คมนาคมระบบรางพัฒนาไม่หยุด นครกว่างโจวเตรียมเพิ่มรถรางไฟฟ้า 3 เส้นทาง

20 Dec 2016

ในอีก 3 ปีข้างหน้า นครกว่างโจวจะมีรถรางไฟฟ้าให้บริการถึง 3 เส้นทาง โดยปัจจุบัน นครกว่างโจวมีรถรางไฟฟ้าให้บริการอยู่ 1 เส้นทาง คือเส้นทางเลียบเกาะไห่จู บริหารงานโดย บริษัทรถรางไฟฟ้ากว่างโจวจำกัด ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ บริษัทรถไฟฟ้าใต้ดินกว่างโจว เปิดใช้บริการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2557 รวมระยะทาง 7.7 กิโลเมตร 11 สถานี เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 9.00น. 21.00น. ตัวรถถูกออกแบบให้มีแบตเตอรี่สำหรับชาร์ตไฟบนหลังคา โดยชาร์ตไฟเมื่อตัวรถจอดที่สถานี ใช้เวลา 30 วินาที เส้นทางรถรางเชื่อมต่อกับสถานี Canton Tower ของสาย 3 และ APM  สถานี Wanshengwei ของสาย 4 และ 8  การดำเนินงานของรถรางไฟฟ้านครกว่างโจว[1] ได้ดำเนินโดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์และวัฒนธรรม มุ่งสู่วัตถุประสงค์ของการเป็นระบบคมนาคมขนส่ง สนับสนุนการท่องเที่ยว ส่งเสริมวัฒนธรรมและการพัฒนาด้านการค้า  

โดยในอนาคต 3 ปีข้างหน้า บริษัทรถรางไฟฟ้ากว่างโจวมีแผนที่จะขยายเส้นทางรถรางอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่

เส้นทางผาโจว

ระยะทาง 3.1 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่ตัดผ่านเส้นทางรถรางเดิมระหว่างสถานนี Party Pier และสถานี Nanfeng มุ่งหน้าไปยังเขต Pazhou Internet innovation cluster areas มีทั้งหมด 5 สถานี ระยะห่างสถานีละประมาณ 500 เมตร ได้แก่สถานี Pazhou East Evenue (琶洲东大街站) สถานี Pazhou South Evenue (琶洲南大街站) สถานี Yuhua Highschool (育华中学站) สถานี  Provincial Chinese Medicine Hospital (省中医院站) สถานี Guangzhou News Paper(广州日报站) และ สถานี Haizhou Road (海洲路站) โดยจะบรรจบกับสถานทีรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานี Pazhou South Evenue เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสาย 8 18 และ19

เส้นทางทดสอบส่วนขยาย

ระยะทาง 2.9 กิโลเมตร มุ่งหน้าไปยังสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สำคัญของนครกว่างโจว คือ Huangpu Ancient Pier แบ่งเป็น 3 สถานี ระยะห่างระหว่างสถานีประมาณ 800 เมตร  ได้แก่สถานี Xinzhou (新洲站) สถานี Fengpu Garden (凤浦公园站)และสถานี Xinzhou Interchange(新洲立交站) โดย Huangpu Ancient Pier ตั้งอยู่ใกล้กับสถานี Fengpu Garden เชื่อต่อกับสถานีรถไฟฟ้าสาย 8

เส้นทางเมืองใหม่กว่างกั่ง

ระยะทาง 6.6 กิโลเมตร เริ่มต้นที่สถานี Hedong East (鹤洞东站)และสิ้นสุดที่สถานี Huadiwan (花地湾站) จำนวน 12 สถานี โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สถานี ได้แก่ สถานี Hedong East (鹤洞东站) รถไฟฟ้าใต้ดินสาย 11 สถานี Xilang (西朗站) รถไฟฟ้าใต้ดินสาย 1 10 22 และเส้นทางกว่างโจว-ฝอซาน[2] และที่สถานี Huadiwan (花地湾站) รถไฟฟ้าใต้ดินสาย 1

นครกว่างโจวมุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์กลางคมนาคมของจีนตอนใต้ที่สำคัญ โดยรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นการการลงทุนด้านคมนาคมทางรางในเมืองที่สูงที่สุด โดยลงทุนไปสูงถึง 195,580 ล้านหยวน โดยในช่วงปีงบประมาณระหว่าง 2559-2563 จะลงทุนไปไม่น้อยกว่า 89,870 โดยโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 5 ปี ทั้งนี้รถรางไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการคมนาคมทางรางในเมืองที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่การคมนาคมขนส่งเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว วัฒนธรรมและการค้าของเมืองให้กระจายอย่างเต็มพื้นที่อีกด้วย  


[1] มณฑลกวางตุ้งเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินในนครกว่างโจว เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2540 ปัจจุบัน ให้บริการทั้งสิ้น 9 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางสาย1 2 3 4 5 6 8 กว่าง-ฝอ (เชื่อมกว่างโจว-ฝอซาน) และเส้น APM (Automated People Mover systems) รวมความยาวทั้งสิ้น 266 กม.

[2] เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2550 โครงการรถไฟใต้ดินเชื่อมระหว่างนครกว่างโจว-เมืองฝอซานซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินเชื่อมระหว่างเมืองสายแรกของจีนได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอย่างเป็นทางการ โดยเป็นโครงการเส้นทางรถไฟใต้ดินยาว 32.16 กม. สามารถลดเวลาในการเดินทางจากนครกว่างโจวไปเมืองฝอซานเหลือเพียง 40 นาที และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553

รถไฟฟ้าใต้ดินกว่างโจวรถรางไฟฟ้าใต้ดินนครกว่างโจวรถไฟฟ้าใต้ดินกวางเจา

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

คมนาคมระบบรางพัฒนาไม่หยุด นครกว่างโจวเตรียมเพิ่มรถรางไฟฟ้า 3 เส้นทาง

20 Dec 2016

ในอีก 3 ปีข้างหน้า นครกว่างโจวจะมีรถรางไฟฟ้าให้บริการถึง 3 เส้นทาง โดยปัจจุบัน นครกว่างโจวมีรถรางไฟฟ้าให้บริการอยู่ 1 เส้นทาง คือเส้นทางเลียบเกาะไห่จู บริหารงานโดย บริษัทรถรางไฟฟ้ากว่างโจวจำกัด ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ บริษัทรถไฟฟ้าใต้ดินกว่างโจว เปิดใช้บริการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2557 รวมระยะทาง 7.7 กิโลเมตร 11 สถานี เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 9.00น. 21.00น. ตัวรถถูกออกแบบให้มีแบตเตอรี่สำหรับชาร์ตไฟบนหลังคา โดยชาร์ตไฟเมื่อตัวรถจอดที่สถานี ใช้เวลา 30 วินาที เส้นทางรถรางเชื่อมต่อกับสถานี Canton Tower ของสาย 3 และ APM  สถานี Wanshengwei ของสาย 4 และ 8  การดำเนินงานของรถรางไฟฟ้านครกว่างโจว[1] ได้ดำเนินโดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์และวัฒนธรรม มุ่งสู่วัตถุประสงค์ของการเป็นระบบคมนาคมขนส่ง สนับสนุนการท่องเที่ยว ส่งเสริมวัฒนธรรมและการพัฒนาด้านการค้า  

โดยในอนาคต 3 ปีข้างหน้า บริษัทรถรางไฟฟ้ากว่างโจวมีแผนที่จะขยายเส้นทางรถรางอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่

เส้นทางผาโจว

ระยะทาง 3.1 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่ตัดผ่านเส้นทางรถรางเดิมระหว่างสถานนี Party Pier และสถานี Nanfeng มุ่งหน้าไปยังเขต Pazhou Internet innovation cluster areas มีทั้งหมด 5 สถานี ระยะห่างสถานีละประมาณ 500 เมตร ได้แก่สถานี Pazhou East Evenue (琶洲东大街站) สถานี Pazhou South Evenue (琶洲南大街站) สถานี Yuhua Highschool (育华中学站) สถานี  Provincial Chinese Medicine Hospital (省中医院站) สถานี Guangzhou News Paper(广州日报站) และ สถานี Haizhou Road (海洲路站) โดยจะบรรจบกับสถานทีรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานี Pazhou South Evenue เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสาย 8 18 และ19

เส้นทางทดสอบส่วนขยาย

ระยะทาง 2.9 กิโลเมตร มุ่งหน้าไปยังสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สำคัญของนครกว่างโจว คือ Huangpu Ancient Pier แบ่งเป็น 3 สถานี ระยะห่างระหว่างสถานีประมาณ 800 เมตร  ได้แก่สถานี Xinzhou (新洲站) สถานี Fengpu Garden (凤浦公园站)และสถานี Xinzhou Interchange(新洲立交站) โดย Huangpu Ancient Pier ตั้งอยู่ใกล้กับสถานี Fengpu Garden เชื่อต่อกับสถานีรถไฟฟ้าสาย 8

เส้นทางเมืองใหม่กว่างกั่ง

ระยะทาง 6.6 กิโลเมตร เริ่มต้นที่สถานี Hedong East (鹤洞东站)และสิ้นสุดที่สถานี Huadiwan (花地湾站) จำนวน 12 สถานี โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สถานี ได้แก่ สถานี Hedong East (鹤洞东站) รถไฟฟ้าใต้ดินสาย 11 สถานี Xilang (西朗站) รถไฟฟ้าใต้ดินสาย 1 10 22 และเส้นทางกว่างโจว-ฝอซาน[2] และที่สถานี Huadiwan (花地湾站) รถไฟฟ้าใต้ดินสาย 1

นครกว่างโจวมุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์กลางคมนาคมของจีนตอนใต้ที่สำคัญ โดยรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นการการลงทุนด้านคมนาคมทางรางในเมืองที่สูงที่สุด โดยลงทุนไปสูงถึง 195,580 ล้านหยวน โดยในช่วงปีงบประมาณระหว่าง 2559-2563 จะลงทุนไปไม่น้อยกว่า 89,870 โดยโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 5 ปี ทั้งนี้รถรางไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการคมนาคมทางรางในเมืองที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่การคมนาคมขนส่งเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว วัฒนธรรมและการค้าของเมืองให้กระจายอย่างเต็มพื้นที่อีกด้วย  


[1] มณฑลกวางตุ้งเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินในนครกว่างโจว เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2540 ปัจจุบัน ให้บริการทั้งสิ้น 9 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางสาย1 2 3 4 5 6 8 กว่าง-ฝอ (เชื่อมกว่างโจว-ฝอซาน) และเส้น APM (Automated People Mover systems) รวมความยาวทั้งสิ้น 266 กม.

[2] เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2550 โครงการรถไฟใต้ดินเชื่อมระหว่างนครกว่างโจว-เมืองฝอซานซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินเชื่อมระหว่างเมืองสายแรกของจีนได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอย่างเป็นทางการ โดยเป็นโครงการเส้นทางรถไฟใต้ดินยาว 32.16 กม. สามารถลดเวลาในการเดินทางจากนครกว่างโจวไปเมืองฝอซานเหลือเพียง 40 นาที และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553

รถรางไฟฟ้าใต้ดินนครกว่างโจวรถไฟฟ้าใต้ดินกวางเจารถไฟฟ้าใต้ดินกว่างโจว

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน