TIANJIN

นครเทียนจิน

1. ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งและพื้นที่

  • นครเทียนจินตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบภาคเหนือของจีน
  • อยู่ระหว่างเส้นละติจูด 38.34 ถึง 40.15 องศาเหนือ และลองจิจูด 116.43 ถึง 118.04 องศาตะวันออก
  • ทิศตะวันออกติดทะเลโป๋ไห่ ทิศเหนือติดปักกิ่งบริเวณเทือกเขาหย่านซัน
  • ทิศตะวันออก ตะวันตก และใต้ติดเมืองสำคัญต่าง ๆ ของมณฑลเหอเป่ย
  • เทียนจินมีพื้นที่ทั้งหมด 11,919.7 ตร.กม. มีพรมแดนยาว 1,290.8 กิโลเมตร โดยเป็นชายฝั่ง 153 กิโลเมตร และเขตแดนทางบก 1,137.48 กิโลเมตร ระยะทางจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ 189 กิโลเมตร ระยะทางจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก 117 กิโลเมตร
  • เทียนจินห่างจากปักกิ่ง 120 กิโลเมตร
    (จากใจกลางเมืองเทียนจินไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีระยะทางห่างจากปักกิ่ง 137 กิโลเมตร)

พื้นที่ทั้งหมดของนครเทียนจิน มีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่การใช้งาน ดังนี้

  • พื้นที่สำหรับการเพาะปลูกร้อยละ 40.74
  • พื้นที่การขนส่งทางบกร้อยละ 2.76 ทางน้ำร้อยละ 26.43
  • พื้นที่ที่ดินที่ไม่มีการใช้งานร้อยละ 5.69 โดยในทีนี้ไม่ได้รวมพื้นที่ชายหาด ภูเขาทางตอนเหนือ
  • พื้นที่ที่กำลังได้รับการพัฒนาระบบนิเวศริมฝั่งทะเล ปลายแม่น้ำไห่เหอ ปลายฝั่งทะเลที่กำลังได้รับการพัฒนา

เทียนจินตั้งอยู่บริเวณสองฝั่งของแม่น้ำไห่เหอ ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีนทางตอนเหนือ มีสาขากว่า 300 สายแต่ละสายมีความยาวกว่า 10 กิโลเมตร แต่ละสายบรรจบกันบริเวณแม่น้ำหย่งติ้ง แม่น้ำต้าชิง แม่น้ำจือหยา แม่น้ำหนานหยุ่น และแม่น้ำเป่ยหยุ่น โดยแม่น้ำทั้งห้าสายนี้รวมตัวกันเป็นแม่น้ำไห่เหอและไหลลงสู่ทะเลบริเวณเขตต้ากู่

ข้อมูลประชากร

สิ้นปี 2557 นครเทียนจินมีประชากรรวม 15.17 ล้านคน แบ่งเป็นชนชาติฮั่น (97%) และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ (3 %) โดยใช้ภาษาจีนกลางและภาษาจีนเทียนจิน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ และอิสลาม

ทรัพยากรสำคัญ

นครเทียนจิน มีทรัพยากรแร่ธาตุทั้งหมด 20 กว่าชนิด ได้แก่

  • แมงกานีส
  • ทอง
  • ทองแดง
  • วุลแฟรม
  • โมลิบดินัม
  • หินปูนขาว
  • หินอ่อน
  • หินน้ำมันธรรมชาติ

อีกทั้ง มีทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีบ่อน้ำมันโป๋ไห่และบ่อน้ำมันต้าก่าง ซึ่งเป็นบ่อขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำคัญของจีน อีกทั้ง เนื่องจากเทียนจินมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล 150 กว่ากิโลเมตร เป็นเมืองที่มีความสำคัญในการผลิตเกลือสมุทรของจีน นอกจากนี้ เทียนจินมีทรัพยากรน้ำร้อนใต้ดินที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่มีระดับความร้อนต่ำและปานกลางที่ใหญ่ที่สุดในจีน

ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม

  • นาม “เทียนจิน” ปรากฎขึ้นในสมัยต้นรัชกาลหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง
  • ในปี พ.ศ.1947 สมัยรัชกาลหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง ปีที่ 2 ได้ตั้งเมืองเทียนจินและสร้างเทียนจินให้เป็นฐานตั้งมั่นทางทหารเรียกว่า “เทียนจินเว่ย” ในสมัยนั้นที่ตั้งเมืองเทียนจินได้กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางทหารที่สำคัญ
  • ปี พ.ศ.2403 หลังจากเทียนจินถูกเปิดให้เป็นเมืองท่าขนส่งสินค้า มหาอำนาจตะวันตกหลายประเทศได้ตั้งเขตเช่าขึ้นในเทียนจิน จึงกลายเป็นเมืองแรกทางตอนเหนือของจีนที่มีการเปิดเสรีและเป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านการเงิน การธนาคาร และการค้าที่ใหญ่ที่สุดทางเหนือของประเทศจีนในสมัยนั้น

หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ.2492 เมืองเทียนจินได้เปลี่ยนสภาพเป็นเมืองมหานครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ต่อมาหลังจากจีนดำเนินการปฎิรูปและเปิดเสรีประเทศ เทียนจินได้รับการกำหนดให้เป็นเมืองชายฝั่งในกลุ่มแรกที่เปิดเสรีต่อต่างประเทศ

สภาพภูมิอากาศ

  • อากาศอบอุ่นกึ่งชุ่มชื้น มีฤดูกาลสี่ฤดูที่ชัดเจน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปี 14 องศาเซลเซียส
  • ระดับปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 600 มิลลิเมตรต่อปี
  • ในช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม มีปริมาณน้ำฝนตกมากรวมกันคิดเป็นร้อยละ 75 ของปริมาณน้ำฝนที่ตกทั้งปี
  • อากาศร้อนที่สุดในเดือนกรกฎาคม ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ย 26-27 องศาเซลเซียส
  • หนาวที่สุดในเดือนมกราคม ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ย -3-5 องศาเซลเซียส
  • โดยมีช่วงเวลาฤดูหนาวยาวนานที่สุดประมาณ 156 -167 วัน
  • ฤดูหนาวได้รับอิทธิพลความกดอากาศสูงจากมองโกเลีย ทำให้เกิดลมทางเหนือในฤดูหนาว
  • ฤดูร้อนได้รับอิทธิพลความกดอากาศสูงจากลมมรสุม ทำให้เกิดลมทางใต้

2. ข้อมูลด้านการปกครอง

การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง

นครเทียนจิน ถูกปกครองโดยเทศบาลนครเทียนจิน ซึ่งขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง และมีนายกเทศมนตรีนครเทียนจิน เป็นผู้บริหารสูงสุด มีฐานะเทียบเท่ากับผู้ว่าการมณฑล นครเทียนจินแบ่งเป็นพื้นที่หลัก ๆ ดังนี้

นครเทียนจินแบ่งเป็นพื้นที่หลัก ๆ ดังนี้

  • เขตเมือง 6 เขต ได้แก่ เขตเหอผิง เขตเหอซี เขตหนานคาย เขตเหอตง เขตเหอเป่ย และเขตหงเฉียง
  • พื้นที่รอบนอกเมือง 4 เขต ได้แก่ เขตตงลี่ เขตจินหนาน เขตซีชิง และเขตเป่ยเฉิน
  • เขตปินไห่ เป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจใหม่ระดับรองมณฑล (副省级新区) 8 แห่งของจีน เป็นเขตศูนย์กลางการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของ
    นครเทียนจิน
  • เขตชานเมือง ประกอบด้วย เขตอู่ชิง เขตเป่าดี่ อำเภอจี้ อำเภอหนิงเหอ อำเภอจิ้งไห่

(ภาพแผนมณฑลที่มีแบ่งแยกแต่ละเขต)

ผู้บริหารฝ่ายการเมือง

นายหวง ซิงกั๋ว (Mr.Huang Xingguo)

รักษาการเลขาธิการพรรคฯ

นายหวง ซิงกั๋ว (Mr.Huang Xingguo)

นายกเทศมนตรี

นายเซียว หวายหย่วน (Mr. Xiao Huaiyuan)

ปธ.สภาผู้แทน ปชช.

นายจาง เซี่ยนฝู่ (Mr. Zang Xianfu)

ปธ.สภาที่ปรึกษาการเมือง

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลนครเทียนจินได้ที่ http://www.tj.gov.cn/

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เขตพื้นที่สำคัญของนครเทียนจิน

1. เขตเมือง

อันเป็นบ่อเกิดของนครเทียนจิน ประกอบด้วยเขตเหอผิง เขตเหอซี เขตหนานคาย เขตเหอตง เขตเหอเป่ย และเขตหงเฉียง
เป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษาของนครเทียนจิน

ปัจจุบัน รัฐบาลเทียนจินได้กำหนดการพัฒนาที่แต่ละเขตในเขตเมืองเทียนจินไว้ว่า

  • เขตเหอผิงเน้นการพัฒนาธุรกิจภาคการเงิน
  • เขตเหอซีเน้นการพัฒนาภาคธุรกิจ
  • เขตหนานคายเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี
  • เขตเหอตงเน้นการพัฒนาภาคการเงินและการค้า
  • เขตเหอเป่ยเน้นการพัฒนาภาคธุรกิจเชิงสร้างสรรค์
  • เขตหงเฉียงจะเน้นธุรกิจการค้า

2. เขตชานเมืองที่กำลังเร่งพัฒนา

เขตปินไห่เป็นเป็นเขตใหม่ระดับชาติและเป็นเขตทดลองปฏิรูปครบวงจรแห่งชาติของจีน เป็นประตูสู่โลกภายนอกของภาคเหนือจีน นอกจากนี้ ยังเป็นฐานอุตสาหกรรมการผลิตแบบทันสมัย ศูนย์กลางการขนส่งของภาคเหนือจีนด้วย ขณะเดียวกัน เขตปินไห่เป็นศูนย์กลางสำคัญในการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมของนครเทียนจิน โดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมวิศวกรรมเคมี อุตสาหกรรมการทำโลหะผสม อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก ธุรกิจเพื่อการสื่อสาร ธุรกิจการเงิน และธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นต้น

ในปี 2557 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของเขตปินไห่เท่ากับ 876,015 ล้านหยวน ครองร้อยละ 55.72 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมดของนครเทียนจิน ปัจจุบัน เขตปินไห่ได้จำแนกพื้นที่ต่าง ๆ ตามหน้าที่ (Functional Zone) เป็น 9 เขตหลัก ๆ ได้แก่เขตอุตสาหกรรมการผลิต เขตอุตสาหกรรมหลินคง เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโลโนลีชั้นสูงปินไห่ เขตอุตสาหกรรมหนานกั่ง เขตโลจิตสติกส์ไห่กั่ง เขตท่องเที่ยวปิ่นไห่ เมืองเมืองนิเวศน์เทียนจินจงซิน และ CBD

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

1.เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเทียนจิน (Tianjin Economic – Technological Development Area หรือ TEDA)

เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเทียนจิน ก่อตั้งขึ้นวันที่ 6 ธันวาคม 2527 เป็นเขตพัฒนาทางเศรษฐกิจระดับชาติของประเทศจีนในอันดับต้น เป็นเขตที่ไดัรับนโยบายด้านสิทธิพิเศษต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุนทั้งภายในประเทศและนอกประเทศเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ชั้นสูงและอุตสาหกรรมใหม่ประเภทอื่น ๆ

เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเทียนจิน

  • มีพื้นที่ทั้งหมด 40 ตร.กม. เป็นศูนย์กลางของเขตปิ่นไห่
  • มีระยะทางห่างจากตัวเมืองเทียนจิน 40 กิโลเมตร
  • ระยะทางห่างจากสนามบินปักกิ่ง (ใช้เวลา 2 ชั่วโมงในการเดินทาง) 180 กิโลเมตร
  • ระยะทางห่างจากสนามบินนานาชาติเทียนจินปินไห่ (ใช้เวลา 40 นาทีในการเดินทาง) 38 กิโลเมตร
  • ระยะทางห่างจากท่าเรือเทียนจิน (ใช้เวลา 10 นาทีในการเดินทาง) 5 กิโลเมตร

ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเทียนจินพัฒนาได้อย่างรวดเร็วได้ติดอันดับหนึ่งในการประเมินสภาพแวดล้อมการลงทุนของเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติของจีนมาหลายปีติดต่อกัน และยังเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีศักพยภาพทางการลงทุนในจีน

ปัจจุบันมีบริษัทข้ามชาติจากทั่วโลกหลายรายเข้ามาลงทุนในเขตนี้ โดยมีอุตสาหกรรมหลัก 9 อุตสาหกรรม ได้แก่

  1. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม นำโดยบริษัท Motorola ( China ) Electronic Co., Ltd. บริษัทในเครือ Samsung บริษัท Honeywell บริษัท Panasonic
  2. อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรและรถยนต์ นำโดยบริษัท Tianjin Faw Toyota Motor Co.,Ltd. และบริษัท Great Wall Motor
  3. อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ชีวภาพ เช่น บริษัท Glaxo Smith Kline บริษัท Novo Nordisk และบริษัท Novozymes
  4. อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เช่น บริษัท Tinghsin Group และบริษัท Coca Cola
  5. อุตสาหกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พลังงานใหม่และวัสดุใหม่ เช่นบริษัท Tianjin MOTIMO Membrane Technology Co., Ltd. บริษัท Kyocera (Tianjin) Solar Energy Co.,Ltd. และบริษัท Tianjin Toho Lead Recycling co., Ltd.
  6. อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ เช่น บริษัท Vestas และบริษัท Tianjin Dongqi Wind Turbine Blade Engineering Co., Ltd. 
  7. อุตสาหกรรมเคมีและน้ำมันปิโตรเลียม 
  8. อุตสาหกรรมอวกาศ 
  9. อุตสาหกรรมบริการ

ปัจจุบัน เขตพัฒนาฯ ได้แบ่งเป็นเขตย่อยต่าง ๆ 7 เขต ได้แก่ เขตพื้นที่ตะวันตก เขตการแปรรูปเพื่อการส่งออกระดับชาติ นิคมอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ นิคมอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์อี้เซน เขตอุตสาหกรรมทันสมัย นิคมอุตสาหกรรมหนานกั่ง และเขตอุตสาหกรรมเกิดใหม่หนานกั่ง

2. เขตการค้าเสรีท่าเรือเทียนจิน (Tianjin Port Free Trade Zone)

เขตการค้าเสรีท่าเรือเทียนจินประกอบด้วย 2 เขตหลัก ๆ ได้แก่ เขตการค้าเสรีไห่กั่งและเขตการแปรรูปและโลจิสติกส์คงกั่ง

  • โดยเขตการค้าเสรีไห่กั่งมีพื้นที่ 5 ตารางกิโลเมตร
  • อยู่ภายในเขตท่าเรือเทียนจิน
  • ห่างจากตัวเมืองเทียนจิน 30 กิโลเมตร
  • ห่างจากกรุงปักกิ่ง 150 กิโลเมตร
  • ห่างจากท่าเทียบเรือไม่ถึง 1 กิโลเมตร
  • ห่างจากสนามบินปินไห่ 38 กิโลเมตร
  • ได้เปรียบในด้านการขนส่งทางน้ำ ทางบก ทางอากาศและทางระบบราง

เขตการค้าเสรีท่าเรือเทียนจิน เป็นเขตสินค้าทัณฑ์บนที่ขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือจีน โดยปัจจุบัน มีอุตสาหกรรม 3 ประเภทหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมการค้าระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ทันสมัยและอุตสาหกรรมการแปรรูปเพื่อการส่งออก ในฐานะที่เป็นเขตกาค้าเสรีพิเศษของจีน สามารถรับสิทธิประโยชน์พิเศษจากรัฐบาลจีน โดยเฉพาะในด้านภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ได้ดึงดูดบริษัทข้ามชาติหลายรายเข้าไปลงทุน

3.เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงปินไห่เทียนจิน (Tianjin Binhai Hi-tech Industry Development Zone)

เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงปินไห่เทียนจินได้รับการอนุมัติให้ก่อตั้งขึ้นในปี 2531 และได้ยกระดับเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ชั้นสูงระดับชาติในปี 2534 มีพื้นที่ทั้งสิ้น 97.96 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย

  • นิคมเทคโนโลยีหัวเย่น
  • นิคมเทคโนโลยีปินไห่
  • นิคมเทคโนโลยีหนานไค
  • นิคมเทคโนโลยีอู่ชิง
  • นิคมโทคโนโลยีเป่ยเฉิน นิคมเทคโนโลยีถังกู

ปัจจุบัน มีอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียว อุตสาหกรรมการผลิตซอฟต์แวร์ อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ชีวภาพ อุตสาหกรรมการผลิตทันสมัย และอุตสาหกรรมบริการทันสมัยเป็นอุตสาหกรรมหลัก เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงปินไห่เทียนจินในฐานะที่เป็นหนึ่งในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงระดับชาติงวดแรก ๆ ของจีน ย่อมสามารถพัฒนาเป็นเขตพัฒนาเทคโนโลยีชั้นนำของจีน

4.เขตทดลองการค้าเสรีเทียนจิน (China (Tianjin) Pilot Free Trade Zone)

เขตทดลองการค้าเสรีเทียนจินเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558 โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 119.9 ตร.กม. ซึ่งประกอบด้วย

  • ภาคเหนือของท่าเรือเทียนจิน (30 ตารางกิโลเมตร)
  • เขตสนามบินเทียนจิน (43.1 ตารางกิโลเมตร)
  • ย่านศูนย์กลางธุรกิจ (Central Business District: CBD) ของเขตบินไห่

เขตทดลองการค้าเสรีเทียนจิน เป็นเขตทดลองการค้าเสรีแห่งแรกในจีนตอนเหนือ และจะแสดงบทบาทสำคัญในการพัฒนาไปด้วยกันของกรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน และมณฑลเหอเป่ย ภาคเหนือของท่าเรือเทียนจิน โดยจะเน้นการให้บริการแบบทันสมัย เช่น โลจิสติกส์ทางอากาศ การค้าระหว่างประเทศ การบริการทางการเงินและสินเชื่อ

เขตสนามบินเทียนจินจะเน้นอุตสากรรม high-end เช่น อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ การผลิตเครื่องจักรกล และเทคโนโลยีสารสนเทศแบบทันสมัย ส่วนเขตใหม่บินไห่จะเน้นการนวัตกรรมทางการเงิน

การคมนาคมและโลจิสติกส์

นครเทียนจิน มีเครือข่ายคมนาคมที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเส้นทางขนส่งระบบราง ทางหลวง ทางน้ำ ทางการอากาศและทางท่อ นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายโทรคมนาคมทีทันสมัยและเครือข่ายขนส่งไปรษณีที่แข็งแกร่ง ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเมือง

ทางบก

1. ระบบราง

1.1 รถไฟใต้ดิน

ระบบรถไฟใต้ดินของนครเทียนจินเริ่มต้นการก่อสร้างเมื่อเดือนเมษายน 2513 และเริ่มเปิดให้บริการเมื่อเดือนตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นระบบขนส่งรถไฟใต้ดินแห่งที่สองของจีน ปัจจุบัน นครเทียนมีเส้นทางรถไฟใต้ดินที่เปิดให้บริการแล้ว 4 สาย ระยะทางรวม 136 กิโลเมตร ได้แก่

เส้นทางรถไฟใต้ดินสาย 1 เริ่มตั้งแต่สถานีหลิวหยวนไปสิ้นสุดยังสถานีซวงซิว

เส้นทางรถไฟใต้ดินสาย 2 เริ่มตั้งแต่สถานีเฉาจวงไปสิ้นสุดยังสถานีเขตพัฒนาเศรษฐกิจคงก่าง

เส้นทางรถไฟใต้ดินสาย 3 เริ่มตั้งแต่สถานีรถไฟเสี่ยวเตี้ยนไปสิ้นสุดยังสถานีหนานจั้น

เส้นทางรถไฟใต้ดินสาย 9 เริ่มตั้งแต่สถานีรถไฟเทียนจินไปสิ้นสุดยังสถานีตงไห่ลู่

1. ระบบราง

1.1 รถไฟใต้ดิน

ระบบรถไฟใต้ดินของนครเทียนจินเริ่มต้นการก่อสร้างเมื่อเดือนเมษายน 2513 และเริ่มเปิดให้บริการเมื่อเดือนตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นระบบขนส่งรถไฟใต้ดินแห่งที่สองของจีน ปัจจุบัน นครเทียนมีเส้นทางรถไฟใต้ดินที่เปิดให้บริการแล้ว 4 สาย ระยะทางรวม 136 กิโลเมตร ได้แก่

เส้นทางรถไฟใต้ดินสาย 1 เริ่มตั้งแต่สถานีหลิวหยวนไปสิ้นสุดยังสถานีซวงซิว

เส้นทางรถไฟใต้ดินสาย 2 เริ่มตั้งแต่สถานีเฉาจวงไปสิ้นสุดยังสถานีเขตพัฒนาเศรษฐกิจคงก่าง

เส้นทางรถไฟใต้ดินสาย 3 เริ่มตั้งแต่สถานีรถไฟเสี่ยวเตี้ยนไปสิ้นสุดยังสถานีหนานจั้น

เส้นทางรถไฟใต้ดินสาย 9 เริ่มตั้งแต่สถานีรถไฟเทียนจินไปสิ้นสุดยังสถานีตงไห่ลู่

1.2 เส้นทางรถไฟความเร็วสูง

ได้แก่
(1) สายปักกิ่ง – เทียนจิน
(2) สายเทียนจิน – เขตปินไห่
(3) สายปักกิ่ง – เซี่ยงไฮ้
(4) สายเทียนจิน – เป่าติ้ง
(5) สายสถานีรถไฟเทียนจิน – สถานีรถไฟเทียนจินตะวันตก

2. ทางหลวง

ภายในสิ้นปี 2558 คาดว่าทางหลวงของนครเทียนจินมีความยาวทั้งสิ้นถึง 16,350 กิโลเมตร
โดยในจำนวนนี้ แบ่งออกเป็นเส้นทางด่วนมีความยาวรวม 1,350 กิโลเมตร

ทางน้ำ

  • ท่าเรือเทียนจินมีพื้นที่ 336 ตารางกิโลเมตร
  • เป็นท่าเรือสำคัญในการเชื่อมโยงเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ กับเอเชียภาคกลางและภาคตะวันตก
  • เป็นท่าเรือสำคัญที่ทำการค้าระหว่างประเทศสำหรับภาคเหนือจีน

อีกทั้ง เป็นท่าเรือหลักที่มีความสำคัญในการขนส่งสินค้าต่อเมืองต่าง ๆ ได้แก่

  • ปักกิ่ง
  • เทียนจิน
  • มณฑลเหอเป่ย
  • มณฑลซานซี
  • มณฑลส่านซี
  • มณฑลกานซู
  • มณฑลชิงไห่
  • เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน
  • เขตปกครองตนเองซินเจียง
  • เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย
  • เขตปกครองตนเองทิเบต
  • มณฑลเหอหนาน
  • มณฑลเสฉวน
  • มณฑลซานตง

โดยมากกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนสินค้าที่ขนส่งเข้าออก และมากกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าสินค้านำเข้าส่งออกที่ท่าเรือเทียนจิน ล้วนมาจากเมืองอื่น ๆ

ท่าเรือเทียนจินมีเส้นทางการเดินเรือไปยังประเทศต่างๆกว่า 180 ประเทศ และท่าเรือต่างๆ กว่า 500 ท่า แต่ละเดือนมีเรือเดินทางไปยังท่าเรือทั่วโลกทั้งสิ้น 500 เที่ยว ในปี 2557 ปริมาณรับส่งสินค้าเข้าออกของท่าเรือทะลุ 540 ล้านตัน ติดอันดับ 3 ของจีน รองจากท่าเรือโจวซานและท่าเรือเซี่ยงไฮ้

ทางอากาศ

สนามบินนานาชาติปินไห่ของนครเทียนจิน

  • เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของจีนตอนเหนือ
  • มีระยะห่างจากใจกลางนครเทียนจิน 13 กิโลเมตร
  • ห่างจากท่าเรือเทียนจิน 30 กิโลเมตร
  • ห่างจากเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเทียนจิน 38 กิโลเมตร
  • ใช้ระยะเวลาเดินทาง 40 นาที และห่างจากกรุงปักกิ่ง 134 กิโลเมตร

ในปี 2557 สนามบินนานาชาติปินไห่ได้ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่เพื่อรองรับผู้โดยสารที่เดินทางจากสถานีรถไฟปักกิ่งใต้ โดยได้เปิดให้บริการภายในปี 2557 นอกจากนี้ โครงการก่อสร้าง Terminal 2 ของสนามบินนานาชาติปิ่นไห่ได้เสร็จสิ้นในสิงหาคม 2557 และได้เชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินของนครเทียนจิน การขยายพื้นที่สนามบินบินไห่จะสามารถลดความแออัดของสนามบินนานาชาติปักกิ่งได้ และทำให้สนามบินปินไห่กลายเป็นแรงกระตุ้นสำคัญในการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจปักกิ่ง – เหอเป่ย – เทียนจิน

เศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑล

1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นครเทียนจิน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)

  • GDP เติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 12
  • พัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจให้ดีขึ้นโดยกระตุ้นให้มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมภาคบริการ สัดส่วนร้อยละ 50 ของ GDP เทียนจินทั้งหมด
  • ปริมาณการใช้พลังงานในการผลิตลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11
  • รายได้โดยเฉลี่ยของประชาชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ขึ้นไป
  • อัตราการว่างงาน (ที่ลงทะเบียน) ไม่เกินร้อยละ 4
  • พัฒนานครเทียนจินเป็นหนึ่งในพื้นที่เปิดเสรี และมีศักยภาพมากที่สุดของจีน

2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2015

  • GDP เติบโตกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 9
  • รายได้การคลังเติบโตร้อยละ 11
  • การลงทุนทรัพย์สินถาวรเติบโตร้อยละ 12
  • ยอดค้าปลีกสินค้าบริโภคเติบโตร้อยละ 8
  • มูลค่าการค้าระหว่างประเทศเติบโตร้อยละ 6
  • รายได้ประชาชนในเขตเมืองและเขตชนบทเติบโตร้อยละ  8 และ 10 ตามลำดับ
  • ควบคุมดัชนีราคาผู้บริโภคไม่เกิน 103
  • อัตราการว่างงาน (ที่ลงทะเบียน) ไม่เกินร้อยละ 3.8
  • ปริมาณการใช้พลังงานในการผลิตลดลงร้อยละ 3
  • เร่งการปฏิรูปและเปิดตัวสู่ภายนอกโดยจัดตั้งเขตทดลองการค้าเสรีนครเทียนจิน (China (Tianjin) Pilot Free Trade Zone)
  • ให้พัฒนาเทียนจินควบคู่ไปกับกรุงปักกิ่งและมณฑลเหอเป่ย
  • ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศในฐานะที่เป็นเมืองท่าเรือภายใต้ยุทธศาสตร์ “One Belt One Road”
  • เร่งการพัฒนาเขตเศรษฐกิจปินไห่ กระตุ้นการเปิดเสรีให้มากขึ้น
  • เน้นการนวัตกรรมและยกระดับคุณภาพการพัฒนาเศรษฐกิจ

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • เป็นหนึ่งในพื้นที่ “กลุ่มเศรษฐกิจอ่าวโป๋ไห่” และ “กลุ่มเศรษฐกิจจิง-จิน-จี้” (กรุงปักกิ่ง นครเทียนจินและมณฑลเหอเป่ย)
  • มีเขตพัฒนาเศรษฐกิจหลายแห่งที่มีชื่อเสียง  อาทิ เขตปินไห่ (Binhai New Area) นิคมพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเทียนจิน (Tianjin Economic and Technological Development Area:TEDA)
  • เป็นจุดสัญจรระหว่างเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
    และเป็นจุดผ่านระหว่างสองฟากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของเรือเดินสมุทรกว่า 30 เส้นทาง
  • เทียนจินเป็นเมืองท่าเชิงพาณิชย์แบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในจีนตอนเหนือ และเป็นท่าเรือมีปริมาณสินค้าเข้าออกผ่านท่าเรือ (Throughput) มากเป็นอันดับ 4 ในโลก
  • มูลค่า GDP ต่อหัวและอัตราการเติบโต GDP ติดอันดับต้น ๆ ของจีน

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

นครเทียนจินมีสภาพแวดล้อมทางการลงทุนที่ดี โดยรัฐบาลเทียนจินส่งเสริมการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมสำคัญ ดังนี้

  • เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมไร้สาย ซอฟ‌ท์แวร์ แผงวงจรรวม อุปกรณ์ภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์
  • อุตสาหกรรมรถยนต์
  • อุตสาหกรรมเคมี
  • อุตสาหกรรมการหลอมโลหะ
  • อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรมการผลิตยาแบบทันสมัย
  • อุตสาหกรรมพลังงานใหม่และการรักษาสิ่งแวดล้อม
  • อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์  การต่อเรือและอุปกรณ์ใช้ในท่าอากาศยาน
  • อุตสาหกรรมเทคโลโนโลยีชั้นสูง
  • สิ่งทอ เสื้อผ้า สินค้าอุปโภคบริโภค อาหารทันสมัย เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน จักรยาน
    การผลิตการ์ดและการพิมพ์สิ่งพิมพ์ป้องกันการทำเทียมระดับสูง เครื่องมือที่ละเอียดและแม่นยำ
  • อุตสาหกรรมบริการแบบทันสมัย เช่น บริการด้านการค้าระหว่างประเทศ โลจิสกิตส์ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม เป็นต้น

ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน