ธุรกรรมการเงิน ไทย-จีน

4 Jul 2023

การค้า
ธุรกรรมการเงินไทย-จีน

คู่มือการทำธุรกรรมเงินหยวน เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ

คู่มือการทำธุรกรรมเงินหยวนฉบับนี้ จัดทำขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) โดย มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกรรม โดยใช้เงินหยวน เพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ

ปัจจุบัน การค้าระหว่างประเทศทั่วโลก มีการใช้เงินสกุลหลักในการชำระเงินค่าสินค้า ได้แก่ เงินดอลลาร์ สรอ. เงินยูโร เงินเยน อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่วิกฤตการเงิน ในสหรัฐอเมริกา ใน ปี 2551 รวมทั้งวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ตั้งแต่ ปี 2553 ที่ได้ ทวีความรุนแรงมากขึ้นและมีแนวโน้มลุกลาม ต่อไปยังประเทศอื่นในยุโรป ซึ่งทำให้ประเทศต่างๆ มีการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ ผ่อนคลายมากขึ้น ส่งผลต่อเสถียรภาพของค่าเงินดอลลาร์สรอ.เงินยูโรและระบบการเงินโดยรวม

วิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐฯและยุโรป ส่งผลให้บทบาททางเศรษฐกิจของสหรัฐฯและยุโรป มีความสำคัญลดลง ประกอบกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น ที่ยังไม่ฟื้นตัว ในขณะที่ประเทศจีน มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลกมากขึ้นตามลำดับในปี 2553 จีนก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกอย่างเป็นทางการ แซงหน้าประเทศญี่ปุ่นซึ่งครองอันดับ 2 มาเป็นทศวรรษ โดยเป็นรองเพียงสหรัฐฯ เท่านั้น นอกจากนี้ จีน ยังเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับ 1 ของ โลก และ เป็นประเทศคู่ค้า ในการส่งออกและนำเข้าที่มีมูลค่าสูงสุด อันดับที่ 2 ของไทย (รองจากญี่ปุ่น) โดยมูลค่า นำเข้าและส่งออกระหว่างไทยกับจีน ในปี 2554 คิดเป็น 58 พัน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. หรือ ร้อยละ 12.7 ของ มูลค่านำเข้า ส่งออกทั้งหมด และตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับ ที่ 12 (ปี 2554-2558) ของจีน ที่ให้ความสำคัญกับอาเซียนในฐานะกลุ่มประเทศคู่ค้าที่สำคัญ จึงทำให้มีการคาดการณ์ว่าปริมาณการค้าระหว่างไทยและจีนจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ในปี 2552 จีน เริ่มผลักดันนโยบายสนับสนุนเงินหยวนสู่สากล หรือที่เรียกว่า “RMB Internationalization” และได้มีการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากการอนุญาตให้ใช้ เงินหยวนชำระค่าสินค้าบริการระหว่างประเทศในระดับ “ภูมิภาค” (Regionalization) และ ขยายไปทั่วโลก (Globalization) นโยบายดังกล่าว ส่งผลให้ เงินหยวน หมุนเวียนนอกประเทศจีน โดยมี ฮ่องกง เป็นศูนย์กลางเงินหยวนนอกประเทศจีน “Offshore Yuan Business” ซึ่งบริษัทต่างชาติ สามารถระดมทุน ลงทุนในตราสารทางการเงินและซื้อขายเงินหยวน เพื่อการชำระค่าสินค้าบริการและการลงทุน ระหว่างประเทศ ได้อย่างคล่องตัวในฮ่องกง

ในการนี้ธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Bank of China-PBC) ได้ร่วมกับธนาคารกลางประเทศต่างๆ จัดทำความตกลงทวิภาคี ในการแลกเปลี่ยนเงินสกุลหยวนและเงินท้องถิ่นของประเทศต่างๆ (Bilateral Currency Swap Arrangement) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ระบบการเงินในการใช้เงินหยวนเพื่อการชำระเงินจากการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ลงนามความตกลงทวิภาคี เพื่อแลกเปลี่ยนเงินสกุลหยวนและบาท กับ PBC เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา

จากความสำคัญของเศรษฐกิจจีนต่ออาเซียนและประเทศไทย รวมทั้งนโยบายของจีน ที่จะผลักดันเงินหยวน ให้เป็นสกุลหลักของโลก เช่นเดียวกับ เงินสกุล หลักอื่นๆ เช่น ดอลลาร์ สรอ. ยูโร ซึ่งมีความผันผวนมากขึ้น จากปัญหาวิกฤตการเงินโลก นั้นเพื่อให้ผู้ประกอบการไทย ที่มีการทำธุรกิจ การค้า การลงทุน กับประเทศจีน มีทางเลือกมากขึ้น ในการใช้เงินหยวน ซึ่งเป็นสกุลเงินของคู่ค้า ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันกับประเทศไทย และค่าเงินมีแนวโน้มเคลื่อนไหว ในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและขยายโอกาสทางธุรกิจในประเทศจีน อันจะช่วยให้ธุรกิจไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศมากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกสิกร ไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) จึงร่วมกัน จัดทำคู่มือการทำธุรกรรมเงินหยวน เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการเล่มนี้ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นแก่ธุรกิจไทย ให้ทราบถึงประโยชน์ของการใช้เงินหยวน ในการทำธุรกิจกับประเทศจีน ขั้นตอนการชำระเงินหยวน สำหรับธุรกิจนำเข้าและส่งออก บริการธุรกรรม เงินหยวน ของธนาคารพาณิชย์ และธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ให้บริการเงินหยวน อันจะช่วยให้ผู้ประกอบการใช้ประกอบการตัดสินใจ เลือกใช้สกุลเงิน ที่เหมาะสมในการทำธุรกิจการค้ากับคู่ค้า ในประเทศจีนทั้งนี้ หากผู้ประกอบการท่านใด สนใจจะค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ท่านสามารถสอบถามจากธนาคารพาณิชย์ ผู้ให้บริการตามที่ระบุไว้ในคู่มือฉบับนี้

อนึ่ง คณะผู้จัดทำคู่มือการทำธุรกรรมเงินหยวน เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ จะดำเนินการปรับปรุงคู่มือ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย ทั้งของทางการจีนและไทยรวม ทั้งข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ เปลี่ยนแปลงไป โดยผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบคู่มือฉบับล่าสุด ได้ที่ Website ของ ธนาคารประเทศไทย https://www.bot.or.th/Thai/FinancialMarkets/Pages/default.aspx

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน