HAINAN

มณฑลไห่หนาน

1. ข้อมูลทั่วไป

มณฑลไห่หนานหรือมณฑลไหหลำ (海南省) ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของจีนล้อมรอบด้วยทะเลจีนใต้ เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งต่อมาได้ยกระดับขึ้นเป็นมณฑลและประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในปี 2531 และเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งเกาะ มีพื้นที่ 35,354 ตร.กม. มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 28 ของประเทศ มณฑลไห่หนานเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน รองจากเกาะไต้หวัน โดยทิศเหนือมีช่องแคบโฉงโจว (琼州海峡) กั้นระหว่างมณฑลไห่หนานกับมณฑลกวางตุ้ง ทิศตะวันตกมีอ่าวเหนือกั้นแดนกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันออกหันหน้าเข้าเกาะไต้หวัน ทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้หันหน้าเข้าสู่ประเทศฟิลิปปินส์ บรูไน และมาเลเซีย ในทิศใต้นั้นมีเกาะเจิงหมู่อั้นซา (曾母暗沙) ในหมู่เกาะหนานซา (南沙) ถือเป็นเขตพรมแดนใต้สุดของจีน

ลักษณะของเกาะไห่หนานเป็นวงรีคล้ายผลสาลี่ พื้นที่ที่เป็นแผ่นดินประกอบด้วยเกาะมณฑลไห่หนาน หมู่เกาะซีซา (西沙) จงซา (中沙) และหนานซา มีพื้นที่ทางทะเลประมาณ 2 ล้านตร.กม. โดยมีช่องแคบโฉงโจวที่คั่นระหว่างคาบสมุทรเหลยโจว (雷州) ของมณฑลกวางตุ้งกับมณฑลไห่หนาน กว้างประมาณ 18 ไมล์ทะเล

มณฑลไห่หนานมีแม่น้ำสายใหญ่ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาทาง ตอนกลางไหลผ่าน เช่น แม่น้ำหนานตู้เจียง (南渡江) ชางฮัวเจียง (昌化江) และว่านเชียนเหอ (万泉河) ไหลผ่านพื้นที่ในเกาะกว่า 47%

ข้อมูลประชากร

มณฑลไห่หนานมีประชากรทั้งสิ้น 8.86 ล้านคน เป็นมณฑลที่มีประชากรอยู่ในลำดับที่ 28 ของประเทศ มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่กว่า 37 ชนเผ่า กว่า 1.45 ล้านคน หรือ 21.04% ของประชากรทั้งมณฑล ได้แก่ ชาวหลี (黎族) ม้ง/แม้ว (苗族) และหุย (回族) ซึ่งเป็นชนเผ่าดั้งเดิม รวมทั้งชาวฮั่น มีสัดส่วนมากที่สุด

สภาพภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของมณฑลไห่หนานเป็นแบบลมมรสุมเขตร้อน มีอากาศอบอุ่นตลอดปี ไม่มีฤดูหนาว แต่มักเกิดพายุไต้ฝุ่นบ่อยครั้ง มีฝนตกเพียงพอ ตอนกลางและชายฝั่งตะวันออกอากาศชื้น ทางฝั่ง ตะวันตกเฉียงใต้อากาศค่อนข้างแห้ง โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22.8-25.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของนครไหโข่วปีที่ผ่านมาอยู่ระหว่าง 18.5 – 30.0 องศาเซลเซียส โดยเดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำสุดและเดือนกรกฎาคมมีอุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิเฉลี่ย 25.4 องศาเซลเซียส

ทรัพยากรสำคัญ

มณฑลไห่หนานมีแร่ธาตุที่ขุดพบได้และนำมาใช้ประโยชน์กว่า 57 ชนิด โดยเฉพาะแร่อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กและดีบุก โดยมีแหล่งสำรองแร่ไทเทเนียมถึง 70% ของแหล่งสำรองรวมทั้งประเทศ และยังเป็นฐานผลิตเกลือทะเลที่สำคัญของจีน เช่น เหมืองเกลืออิ๋งเกอไห่ (Yinggehai Salt Field) ซึ่งเป็นฐานผลิตเกลือระดับต้นๆ ของจีน และยังมีแร่ธาตุอื่นๆ อีก ได้แก่ ทราย กระจก เซอร์โคเนียม ไพลิน คริสตัล เป็นต้น

ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม

ไห่หนาน (ไหหลำ) 海南ชื่อย่อ 琼 qióng เมืองเอกไหโข่ว มณฑลไห่หนานคือมณฑลที่มีขนาดเล็กที่สุดของประเทศจีน ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศ ประกอบด้วยเกาะหลายเกาะ โดยที่เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะไหหลำ สมัยโบราณดินแดนนี้ใช้เป็นสถานที่เนรเทศข้าราชการ ปัจจุบันกลายแหล่งปลูกยางพาราและมะพร้าวจนเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่มีชื่อ เสียง ไห่หนานยังเป็นเมืองตากอากาศชั้นแนวหน้าที่มีหาดทรายสวยงามอย่าง อ่าวย่าหลง หาดสุดทะเลจรดปลายฟ้า กวางเหลียวหลัง ยังมีแหล่งสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนอย่างวัดหนานซานที่ศักดิ์สิทธิ์

ทัศนียภาพของเกาะไหหลำรายล้อมท้องทะเลสีครามแห่งทะเลจีนใต้และเต็มไปด้วยความเป็นธรรมชาติของเมืองเขตร้อน ชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่ต่างมุ่งลงมาสู่ผืนแผ่นดินใต้สุดของประเทศ เพื่อแสวงหาความสุขในช่วงวันหยุดพักผ่อนหรือช่วงที่ฤดูหนาวที่มาเยือน ท้องทะเลและหาดทรายขาวสะอาดเปรียบดั่งสวรรค์ของชาวจีนอย่างแท้จริง โดยทางรัฐบาลจีนเองก็ได้เร่งพัฒนาการท่องเที่ยวของไห่หนานให้สมกับที่ได้ ชื่อว่าเป็น “ฮาวายแห่งเอเชียตะวันออก“

2. ข้อมูลด้านการปกครอง

การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง 

ไห่หนานแบ่งการปกครองออกเป็น 2 เมืองใหญ่ 6 เมืองระดับอำเภอ 4 อำเภอ 6 อำเภอปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อย และ 1 สำนักงานบริหาร โดยมีนครไหโข่ว เป็นเมืองเอกของมณฑลและมีเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ นครไหโข่ว และเมืองซานย่า

– นครไหโข่ว ตั้งอยู่ทางตอนเหนือบริเวณปากแม่น้ำหนานตู๋เจียง มีประชากร 2.04 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่อยู่ติดกับแผ่นดินใหญ่มากที่สุด เป็นเมืองเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของมณฑลไห่นาน อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของนครไหโข่ว ได้แก่ การผลิตเวชภัณฑ์ เทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับการเกษตรเขตร้อน การผลิตยานยนต์ พลังงานใหม่ การวิจัยนวัตกรรมสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

– เมืองซานย่า ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของเกาะ เป็นเมืองตากอากาศที่มีชื่อเสียงของมณฑลไห่หนาน เป็นเมืองจุดหมายปลายทางแห่งการท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญและแหล่งพักผ่อนหนีหนาวที่ได้รับความนิยมอย่างมากของชาวจีนและชาวต่างชาติ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการครองสัดส่วนมากถึง 65% ของ GDP ของเมือง

ผู้บริหารมณฑล

นายหลัว เป่าหมิง (罗保铭)

เลขาธิการพรรคฯ

นายเจี่ยง ติ้งจือ (蒋定之)

ผู้ว่าการมณฑลไห่หนาน

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลไห่หนานได้ที่ http://www.hainan.gov.cn/code/V3/leader.php

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เมืองสำคัญ

เมืองไหโข่ว (海口)

มีพื้นที่ 2,304.8 ตร.กม. เป็นเมืองเอกและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้าและการเมืองของมณฑลไห่หนาน ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะไห่หนาน ทางเหนือใกล้กับช่องแคบโฉงโจว (琼州) อยู่ห่างจากตำบลไห่อัน (海安) เมืองจ้านเจียง ในมณฑลกวางตุ้ง 18 ไมล์ทะเลซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับมณฑลกวางตุ้งมากที่สุด

เมืองไหโข่วเป็นฐานผลิตรถยนต์ยี่ห้อ Haima (ไหหม่า) ฐานการผลิตของกลุ่มเยซู่ (Yeshu) ที่ผลิตเครื่องดื่มนานาชนิด อาทิ น้ำมะพร้าว น้ำแร่ ยี่ห้อฮั่วซานเหยียน (火山岩) น้ำผลไม้ ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็นเครื่องดื่มที่ใช้เลี้ยงรับรองระดับชาติ รวมถึงเป็นฐานอุตสาหกรรมการบินของสายการบินไห่หนาน (Hainan Airline)

เมืองโป๋อ๋าว

ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑล บริเวณปากแม่น้ำว่านเฉวียน ห่างจากไหโข่วประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นสถานที่จัดการประชุมประจำปีของ Boao Forum เป็นรูปแบบการประชุมแบบการประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ทำให้ปัจจุบันรัฐบาลกำหนดแผนระยะยาวเพื่อก่อสร้างและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภคและที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก โดยมีการก่อสร้างโรงแรม 25 แห่ง สนามกอล์ฟ 6 แห่ง

เมืองซ่านย่า (三亚)

มีพื้นที่ 1,919.6 ตร.กม. มีพื้นที่ทางทะเลมากถึง 5,000 ตร.ก.ม. เป็นเมืองจุดหมายปลายทางแห่งการท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญและแหล่งพักผ่อนหนีหนาวที่ได้รับความนิยมอย่างมากของชาวจีนและชาวต่างชาติ โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีที่ 25.4 องศาเซลเซียส

ซ่านย่าเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่ไม่ถึง 6 แสนคน แต่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวมากกว่า 10 ล้านคนต่อปี มีท่าเรือเชื่อมโยงเส้นทางเรือไปยังท่าเรือใหญ่ของจีนและให้บริการเรือโดยสารและบรรทุกสินค้าไปยังฮ่องกง และยังมีสนามบินนานาชาติเฟิ่งหวงของเมืองซานย่าที่รองรับเที่ยวบิน ทั้งในและต่างประเทศ

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงเมืองไหโข่ว
海口国家高新技术产业开发区

อนุมัติก่อตั้งเมื่อปี 2534 มีพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ปัจจุบันเขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงเมืองไหโข่วเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมชีวภาพ การผลิตยานยนต์ พลังงานใหม่ วัสดุชนิดใหม่ และนวัตกรรมวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นความสะดวกในการขนส่ง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งอำนวยสะดวก

  • Yangpu Economic Development Zone
  • Yangpu Bonded Port Area
  • Hainan Integrated Free Trade Zone
  • Sanya Yalong Bay National Resort
  • Hainan International Science and Industry Park
  • Hainan Laocheng Economic Development Zone
  • Haikou Wenchang Economic Development Zone
  • Hainan Longwan Port Economic Development Zone

Major Development Zones

By the end of 2012, Haikou had 3 state level development zones.

Name Area
(km²)
Pillar Industries GDP in 2010
(RMB billion)
Haikou Free Trade Zone 1.93 Bio-pharmaceuticals, automobiles, information technology N.A.
Hainan International
Science and Technology
Industrial Park
2.77 Bio-pharmaceuticals, microelectronics, optical-mechanical-electronic integration N.A.
Haikou National
New Hi-Tech
Industrial
Development Zone
4.67 Electronic information, biopharmaceutical, Ocean engineering, environmental protection N.A.

ที่มา : http://stats.haikou.gov.cn/tzhk/kfyq/201103/t20110306_179928.html

ปัจจุบันรัฐบาลมณฑลพยายามผลักดันมณฑลไห่หนานให้เป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนัก ท่องเที่ยวต่างชาติ โดยได้มีการจัดตั้งเขตพัฒนาด้านการท่องเที่ยว 4 เขต ได้แก่ เขตพัฒนาการท่องเที่ยวทางชายหาดเมืองซานย่า (Sanya Beach Holiday Development Zone) เขตพัฒนาแหล่งบันเทิงและจับจ่ายสินค้านครไหโข่ว (Haikou Entertainment & Shopping Development Zone) เขตพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชาวหลีและม้งเมืองถงซา (Tongsa Li & Miao Ethnic Traditions & Holiday Development Zone) และเขตพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนเมืองซิงหลง (Xinglong Hot-spring Resort Development Zone)

 

การคมนาคมและโลจิสติกส์

เส้นทางขนส่งทางบก

เส้นทางถนน

ระบบเส้นทางถนนโดยเฉพาะถนนเลียบชายฝั่งในมณฑลไห่หนานส่วนใหญ่ สร้างขึ้นโดยกองทัพญี่ปุ่น ที่เข้ามายึดเกาะเพื่อใช้เป็นฐานทัพทางการทหารในช่วงปี 2480-2488 และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการสร้างทางด่วนมณฑลไห่หนานเลียบชาย ฝั่งด้านตะวันออกจากไหโข่วถึงซานย่าระยะทาง 269 กม. ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางระหว่างทั้งสองเมืองเหลือเพียง 4 ชม. นอกจากนี้ยังมีเส้นทางใหม่เชื่อมนครไหโข่วไปยังเขตพัฒนาเศรษฐกิจหยางผู่ (Yangpu Economic Development Zone, 洋浦经济开发区) ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะด้วย

สะพาน Qiongzhou

สะพาน Qiongzhou เป็นสะพานที่กำลังจะก่อสร้างในปี 2558 เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างเกาะไห่หนานกับแผ่นดินใหญ่ ความยาว 26.3 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 140 ล้านหยวน โดยมีจุดมุ่งหมายจะให้เมืองไหโข่วเป็นศูนย์กลางการคมนาคมจากทั้งเกาะสู่แผ่นดินใหญ่

ระบบราง

รถไฟ

รัฐบาลมณฑลไห่หนานได้ทุ่มงบประมาณจำนวน 10,000 ล้านหยวน ในการดำเนินโครงการพัฒนาที่สำคัญต่างๆ โดยจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ เช่น การก่อสร้างเส้นทางรถไฟมณฑลไห่หนาน-กวางตุ้ง สายแรก ซึ่งได้เปิดให้บริการไปแล้วเมื่อปี 2546 โดยใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 4,500 ล้านหยวน ในช่วง 18 เดือนแรกของการเปิดให้บริการขาดทุนประมาณ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในปี 2547 ได้มีการทำข้อตกลงขนส่งแร่เหล็กและปูนซีเมนต์จากมณฑลไห่หนานไปยังจีนแผ่นดิน ใหญ่โดยใช้เส้นทางรถไฟสายนี้ ซึ่งสามารถช่วยพลิกสถานการณ์การให้บริการสายรถไฟนี้กลับมามีกำไรได้ เส้นทางรถไฟนี้วิ่งจากท่าเรือจ้านเจียงในมณฑลกวางตุ้งข้ามช่องแคบโฉงโจวเข้า มายังมณฑลไห่หนาน ระยะทางรวม 139 กม. จากนั้นมีทางรถไฟต่อโดยเลียบชายฝั่งด้านตะวันตกจากนครไหโข่ว เมืองเอกของมณฑลไห่หนานไปจนถึงเมืองซานย่า เมืองชายทะเลและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ด้วยระยะทางราว 182 กม.

เส้นทางรถไฟความเร็วสูง

รถไฟความเร็วสูงไหโข่ว –ซานย่า เป็นเส้นทางที่รถไฟผ่านทั้งหมด 6 เมือง/อำเภอทางภาคตะวันออกชายฝั่งทะเลของมณฑลไห่หนาน เริ่มจากนครไหโข่ว (海口) ผ่านเมืองเหวินชาง (文昌) โฉงไห่ (琼海) ว่านหนิง (万宁) อำเภอหลิงสุ่ย (陵水) และสิ้นสุดที่เมืองซานย่า (三亚) ระยะทางรวม 302.11 กิโลเมตร ระยะเวลาการเดินทางจากไหโข่วถึงซานย่า 1.22 ชม.

ระบบทางน้ำ

มณฑลไห่หนานกำลังมีการขยายท่าเรือให้สามารถรองรับธุรกิจได้มากขึ้น ปัจจุบันมีท่าเทียบเรือทั้งสิ้น 152 แห่ง โดยท่าเรือที่สำคัญๆ ได้แก่ ท่าเรือไหโข่ว (海口港) ท่าเรือซานย่า (三亚港) ท่าเรือหยางผู่ (洋浦港) และท่าเรือปาสั่ว (八所港) ในบริเวณท่าเรือที่สำคัญๆ นี้มีท่าเทียบเรือที่สามารถรองรับเรือขนาด 10,000 ตัน ได้ 24 แห่ง

ระบบทางอากาศ

ท่าอากาศยานที่สำคัญของมณฑลไห่หนานตั้งอยู่ในนครไหโข่วและ เมืองซานย่า ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติเหม่ยหลานในนครไหโข่ว (Haikou Meilan International Airport: HAK, 海口美兰国际机场) เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 อยู่ห่างจากนครไหโข่วประมาณ 25 กม. ถือเป็น 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีผู้สัญจรเข้ามาใช้บริการมากที่สุดของจีน ท่าอากาศยานแห่งนี้ยังได้จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ประเภท H ของฮ่องกงในปลายปี 2545 ในปี 2555 มณฑลไห่หนานรองรับผู้โดยสารจำนวน 18 ล้านคน และสินค้าจำนวน 629 ล้านตัน รองรับเส้นทางบิน 728 เส้นทาง โดยเป็นเส้นทางบินในประเทศ 659 เส้นทาง และระหว่างประเทศ 69 เส้นทาง

ท่าอากาศยานที่สำคัญอีกแห่งของมณฑลไห่หนาน ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติเฟิ่งหวงที่เมืองซานย่า (Sanya Phoenix International Airport: SYX, 三亚凤凰国际机场) อยู่ห่างจากตัวเมืองงซานย่าประมาณ 11 กม. เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2537 รองรับเส้นทางบิน 123 เส้นทาง โดยเป็นเส้นทางบินในประเทศ 93 เส้นทาง ระหว่างประเทศ 6 เส้นทาง และอีก 24 เส้นทางบินในการเช่าเหมาลำเพื่อการท่องเที่ยว

ด้านธุรกิจสายการบิน กลุ่มบริษัท Hainan Airlines Group ของมณฑลไห่หนานเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ โดยเป็นสายการบินเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของจีน ซึ่งสายการบินของรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ สายการบินไชน่า เซาเทิร์นแอร์ไลน์ สายการบินแอร์ ไชน่า และสายการบินไชน่า อีสเทิร์นแอร์ไลน์ โดยสำนักงานใหญ่ของสายการบินไห่หนานแอร์ไลน์ตั้งอยู่ที่นครไหโข่ว

สายการบินที่สำคัญ

ไห่หนานแอร์ไลน์ : กรุงเทพฯ – หนานหนิง – ไห่โข่ว
ไชน่าเซาเทิร์น : กรุงเทพฯ – กว่างโจว – ไหโข่ว
แอร์ไชน่า : กรุงเทพฯ – ปักกิ่ง – ไหโข่ว
ฮ่องกงแอร์ไลน์ : กรุงเทพฯ -ฮ่องกง -ไหโข่ว
คาเธ่ย์แปซิฟิค : กรุงเทพฯ -ฮ่องกง –ไหโข่ว

เศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑล

1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)

  • พัฒนาให้เกาะไห่หนานเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก และเป็นฐานกลางการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ แหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติ และเกษตรที่ทันสมัย
  • GDP เฉลี่ยเติบโตต่อปีร้อยละ 13
  • อัตรารายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชนเติบโตร้อยละ 20
  • รักษามูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติร้อยละ 23
  • พัฒนาโครงสร้างทั้ง 3 อุตสาหกรรม คือ การท่องเที่ยว การเกษตรที่ทันสมัย และอุตสาหกรรมขั้นสูง โดยมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลัก ภายในปี 2015 นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศจะมาท่องเที่ยวไห่หนาน 47 ล้านคน
  • พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ได้แก่ การสร้างศูนย์การศึกษาระดับอำเภอเพื่อกระจายความเจริญสู่ระดับชนบท สร้างตลาดแรงงานระดับอำเภอและระดับเมือง เพิ่มการจ้างงาน 4,000,000 คน
  • สร้างทางคมนาคมทางบก และทางอากาศเพื่อพัฒนาโลจิสติกส์ที่ทันสมัย ได้แก่ การสร้างสะพานฉงโจวให้เป็นสะพานเชื่อมระหว่างมณฑลไห่หนานกับแผ่นดินใหญ่ ขยายสนามบินเหม่ยหลานให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 20-25 ล้านคน
  • อัตราการจ้างงานในสาขาบริการเติบโตร้อยละ 45

2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2013

  • กระตุ้นให้ GDP มีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 10
  • กระตุ้นให้รายได้ประชากรเขตเมืองและเขตชนบทมีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 10  และร้อยละ 11
  • ขยายการลงทุน  321 โครงการ ด้วยมูลค่า 142,300 ล้านหยวน ได้แก่ โครงการปิโตรเคมีในเขตหยางผู่ เพิ่มปริมาณการผลิตแผ่นดีบุกปริมาณ 200,000 ตัน ตั้งศูนย์กลางการประมง และสร้างโรงไฟฟ้านิวเครียร์ในเขตซางเจียง
  • เพิ่มการก่อสร้างสวนอุตสาหกรรม ด้วยมูลค่าการลงทุน 1,000 ล้านหยวน
  • เร่งการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่  สร้างสวนยาพาราสาธิต  สนับสนุนการวิจัยเมล็ดพันธ์พืช กระตุ้นการผลิตอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร 1,500 ล้านหยวน
  • เพื่อกระตุ้นตลาดผู้บริโภคในระยะยาว เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • มณฑลไห่หนานเป็นมณฑลที่มีความเข้มแข็งในด้านการผลิตภาคการเกษตรมีสัดส่วนการผลิตภาคการเกษตรต่อ GDP มากที่สุดในประเทศ
  • ได้รับการขนานนามเป็น “ฮาวายของจีน”
  • อุตสาหกรรมที่ใช้ไห่หนานเป็นฐานการผลิตและแปรรูปเพื่อส่งออกโดยใช้ประโยชน์จากการที่ไห่หนานเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและมีเขตท่าเรือรองรับการขนถ่ายสินค้านานาชาติ

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

รัฐบาลมณฑลไห่หนานได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์สำหรับส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมบริการที่ทันสมัย และพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ ได้แก่

  • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พัฒนาให้เกาะไห่หนานเป็นเกาะท่องเที่ยวนานาชาติ พัฒนาระบบการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์
  • อุตสาหกรรมการเกษตรสมัยใหม่ การแปรรูปอ้อยให้เป็นน้ำตาล
  • อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ เน้นการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์
  • อุตสาหกรรมโลหะผสม ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ ยานยนต์ การแปรรูปอาหาร ใบยาสูบ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกลและอิเล็กทรอนิกส์ เน้นการแปรรูปโครเมียม และไททาเนียม
  • อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุ เน้นการผลิตอุปกรณ์กอล์ฟ   อุปกรณ์สำหรับทะเลน้ำลึก

ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน