กว่างซีเดินเครื่องเต็มสูบ พัฒนาเส้นทางโลจิสติกส์จีน-สิงคโปร์

16 Mar 2018

      รัฐบาลกว่างซีเดินหน้าผลักดันโครงการพัฒนาเส้นทางขนส่งโลจิสติกส์ “เส้นทางมุ่งลงใต้” (Southern Transport Corridor/南向通道) เพื่อเชื่อมเศรษฐกิจการค้าภายในภูมิภาค

“เส้นทางมุ่งลงใต้” เป็นส่วนหนึ่งในกรอบโครงการสาธิตความเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์จีน(ฉงชิ่ง)-สิงคโปร์ (China-Singapore (Chongqing) Demonstration Initiative on Strategic Connectivity/中新(重庆)战略性互联互通示范项目) หรือ CCI ซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนและเป็นนโยบายระลอกใหม่ที่จะช่วยพัฒนาและเปิดพื้นที่ภาคตะวันตกของจีนสู่ภายนอก

เส้นทางมุ่งลงใต้ เป็นเส้นทางการค้าใหม่ที่เชื่อมยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (BRI) เข้าไว้ด้วยกัน (ทางบกกับทางทะเล) ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือของรัฐบาลมณฑลทางภาคตะวันตกของจีนกับสิงคโปร์ โดยมีนครฉงชิ่งเป็นศูนย์กลาง และมีเขตฯ กว่างซีจ้วง มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลกานซู่ เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญตามเส้นทาง

นัยสำคัญของโครงการ เส้นทางมุ่งลงใต้" นอกจากจะเป็นตัวเชื่อมยุทธศาสตร์ BRI แล้ว โครงการดังกล่าวยังเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาคและเป็นตัวประสานความร่วมมือและช่วยผลักดันการพัฒนาเชิงลึกของพื้นที่ภาคตะวันตกของจีน

นางถาน ซิ่วหง (TanXiuhong/谭秀洪) รองอธิบดีกรมพาณิชย์เขตฯ กว่างซีจ้วงกล่าวว่า รัฐบาลกว่างซีให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนา “เส้นทางมุ่งลงใต้” เชื่อมโยงจีน-สิงคโปร์

  •   มกราคม 2560 เป็นต้นมา กว่างซีนครฉงชิ่งมณฑลกุ้ยโจวและมณฑลกานซู่ได้ร่วมกันผลักดันโครงการความร่วมมือกับประเทศสิงคโปร์หลายโครงการ
  •   สิงหาคม 2560 รัฐบาลกว่างซี ฉงชิ่ง กุ้ยโจว กานซู่ ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันความร่วมมือและการบริการด้านการขนส่งข้ามประเทศ โดยเชื่อมระบบงานขนส่งทางเรือกับรถไฟเข้าด้วยกัน (ที่ท่าเรือชินโจวของกว่างซี)
  •   กันยายน 2560 การขนส่งทางรถไฟระหว่างท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้กับนครฉงชิ่งเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการทั้งขาขึ้นและขาล่องระยะทาง 1,400 กิโลเมตร ใช้เวลาเฉลี่ย 48 ชั่วโมง (ใช้เวลาเร็วสุด 36 ชั่วโมง) จากข้อมูลณ วันที่ 25 มกราคม 2561 เที่ยวขบวนรถไฟดังกล่าววิ่งให้บริการทั้งขาขึ้นและขาล่องรวม 70 เที่ยว
  •   พฤศจิกายน 2560 เรือขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้กับฮ่องกงเริ่มให้บริการทุกวัน และได้เปิดเส้นทางเดินเรือไปออสเตรเลีย แอฟริกา และยุโรป โดยใช้ท่าเรือสิงคโปร์เป็นจุดเปลี่ยนถ่าย
  •   28 พฤศจิกายน 2560 เปิดให้บริการรถไฟขนส่งตู้คอนเทนเนอร์นครหนนาหนิง-กรุงฮานอย

สำหรับแผนงานในระยะต่อไป กว่างซีจะเร่งพัฒนาโครงการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่เกี่ยวกับ “เส้นทางมุ่งลงใต้” เชื่อมโยงจีนสิงคโปร์ และเชื่อมโยงกับแผนงานอื่นที่สำคัญของประเทศ อาทิ

  •  ขอรับการสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน หรือ NDRC (国家发改委)ในการปรับปรุงศักยภาพของเส้นทางรถไฟ เช่น เส้นทางรถไฟกุ้ยโจว-กว่างซี สายที่ 2 / เส้นทางรถไฟหนานหนิง-คุนหมิงและเส้นทางรถไฟสายนครหนานหนิงกรุงฮานอย
  •   เชื่อมโยงโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้เข้ากับ (1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2559-2563) (2) บัญชีโครงการที่สำคัญในยุทธศาสตร์ BRI และ (3) แผนการก่อสร้าง (ระยะกลาง-ยาว) โครงข่ายเส้นทางรถไฟ เช่น ท่าเรือและเส้นทางเดินเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 2 แสนตัน และจุดให้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางรถไฟในอ่าวเป่ยปู้ เพื่อสร้างเส้นทางโลจิสติสก์การค้าระหว่างประเทศที่เชื่อมทางบกกับทางทะเลเข้าไว้ด้วยกันแบบไร้รอยต่อ และพัฒนาเส้นทางขนส่งทางบกระหว่างประเทศเชื่อมต่อกับคาบสมุทรอินโดจีน
  •   ให้บริการเส้นทางขนส่งโลจิสติกส์ทุกวัน อาทิ เส้นทางรถไฟท่าเรืออ่าวเป่ยปู้นครฉงชิ่งและเส้นทางเดินเรือท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้กับสิงคโปร์และฮ่องกง
  •   สร้างแพลทฟอร์มข้อมูลสารสนเทศแบบครบวงจรของระบบงานขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation)ที่มีการขนส่งร่วม“เรือ+รถไฟ” เป็นหลัก และมีตัวเสริมเป็นการขนส่งร่วมทางบก+ทะเล การขนส่งระหว่างประเทศทางถนน และทางรถไฟ
  •   ขยายปริมาณรองรับการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้ พัฒนาให้ท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้เป็นท่าเทียบเรือหลักของการขนส่งคอนเทนเนอร์และเป็นศูนย์กลางเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค 
  •   ผลักดันให้กระทรวงพาณิชย์จีนกับกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ (MTI) ร่วมลงนามข้อตกลงกรอบความร่วมมือเส้นทางมุ่งลงใต้ภายใต้โครงการความเชื่อมโยงจีน-สิงคโปร์ในห้วงเวลาที่เหมาะสมและผลักดันให้โครงการเส้นทางมุ่งลงใต้เข้าไปอยู่ในกรอบความร่วมมือโครงการ CCI และเป็นโครงการที่ต้องได้รับการผลักดันอย่างเร่งด่วน

รองอธิบดีกรมพาณิชย์กว่างซีได้แจ้งเพิ่มเติมว่าขณะนี้รัฐบาลกลางกำลังพิจารณากำหนดนโยบายระลอกใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาและเปิดสู่ภายนอกของพื้นที่ภาคตะวันตก โดยกว่างซีจะผลักดันให้การพัฒนาโครงการ“เส้นทางมุ่งลงใต้”เป็นโครงการหลักในนโยบายพัฒนาภาคตะวันตกเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายจากรัฐบาลกลางมากยิ่งขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น ในการประชุมสองสภาประจำปี (สภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีน และสภาประชาชนแห่งชาติจีน) ที่กำลังดำเนินอยู่ขณะนี้ที่กรุงปักกิ่ง ประเด็นโครงการเส้นทางมุ่งลงใต้นี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้แทนของทั้งสองสภาที่เข้าร่วมการประชุม และมีการเสนอเป็นญัตติผลักดันให้รัฐบาลกลางของจีนยกระดับให้เป็นโครงการสำคัญระดับชาติด้วย ซึ่งหากสำเร็จก็หมายถึงนโยบายและงบประมาณจำนวนมากที่จะทุ่มเทเข้ามาเพื่อพัฒนาโครงการดังกล่าว

 

ลิงก์ข่าว

โอกาสของผู้ส่งออกไทยเมื่อกว่างซี-เวียดนามเพิ่มรอบรถไฟขนสินค้าระหว่างประเทศ(28 ก.พ. 2561)

ส่งสินค้าไปยุโรปผ่านกว่างซีทางเลือกที่ดีของผู้ส่งออกไทย(22 ม.ค. 2561)

-บทที่ 2 ของโลจิสติกส์จีนตะวันตกเชื่อมโลก:“รถไฟ+เรือ ในเส้นทางเฉิงตู-กว่างซี(25 .. 2560)

มณฑลกานซู่ ขอเอี่ยวเส้นทางการขนส่งสินค้านานาชาติ เล็งเพิ่มการส่งออกไปยังอาเซียน(19 .. 2560)

เทรนด์ขนส่ง ระบบรางกำลังมาแรงในกว่างซี(12 .. 2560)

โลจิสติกส์เฉิงตู หรงโอว+เคลื่อนขบวนขนส่งสินค้าสู่อาเซียนแล้ว(1 .. 2560)

บทความ :อวี๋กุ้ยซินพลิกโฉม โลจิสติกส์จีนเชื่อมโลกแล้วไทยจะได้ประโยชน์อะไร (21 .. 2560)

เปิดหวูดปฐมฤกษ์ รถไฟขนสินค้าข้ามชาติกว่างซีเวียดนามตอกย้ำยุทธศาสตร์Gateway to ASEAN(29 .. 2560)

4 มณฑลจีนตะวันตกจรดน้ำหมึก ร้อยโซ่ทองคล้องยุทธศาสตร์ Belt and Road(4 .. 2560)

กว่างซีเร่งกระชับความร่วมมือด้านท่าเรือกับประเทศอาเซียน(31 .. 2560)

กว่างซีตั้งเป้า ฮับโลจิสติกส์ของภูมิภาค(18 .. 2560)

จัดทำโดย นายชิว เจียเหว่ย ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง

เรียบเรียงโดย นายกฤษณะ สุกันตพงศ์ ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง

แหล่งที่มา
:เว็บไซต์http://gx.people.com.cn (人民网) ประจำวันที่ 26 มกราคม 2561

            เว็บไซต์
www.xinhuanet.com (广西新华网) ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2561

            เว็บไซต์ www.bbc.com

           เว็บไซต์
www.businessinsider.com

เส้นทางมุ่งลงใต้โครงการสาธิตความเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์จีน(ฉงชิ่ง)-สิงคโปร์ (China-Singapore (Chongqing) Demonstration Initiative on Strategic Connectivityโลจิสติกส์จีน-สิงคโปร์中新(重庆)战略性互联互通示范项目南向通道CCISouthern Transport Corridor

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน