JIANGSU
มณฑลเจียงซูข้อมูลพื้นฐาน
เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรษฐกิจ
การคมนาคมและโลจิสติกส์
เศรษฐกิจ
1. ข้อมูลทั่วไป
มณฑลเจียงซู ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 102,600 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเท่ากับร้อยละ 1.06 ของประเทศจีน (พื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 24 ของประเทศ) ทางทิศเหนือติดกับมณฑลซานตง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับมณฑลเจ้อเจียงและนครเซี่ยงไฮ้ ทิศตะวันออกเป็นแนวชายฝั่งติดกับทะเลหวงไห่ ทิศตะวันตกติดกับมณฑลอันฮุย มีเมืองเอก คือ นครหนานจิง
ข้อมูลประชากร
ประชากรรวม 79.20 ล้านคน (ปี ค.ศ. 2012) ประกอบด้วยชนชาติทั้งหมด 56 ชนชาติ โดยชนชาติฮั่นเป็นประชากรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99.64) ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ และอิสลาม ใช้ภาษาจีนกลางและภาษาจีนอู๋
สภาพภูมิอากาศ
มณฑลเจียงซูตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศกึ่งร้อนและอบอุ่น แบ่งเป็น 4 ฤดูกาล คือ ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง เฉลี่ยอุณหภูมิตลอดทั้งปี 13-16 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุด 26.6 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 5.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1000 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนสูงสุดในช่วงฤดูร้อน(เดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม) ซึ่งมีการเกิดอุทกภัยในบางพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำหวยเหอ
ทรัพยากรสำคัญ
มณฑลเจียงซูขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งข้าวและปลา หมายถึงเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังมีชื่อเสียงในการผลิตน้ำมันพืช ฝ้าย ผ้าไหม และการประมง มณฑลเจียงซูมีพื้นที่แหล่งน้ำจืดมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศจีน มีแม่น้ำสายเล็กใหญ่รวมทั้งสิ้น 2,900 กว่าสาย ทั้งยังมีทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่ติด 5 อันดับแรกของจีนอยู่ถึง 2 แห่ง คือ ทะเลสาบไท่หู(太湖)มีพื้นที่ 2,250 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ และทะเลสาบหงเจ๋อหู(洪泽湖)มีพื้นที่ 2,069 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ ขณะเดียวกัน ยังมีทะเลสาบเล็กใหญ่รวมอีก 290 กว่าแห่ง ซึ่งมีพื้นที่สำหรับทำประมง 154,000 ตารางกิโลเมตร สัตว์น้ำที่ได้จากการประมง คือ ปลาทูน่าครีบเหลือง ปลาชาง กุ้ง สาหร่าย หอย และปูขน นอกจากนี้ ยังเป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น ถ่านหิน ฟอสฟอรัส ดินเหนียว เกลือโซเดียม ซิลิกา หินอ่อน หินผสมดินเหนียว หินปูน แร่โซเดียมคอลไรด์ ธาตุโลหะ ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณภาพสูงของประเทศ และได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี
ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม
ตามประวัติศาสตร์ มณฑลเจียงซูมีผู้คนมาตั้งรกรากแห่งแรกที่บริเวณนครหนานจิงและ บริเวณริมทะเลสาบไท่หู เพื่อทำการเกษตร โดยในช่วงคริสตศตวรรษที่ 3-6 นครหนานจิงได้พัฒนาขึ้นเป็นจุดศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของจีนตอนใต้ ความเจริญยังได้แผ่ขยายไปยังเมืองต่างๆ เช่น เมืองหยางโจว ซูโจว ซงเจียง อู๋ซี หนานทง ฉางโจว และสวีโจว เป็นต้น
ในด้านวัฒนธรรม มณฑลเจียงซูได้ดำเนินโครงการสำคัญด้านวัฒนธรรมหลายโครงการ เช่น การสร้างหอสมุดแห่งนครหนานจิง นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาระบบบริการวัฒนธรรมมวลชน (public culture service system) ระบบตลาดวัฒนธรรม (culture market system) ระบบสร้างสรรค์วัฒนธรรม( culture innovation system) เป็นต้น
2. ข้อมูลด้านการปกครอง
การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง
มณฑลเจียงซูประกอบด้วยเมือง 13 เมือง โดยมีนครหนานจิงเป็นเมืองเอก มณฑลเจียงซูมีแม่น้ำแยงซีไหลคั่นกลาง จึงแบ่งพื้นที่ตามลักษณะภูมิศาสตร์เป็นมณฑลทางตอนเหนือ (North Jiangsu) และมณฑลทางตอนใต้ (Jiangsu South) โดยทั้ง 2 พื้นที่นี้มีระดับเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ มณฑลทางใต้มีพื้นที่ติดกับลุ่มแม่น้ำแยงซี รวมถึงนครเซี่ยงไฮ้และมณฑลเจ้อเจียง จะมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วมาก จนเรียกได้ว่าเป็นเมืองที่มีระดับความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจติดอันดับต้นๆ ของจีน
– พื้นที่ตอนใต้ ประกอบด้วย นครหนานจิง(Nanjing,南京)เมืองอู๋ซี(Wuxi,无锡)เมืองฉางโจว(Changzhou,常州)เมืองซูโจว(Suzhou,苏州) เมืองหนานทง(Nantong,南通)เมืองหยางโจว(Yangzhou,扬州)เมืองเจิ้นเจียง(Zhenjiang,镇江) และเมืองไท่โจว(Taizhou,泰州)
– พื้นที่ตอนเหนือ ประกอบด้วย เมืองสวีโจว(Xuzhou,徐州)เมืองเหลียนยวิ๋นกั่ง(Lianyungang,连云港) เมืองหวยอัน(Huai an,淮安)เมืองเหยียนเฉิง(Yancheng,盐城)และเมืองสู้เชียน(Suqian,宿迁)
3.ผู้บริหารฝ่ายการเมือง
นายโหลว ฉินเจี่ยน (Mr. Lou Qinjian)
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ รับตำแหน่ง : ตุลาคม ค.ศ. 2017
ประธานสภาผู้แทนประชาชน รับตำแหน่ง : มกราคม ค.ศ. 2018
นายอู๋ เจิ้งหลง (Mr. Wu Zhenglong)
ผู้ว่าราชการมณฑล รับตำแหน่ง : กรกฎาคม ค.ศ. 2017
นางหวง ลี่ซิน (Miss. Huang Lixin)
ประธานสภาที่ปรึกษาการเมือง รับตำแหน่ง : มีนาคม ค.ศ. 2018
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลเจียงซูได้ที่ http://www.js.gov.cn/JSGOVEN08/index.html
เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ
เมืองสำคัญ
มณฑลเจียงซูแบ่งพื้นที่เมืองออกเป็น 2 ส่วน คือ เมืองตอนใต้และเมืองตอนเหนือ โดยเมืองตอนใต้ที่มีพื้นที่ใกล้กับนครเซี่ยงไฮ้จะมีความเจริญทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าเมืองที่ตั้งอยู่ในทางตอนเหนือของมณฑล
1. เมืองทางตอนใต้
1.1 นครหนานจิง(南京)
นครหนานจิงเป็นเมืองเอกของมณฑลเจียงซู ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ราบภาคตะวันออก ช่วงกลางถึงปลายน้ำของแม่น้ำแยงซีเกียง ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลเจียงซู มีพื้นที่ 6,598 ตร.กม. ตั้งอยู่ห่างจากนครเซี่ยงไฮ้ 300 กว่า ก.ม.
นครหนานจิงมีภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก โดยเป็นฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของจีนหลากหลายด้าน อาทิ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เคมี รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า และวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
ภาพรวม
1.1 นครหนานจิง (Nanjing) เป็นเมืองเอกของมณฑลเจียงซูโดยมีที่ตั้งอยู่ทางใต้ของมณฑล และเป็นศูนย์รวมทางเศรษฐกิจของมณฑล และยังเป็น 1 ใน 4 เมืองหลักในพื้นที่เขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (Yangtze River Delta: YRD) โดยอีก 3 เมือง ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ หางโจว และซูโจว
1.2 เป็น 1 ใน 4 เมืองเก่าแก่ของจีน (ปักกิ่ง หนานจิง ลั่วหยาง และซีอาน) หนานจิงมี ปวศ. ยาวนานกว่า 2,500 ปี และเป็นเมืองหลวงของ 6 ราชวงศ์โบราณจีน (ค.ศ. 229-589) โดยเป็นเมืองหลวงของก๊กอู๋ภายใต้ซุนกวนในยุคสามก๊ก ในชื่อเมืองเจี้ยนเย่ (ค.ศ. 229-280) และในชื่อเมืองเจี้ยนคัง ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.317-420) ราชวงศ์หลิวซ่ง
(ค.ศ. 420-479) ราชวงศ์ฉีใต้ (ค.ศ. 479-502) ราชวงศ์เหลียง (ค.ศ. 502-557) และราชวงศ์เฉิน (ค.ศ. 557-589) นอกจากนี้ ยังเคยเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ถังใต้ ในชื่อเมืองจินหลิง (ค.ศ. 937-975) และราชวงศ์หมิง โดยจู หยวนจาง ซึ่งได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิหงอู่ พระองค์แรกของราชวงศ์หมิง โดยใช้ชื่อเมืองอิ้งเทียน (ค.ศ. 1368-1421)
เมืองหลวงของกบฏไท่ผิง ในชื่อเมืองเทียนจิง (ค.ศ. 1853-1864) และสุดท้ายเป็นเมืองหลวงสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1927-1949) ภายใต้จอมพลเจียง ไคเช็ค
1.3 นครหนานจิงมีประชากร 8.43 ล้านคน มีพื้นที่ 6,587 ตร. กม. ประกอบด้วย 13 เขตปกครอง ในปี 2561 นครหนานจิงมี GDP 1.28 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และมี GDP ต่อหัวที่ 152,886 หยวน มีมูลค่าการค้า ตปท. 65,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 มีธุรกิจต่างชาติที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่รวม 439 บ. ทั้งนี้ ใน กปช. พคจ.เจียงซูเพื่อสรุปผลการดำเนินงานครบรอบ 5 ปี เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2562 นายจาง จิ้งหัว ลธก.พรรคฯ หนานจิง รายงานว่า GDP หนานจิงขยายตัวร้อยละ 8 ในปี 2562 เป็นเมืองที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในพื้นที่ YRD
1.4 หนานจิงได้จัดตั้งกลไกความร่วมมือกับ 230 ปท./ภูมิภาค มี คสพ. เมืองพี่เมืองน้องกับ ตปท. 90 เมือง มี 100 บ. ในกลุ่ม 500 บ. ของโลกอยู่ในหนานจิง มี บ. ด้าน วทน. เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 ในปี 2561 มี บ. ในระดับ unicorn (startup ที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 13 ราย มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่ เช่น บ. ZTE ลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ บ. LG ลงทุนด้านเครื่องใช้ไฟฟ้า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในด้านการพัฒนา วทน. มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา 251 แห่ง นอกจากนี้ รบ. หนานจิงยังร่วมกับ ม. Cambridge จัดตั้งศูนย์วิจัยร่วมที่หนานจิง โดยเป็นศูนย์วิจัยใน ตปท. แห่งแรกของ ม. Cambridge
พัฒนาการที่สำคัญ
2.1 มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม โดยส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านอุปกรณ์การผลิตขั้นสูง ยาชีวภาพ AI และหุ่นยนต์ โดปี 2561 หนานจิงมีธุรกิจเทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 1,282 บ. เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 70 และรบ. หนานจิงได้อนุมัติโครงการลงทุนรายการใหม่ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 186 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 19,061 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2562 หนานจิงมีแผนดำเนินการพัฒนาโครงการที่สำคัญรวม 480 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 294,940 ล้านหยวน นอกจากนี้ หนานจิงยังมีความโดดเด่นด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยได้รับการรับรองรัฐบาลกลางให้เป็น “เมืองแห่ง software” เมืองแรกในจีน และ
ยังเป็นที่ตั้งของ บ. Suning ซึ่งเป็น บ. เครื่องใช้ไฟฟ้าและการค้าออนไลน์ขนาดใหญ่รายหนึ่งของจีน
2.2 ดำเนินการเชิงรุกในการพัฒนาเศรษฐกิจ วทน. เชื่อมโยงมหานครอื่น ๆ ในเขต ตอ. ของจีนตามแนวยุทธศาสตร์ YRD โดยหนานจิงมีการพัฒนาเมืองให้ทันสมัย มีการสร้างเขตเมืองใหม่เจียงเป่ย (Nanjing Jiangbei New Area) ให้เป็นเขตพัฒนาในระดับสูงตั้งแต่ปี 2558 รวมทั้ง เมื่อเดือน มิ.ย. 2562 ได้ออกนโยบาย Smarty City 2025 จัดตั้งโครงการ YRD Big Data และศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและการเงิน รปท. รวมไปถึงออกมาตรการส่งเสริมด้านการลงทุน วทน. โดยหากจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในหนานจิงจะได้เงินทุนสนับสนุน 5 ล้านหยวนต่อปี หากลงทุนกับ startup จากหนานจิงจะได้รับเงินทุน 5 ล้านหยวน และหากจัดตั้ง บ. Venture Capital ในหนานจิงจะได้รับเงินทุนสนับสนุน 15 ล้านหยวน ด้วยนโยบายส่งเสริมดังกล่าวจึงน่าจะเป็นสาเหตุให้ ม. Cambridge จัดตั้งศูนย์วิจัยใน ตปท. แห่งแรกที่หนานจิง
2.3 หนานจิงเป็นเจ้าภาพจัด กปช. 2019 China Golden Economic and Trade Fair เมื่อเดือน ก.ย. 2562 โดยมีนายจาง จิ้งหัว ลธก. พคจ. นครหนานจิงเป็น ปธ. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการลงทุน มุ่งเน้นด้าน ยานยนต์แห่งอนาคต มีการจัดแสดงชิ้นส่วนยานยนต์ประหยัดพลังงานที่จีนคิดค้นขึ้น โดยมีภาคเอกชนชั้นนำจากหนานจิงเข้าร่วมด้วย โดย รบ. ท้องถิ่นใช้โอกาสนี้แนะนำภาพรวมพัฒนาการทางเศรษฐกิจของนานจิงต่อคณะกงสุล ตปท.
2.4 หนานจิงได้ผลักดันการดำเนิน “กลยุทธ์ 121” ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาให้หนานจิงเป็นเมืองสร้างสรรค์แห่งหนึ่งของจีนที่มีบทบาทในระดับสากล ก่อสร้างศูนย์กลางที่สำคัญ 2 แห่ง (ศูนย์กลางวิทยาการแบบบูรณาการและศูนย์กลางสร้างสรรค์อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี) โดยตั้งเป้าหมายการทำงานหลักของ รบ. ท้องถิ่นในปี 2562 คือ (1) การลงทุนในทรัพย์สินถาวร เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 (2) การลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 10 (3) การลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ร้อยละ 12
- ข้อมูลอื่น ๆ
3.1 เดือน มี.ค. 2562 หนานจิงได้รับยกย่องว่าเป็น “สุดยอดสถานที่ท่องเที่ยวของโลก” (อันดับที่ 5 ของโลก โดยเป็นเมืองเดียวของจีนที่ได้รับคัดเลือก) จากการจัดอันดับโดย Money Magazine ของสหรัฐฯ โดยมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ อาทิ วัดขงจื๊อ สุสานซุนยัตเซ็น ทะเลสาบเสวียนอู่ พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หนานจิง เจดีย์กระเบื้องเคลือบแห่งหนานจิง กำแพงเมืองโบราณหนานจิง สุสานราชวงศ์หมิง (UNESCON world heritage) และเมื่อเดือน ต.ค. 2562 ได้รับยกย่องจาก UNESCO ว่าเป็น “เมืองวรรณกรรมโลก” (เมืองเดียวของจีนที่ได้รับคัดเลือก)
3.2 นครหนานหนิงมีโครงการก่อสร้างดีเด่น 4 รายการที่ได้รับรางวัล China Construction Engineering Luban Prize 2562 ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดด้านวิศวกรรมการก่อสร้างของจีน ได้แก่ (1) สนามกีฬาในร่ม ณ ศูนย์กีฬา Nanjing Youth Olympic Games (2) โครงการบ้านเอื้ออาทรติงเจียจวงเฟส 2 (3) โรงละครมณฑลเจียงซู (4) สะพานข้ามแม่น้ำแยงซีแห่งที่ 4
Download Factsheet: https://drive.google.com/open?id=1bY2yxHr2EzSRyvtnX3hbNyWPTe1vIK3J
1.2 เมืองซูโจว(苏州)
มีพื้นที่ 8,488 ตร.กม. ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเจียงซู โดยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม/การพาณิชย์ การค้าระหว่างประเทศ และโลจิสติกส์ที่สำคัญของมณฑลเจียงซู อีกทั้งเป็นเมืองที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในมณฑลเจียงซู
อุตสาหกรรมหลักของเมืองซูโจว คือ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตอุปกรณ์ สิ่งทอ อุตสาหกรรมเบา การหลอมโลหะ และเคมีภัณฑ์
1.3 เมืองอู๋ซี(无锡)
เมืองอู๋ซี (Wuxi) เป็นเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจของมณฑลเจียงซู มีประชากร 6.5 ล้านคน มีพื้นที่ 4,628 ตร. กม. ในปี 2561 มี GDP 14 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 มี GDP ต่อหัวที่ 174,300 หยวน มีมูลค่าการค้า ตปท. 9.3 หมื่นล้าน ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 มีขนาดทางเศรษฐกิจเป็นอันดับสามของเจียงซูรองจากเมืองซูโจว และนครหนานจิง และในปี 2561 ได้รับการจัดอันดับจาก Forbes เป็นอันดับ 3 ของจีนด้านการประกอบธุรกิจในเมืองที่ไม่ใช่เมืองหลวง/มหานคร และมี 69 บริษัทจากเมืองอู๋ซีได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 500 บริษัทสำคัญของจีน
รัฐบาลท้องถิ่นอู๋ซี ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และประยุกต์ใช้ Big Data ในการพัฒนาเมือง และเป็นเมืองแรกของจีนที่เน้นการวิจัยและเป็นคลัสเตอร์ในด้าน sensing chip/ integrated circuits โดยปัจจุบันมีบริษัทด้าน IT กว่า 2,000 แห่งทั่วเมือง ก่อให้เกิดการสร้างงานกว่า 180,000 ตำแหน่ง สร้างรายได้ให้แก่เมืองประมาณ 35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2560 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการที่คณะรัฐมนตรีจีนอนุมัติให้ริเริ่มโครงการ Wuxi National Sensing Innovation Demonstration Park เมื่อปี 2552 นอกจากนี้ เมืองอู๋ซีเป็นเจ้าภาพ World Internet of Things Expo 2018 เมื่อเดือน ก.ย. 2561 และตั้งเป็นหมายเป็นเมืองระดับโลกด้าน Smart City ภายในปี 2563
เมื่อเดือน ต.ค. 2561 บ. ไช่เหนี่ยว (Cainiao) เครืออาลีบาบาเป็นบริษัทประยุกต์ใช้ Big Data/ AI เชื่อมโยงระบบ E-Commerce ได้เปิดคลังสินค้าอัตโนมัติ (automation warehouse ขนาดใหญ่ที่สุดในจีน) ตั้งอยู่ใน Internet of Things Future Park ที่เมืองอู๋ซี โดยมีระบบโลจิสติกส์ขนถ่ายสินค้าแบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้คนขับ (Automated guided vehicle) ขนาดใหญ่ที่สุดในจีน ตั้งอยู่ใน Internet of Things Future Park อู๋ซี โดยมีระบบโลจิสติกส์ขนถ่ายสินค้าแบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้คนขับ (Automated Guided Vehicles) และใช้หุ่นยนต์ 700 ตัวในการพัฒนา smart warehouse ช่วยเลือกสินค้าในคลังสินค้าอัตโนมัติ/ จัดทำฉลากสินค้า (automatic labeling)/ บรรจุสินค้าอัตโนมัติ (auto-sealing) ก่อนที่จะทำการจำแนกบรรจุหีบห่อไปในเมืองต่าง ๆ ของจีนด้วยหุ่นยนต์ และได้พัฒนาระบบ Sky Eye โดยใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์และแจ้งข้อมูล/ ความผิดพลาดในระหว่างการขนส่งไปที่ผู้ควบคุมแบบ real-time ทำให้ระบบการขนส่งทั้งวงจรมีความแม่นยำและไร้รอยต่อ
ในระหว่างการเยือนนครเซี่ยงไฮ้ของรองนายกรัฐมนตรีสมคิดฯ เพื่อเข้าร่วมงาน CIIE 2018 ในโอกาสดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะนั้น (นาย สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในขณะนั้น (นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์) และ รัฐมตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล) เยือนบริษัท ไช่เหนี่ยว เมืองอู๋ซีเพื่อศึกษาดูงานการนำเทคโนโลยีประยุกต์ใช้ในระบบโลจิสติกส์ด้วย
รัฐบาลอู๋ซีตั้งเป้าหมายส่งเสริมการลงทุนในปี 2562 ใน 301 โครงการ มูลค่า 44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเมื่อเดือน มี.ค. 2562 บ. Jabil Electronic เอกชนชั้นนำสหรัฐฯ ด้าน IT ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา Cloud Computing/ Radio Frequency ที่อู๋ซี และเมื่อ ธ.ค. 2562 บ. BOSCH ประกาศจัดตั้งโรงงาน fuel cell battery แห่งแรกในต่างประเทศ นอกเยอรมนี นอกจากนี้รัฐบาลท้องถิ่น ได้ประกาศลงทุนกับ บ. LG Chem ของเกาหลีใต้ เพื่อผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รัฐบาลอู๋ซีส่งเสริมบรัษิทท้องถิ่นไปลงทุนในต่างประเทศตามยุทธศาสตร์ BRI อาทิ โครงการลงทุนในเอธิโอเปียด้านการผลิตผ้าฝ้าย และโครงการ Sihanoukville Special Economic Zone ในกัมพูชาใน โดยมีบริษัท153 รายจากอู๋ซีลงทุนในโครงการดังกล่าว ซึ่ง ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยกย่องว่าเป็นแบบอย่างความร่วมมือของจีนกับต่างประเทศในระหว่างเยือนกัมพูชาในปี 2559
1.4 เมืองฉางโจว(常州)
มีพื้นที่ 4,385 ตร.กม. เป็นเมืองอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงที่ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมด้านพลังงานใหม่ ซึ่งได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยมีการการออกแบบผังเมืองอย่างเป็นระบบ เพื่อรองรับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจการลงทุนจากต่างชาติ
นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่นยังให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมการลงทุนแก่ต่างชาติ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจุดแข็งของเมืองดังกล่าวจะเป็นหัวใจสำคัญในการดึงดูดความสนใจของนักลงทุนต่างชาติ ให้เข้ามาลงทุนและขยายความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันต่อไปในอนาคต
2.1 เมืองเหลียนหยุนกั่ง(连云港)
มีพื้นที่ 7,500 ตร.กม. เป็นที่ตั้งของท่าเรือเหลียนยวิ๋นกั่งซึ่งถือเป็นท่าเรือน้ำลึกเพียงแห่งเดียวของมณฑลเจียงซู และเป็นที่ตั้งของเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศ 1 ใน 7 แห่งของทั้งมณฑลเจียงซู และเป็น 1 ใน 3 เมืองที่รัฐบาลมณฑลเจียงซูวางแผนตั้งศูนย์กลางการค้าและโลจิสติกส์ และศูนย์กลางการท่องเที่ยวของมณฑล
เมืองเหลียนยวิ๋นกั่งเป็นฐานอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเรือ
2.2 เมืองสวีโจว(徐州)
มีพื้นที่ 11,258 ตร.กม. เป็นเมืองศูนย์กลางเส้นทางระบบรางใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน อีกทั้งจัดเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม/การพาณิชย์ การเงิน และการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญของมณฑลเจียงซู
เมืองสวีโจวถูกพัฒนาให้เป็นฐานการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ ฐานอุตสาหกรรมพลังงาน ฐานอุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่ ศูนย์กลางการค้าและโลจิสติกส์ และศูนย์กลางการท่องเที่ยวของมณฑลเจียงซู
2.3 เมืองเหยียนเฉิง(盐城)
มีพื้นที่ 14,562 ตร.กม. เป็นเมืองที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลเจียงซู เมืองเหยีนยเฉิงถูกพัฒนาให้เป็นฐานการผลิตสมัยใหม่ ฐานอุตสาหกรรมพลังงาน เขตนำร่องอุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา เมืองอุตสาหกรรมการค้าสมัยใหม่ของมณฑลเจียงซู
2.4 เมืองหวยอาน(淮安)
มีพื้นที่ 10,072 ตร.กม. เมืองหวยอานได้รับยกย่องว่าเป็น “เมืองแห่งแม่น้ำเพื่อการขนส่งของจีน “โดยถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคม ศูนย์กลางการพาณิชย์และโลจิสติกส์ ฐานการผลิตสสมัยใหม่ และแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของมณฑลเจียงซู
2.5 เมืองซู่เชียน(宿迁)
มีพื้นที่ 8,555 ตร.กม. เมืองซู่เชียนได้รับยกย่องว่าเป็น “เมืองแห่งเหล้าขาวของจีน” โดยถูกพัฒนาให้เป็นเป็นฐานอุตสาหกรรมใหม่ และเมืองนิเวศวิทยาของมณฑลเจียงซู
เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ
1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีนครหนานจิง(Nanjing Economic & Technological Development Zone)
เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีนครหนานจิงได้จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2535 และได้รับการยกระดับให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีระดับชาติเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2545 ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2546 ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเขตแปรรูปสินค้าส่งออกในเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีดังกล่าว
เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีนครหนานจิงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครหนานจิง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร มีพื้นที่ในระยะเริ่มต้นโครงการ 13.37ตารางกิโลเมตร โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 เขตย่อย ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมเขตคลังสินค้าทัณฑ์บน เขตการค้าการเงิน เขตธุรกิจบริการเขตพัฒนาเศรษฐกิจ และเขตเทคโนโลยี
อุตสาหกรรมหลักภายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีนครนานกิงมี 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์และโทรคมนาคม 2. อุตสาหกรรมเภสัชศาสตร์ชีวภาพ 3. อุตสาหกรรมเบา และ 4. อุตสาหกรรมวัสดุใหม่
2. เขตอุตสาหกรรมซูโจว (Suzhou Industrial Park)
เขตอุตสาหกรรมซูโจวสร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลจีนและสิงคโปร์ ได้รับการอนุมัติจัดตั้งเมื่อเดือน ก.พ. 2537 มีพื้นที่ในระยะเริ่มต้นโครงการ 8 ตารางกิโลเมตร เน้นดึงดูดการลงทุนประเภทอุตสาหกรรมสมัยใหม่เป็นหลัก โดยเฉพาะภาคบริการ นโยบายการบริหารและพัฒนาเขตอุตสาหกรรมซูโจวเป็นไปตามนโยบายของเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในเมืองริมชายฝั่งทะเล โดยได้รับแนวทางการบริหารจากประเทศสิงคโปร์
ปัจจุบันรอบทะเลสาบจินจีภายในเขตอุตสาหกรรมซูโจวรายล้อมไปด้วยอาคารสำนักงานธุรกิจการเงิน ศูนย์จัดนิทรรศการ อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและการบันเทิง อุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอาหาร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ศูนย์การค้าและที่อยู่อาศัย โรงแรมและอาคารสำนักงาน เป็นต้น ซึ่งมีสถาบันการเงินจากทั่วโลกเข้ามาจัดตั้งสำนักงานใหญ่ภายแล้วรวมกว่า 140 ราย อาทิ ธนาคาร Standard Chartered ธนาคาร HSBC ธนาคาร DBS จากฮ่องกง ธนาคาร Industrial จากเกาหลี ธนาคาร BEA ธนาคาร Woori ธนาคาร Minsheng ธนาคาร SK จากเกาหลีและบริษัทประกันภัย Pingan เป็นต้น จนทำให้เขตอุตสาหกรรมดังกล่าวได้พัฒนาเป็น CBD ของซูโจว
3. เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนจางเจียกัง (Zhang Jia Gang Bonded Area)
เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนจางเจียกัง ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2535 มีพื้นที่ 4.1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญในด้านการค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ คลังสินค้าทัณฑ์บน อุตสาหกรรมแปรรูปส่งออก โดยส่งเสริมให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมาลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตและแปรรูปสินค้าเพื่อส่งออก
4. เขตพัฒนาเศรษฐกิจเหยียนเฉิง
รัฐบาลมณฑลเจียงซูจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจเหยียนเฉิงขึ้นเมื่อปี 2535 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงสมัยใหม่เมื่อปี 2540 โดยอุตสาหกรรมหลักภายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และอะไหล่ เครื่องจักรกล และสิ่งทอ
ปัจจุบันพัฒนาเศรษฐกิจกำลังให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่ อาทิ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ รถยนต์ที่ใช้พลังงานจากแหล่งใหม่ และอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้พลังงานจากแหล่งใหม่ เป็นต้น
การคมนาคมและโลจิสติกส์
เส้นทางทางบก
1. เส้นทางหลวง
การคมนาคมทางรถยนต์ในมณฑลเจียงซูจะใช้ทางหลวงสายหลักและสายรอง และทางด่วนเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีถนนทางหลวงที่เชื่อมไปยังมณฑลใกล้เคียง
มณฑลเจียงซูมีสะพานขนาดใหญ่ที่ข้ามแม่น้ำแยงซีเกียงซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านมณฑลรวมหลายแห่ง นอกจากนี้ ยังมีสะพานเชื่อมระหว่างเกาะฉงหมิง(Chongming,崇明)ของนครเซี่ยงไฮ้กับเมืองฉี่ตง(Qidong,启东)และนครหนานจิง
ทางรถไฟสายหลักของมณฑลได้แก่ รถไฟสายนครปักกิ่ง-นครเซี่ยงไฮ้ รถไฟสายเหลียนหวินกัง(Lianyungang , 连云港)- หลันโจว(Lanzhou,兰州)รถไฟสายนครนานกิง- ถงหลิง (Tongling,铜陵) รถไฟสายนครนานกิง – นครซีอาน และรถไฟสายซินอี๋(Xinyi,新沂)- ฉางซิ้ง(Changxing,长兴)โดยมีสถานีรถไฟนครนานกิง เป็นสถานีรถไฟชุมทางด้านทิศเหนือและสถานีรถไฟสวีโจว (Xuzhou,徐州)เป็นสถานีรถไฟชุมทางทิศใต้ของมณฑลเจียงซู
เมืองทั้ง 13 เมืองในมณฑลนอกจากเมืองสู้เชียน (Suqian,宿迁)แล้วต่างมีทางรถไฟตัดผ่าน ปัจจุบันมีขบวนรถไฟหัวกระสุนความเร็วสูงหรือ CRH (China Railway High-speed) ซึ่งใช้ระยะเวลาเพียง 1 ชั่งโมง 57 นาที จากนครหนานจิงถึงนครเซี่ยงไฮ้ และยังมีรถไฟความเร็วสูง 350 ก.ม. ต่อช.ม. ระหว่างนครหนานจิง-เซี่ยงไฮ้ จะช่วยลดเวลาการเดินทางเหลือเพียง 75 นาที
เส้นทางทางน้ำ
การคมนาคมทางน้ำส่วนใหญ่ขนส่ง โดยทางคลองที่สำคัญ คือ การขนส่งสินค้าทางคลองจิง-หาง (The Beijing-Hangzhou Grand Canal) โดยมีเส้นทางการเดินเรือเชื่อมต่อกับเมืองอื่นๆ คือ ซูโจว(Suzhou,苏州)- หางโจว(Hangzhou,杭州)และอู๋ซี(Wuxi,无锡)-หางโจว(Hangzhou,杭州) ซึ่งเรือสินค้าที่ออกจากต้นทางในตอนเย็นจะสามารถวิ่งถึงปลายทางได้ในตอนเช้าของทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวทางน้ำสายแม่น้ำแยงซี จากนครนานกิง(Nanjing,南京)ถึงนครฉงชิง(Chongqing,重庆)
ด้านเรือโดยสาร มีการให้บริการรถยนต์ข้ามฟากแม่น้ำแยงซี ระหว่างเมืองหนานถง(Nantong, 南通)- เมืองจางเจียกัง(Zhangjiagang,张家港)เมืองหนานถง(Nantong, 南通)- เมืองฉางซู (Changsu,常熟)และเมืองไท่ฉาง(Taicang,太仓)- เมืองไห่เหมิน(Haimen,海门)
เส้นทางทางอากาศ
มณฑลเจียงซูมีสนามบินประจำเมืองต่างๆรวม 7 แห่งได้แก่สนามบินนครนานกิง สนามบินเมืองฉางโจว(Changzhou,常州) สนามบินเมืองอู๋ซี (Wuxi,无锡)สนามบินเมืองหนานถง(Nantong,南通) สนามบินเมืองเหยียนเฉิง(Yancheng, 盐城)สนามบินเมืองเหลี่ยนหวินกัง(Lianyungang,连云港)และสนามบินเมืองสวีโจว(Xuzhou,徐州)
เศรษฐกิจ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑล
1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)
- พัฒนาให้เจียงซูมีสภาพสังคมแบบอยู่ดีกินดีที่มีมาตรฐานสูง โดยพื้นที่ตอนใต้ของมณฑลเริ่มก้าวเข้าสู่ความทันสมัยนำหน้าก่อนพื้นที่อื่นๆ
- GDP เติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 10 ต่อปี โดยเมื่อถึงปี ค.ศ. 2015 GDP จะสูงถึง 6,580,000 ล้านหยวน และ GDP ต่อหัวประชากรทะลุยอด 80,000 หยวนต่อปี
- เร่งพัฒนาให้ภาคบริการกลายเป็นพื้นฐานสำคัญในโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยมูลค่าเพิ่มของภาคบริการจะครองสัดส่วนร้อยละ 48 ของ GDP ทั้งหมด
- กระตุ้นให้มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงครองสัดส่วนร้อยละ 40 ของมูลค่าเพิ่มทางอุตสาหกรรมทั้งหมดในมณฑล
- เพิ่มงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ให้ครองสัดส่วนร้อยละ 2.5 ของ GDP ทั้งหมด และเพิ่มมูลค่าการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลให้มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 15 ของ GDP ทั้งหมด
- ยกระดับอัตราการพัฒนาสู่ความเป็นเมือง (urbanization) ให้สูงเท่ากับร้อยละ 63
- ยกระดับให้ดัชนีทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อหัวประชากรของพื้นที่ตอนเหนือของมณฑล สูงกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานของทั่วทั้งประเทศจีน
- กระตุ้นให้มูลค่าการลงทุนของต่างชาติในพื้นที่ (FDI) มูลค่าการลงทุนของเจียงซูในต่างประเทศ (ODI) และมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ สูงอยู่ในอันดับแนวหน้าของประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง
- กระตุ้นให้รายได้เฉลี่ยของประชากรในเขตเมืองและเขตชนบทมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 10 ต่อปี
2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2013
- ให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดย GDP เติบโตกว่าปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 10
- ดำเนินกลยุทธ์กระตุ้นอุปสงค์ภายในเป็นพื้นฐานสำคัญ โดยมีอัตราการเติบโตของมูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภค-บริโภคอยู่ที่ประมาณร้อยละ 15 และควบคุมให้อัตราการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.5
- เพิ่มการบุกเบิกตลาดในระดับสากล โดยมีอัตราการเติบโตของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศที่ประมาณร้อยละ 5
- รักษาสัดส่วนงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ให้มากกว่าร้อยละ 2.35 ของ GDP ทั้งหมด และมูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินถาวรสาธารณะมีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 18
- ส่งเสริมโครงการวิศวกรรมที่มีความสร้างสรรค์ ทางด้านเทคโนโลยี โดยพยายามกระตุ้นให้มีวิสาหกิจด้านเทคโนโลยีชั้นสูงระดับประเทศในมณฑลรวมจำนวน 6,000 ราย
- ควบคุมให้อัตราการว่างงาน (ที่ลงทะเบียน) ไม่เกินร้อยละ 4 พร้อมทั้งเพิ่มตำแหน่งงานใหม่ในพื้นที่เขตเมืองอีกไม่ตำกว่า 1 ล้านอัตรา และเพิ่มแรงงานในภาคเกษตกรรมอีกไม่ต่ำกว่า 250,000 อัตรา
- ส่งเสริมการประหยัดพลังงานในภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การคมนาคม องค์กรสาธารณะ ฯลฯ และดำเนินโครงการสำคัญด้านการลดมลพิษจำนวน 2,000 โครงการ
ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ
- เป็นหนึ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญทางภาคตะวันออกของจีน
- มูลค่า GDP และมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกมากเป็นอันดับที่ 2 ของจีน (รองจากมณฑลกวางตุ้ง)
- มูลค่าการลงทุนจากต่างชาติสูงที่สุดในจีนเป็นระยะเวลาติดต่อกันถึง 10 ปี
- เป็นมณฑลที่มีเส้นทางการขนส่งทางแม่น้ำยาวที่สุดในจีนถึง 24,000 ก.ม.
- มีท่าเรือขนส่งทางแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในจีนตั้งอยู่ที่นครหนานจิง1.4 สถิติภาคบริการ
มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมบริการ 3,039,650 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3
ปริมาณการหมุนเวียนสินค้าและผู้โดยสารของมณฑลเจียงซู ปี 2557
นโยบายส่งเสริมการลงทุน
ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ปี 2554 – 2558) มณฑลเจียงซูได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์สำหรับส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ 10 สาขา ได้แก่
- อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมอุปกรรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ (Photo Voltaic : PV) และไฟฟ้าพลังงานลมให้มีความเข้มแข็ง และยกระดับอุตสาหกรรมอุปกรณ์พลังงานชีวภาพและพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์
- อุตสาหกรรมวัสดุใหม่ เน้นพัฒนาวัสดุใหม่ระดับสูง 5 ประเภท ได้แก่ วัสดุเหล็กพิเศษสมรรถนะสูง วัสดุสมรรถนะผสมผสานรูปแบบใหม่ วัสดุข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์รูปแบบใหม่ วัสดุโลหะที่หาได้ยากและมีจำนวนจำกัด และวัสดึคุณภาพสูงสำหรับโครงวิศวกรรมขนาดใหญ่
- อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพและผลิตภัณฑ์ยาใหม่
- อุตสาหกรรมประหยัดพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
- อุตสาหกรรมเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศและซอฟท์แวร์ใหม่
- อุตสาหกรรมการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตกับวัตถุและการประมวลผลข้อมูลบนก้อนเมฆ
- อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ไฮเทค เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมอุปกรณ์การบิน อุปกรณ์การคมนาคมระบบราง อุปกรณ์การผลิตสมรรถนะสูง อุปกรณ์เฉพาะทาง และชิ้นส่วนอะไหล่ขั้นพื้นฐานที่สำคัญ
- อุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานใหม่
- อุตสาหกรรมโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เน้นการสร้างเมืองแม่แบบด้านการใช้โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่นครหนานจิง เมืองซูโจว เมืองหยางโจว และเมืองเหยียนเฉิง
- อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์วิศวกรรมทางทะเล
ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ ปี 2014
1. ตัวเลขสถิติภาพรวม
1.1 GDP / สัดส่วนทางอุตสาหกรรม
GDP รวม 6,508,830 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7
– มูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมที่ 1 (เกษตรกรรม) 363,430 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
– มูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมที่ 2 (อุตสาหกรรม) 3,105,750 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8
– มูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมที่ 3 (บริการ) 3,039,650 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3
GDP ต่อหัวประชากร 81,874 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4
สัดส่วนอุตสาหกรรม (เกษตรกรรม : อุตสาหกรรม : บริการ) 5.6 : 47.7 : 46.7
1.2 สถิติภาคเกษตรกรรม
ผลผลิตทางเกษตรกรรม 34.90 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0
1.3 สถิติภาคอุตสาหกรรม
มูลค่าการผลิตของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง 2,459,290 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8
มูลค่าการผลิตของธุรกิจการผลิตรถยนต์ 644,880 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4
มูลค่าการผลิตของธุรกิจสกัดผลิตภัณฑ์ยา 313,640 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7
มูลค่าการผลิตของธุรกิจการผลิตอุปกรณ์เฉพาะทาง 562,220 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
มูลค่าการผลิตของธุรกิจการผลิตอุปกรณ์ทั่วไป 813,430 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5
มูลค่าการผลิตของธุรกิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า/เครื่องจักร 1,600,300 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8
มูลค่าการผลิตของธุรกิจการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม 1,805,590 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
1.4 สถิติภาคบริการ
มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมบริการ 3,039,650 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3
ปริมาณการหมุนเวียนสินค้าและผู้โดยสารของมณฑลเจียงซู ปี 2557
รายการ |
หน่วย |
จำนวน |
เปรียบเทียบกับ ปี 2556 |
ปริมาณรองรับสินค้า ณ ท่าเรือ
– รองรับสินค้าระหว่างประเทศ |
ล้านตัน |
4,800 1,200 |
9.9% 15.6 % |
ปริมาณขนส่งตู้คอนเทนเนอร์
ณ ท่าเรือ |
ล้าน TEU |
44.50 |
29.4 |
ปริมาณหมุนเวียนสินค้า
– ทางรถไฟ – ทางถนน – ทางน้ำ (ทะเล/แม่น้ำ) – ทางอากาศ – ระบบท่อขนส่ง |
ล้านตัน-กิโลเมตร |
1,102,840 34,610 197,850 808,710 100 61,570 |
4.7 % – 7.3 % 10.5 % 4.3 % 5.3 % -0.6 % |
ปริมาณหมุนเวียนผู้โดยสาร
– ทางรถไฟ – ทางถนน – ทางน้ำ (ทะเล/แม่น้ำ) – ทางอากาศ |
ล้านคน-กิโลเมตร |
156,016 15,373.9 137,270 2.56 8,093 |
2.5 % 14.4 % 1.3 % 4.5 % 11.2 % |
1.5 สถิติทางคุณภาพชีวิตประชาชน
รายได้เฉลี่ยของประชาชนเขตเมือง 34,346 หยวน / ปี / คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7
รายจ่ายเฉลี่ยของประชาชนเขตเมือง 31,348 หยวน / ปี / คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1
รายได้เฉลี่ยของประชาชนเขตชนบท 14,985 หยวน / ปี / คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6
รายจ่ายเฉลี่ยของประชาชนเขตชนบท 13,312 หยวน / ปี / คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8
อัตราการว่างงาน (ตามที่มีการลงทะเบียน) ร้อยละ 3.01
จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ประจำรวมทั้งสิ้น 79.60 ล้านคน
– ประชากรเพศชาย 40.07 ล้านคน
– ประชากรเพศหญิง 39.52 ล้านคน
2. ตัวเลขสถิติการค้า
2.1 การค้าภายในประเทศ
ตัวเลขดัชนีราคาสินค้าของมณฑลเจียงซู ปี 2557
รายการ |
เปรียบเทียบกับปี 2556 |
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
– อาหาร – เครื่องนุ่งห่ม/เครื่องแต่งกาย – บุหรี่/สุรา – อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในครัวเรือนและบริการซ่อมบำรุง – ของใช้ส่วนตัว/ของใช้ด้านการบำรุงสุขภาพและการรักษาพยาบาล – การคมนาคม/การสื่อสาร – ของใช้/บริการด้านวัฒนธรรม การศึกษาและการบันเทิง – ที่อยู่อาศัย |
2.2 % 2.6 % 3.6 % – 1.4 % 3.3 % 1.8 % – 0.2 % 2.6 % 2.4 % |
มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคของมณฑลเจียงซู ปี 2557
รายการ |
มูลค่า (ล้านหยวน) |
เปรียบเทียบกับปี 2555 |
มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมด
(แบ่งยอดตามพื้นที่) – พื้นที่เขตเมือง – พื้นที่เขตชนบท |
2,322,090 2,086,890 234,010 |
12.4 % 12.4 % 11.9 % |
(แบ่งตามประเภทสินค้า)
– รถยนต์ – น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง – อาหาร / เครื่องดื่ม / สุรา / บุหรี่ – เสื้อผ้า / เครื่องแต่งกาย / สิ่งทอ – ผลิตภัณฑ์ยา – เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน – อัญมณี / เครื่องประดับ – วัสดุก่อสร้าง |
289,750 141,120 154,080 110,620 76,960 71,710 32,010 57,020 |
12.8% 20.9 % 8.5% 9.3 % 16.2% 5.3 % -2.9% 19.8 % |
2.2 การค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 563,760 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3
– มูลค่าการนำเข้า 221,890 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่เปลี่ยนแปลง
– มูลค่าการส่งออก 341,870 ล้อนดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0
ประเทศคู่ค้าสำคัญ (ภาคการส่งออก)
คู่ค้า |
มูลค่าส่งออก (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
% |
คู่ค้า |
มูลค่าส่งออก (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
% |
สหภาพยุโรป |
63,510 |
11.2 % |
ฮ่องกง |
34,850 |
-5.4 % |
สหรัฐอเมริกา |
70,170 |
7.2 % |
ไต้หวัน |
14,210 |
2.3 % |
ญี่ปุ่น |
30,860 |
1.2 % |
ละตินอเมริกา |
19,190 |
3.2 % |
เกาหลีใต้ |
16,640 |
-0.7 % |
แอฟริกา |
9,300 |
-0.8 % |
อาเซียน |
34,220 |
2.3% |
รัสเซีย |
4,890 |
– |
2.3 การค้ากับประเทศไทย
สินค้านำเข้าจากไทยที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ผัก อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า แร่เชื้อเพลิง / น้ำมันแร่
สินค้าส่งออกไปไทยที่สำคัญ ได้แก่ เหล็ก/เหล็กกล้า เครื่องจักรกล อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
3. ตัวเลขสถิติการลงทุน
3.1 การลงทุนภายในประเทศ
มูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินถาวร 4,155,280 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5
– การลงทุนในอุตสาหกรรมที่ 1 (เกษตรกรรม) 20,700 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8
– การลงทุนในอุตสาหกรรมที่ 2 (อุสาหกรรม) 2,030,050 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
· ด้านอุตสาหกรรมการผลิต 2,024,390 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2
– การผลิตวัตถุดิบทางเคมี / เคมีภัณฑ์ 181,060 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0
– การผลิตอุปกรณ์ทั่วไป 191,342 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0
– การผลิตวัสดุเครื่องใช้ไฟฟ้า/เครื่องจักร 178,750 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0
· ด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง 717,210 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6
– การลงทุนในอุตสาหกรรมที่ 3 (บริการ) 3,039,650 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3
· ด้านการขนส่ง / คลังสินค้า / ไปรษณีย์ 299,500 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5
· ด้านการบุกเบิกพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 824,020 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8
· ด้านการบริหารจัดการสาธรณูปโภคพื้นฐาน 102,153 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 0.9
โครงการก่อสร้างใหม่ภายในปี 35,794 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8
งบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนา (R&D) 163,000 ล้านหยวน (สัดส่วนร้อยละ 2.5 ของ GDP ทั้งหมด)
3.2 การลงทุนระหว่างประเทศ
– การลงทุนในต่างประเทศ
อนุมัติโครงการลงทุนใหม่ในต่างประเทศรวม 736 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนตามสัญญาฝ่ายจีนรวม 7,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ17.5 และร้อยละ 13.0 ตามลำดับ
– การลงทุนของต่างชาติในพื้นที่
อนุมัติวิสาหกิจต่างชาติเข้ามาลงทุนในเจียงซูโครงการใหม่รวม 3,031 โครงการ คิดเป็นสัญญาการลงทุนรวม 43,190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติตามจริงรวม 28,170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 14.2 )
4. ตัวเลขสถิติภาคการท่องเที่ยว
4.1 การท่องเที่ยวในประเทศ
จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในเจียงซู 570 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9
รายได้การท่องเที่ยว 786,350 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6
4.2 การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ
จำนวนนักท่องเที่ยวนอกจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาท่องเที่ยวในเจียงซู 297.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8
– นักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.97 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9
– นักท่องเที่ยวจากฮ่องกง / มาเก๊า / ไต้หวัน 1.001 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8
รายได้การท่องเที่ยว 3,030 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.3
ข้อมูลอ้างอิง : http://www.jssb.gov.cn/ หัวข้อ 2014年江苏省国民经济和社会发展统计公报