XINJIANG
เขตปกครองตนเองซินเจียงข้อมูลพื้นฐาน
เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรษฐกิจ
การคมนาคมและโลจิสติกส์
เศรษฐกิจ
1. ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งและพื้นที่
- เขตการปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน เป็นเขตที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
- ทิศตะวันออกติดกับมณฑลกานสู และมณฑลชิงไห่
- ทิศใต้ติดกับเขตปกครองตนเองทิเบต
- ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศมองโกเลีย
- ทิศตะวันตกติดกับประเทศรัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กิซสถาน และทาจิกิสถาน
- ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับอัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย
เขตปกครองตนเองซินเจียงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,660,000 ตร.กม. ซึ่งคิดเป็นพื้นที่หนึ่งในหกของพื้นที่ทั้งประเทศ เขตพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นคือ เป็นพื้นที่แอ่งกะทะและเทือกเขาสลับกัน ซึ่งพื้นที่แอ่งกะทะดังกล่าวเป็นพื้นที่แอ่งกะทะที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขา
ทิศเหนือมีภูเขาอาร์เอ่อไท้ซาน และพื้นที่แอ่งกระทะจุนก๋าเอ๋อ ทิศใต้มีภูเขาคุนหลุน และพื้นที่แอ่งกระทะถาหลี่มู่ ซึ่งพื้นที่แอ่งกะทะถาหลี่มู่นั้นอยู่ระหว่างเทือกเขาไท้ซานและเทือกเขาคุนหลุนโดยครอบคลุมพื้นที่กว่า 530,000 ตร.กม. นับเป็นพื้นที่แอ่งกะทะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ทะเลทรายกว่า 800,000 ตร.กม. โดยมีทะเลทรายถ่าเค่อลามากัน ตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางของมณฑล ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอาณาเขตทะเลทรายที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 330,000 ตร.กม.
แม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำถาหลี่มู่ซึ่งมีความยาว 2,100 กิโลเมตร
เขตปกครองตนเองซินเจียง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 เขต ได้แก่
- เขตจี๋ถ่าเฉิง (Tacheng)
- เขตอาสั่วไท้ (Altay)
- เขตทูหลูฟาน (Turpan)
- เขตฮาร์มี่ (Hami)
- เขตอาเค่อซู (Aksu)
- เขตคาเมอ (Kashgar)
- เขตเหอเถียน (Hotan) มีเมืองหลักที่สำคัญ ได้แก่ เมืองอูหลู่มู่ฉี (Urumqi) เมืองเค่อลาหม่าอี (Karamay)
และเมืองระดับตำบล 17 เมือง ได้แก่
- เมืองฉือเหอจื่อ (Shihezi)
- เมืองฮาร์มี่ (Hami)
- เมืองทูหลูฟาน (Turpan)
- เมืองฉางจี๋ (Changji)
- เมืองคุนตุน (Kuytun)
- เมืองป๋อเล่อ (Bole)
- เมืองอีหนิง (Yining)
- เมืองถ่าเฉิง (Tacheng)
- เมืองอาเล่อไท่ (Altay)
- เมืองคู่เอ๋อเล่อ (Korla)
- เมืองอาเค่อซู (Aksu)
- เมืองอาถูเมอ (Atux)
- เมืองคาเมอ (Kashgar)
- เมืองเหอเถียน (Hotan)
- เมืองฟู่คัง (Fukang)
- เมืองหมี่ฉวน (Miquan)
- เมืองหวูซู่ (Wusu)
นอกจากนี้ยังมีเขตเทศบาลอีก 5 เขต ได้แก่
- เขตเทศบาลอีหลีฮาร์ซ่าเค่อ (Ili Kazak)
- เขตเทศบาลฉางจี๋หุยจู่ (Changji Hui)
- เขตเทศบาลปายินกัวเหลิงเมิ่งกู (Bayangol Mongol)
- เขตเทศบาลป๋อเอ๋อร์ถ่าลาเหมิงกู่ (Bortala Mongol )
- เทศบาลเค่อจื้อเล่อซูเคอเอ๋อเค่อจื้อ (Kizilsu Kirgiz)
ทรัพยากรธรรมชาติ
- ในอาณาบริเวณพื้นที่อันกว้างใหญ่ของเขตปกครองตนเองซินเจียงนั้น คิดเป็นพื้นที่เทือกเขากว่าร้อยละ 56 และพื้นที่แอ่งกะทะกว่าร้อยละ 44 ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดดังกล่าวแบ่งเป็นส่วนของการใช้ในการทำปศุสัตว์ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้และทุ่งหญ้า คิดเป็นประมาณ 63,045,800 เฮคเตอร์ ซึ่งเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.9 ของพื้นที่ทั้งหมด
- พื้นที่แอ่งกะทะกว่าร้อยละ 44 ซึ่งพื้นที่ทั้งหมด แบ่งเป็นส่วนของการใช้ในการทำปศุสัตว์ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้และทุ่งหญ้า
- ในจำนวนพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่การเกษตร 4,025,500 เฮคเตอร์ พื้นที่ท้องทุ่ง 335,900 เฮคเตอร์ พื้นที่ป่าไม้ 6,759,470 เฮคเตอร์ และพื้นที่ที่ใช้ในการทำปศุสัตว์ 15,215,830 เฮคเตอร์
- ทั้งนี้พื้นที่ทางปศุสัตว์ดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่ปศุสัตว์ทั้งประเทศ นับเป็นอาณาบริเวณที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ
ซินเจียงมีแร่ธาตุกว่า 138 ชนิด โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นแร่ธาตุสงวนสำรอง 43 ชนิด และมีน้ำมันปิโตรเลียมสำรองที่ถูกค้นพบในบริเวณแอ่งกะทะเค่อลาหม่าจำนวน 208,600 ล้านตัน ซึ่งแหล่งน้ำมันดังกล่าวถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2498 นอกจากนี้ยังมีแก๊สธรรมชาติ 10,300,000 ล้านคิวบิคเมตร
ทั้งนี้น้ำมันและแก็สธรรมชาติในซินเจียงนั้นมีปริมาณคิดเป็นอัตราส่วนที่ได้รับการสำรองทั้งหมดในประเทศจีนอยู่ถึงร้อยละ 30 และร้อยละ 34 ตามลำดับ ซึ่งจัดเป็นเขตที่มีปริมาณน้ำมันปิโตรเลี่ยมและแก็สธรรมชาติมากอยู่ในอันดับสามและอันดับหกของจีน ตามลำดับ นอกจากนั้นยังมีถ่านหินที่ได้รับการสำรองไว้โดยประมาณ 2,190,000 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นปริมาณร้อยละ 40 ของปริมาณทั้งประเทศ ทั้งนี้ยังมีแร่ธาตุอื่นๆอีกได้แก่ แร่ทองแดง ทองคำ แร่เหล็ก เป็นต้น
ในเดือนสิงหาคม ปี 2547 ได้มีการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอีกครั้งในเขตพื้นที่แอ่งกะทะจุนก๋าเอ๋อ โดยมีปริมาณน้ำมันสำรองจำนวน 261 ล้านตัน และแก๊สธรรมชาติ 14.6 ล้านตัน
เดือนธันวาคม 2551 ได้ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติเค่อลาเหม่ยลี่ ในพื้นที่แอ่งกระทะจุ่นก๋าเอ่อร์ (Dzungarian Basin) มีปริมาณก๊าซธรรมชาติมากกว่า 1 แสนล้านลูกบาศก์เมตร
คาดว่าจะสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซธรรมชาติเค่อลาเหม่ยลี่นี้ได้ในปริมาณ 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 50 ปี ทั้งนี้ พื้นที่กว่า 2 ใน 3 ของแหล่งก๊าซธรรมชาติเค่อลาเหม่ยลี่เป็นดินหินภูเขาไฟ จากการคาดการณ์ ปริมาณที่ค้นพบในปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณก๊าซที่มีเท่านั้น เชื่อว่าในอนาคตจะสามารถค้นพบบ่อก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่กว่าที่เคยพบในปัจจุบันได้
เขตปกครองตนเองซินเจียงยังเป็นเขตที่ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์อย่างสมบูรณ์เป็นอันดับสองของประเทศจีน จึงเป็นเขตที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชประเภทเมลอน ยางพารา มะเขือเทศ องุ่นถูหลู่ฟาน ปอ โดยมีปริมาณผลผลิตคิดเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40 ของผลผลิตทั้งประเทศ
ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม
เขตการปกครองตนเองซินเจียง มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี ในอดีตถูกปกครองจากชนชาติหลากหลายกลุ่มด้วยกัน และมีการค้นพบปรากฏหลักฐานมนุษย์ยุคหินในซินเจียง ซึ่งเป็นมนุษย์ในยุคสมัยอดีตในช่วง 60 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ในอดีตกษัตริย์ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปี ก่อนคริสตกาล – ปี ค.ศ.1884) ได้เข้ายึดครองพื้นที่ในเขตซินเจียง ต่อมาในสมัยราชวงฮั่นตะวันตกได้มีการสร้างเมืองทางแถบตะวันตกขึ้น และหนึ่งในนั้นคืออาณาเขตเมืองซินเจียงในปัจจุบัน ซึ่งในสมัยดังกล่าวซินเจียงนับเป็นเขตปกครองสำคัญซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของเส้นทางสายไหมเดิม
ในยุคสมัยต่อมาซินเจียงได้ถูกใช้เป็นเส้นทางการค้าที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถังกับประเทศในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเส้นทางดังกล่าวมีความยาว 6,440 กิโลเมตร มีระยะทางไปจนถึงอาณาจักรโรมัน โดยทางการกำหนดให้เมืองอูหลู่มู่ฉีเป็นเมืองด่านเก็บภาษี และต่อมาในสมัยกษัตริย์กวงซูแห่งราชวงศ์ชิงได้สถาปนาชื่อเขตซินเจียงขึ้นใหม่ ซึ่งเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือ “ซีเจียง” เป็น “ซินเจียง”
ในปัจจุบัน และมีการกำหนดให้เมืองอูหลู่มู่ฉี (แต่เดิมชื่อเมืองฉีหัว) เป็นเมืองหลวงของเขต ต่อมาในปี ค.ศ.1955 ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นเขตปกครองตนเองซินเจียงจวบจนมาถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้วัฒนธรรมท้องถิ่นของซินเจียงยังมีภาษาและวรรณคดีของชาวอุยเกอร์ ที่เป็นภาษาที่ยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งภาษาท้องถิ่นนี้ยังปรากฏในบทกวี ดนตรีและการเต้นรำของชนชาติดังกล่าวในปัจจุบันอีกด้วย
ข้อมูลประชากร
- สิ้นปี 2559 เขตปกครองตนเองซินเจียงมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 23.98 ล้านคน
- อัตราการเกิด 15.34‰
- อัตราการตาย 4.26‰
- คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรร้อยละ 11.08‰
- เขตปกครองตนเองซินเจียงมีจำนวนประชากรชนชาติต่างๆ อยู่ทั้งสิ้น 47 ชนชาติ
ชนกลุ่มน้อยที่สำคัญได้แก่
- ชนชาวอุยกูร์ซึ่งมีจำนวนประชากรอยู่ร้อยละ 45.62
- ชนชาวฮาร์ซ่าเค่อร้อยละ 7.04
- ชนชาวหุยร้อยละ 4.46
- ชนชาวมองโกลร้อยละ 0.86
โดยรวมแล้ว ประชากรของซินเจียงเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ประมาณร้อยละ 60.4 และมีชนชาวฮั่นอยู่ร้อยละ 39.6
ปี 2559 เขตปกครองตนเองซินเจียงมีจำนวนประชากรที่มีงานทำ 12.63 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 4.6 แสนคน อัตราว่างงานของประชากรในเขตเมืองเท่ากับร้อยละ 3.22
สภาพภูมิอากาศ
- เขตปกครองตนเองซินเจียงมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย
- ทิศเหนือและทิศใต้มีความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศที่ชัดเจน
- บริเวณพื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่ มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่อปี 6 องศาเซลเซียส ส่วนพื้นที่อื่นๆ อากาศแห้งแล้ง เดือนมกราคม อุณหภูมิต่ำสุด -20 ถึง -10 องศาเซลเซียส เดือนกรกฎาคม อุณหภูมิสูงสุด 30 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของอุณหภูมิอุณหภูมิโดยเฉลี่ยระหว่างวันอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส และในบริเวณพื้นที่แอ่งกะทะจุนก๋าเอ๋อมีอุณหภูมิสูงสุดไปถึง 40-45 องศาเซลเซียส
2. ข้อมูลด้านการปกครอง
รูปแบบการปกครองของเขตการปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง
หน่วยงานต่างๆของเขตปกครองตนเองซินเจียง
Agriculture Department | Animal Husbandry Department |
Audit Department | Autonomous Regional General Office |
Civil Affairs Department | Communications Department |
Construction Department | Culture Department |
Development and Reform Commission | Economic and Trade Commission |
Education Department | Environmental Protection Bureau |
Ethnic Affairs Commission (Religious Affairs Bureau) | Finance Department |
Food and Drug Administration | Foreign Affairs Bureau (Overseas Chinese Affairs Office) |
Foreign Trade and Economic Cooperation Department | Forestry Bureau |
Grain Bureau | Health Department |
Industry and Commerce Administration | Justice Department |
Labour and Social Security Department | Land and Resources Department |
Legislative Affairs Office | Local Taxation Bureau |
Personnel Department | Population and Family Planning Commission |
Press and Publication Bureau (Copyright Bureau) | Prison Affairs Bureau |
Public Security Department | Quality and Technical Supervision Bureau |
Radio, Film and Television Bureau | Restructuring Economic System Office |
Science and Technology Department | Sport Bureau |
State-owned Assets Supervision and Administration Commission | Statistics Bureau |
Supervision Department | Tourism Bureau |
Water Resources Department |
ผู้บริหารฝ่ายการเมือง
นายเฉิน ฉวนกั๋ว (Chen Quanguo)เลขาธิการพรรคฯ |
นายนู่เอ่อหลัน อาปตูหมั่นจิน (Nurlan Abdumakin)ประธานเขตฯ |
---|---|
นายไน่ยีมู่ ย่าเซิน (Neillem Arsene)ปธ.สภาผู้แทน ปชช. |
นายนู่เอ่อหลัน อาปตูหมั่นจิน (Nurlan Abdumakin)ปธ.สภาที่ปรึกษาการเมือง |
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐเขตปกครองตนเองซินเจียงได้ที่ http://www.xinjiang.cn/
เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ
เมืองสำคัญ
1. เมืองอูหลู่มู่ฉี
เมืองอูหลู่มู่ฉีถูกสถาปนาเป็นเมืองหลวงของซินเจียงตั้งแต่ปี 2427 นับเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญของนโยบายการพัฒนาเขตตะวันตกของประเทศ และเป็นเมืองสำคัญของซินเจียงที่เชื่อมต่อระหว่างมณฑลอื่นๆ ของจีนรวมถึงเชื่อมไปยังต่างประเทศอีกด้วยโดยตัวเมืองมีพื้นที่ตั้งอยู่ระหว่างบริเวณตอนเหนือของภูเขาเทียนซาน และตอนใต้ของพื้นที่แอ่งกะทะจุนก๋าเอ๋อ โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 12,000 ตร.กม. ซึ่งเมืองหลวงแห่ง
เมืองอูหลู่มู่ฉีได้รับขนานนามว่าเป็น “เมืองแห่งถ่านหิน” โดยมีแหล่งถ่านหินใต้ดินที่สำรองไว้กว่า 10 ล้านล้านตัน ซึ่งเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดี นอกจากนั้นเมืองอูหลู่มู่ฉียังมีทรัยพยากรเกลือ แร่ยิปซั่ม น้ำมันปิโตรเลียม ธาตุฟอสฟอรัส เหล็ก ทองแดง ยูเรเนียม แมงกานีส และทองคำ
สิ้นปี 2559 เมืองอูหลู่มู่ฉีมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3.51 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ 43 ชนชาติ ทั้งนี้ชนชาติหลักๆได้แก่ ชนชาติฮั่น อุยกูร์ คาซัค หุย มองโกเลีย
เมืองอูหลู่มู่ฉีเป็นที่ตั้งของเขตอุตสาหกรรมพื้นฐาน โดยเป็นเขตที่มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการทำโลหะผสม อุตสาหกรรมเครื่องจักร อุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ นอกจากนี้ เมืองอูหลู่มู่ฉียังเป็นแหล่งเพาะปลูกผักและผลไม้ของประเทศจีนที่สำคัญอีกด้วย
เมืองอูหลู่มู่ฉีเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน (รองจากนครซีอัน มณฑลส่านซี) ในขณะที่จีนให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ “One Belt, One Road” เมืองอูหลู่มู่ฉีถือเป็นจุดสำคัญบน “One Belt, One Road” ซึ่งเป็นประตูของจีนในการเปิดตัวสู่ทางตะวัน
เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ
1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอูหลู่มู่ฉี (Urumqi Economic and Technological Development Zone)
- เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศ
- ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2537
- มีพื้นที่ทั้งหมด 4.34 ตร.กม.
- มีระยะห่างจากใจกลางเมือง 10 กิโลเมตร
- ระยะห่างจากสนามบินนานาชาติอูหลู่มูฉี 2.6 กิโลเมตร
- ระยะห่างจากสถานีรถไฟสายเหนือ 3 กิโลเมตร
- ระยะห่างจากสถานีรถไฟสายตะวันตก 6 กิโลเมตร
เขตพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่มีอยู่ภายในเขตปกครองตนเองซินเจียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณน้ำมันและถ่านหินที่มีและผลิตได้ในเขตพื้นที่โดยเขตอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นเขตที่เน้นการพัฒนาในอุตสาหกรรมและส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ดังนี้
- เน้นการพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติ และอุตสาหกรรมด้านธุรกิจการแปรรูปเชิงลึกรวมทั้งธุรกิจอื่นที่มีความสามารถในการแข่งขัน
- อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่
ได้แก่ เทคโนโลยีการสื่อสาร วิศวกรรมเคมี พลังงานใหม่ อุตสาหกรรมวัสดุใหม่ การรักษาสภาพแวดล้อม - อุตสาหกรรมการแปรรูปเพื่อการส่งออก โดยมีตลาดส่งออก
ได้แก่ ประเทศเอเชียกลาง เอเชียตะวันตก และทวีปยุโรป - ธุรกิจภาคการบริการ
ได้แก่ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ธุรกิจการวิจัยและการพัฒนา (R&D) ธนาคาร การท่องเที่ยว การบริการให้ข้อมูลข่าวสาร
2. เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงสมัยใหม่ (Urumqi New and Hi-tech Industry Development Zone)
- ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2535 มีพื้นที่ทั้งหมด 18.75 ตร.กม.
- มีระยะห่างจากสนามบินนานาชาติอูหลู่มู่ฉีและสถานีรถไฟ 10 กิโลเมตร
มีนโยบายในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การลงทุน และการบริการที่ดีเพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุนและการทำธุรกิจในเขตนี้ มุ่งเน้นการแข่งขันในอุตสาหกรรม 4 ประเภทได้แก่
- อุตสาหกรรมยาปฏิชีวนะ
- อุตสาหกรรมไอที
- อุตสาหกรรมพลังงานใหม่
- อุตสาหกรรมวัสดุสมัยใหม่
ในขณะเดียวกันก็มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมดั้งเดิม และเพิ่มศักยภาพของบุคคลากร เพื่อให้อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจของท้องถิ่น
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเขตปกครองตนเองซินเจียงเป็นเขตศูนย์กลางบนแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม รวมทั้งสนับสุนนวัตกรรมของวิสาหกิจเขตฯ มีนโยบายให้เงินรางวัลแก่โครงการเทคโนโลยีในเขตฯ สูงที่สุด 5 ล้านหยวน
การคมนาคมและโลจิสติกส์
เส้นทางขนส่งทางบก
พื้นที่ของเขตปกครองตนเองซินเจียงกว่าร้อยละ 99 สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์รวมไปถึงเขตพื้นที่ชนบทเขตเมืองต่างๆ โดยเส้นทางต่างๆ นั้นมีเมืองอูหลู่มูฉีเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ทางทิศตะวันออกมีถนนเชื่อมไปยังมณฑลกานสู มณฑลชิงไห่ ทิศใต้เชื่อมกับทิเบต ทิศตะวันตกมีถนนออกไปยังประเทศในแถบเอเชียกลาง
สิ้นปี 2559 ทางหลวงในเขตปกครองตนเองซินเจียงมีระยะทางทั้งสิ้น 182,100 กิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นทางด่วน 4,395 กิโลเมตร (ทางด่วนหลัก 8 เส้นทาง)
พื้นที่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีนนั้นมีเส้นทางรถไฟค่อนข้างน้อย โดยมีเส้นทางรถไฟสำคัญระหว่างเมืองหลานโจวถึงซินเจียงมีระยะทางประมาณ 2,000 กิโลเมตร เป็นเส้นทางรถไฟระบบรางคู่ ซึ่งเชื่อมต่อเขตพื้นที่ฝั่งตะวันตกและตะวันตกของจีนเข้าด้วยกัน และมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟข้ามพรมแดนซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างท่าเรือทางตะวันออกของประเทศจีนกับทวีปยุโรป
- เส้นทางแรกอยู่ทางทิศใต้ของเขตปกครองตนเองซินเจียง โดยเป็นเส้นทางที่เชื่อมถึงประเทศคีร์กิซสถาน และอุสเบกิสสถาน ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2551 เส้นทางดังกล่าวจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปถึงท่าเรือเหลียนยุ่นในมณฑลเจียงซู
- เส้นทางที่สองเชื่อมระหว่างประเทศคาซัคสถานและเมืองจิ่งเหอ เมืองอีหนิงและเมืองฮอร์กอสประเทศยูโกสลาเวีย เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการค้าระหว่างเอเชียกลางและทวีปยุโรป
ตามแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของจีนฉบับที่ 11 เมื่อถึงปี 2563 เขตปกครองตนเองซินเจียงจะมีเส้นทางรถไฟสายใหม่เพิ่มขึ้น 5 สายหลัก โดยรวมมูลค่าการลงทุนกว่า 26,600 ล้านหยวน ในจำนวนทางรถไฟ เป็นทางรถไฟที่สร้างเชื่อมต่อกับทางรถไฟเดิม 4 สาย และเป็นทางรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ 1 สาย เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายระบบเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อกันทั้งประเทศ เพื่อผลักดันระบบโลจิสติกส์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ตามแผนการพัฒนา
เส้นทางขนส่งทางอากาศ
จนถึงเดือน มิถุนายน 2559 เขตปกครองตนเองซินเจียงมีสนามบินเปิดให้บริการทั้งหมด 18 แห่ง เป็นมณฑลที่มีสนามบินมากที่สุดของจีน ซึ่งมีเส้นทางการบินภายในประเทศ 195 เส้น และเส้นทางการบินระหว่างประเทศ 40 เส้น
สนามบินนานาชาติของเมืองอู่หลูมู่ฉี มีเส้นทางการบินไปยังประเทศในเอเชียกลางและเอเชียตะวันตก ยุโรปและแอฟริกา ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2550 รัฐบาลเขตปกครองตนเองซินเจียง การท่าอากาศยานแห่งประเทศจีน และสายการบินเซาส์ไชน่าแอไลน์ ได้ลงทุนร่วมกันเป็นเงินกว่า 2,800 ล้านหยวน เพื่อทำการขยายท่าอากาศยานประจำเมืองอูหลู่มู่ฉีออกไปอีกสามเท่าตัว เพื่อผลักดันให้ท่าอากาศยานดังกล่าวกลายเป็นท่าอากาศยานที่สำคัญแห่งทวีปเอเชียกลาง โดยในปี 2559 ได้รองรับผู้โดยสาร 20 ล้านคน ติดอันดับที่ 17 ของจีน รวมทั้งรองรับการบรรทุกสินค้า 1.6 แสนตัน ติดอันดับที่ 17 ของจีน
เศรษฐกิจ
ข้อมูลทั่วไปทางเศรษฐกิจ
1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 13 (ค.ศ. 2559 – 2563)
- GDP เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี
- โครงสร้างเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น โดยภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการครองสัดส่วนร้อยละ 14.5 ร้อยละ 37 และร้อยละ 48.5 ตามลำดับ
- รายได้ทางการคลังของรัฐบาลเพิ่มขึ้นมากว่าร้อยละ 6.5 ต่อปี
- การลงทุนทรัพย์สินถาวรเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 12 ต่อปี
- ยอดการขยายปลีกเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ต่อปี
- มูลค่าการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 8 ต่อปี
- อัตราการพัฒนาความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45
- อัตราการว่างงาน (ที่ลงทะเบียน) ไม่เกินร้อยละ 4.5
- อัตราการเติบโตของรายได้ประชากรอยู่ที่ประมาณร้อยละ 8
- การใช้พลังงานต่อหน่วย GDP อยู่ในระดับที่จีนกำหนด
2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2017
- GDP เติบโตกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 7
- การลงทุนในทรัพย์สินถาวรเติบโตมากกว่าร้อยละ 50
- มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตร้อยละ 10
- มูลค่าการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3
- รักษาดัชนีราคาผู้บริโภคให้ไม่เกินร้อยละ 3.5
- รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชนในเขตเมืองและเขตชนบทเติบโตร้อยละ 7.5 และร้อยละ 8 ตามลำดับ
- ควบคุมอัตราการว่างงาน (ที่ลงทะเบียน) ไม่เกินร้อยละ 4.5
ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ
- เขตปกครองตนเองซินเจียงเป็นแหล่งวัตถุดิบพลังงานที่สำคัญของจีน อุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าสธรรมชาติ และแร่ธาตุ
มีถ่านหินสำรองและน้ำมันสำรองมากที่สุดของจีน และเป็นแหล่งพลังงานลมใหญ่ที่สุดของจีน - เป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของจีน และเป็นมณฑลที่มีพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุด มีความได้เปรียบในการพัฒนาการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
- มีทรัพยากรการเท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
- เป็นแหล่งผลิตผลไม้เฉลี่ยต่อหัวมากที่สุดของจีน
- เป็นแหล่งผลิตฝ้ายมากที่สุดของจีน
- เป็นจุดสำคัญในเส้นทางสายไหมสมัยโบราญ และอยู่ในศูนย์กลางของยุทธศาสตร์ “One Belt, One Road”
นโยบายส่งเสริมการลงทุน
รัฐบาลซินเจียงให้ความสำคัญในการส่งเสริมบริษัทต่างประเทศลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม ดังนี้
- การแปรรูปสินค้าเกษตร การผลิตและแปรรูปสินค้าอุตสาหกรรมเบาที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ อาหาร ฝ้าย และไหม
- อุตสาหกรรมปิโตรเคมี การสำรวจ การขุดเจาะ และการแปรรูปโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก
- การก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อาทิ โครงการชลประทาน โครงการพลังงาน และโครงการคมนาคม
- การพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวและการสร้างสถานที่ท่องเที่ยว
- วัตถุดิบใหม่ที่ใช้ในการก่อสร้างและวัตถุดิบใหม่เพื่อประหยัดพลังงาน