชวนและสนับสนุนนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศเข้ามาลงทุนในพื้นที่ให้มากขึ้น อีกทั้งสร้างโอกาสให้ธุรกิจในพื้นที่ในการทำ Business Matching กับธุรกิจนอกพื้นที่ได้ และบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสร้างหลักประกันความเสี่ยงให้แก่ภาคธุรกิจที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตัวเลข GDP ปี 2556 ของมณฑลเสฉวนมีมูลค่า 2,626,077 ล้านหยวน เติบโต 10% เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วประเทศที่ 2.3โดยแบ่งเป็นอุตสาหกรรมปฐมภูมิมีมูลค่า 342,561 ล้านหยวน ขยายตัว 3.6ทุติยภูมิมีมูลค่า 1,357,903 ล้านหยวน ขยายตัว 11% และตติยภูมิมีมูลค่า 925,613 ล้านหยวน ขยายตัว 9.9%

ในปี 2556 ตัวเลขด้านการนำเข้าส่งออกของมณฑลเสฉวนมีมูลค่ารวม64,590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากปีก่อน 9.2เป็นการส่งออก 41,590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.1และการนำเข้า 22,640 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.5โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกขนาด แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบ ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า กระเป๋า สิ่งทอและรองเท้า เป็นต้น ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ วงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบไมโครอิเล็กทรอนิกส์สินแร่ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับด้านการบิน เป็นต้น

สำหรับรายได้ประชากรของมณฑลเสฉวนในปี 2556 มีจำนวนเพิ่มขึ้น รายได้ของชาวเมืองเฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 22,368 หยวน เพิ่มขึ้น 10.1และรายได้เกษตรกรเฉลี่ยตัวหัวอยู่ที่ 7,895 หยวน เพิ่มขึ้น 12.8% เงินเดือนเฉลี่ยต่อหัวของพนักงานบริษัททั่วไปในมณฑลเสฉวนอยู่ที่ 3,543 หยวน เพิ่มขึ้น 14.7เห็นได้ว่ารายได้ของชาวเสฉวนในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ส่งผลให้อัตราการบริโภคของชาวเสฉวนสูงขึ้นที่มูลค่า 1,035,540 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 13.9% โดยตัวเลขการบริโภคด้านค้าปลีกและค้าส่งอยู่ที่มูลค่า 883,780 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น  14.6% และตัวเลขด้านโภชนาการที่มูลค่า 151,760 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 10.1%

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน