HUBEI

มณฑลหูเป่ย

1. ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งและพื้นที่

มณฑลหูเป่ยมีชื่อย่อว่า เอ้อ(鄂) ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศจีน ทิศเหนือติดกับมณฑลเหอหนานและมณฑลอันฮุย ทิศตะวันออกติดกับมณฑลเจียงซี ทิศใต้ติดกับมณฑลหูหนานและนครฉงชิ่ง และทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับมณฑลซานซี

มณฑลหูเป่ย

  • มีพื้นที่ล้อมรอบด้วยภูเขาอู่หลิง อู่ซัน ต้าปา ถงไป่ และหมู่ฟู่ คิดเป็นร้อยละ 56
  • มีพื้นที่ราบสูงร้อยละ 24 พื้นที่ราบ
  • มีทะเลสาบร้อยละ 20
  • มียอดเขาเสินหนงอยู่ทางตะวันตก ซึ่งเป็นยอดเขาที่ได้รับการขนานนามว่า เป็นหลังคาในเขตตอนกลางของประเทศจีน โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 3,105 เมตร

มณฑลหูเป่ย

  • มีแม่น้ำทั้งหมด 1,193 สาย ความยาว 59,200 กิโลเมตร
  • มีแม่น้ำแยงซีเกียงไหลผ่านมณฑลจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกด้วยระยะทาง 1,041 กิโลเมตร
  • แม่น้ำฮั่นเจียงไหลจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ระยะทาง 878 กิโลเมตร
  • ก่อนที่จะรวมสาขากับแม่น้ำแยงซีเกียงที่เมืองหวู่ฮั่น ซึ่งเป็นมณฑลที่มีจำนวนแม่น้ำมากถึง 1,300 สาย

ข้อมูลประชากร

ปี 2557 มณฑลหูเป่ยมีประชากรทั้งหมด 59.88 ล้านคน

กลุ่มชาติพันธุ์

ฮั่น 95.6% ตู่เจีย 3.7% และม้ง 0.4%

สภาพภูมิอากาศ

มณฑลหูเป่ยอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อนและได้รับอิทธิพลของลมมรสุมเขตร้อนชื้น โดยฤดูร้อนมีช่วงเวลานานที่สุดและฤดูหนาวมีเวลาสั้นที่สุด

  • ฤดูหนาวมีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 16-18 องศาเซลเซียส เดือนมกราคม เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุด
    โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 2-4 องศาเซลเซียส
  • ฤดูร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนกรกฎาคมซึ่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส
  • ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1200-1700 มิลลิเมตรต่อปี

ทรัพยากรสำคัญ

มณฑลหูเป่ยมีทรัพยากรแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ มีการค้นพบทรัพยากรธรรมชาติถึง 136 ชนิด ในจำนวนนี้ได้รับการสำรวจแล้ว 87 ชนิด

โดยมีทรัพยากรที่สำคัญ ได้แก่ แร่ฟอสฟอรัส แร่แคลเซียมซิลลิเกต ฟอสเฟส ซิลิกา Rutile แบไรท์ แร่โกเมน แร่ Marlstone ซึ่งมีมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศจีน นอกจากนั้นมี ธาตุเหล็ก, ทองแดง, ยิปซั่ม, เกลือสินเธาว์, แมงกานีส, Vanadium, ธาตุปรอท, แร่ Dolomite, หินอ่อน และหินปูน ซึ่งมีมากเป็นอันดับ 7 ของประเทศ

มณฑลหูเป่ยมีทรัพยากรน้ำมากเป็นอันดับสิบของประเทศ และมีเขื่อนเก็บกักน้ำ 58 แห่งโดยสามารถเก็บน้ำได้ถึง 43,750 คิวบิคเมตร และมีสถานีผลิตพลังงานจากน้ำขนาดใหญ่และกลาง สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากเป็นอันดับสี่ของประเทศ ได้แก่

  • สถานีเก๋อโจวปา บริเวณแม่น้ำแยงซีเกียง ผลิตพลังงานกระแสไฟฟ้าได้ 2.73 ล้านกิโลวัตต์
    (นอกจากนั้น ยังมีสถานีอื่นๆ ได้แก่ สถานีตานเจียงโข่ว เก๋อเหอหยาน หานเจียง ตู่เหอ หวงหลงทาน)

ทั้งนี้ มณฑลหูเป่ยขาดแคลนทรัพยากรถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ

2. ข้อมูลด้านการปกครอง

(ภาพแผนที่มณฑลที่มีแบ่งแยกแต่ละพื้นที่)

การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง

  • มณฑลหูเป่ยแบ่งเขตการปกครอง
    ออกเป็น 6 เขต 8 นคร 46 อำเภอ 1 เขตการปกครองตนเองและ 2 เขตการปกครองระดับอำเภอ ดังนี้
  • นครอู่ฮั่นเป็นเมืองเอกของมณฑลหูเป่ยและเป็นเมืองใหญ่สุดในมณฑลหูเป่ย
    มีพื้นที่ 8,467.11 ตร.กม. (พื้นที่ในเขตตัวเมือง 1,954 ตร.กม.)
    – เขตฮ่องชาน (洪山)
    – เขตเจียงอั้น (江岸)
    – เขตเจียงฮั่น (江汉)
    – เขตเฉียวโข่ว (礄口)
    – เขตฮั่นหยาง (汉阳)
    – เขตอู่ชาง (武昌)
    – เขตชิงซาน (青山)
    – เขตตงซีหู (东西湖)
    – เขตหวงเปย (黄陂)
    – เขตไช่เตี้ยน (蔡甸)
    – เขตเจียงเซี่ย (江夏)
    – เขตเจียงหนาน (汉南)
    – เขตซินโจว (新洲)
  • เขตเสินหนงเจี้ยหลิน (神农架林区) เป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์ทางธรณีวิทยาของโลกและพื้นที่สงวนแห่งชาติของประเทศจีน มีความสำคัญต่อระบบสิ่งแวดล้อม ของจีนเป็นอย่างมาก ปัจจุบัน มีพื้นที่บางส่วนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 5A
  • จังหวัดปกครองตนเองเอินสือ (恩施土家族苗族自治州) เป็นที่อาศัยของชนชาติเหมียว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑล

ผู้บริหารฝ่ายการเมือง

นายหลี่ หงจง (Li Hongzhong)

เลขาธิการพรรคฯ

นายหวัง กั๋วเซิง (Wang Guosheng)

ผู้ว่าราชการมณฑลหูเป่ย

นายหลี่ หงจง (Li Hongzhong)

ปธ.สภาผู้แทน ปชช.

นายหยาง ซง (Yang Song)

ปธ.สภาที่ปรึกษาการเมือง

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลหูเป่ยได้ที่ http://www.hubei.gov.cn/

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เมืองสำคัญ

1. นครอู่ฮั่น

เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย
มีที่ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำแยงซีเกียงและแม่น้ำฮั่น และตั้งอยู่บริเวณใจกลางของประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 8,494.41 ตร.กม. นครอู่ฮั่นเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การธนาคาร การคมนาคม เทคโนโลยี และการศึกษาในภาคกลางของประเทศจีน

นครอู่ฮั่นเป็นเมืองอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เหล็กกล้า เคมีทางผลิตยา สิ่งทอ และอุปกรณ์เครื่องจักร เป็นต้น

นครอู่ฮั่นถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและโลจิสติกส์แห่งหนึ่ง ในภาคกลางของจีน ปัจจุบัน รัฐบาลหูเป่ยให้ความสำคัญกับแผน “วงแหวนเศรษฐกิจอู่ฮั่น 1+8” เป็นอย่างมาก โดยนครอู่ฮั่นมีบทบาทนำในการส่งเสริมให้

  • เมืองหวงฉือ (黄石)
  • เมืองเอ้อโจว (鄂州)
  • เมืองหวงกัง (黄冈)
  • เมืองเซี่ยวกั่น (孝感)
  • เมืองเซี๋ยนหนิง (咸宁)
  • เมืองเซียนเถา (仙桃)
  • เมืองเทียนเหมิน (天门)
  • เมืองเฉียนเจียง(潜江) ที่อยู่ข้างเคียงนครอู่ฮั่นพัฒนาไปพร้อมกัน

นครอู่ฮั่นมีชื่อเสียงในด้านการศึกษาและการวิจัย โดยมีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยจำนวน 23 แห่งและสถาบันการวิจัยอีก 56 แห่ง สถาบันวิจัยและการศึกษาที่มีชื่อเสียงในอู่ฮั่น เช่น ม. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮวาจง (HuaZhong University of Science and Technology (HUST)) ถือเป็นแหล่งวิจัยด้านพลังงาน gas lasers และ solid laser และเป็นศูนย์การวิจัยทางด้านพลังงานเลเซอร์แห่งแรกของจีน

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

1. เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงสมัยใหม่จิงเหมิน
(Jingmen New High – tech Industrial Development Zone)

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 เป็นเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงระดับชาติ มุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ชั้นสูงและอุตสาหกรรมสุขภาพ ภายในเขตเศรษฐกิจ มีนิคมอุตสาหกรรม Li Ning ซึ่งเป็นฐานการผลิตของใช้ด้านการกีฬาที่ใหญ่ระดับสากล บริษัท GEM เป็นบริษัทจัดการถ่านหินที่ใช้แล้วที่ใหญ่ที่สุดของจีนและเป็น 1 ใน 4 บริษัทที่ผลิตวัตถุดิบ Cobalt nickel powder ทีใหญ่ที่สุดในโลกเป็นต้น

2. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสือย่าน
(Shiyan Economic and Technical Development Zone)

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2534 เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีระดับชาติ โดยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่สำคัญของประเทศ โดยมีมูลค่าการผลิต 5 หมื่นล้านหยวนต่อปี ปัจจุบัน ได้พัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ดังต่อไปนี้

  1. อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ 
    โดยมีบริษัทผลิตรถยนต์หลายสิบบริษัทที่ผลิตรถยนต์ประเภทต่าง ๆ มีกำลังการผลิตรถสูงถึง 8 แสนคันต่อปี
  2. อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ 
    โดยมีบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่สำคัญกว่าร้อยบริษัท
  3. อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ 
    บริษัทการผลิตแม่พิมพ์ของจีน 5 อันดับแรก มีโรงงานอยู่ที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสือย่าน
  4. มีตลาดขายส่งชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน
    โดยมียอดการค้าถึง 2 หมื่นล้านหยวนต่อปี

การคมนาคมและโลจิสติกส์

มณฑลหูเป่ย ยังเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มโครงการรถไฟความเร็วสูงรวมถึงโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลายโครงการ เช่น

  • สนามบินนานชาติ “อู่ฮั่นเทียนเหอ” ที่รองรับผู้เดินทางมากกว่าสิบล้านคนในแต่ละปี
  • ท่าเรือใหม่ที่อู่ฮั่นซึ่งเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ ที่สามารถรองรับระวางบรรทุกได้ถึงหนึ่งร้อยล้านตัน
  • ถนนสาธารณะมีความยาวทั้งหมด 3,673 กม. ยาวเป็นลําดับที่ 6 ของประเทศจีน
  • ทางรถไฟที่เปิดทําการมีความยาวถึง 4,500 กม. ในปี 2558

เส้นทางทางบก

เส้นทางรถไฟปักกิ่ง-กว่างตง เส้นทางรถไฟขนส่งสายหลักของประเทศ พาดผ่านทิศตะวันออกของมณฑลหูเป่ย จึงสะดวกต่อการขนส่งปัจจัยการผลิตทั้งในและนอกมณฑล

วัตถุดิบที่ขนส่งทางรถไฟในหูเป่ยส่วนใหญ่เป็นประเภทถ่านหิน เหล็ก วัสดุก่อสร้างเช่น ไม้แปรรูป ธัญญาหาร แร่บางชนิด เป็นต้น

ทศวรรษที่ 70 แห่งศตวรรษที่ผ่านมา มีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ผ่านเมืองสำคัญ ๆ ในมณฑลจากตะวันตกไปตะวันออก และจากเหนือล่องใต้ จนในปี 2558 มณฑลหูเป่ย มีเส้นทางรถไฟรวมระยะทาง 4,500 กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงจากนครอู่อั่น สามารถไปถึงเขตเศรษฐกิจโป๋ไห่ เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง และเขตเศรษฐกิจเฉิงตู-ฉงชิ่งภายใน 3-4 ชั่วโมง

ปัจจุบัน มณฑลหู่เป่ยมีทางด่วนทั้งสิ้น 6,500 กิโลเมตร ทางด่วนสำคัญได้แก่

  • สายเซียงฝัน – สือเยี่ยน
  • สายเซียงฝัน – จินโจว
  • สายปักกิ่ง – จูไห่ตอนหู่เป่ย
  • สายอู่ฮั่น – หวงกัง
  • สายจินโจว – ยี๋ชาง

เส้นทางขนส่งทางน้ำ

เส้นขนส่งทางน้ำก็เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในมณฑลหูเป่ย เนื่องจาก มีแม่น้ำสำคัญ 2 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) แลแม่น้ำฮั่นเจียง เป็นเส้นทางขนส่งทางน้ำสายหลัก ทั้งนี้เมืองและอำเภอต่าง ๆ กว่าครึ่งหนึ่งในมณฑลหูเป่ย ยังใช้เส้นทางน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ดังนั้นมณฑลนี้จึงมีการอุตสาหกรรมการเดินเรือที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของประเทศ

เมืองท่าต่าง ๆ อาทิ อู่ฮั่น หวงสือ ซาซื่อ อี๋ชัง มีการเปิดเส้นทางติดต่อกับต่างประเทศมานาน โดยมีท่าเรืออู่ฮั่นเป็นท่าเรือใหญ่ที่สุดของแม่น้ำฉางเจียงตอนล่าง และเป็นท่าเรือที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เนื่องจากเป็น 1 ใน 8 ท่าเรือที่เปิดใช้ในช่วงจีนปฏิรูปอุตสาหกรรมและเปิดประเทศราวปี 1980 และในปีถัดมาก็เปิดเส้นทางเดินเรือ ขนส่งสินค้าไปฮ่องกง ญี่ปุ่น และประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์

สำหรับแม่น้ำฮั่นเจียง นั้นเป็นเส้นทางติดต่อไปยังถิ่นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑล โดยบนที่ราบเจียงฮั่นนั้นมี ท่าเรือเซียงฝัน และท่าเรือเหล่าเหอโข่ว เป็นท่าเรือที่สำคัญ

เส้นทางขนส่งทางอากาศ

Wuhan Tianhe International Airport/武汉天河国际机场

ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1995 โดยตั้งห่างจากตัวเมืองอู่ฮั่น 26 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศที่ใหญ่ที่สุด ในภาคกลางจีน เป็น 1 ในสนามบิน ที่ยุ่งที่สุดของจีนด้วย โดยได้รองรับผู้โดยสาร 17 ล้านคนในปี 2557 เป็นสนามบินที่มีสำนักงานของบริษัท สายการบินที่ใหญ่ที่สุด 4 แห่งของจีน ได้แก่ China Airway China Southern Airway China Eastern Airway และ Hainan Airway

เศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑล

1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)

  • GDP เติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 10 และ GDP ต่อหัวเพิ่มขึ้นถึง 6,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • รายได้ทางการคลังของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6
  • รายได้ของประชาชนเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี
  • ส่งเสริมให้รายได้ของอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ และอุตสาหกรรมการผลิตอาหารมากกว่า 500,000 ล้านหยวน
  • พัฒนาให้ยอดรวมมูลค่าการผลิตของอุตสาหกรรมใหม่มากกว่าล้านล้านหยวน
  • มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมไฮเทคครองสัดส่วนร้อยละ 15 ของ GDP
  • ควบคุมให้อัตราการว่างงานในเขตตัวเมืองไม่เกินร้อยละ 5

2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2015

  • GDP เติบโตกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 9
  • รักษาดัชนีราคาผู้บริโภคให้ ไม่เกินร้อยละ 3.5
  • ส่งเสริมให้ผลิตรถยนต์ 3 ล้านคันต่อปี
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรที่อยู่ในตัวเมืองและชนบทเติบโตร้อยละ 9 และร้อยละ 10 ตามลำดับ
  • ควบคุมอัตราการว่างงาน(ที่จดทะเบียนแล้ว) ไม่เกินร้อยละ 4.5
  • การจ้างงานใหม่ในเขตชนบทเพิ่มขึ้น 7 แสนคน

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • เป็นที่ตั้งของเขื่อนสามโตรกซึ่งเป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • มีทรัพยากรทางธรรมชาติจำนวนมาก อาทิ แร่ธาตุ 136 ชนิด และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับต้น ๆ ของจีน
  • มีนครอู่ฮั่นเป็นเมืองเอกขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วย 3 เขต อยู่สองฟากของแม่น้ำแยงซีเกียง เป็นชุมทางการขนส่งทางน้ำและมีทางรางรถไฟที่ยาวที่สุดในจีนตอนกลางเชื่อมต่อเมืองหลักของจีน อาทิ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว ฉงชิ่ง เฉิงตู
  • มีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและมีนักศึกษาต่างชาติจำนวนมาก

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

รัฐบาลเหอเป่ยให้ความสำคัญในการส่งเสริมบริษัทต่างประเทศลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม ดังนี้

  • อุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ประเภทเฉพาะและรถยนต์ประหยัดพลังงาน
  • อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในธุรกิจการก่อสร้างและธุรกิจหินแร่
  • อุตสาหกรรมการหลอมโลหะ
  • อุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียม
  • อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
  • อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  • อุตสาหกรรมการก่อสร้าง
  • อุตสาหกรรมชีวภาพและทางยา

ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน