ระบบภาษี

4 Jul 2023

กฎระเบียบจีนที่ควรรู้
ระบบภาษี

ภาษี : สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องรู้ก่อนไปลงทุนในจีน

จีนเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก นักลงทุนต่างสนใจเข้าไปปักหลักในการดำเนินธุรกิจในจีน ซึ่งนอกจากที่จะต้องพิจารณาในเรื่องของทำเลที่ตั้ง ทรัพยากรและแรงงานแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่นักลงทุนและผู้ประกอบการส่วนใหญ่มิควรจะละเลยนั้นก็คือ “ภาษี” คำสั้น ๆ แต่ทรงอานุภาพ เนื่องด้วยเกี่ยวข้องกับการบริหารต้นทุนในการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติตาม “ภาษี” จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนต่างชาติในการเข้าใจต้นทุนทางภาษีที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ก่อนการตัดสินใจเข้ามาลงทุนดำเนินธุรกิจในจีน

ภาษีถือเป็นภาระหน้าที่ของผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนหรือประกอบธุรกิจในประเทศหนึ่ง ๆ ซึ่งนักธุรกิจและ นักลงทุนต้องจ่ายประเภทภาษีตามกฎระเบียบที่กำหนด โดยประเภทภาษีในจีนที่นักธุรกิจและนักลงทุนต่างชาติควรทราบเบื้องต้นที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีบริโภค (สรรพสามิต) ภาษีเงินได้จากการประกอบกิจการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจ

ประเภทภาษีที่ควรรู้จักในจีน

1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง ภาษีที่เก็บจากยอดจำนวนมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุน เนื่องจากการขายสินค้า หรือการให้บริการ ผู้จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เสียภาษีทั่วไป (general taxpayer) และกลุ่ม ผู้เสียภาษีวิสาหกิจขนาดเล็ก (small-scale taxpayer) สำหรับผู้เสียภาษีทั่วไปอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมี 3 ระดับ ดังตารางที่ 1 1 และสำหรับผู้เสียภาษีวิสาหกิจขนาดเล็กจะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้อยละ 3

ตารางที่ 1 อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้เสียภาษีทั่วไป

รายการอัตราภาษี
(ร้อยละ)
สินค้าส่งออก (ยกเว้นแต่สินค้าที่รัฐบาลกลางได้ประกาศเรียกเก็บในอัตราอื่น)
การจำหน่ายสินค้าหรือการนำเข้าสินค้าบางชนิด อาทิ ผักและผลไม้ที่ไม่ได้แปรรูป ผลิตภัณฑ์จากทะเล หนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์
สาธารณูปโภคพื้นฐานที่ใช้ในบ้าน เช่น น้ำประปา ระบบความเย็น ความร้อน ก๊าซ เป็นต้น อาหารสัตว์ ปุ๋ยเคมี แร่โลหะและอโลหะบางชนิด
13

2. ภาษีบริโภค (สรรพสามิต) หมายถึง ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการผลิต หรือรับจ้างทำของ หรือนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยบางชนิด โดยการกำหนดอัตราภาษีและจำนวนที่ต้องชำระภาษีแต่ละชนิดแตกต่างกัน สินค้าที่ต้องรับภาระภาษีบริโภค เช่น บุหรี่ เหล้า เครื่องสำอาง เครื่องประทินผิว เครื่องประดับ อัญมณี ประทัด น้ำมันดีเซล ยางรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เป็นต้น โดยอัตราภาษีขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละจำพวก ซึ่งคำนวณจากราคาของสินค้า หรือปริมาณ หรือขนาดของสินค้า ในอัตราภาษีที่แตกต่างกัน โดยสามารถดูอัตราภาษีบริโภคเพิ่มเติมได้ที่ http://www.gov.cn/zwgk/2008-11/14/content_1149528.htm (ภาษาจีน) http://sg2.mofcom.gov.cn/article/chinanews/200811/20081105919801.shtml (ภาษาอังกฤษ)

3. ภาษีเงินได้จากการประกอบกิจการ หมายถึง ภาษีที่เรียกเก็บจากเงินได้จากการผลิตหรือการประกอบกิจการหรือเงินได้อื่น ๆ โดยกฎหมายใหม่ซึ่งผ่านมติเมื่อต้นปี 2550 และประกาศบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551 นั้น กำหนดให้วิสาหกิจทุนจีนและวิสาหกิจทุนต่างชาติชำระภาษีเงินได้ในอัตราเดียวกัน คือ ร้อยละ 25 กรณีกฎหมายให้สิทธิพิเศษในการลดหย่อนจะกำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 15 และ 20

อัตราภาษีเงินได้จากการประกอบกิจการเงื่อนไข
อัตราร้อยละ 15เป็นวิสาหกิจที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับเทคโนโลยีชั้นสูงและเทคโนโลยีใหม่ที่อยู่ในเงื่อนไข
อัตราร้อยละ 20เฉพาะวิสาหกิจรายย่อย (Micro Enterprises:MEs) ของจีน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
(1) กลุ่มที่ทำการผลิต-มีกำไรที่นำมาคิดภาษีตลอดปีไม่เกิน 300,000 หยวน มีพนักงานไม่เกิน 100 คน มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านหยวน
(2) กลุ่มที่ไม่ได้ทำการผลิต-มีกำไรที่นำมาคิดภาษีตลอดปีไม่เกิน 300,000 หยวน มีพนักงานไม่เกิน 80 คน มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 10 ล้านหยวน ทั้งนี้ ทางการจีนได้ส่งเสริมวิสาหกิจรายย่อยของจีนโดยปรับลดเงื่อนไขที่สอดคล้องลง คือ เป็นวิสาหกิจที่มีกำไรที่นำมาคิดภาษีตลอดปีไม่เกิน 300,000 หยวน มีผลบังคับใช้ในช่วงวันที่ 1 ม.ค. 2555-31 ธ.ค. 2558

4. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หมายถึง ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลซึ่งมีถิ่นที่อยู่และมีเงินได้ในประเทศจีน และบุคคลที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศแต่มีแหล่งเงินได้จากภายในประเทศจีน

4.1 ผู้มีหน้าที่รับภาระภาษี ได้แก่

1) ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ภายในประเทศจีนไม่ว่าจะเป็นชาวจีนหรือชาวต่างชาติ เมื่อมีเงินได้หรือแหล่งเงินได้ภายในประเทศจีนตามมาตรฐานที่รัฐกำหนด
2) ผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศจีนครบหนึ่งปี มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากเงินได้ที่ได้จากภายในและภายนอกประเทศจีน และ
3) ผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศจีนไม่ครบหนึ่งปี มีหน้าที่ต้องเสียภาษี เฉพาะเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้ภายในประเทศจีนเท่านั้น

4.2 ประเภทเงินได้ที่ต้องชำระภาษี แบ่งเป็น 11 ประเภท ได้แก่

1) รายได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง
2) รายได้จากการผลิตหรือการประกอบกิจการค้าของร้านค้าเอกชน
3) รายได้ของบุคคลที่ได้จากการรับเหมาประกอบกิจการหรือให้เช่าเหมาแก่หน่วยงานธุรกิจ
4) รายรับจากค่าตอบแทนในการใช้แรงงาน
5) รายรับจากการอนุญาตให้ใช้สิทธิพิเศษ
6) รายรับจากดอกเบี้ย ปันผลจากหุ้น ปันผลกำไร
7) รายรับจากค่าตอบแทนด้านบรรณาธิการ
8) รายรับจากการให้เช่าทรัพย์สิน
9) รายรับจากการโอนสิทธิทรัพย์สิน
10) รายรับจากความไม่คาดฝัน (ถูกสลากกินแบ่ง) และ
11) รายรับอื่นใดที่ประกาศของกระทรวงการคลังได้กำหนดไว้

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

รายการรายละเอียดอัตราภาษี
(ร้อยละ)
อัตราก้าวหน้ารายรับจากเงินเดือน ค่าจ้างที่หักออกจากฐานรายได้ขั้นต่ำที่ไม่ต้อง นำมาคำนวณภาษีเงินได้ (ขั้นบันได 7 ระดับ)3-45
อัตราก้าวหน้ารายรับของร้านค้าเอกชน (เจ้าของคนเดียว) ที่ได้จากการผลิต การประกอบกิจการการค้า การรับเหมาประกอบกิจการการค้า หรือการให้เช่าเหมาแก่หน่วยงาน ธุรกิจ (ขั้นบันได 5 ระดับ)5-35
อัตราภาษีคงที่รายรับจากงานด้านบรรณาธิการต่าง ๆ ให้ลดหย่อน ร้อยละ 30 ของยอดรายรับ แล้วชำระภาษีในอัตราร้อยละ 20 รายรับจากจากการอนุญาตให้ใช้สิทธิพิเศษ รายรับจากดอกเบี้ย ปันผลจากหุ้น ปันผลกำไร รายรับจากการให้เช่าทรัพย์สิน รายรับจากการโอนสิทธิทรัพย์สิน รายรับจากความไม่คาดฝัน (ถูกสลากกินแบ่ง) และรายรับอื่น ๆ ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 2020

** ปัจจุบันฐานของรายได้ขั้นต่ำที่ไม่ต้องนำมาคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับพนักงานชาวจีนอยู่ที่ 3,500 หยวนต่อเดือน และชาวต่างชาติอยู่ที่ 4,800 หยวน/เดือน (ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2554)

5. ภาษีธุรกิจ หมายถึง ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลหรือผู้ประกอบการ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ การรับจ้าง การโอนทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง และการขายอสังหาริมทรัพย์ (เฉพาะประเภทสิ่งปลูกสร้างและส่วนควบ) ธุรกรรมที่ต้องชำระภาษี และอัตราภาษี กำหนดไว้ 9 ประเภท ได้แก่

ประเภทธุรกรรมอัตราภาษี
(ร้อยละ)
– การขนส่ง (การขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ)
– การก่อสร้าง
– ไปรษณีย์และโทรคมนาคม
– กีฬาและวัฒนธรรม
3
– กิจการการเงินและประกันภัย
– กิจการบริการ (ตัวแทนโรงแรม ภัตตาภาร นำเที่ยว โกดังสินค้า การให้เช่าโฆษณา และอื่น ๆ)
– การโอนทรัพย์สินไม่มีรูปร่าง (สิทธิในการใช้ที่ดิน สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และสิทธิในเทคโนโลยีต่าง ๆ)
– การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ (การจำหน่ายสิ่งปลูกสร้าง และส่วนควบอื่นใดของที่ดิน)
5
– กิจการบันเทิงและสถานเริงรมย์20

เกร็ดน่ารู้ : จีนเปลี่ยน “ภาษีธุรกิจ” เป็น “ภาษีมูลค่าเพิ่ม”

เพื่อกระตุ้นการเติบโตของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาค SMEs รัฐบาลจีนได้ประกาศนโยบายการปรับใช้ระบบการเก็บภาษีแบบใหม่ขึ้น โดยใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มาแทนที่การเก็บภาษีธุรกิจ (BT) ซึ่งเริ่มทดลองนโยบายดังกล่าวก่อนในนครเซี่ยงไฮ้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2555 สำหรับมณฑลกวางตุ้ง (รวมถึงเมืองเซินเจิ้น) เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2555 ได้มีการแถลงรายละเอียดแผนการทดลองเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนภาษีธุรกิจโดยจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2555 เป็นต้นไป

สาขาอุตสาหกรรมที่เริ่มทดลองตามนโยบายดังกล่าว

อุตสาหกรรมที่เริ่มทดลองปรับเปลี่ยน ได้แก่ อุตสาหกรรมการขนส่งและคมนาคม แบ่งออกเป็น 1) การบริการการขนส่งทางบก 2) การบริการการขนส่งทางเรือ 3) การบริการการขนส่งทางอากาศ และ 4) การบริการการขนส่งทางท่อ ยังรวมถึงอุตสาหกรรมบริการอันทันสมัย 6 สาขา ได้แก่ บริการทางด้านเทคโนโลยีและการวิจัย เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมทางวัฒนธรรม ธุรกิจที่สนับสนุนด้านโลจิสติกส์ ธุรกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายและบัญชี ซึ่งอัตราภาษีของแต่ละสาขาจะคิดแตกต่างกันออกไป อาทิ ธุรกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์คิดอัตราภาษีร้อยละ 17 อุตสาหกรรมการขนส่งและคมนาคมคิดอัตราภาษีร้อยละ 11 อุตสาหกรรมบริการอันทันสมัยสาขาอื่น ๆ คิดอัตราภาษีร้อยละ 6 โดยเมือง/มณฑลที่เป็นจุดทดลองการปรับเปลี่ยนดังกล่าวมีดังนี้

เมือง/มณฑลระยะเวลาที่เริ่มการปรับเปลี่ยน
นครเซี่ยงไฮ้1 ม.ค. 2555
กรุงปักกิ่ง1 ก.ย. 2555
มณฑลเจียงซู1 ต.ค. 2555
มณฑลอันฮุย1 ต.ค. 2555
มณฑลกวางตุ้ง (รวมเมืองเซินเจิ้น)1 พ.ย. 2555
มณฑลฝูเจี้ยน (รวมเมืองเซี่ยเหมิน)1 พ.ย. 2555
นครเทียนจิน1 ธ.ค. 2555
มณฑลเจ้อเจียง1 ธ.ค. 2555
มณฑลหูเป่ย1 ธ.ค. 2555

และได้ทำการปรับใช้ทั่วทั้งจีนตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา
แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์หนานตูหว่าง (nddaily) www.gcontent.oeeee.com
และกว่างโจว เดลี่ (gzdaily) www.gzdaily.dayoo.com

การปรับเปลี่ยนภาษีธุรกิจเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มช่วยลดภาระต้นทุนทางธุูรกิจให้ภาคธุรกิจอย่างไร??

การปรับเปลี่ยนภาษีธุรกิจเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีส่วนช่วยลดภาระด้านต้นทุนทางภาษีให้ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจภาคบริการได้ เนื่องจากภาคธุรกิจสามาถนำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ต่าง ๆ มาหักลบจากจำนวนเงินที่จะนำมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ในขณะที่การคำนวณภาษีธุรกิจนั้นจะใช้รายได้ของบริษัทเป็นฐานในการคำนวณภาษีโดยไม่สามารถหักต้นทุนใด ๆ ได้เลย ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนในการชำระภาษีที่ลดลงสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการดำเนินธุรกิจ

หากจดทะเบียนเป็นสำนักตัวแทนไม่จำเป็นต้องเสียภาษีนิติบุคคลหรือไม่??

ผู้ประกอบการหลายท่านคงจะเคยคิดว่า จะเข้ามาบุกตลาดจีนด้วยการจดเป็นสำนักงานตัวแทน (Representative office) ก่อน เนื่องจากมีขั้นตอนที่ง่ายกว่าและสามรถลดต้นทุนภาษีได้ เนื่องจากไม่ได้ดำเนินธุรกรรมใดที่ก่อให้เกิดรายได้ที่ต้องนำมาชำระภาษี ก่อนตัดสินใจผู้ประกอบการอาจต้องคำนึงถึงขอบเขตธุรกิจของตนว่าเหมาะสมกับการจดทะเบียนบริษัทแบบสำนักงานตัวแทนหรือไม่

ทั้งนี้ สำนักงานตัวแทนไม่สามารถดำเนินธุรกรรมทางการเงินได้ หรือแม้กระทั่งการรับชำระเงินแทนบริษัทแม่ ซึ่งสำนักงานตัวแทนนี้จะทำหน้าที่เพียงแค่ประสานงานให้กับบริษัทแม่หรือให้คำแนะนำ เก็บข้อมูลด้านการตลาด ติดต่อหาแหล่งสินค้าและวัตถุดิบให้แก่บริษัทแม่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หน่วยงานบริหารจัดเก็บภาษีของจีนได้ทำการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเรื่องการเก็บภาษีใหม่สำหรับบริษัทสำนักงานตัวแทน เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2553 โดยระบุว่า ถึงแม้สำนักงานตัวแทนไม่มีรายได้ก็ต้องจ่ายภาษีเช่นกัน โดยใช้รายจ่ายเป็นฐานในการคำนวณภาษีนิติบุคคล สามารถดูตารางเปรียบเทียบการชำระภาษีระหว่างวิสาหกิจต่างชาติที่จดทะเบียนเป็นบริษัทและที่จดเป็นสำนักงานตัวแทน ดังนี้

รายการวิสาหกิจต่างชาติ ที่จดเป็นบริษัทวิสาหกิจต่างชาติ ที่จดเป็นสำนักงานตัวแทน
ฐาน (กำไร)กำไรจากการประกอบการภาษีเงินได้ให้ใช้รายจ่ายเป็นตัวคิดแทนรายได้ ทั้งนี้
กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า
อัตรากำไรหมายถึง ร้อยละ 15 ของรายได้ดังกล่าว
ภาษีเงินได้ร้อยละ 25
ภาษีธุรกิจร้อยละ 5
ภาษีบำรุงสิ่งก่อสร้างในเมืองร้อยละ 7
ค่าบำรุงการศึกษาร้อยละ 3
ค่าบำรุงการศึกษาท้องถิ่นร้อยละ 3
ค่าบำรุงเขื่อนร้อยละ 0.09
ภาษีอากรแสตมป์ร้อยละ 0.03ไม่ต้องรับภาระภาษีดังกล่าว

แหล่งข้อมูล The Central People’s Government of the People’s Republic of China http://www.gov.cn/zwgk/2007-12/11/content_830645.htm
และ State Administration of Taxation http://www.chinatax.gov.cn/n8136506/n8136593/n8137537/n8138502/9562629.html

จากการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบดังกล่าวส่งผลให้สำนักงานตัวแทนในจีนมีต้นทุนในการดำเนินกิจการเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาขอบเขตการดำเนินกิจการให้ชัดเจน เพราะการจดทะเบียนบริษัทแบบสำนักงานตัวแทนไม่สามารถลดต้นทุนในการดำเนินกิจการได้อีกต่อไป

การรู้เท่าทันเกี่ยวกับ “ภาษี” จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยให้สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามระเบียบที่ระบุไว้ รวมถึงยังสามารถทราบถึงต้นทุนด้านภาษีที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการได้ด้วย ทั้งนี้ สิทธิพิเศษด้านภาษี สามารถเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อการเลือกพื้นที่หรือสาขาธุรกิจที่จะลงทุนได้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนและผู้ประกอบการควรจะศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างไปตามแต่ละพื้นที่และประเภทการลงทุน โดยอาจขอคำแนะนำจากบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย ตลอดจนติดตามข่าวสารด้านภาษีและข้อมูลประกอบด้านอื่น ๆ ได้จากเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รู้ทันกับกฎระเบียบและมาตรการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในประเทศจีน


เว็บไซต์เกี่ยวกับภาษีที่น่าสนใจ

State Administration of Taxation of The People’s Republic of China
http://www.chinatax.gov.cn/n6669073/index.html
Guangdong Provincial Local Taxation Bureau
http://www.gdltax.gov.cn/portal/gd/gden/index.htm

จัดทำโดย: นางสาวอภิญญา สงค์ศักดิ์สกุล และนายเจตนา เหล่ารักวงศ์ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครกว่างโจว
แหล่งข้อมูล: ศูนย์ความรู้เพื่อการค้าและการลงทุนกับจีน สำนักงานยุทธศาสตร์การพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
http://www.chineselawclinic.moc.go.th/info/info_detail.php?idcont=23&idcontsub=244
กรมภาษีแห่งชาติ สำนักงานกวางตุ้ง (Guangdong Provincial Office, SAT)
http://www.gov.cn/jrzg/2012-02/03/content_2057874.htm
จีนเปลี่ยน “ภาษีธุรกิจ” เป็น “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” เริ่มต้นในเซี่ยงไฮ้ บทสรุปใครได้? ใครเสีย?
http://tbc.tan.cloud/thaibizchina/th/articles/detail.php?IBLOCK_ID=70&SECTION_ID=551&ELEMENT_ID=9206

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
http://zqb.cyol.com/html/2012-07/05/nw.D110000zgqnb_20120705_2-05.htm
http://gd.people.com.cn/GB/218363/15487772.html
http://www.gzns.gov.cn/tzns/yhzc/200704/t20070420_3392.htm
http://www.gov.cn/zwgk/2012-07/03/content_2175825.htm
http://mo.mofcom.gov.cn/aarticle/zwcity/201205/20120508118204.html

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน