แนวพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ในจีนตอนใต้ อยู่ที่กวางตุ้ง-กว่างซี

30 Dec 2015

เว็บไซต์ข่าวกว่างซี: สถาบันสังคมศาสตร์ชี้ว่า เมื่อโครงข่ายคมนาคมทางน้ำได้รับการพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว "แนวพื้นที่เศรษฐกิจแม่น้ำเพิร์ล-แม่น้ำซีเจียง" เป็นขุมพลังทางเศรษฐกิจอีกแห่งในภูมิภาคจีนตอนใต้

(21 ธ.ค.58) สถาบันสังคมศาสตร์เขตฯ กว่างซีจ้วง (Guangxi Academy of Social Science, 广西社会科学院) ได้ออกหนังสือ Blue Book เพื่อรายงานพัฒนาการของแนวพื้นที่เศรษฐกิจแม่น้ำเพิร์ล-แม่น้ำซีเจียง (Pearl River-Xi River Economic Belt, 珠江西江经济带)

รายงานระบุว่า ปี 57 การขยายตัวของ GDP ในแนวพื้นที่เศรษฐกิจแห่งนี้มีแนวโน้มการเติบโตสูงกว่า GDP ของมณฑล มีมูลค่าการผลิตรวม 3.616 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.12 (YoY) คิดเป็นร้อยละ 43.33 ของ GDP รวมสองมณฑล

รายได้งบประมาณสาธารณะมีมูลค่า 2.626 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.69 (YoY) คิดเป็นร้อยละ 27.7ของรายได้งบประมาณสาธารณะรวมสองมณฑล

แม้ว่าแนวพื้นที่เศรษฐกิจแห่งนี้จะมีศักยภาพการเติบโต แต่ทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาบางประการเพื่อกรุยทางสู่การพัฒนาในอนาคต

รายงานชี้ว่า แนวพื้นที่เศรษฐกิจแห่งนี้ขาดกลไกความร่วมมือที่เป็นเอกภาพ ไม่สามารถแสดงจุดแข็งหรือข้อได้เปรียบด้านการขนส่งทางน้ำได้อย่างเต็มที่ ระบบโครงสร้างพื้นฐานยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ภาคอุตสาหกรรมขาดการแบ่งงานกันทำงาน

อย่างไรก็ดี คาดหมายว่า แผนพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจแม่น้ำเพิร์ล-แม่น้ำซีเจียง ที่ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติเมื่อเดือน ก.ค.57 จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานเพื่อการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจดังกล่าว และทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็น "แม่เหล็ก" ดึงดูดการลงทุนได้อย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้

หลายปีมานี้ รัฐบาลกว่างซีและเทศบาลเมืองต่างๆ ให้น้ำหนักกับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำซีเจียงเป็นอย่างมาก เมืองต่างๆ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณท่าเรือเพื่อรองรับอุตสาหกรรม การประตูเรือสัญจรและร่องน้ำในแม่น้ำสำหรับเรือขนส่งขนาดใหญ่ ทำให้หลายเมืองสามารถกลับมาเดินเรือแม่น้ำได้อีกครั้ง

แม่น้ำเพิร์ล-แม่น้ำซีเจียง เป็นลุ่มน้ำที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของจีน รองจากแม่น้ำแยงซีเกียง ต้นน้ำมาจากมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว ไหลพาดเขตฯ กว่างซีจ้วง และออกสู่ทะเลที่มณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า

ลุ่มน้ำสายนี้เปรียบเสมือน "โซ่ทอง" คล้องเมืองเศรษฐกิจทางภาคตะวันตกเฉียงใต้กับภาคใต้เข้าไว้ด้วยกัน ครอบคลุมประชากรกว่า 120 ล้านคน จึงได้รับสมญานามว่าเป็น แม่น้ำสายทองคำ" (Golden Waterway)

แนวพื้นที่เศรษฐกิจแห่งนี้มีพื้นที่หลัก 2 มณฑล คือ แม่น้ำเพิร์ลฝั่งมณฑลกวางตุ้ง และแม่น้ำซีเจียง(สาขาของแม่น้ำเพิร์ล)ในเขตฯ กว่างซีจ้วง

แม่น้ำเพิร์ลฝั่งมณฑลกวางตุ้ง (Pearl River Economic Belt, 珠江经济带) มีอยู่ 4 เมือง คือ นครกว่างโจว เมืองฝอซาน (Foshan City, 佛山市) เมืองจ้าวชิ่ง (Zhao Qing City, 肇庆市) และเมืองอวิ๋นฝู (Yun Fu City, 云浮市)

แถบเศรษฐกิจแม่น้ำซีเจียงของกว่างซี (Xi River Economic Belt, 西江经济带) มีอยู่ 7 เมือง คือ นครหนานหนิง เมืองกุ้ยก่าง (Guigang City, 贵港市) เมืองอู๋โจว (Wuzhou City, 梧州市) เมืองไป่เซ่อ (Baise City, 百色市) เมืองหลายปิน (Laibin City, 来宾市) เมืองหลิ่วโจว (Liuzhou City, 柳州市) และเมืองฉงจั่ว (Chongzuo City, 崇左市)

 

 

ลิงค์ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พื้นที่น่าลงทุนแห่งใหม่ในกวางตุ้ง-กว่างซี เน้นความไฮเทคและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (27 พ.ย. 2558)

เมืองฉงจั่วเบิกฤกษ์เดินเรือแม่น้ำไปกวางตุ้งใช้เวลา 7 วัน (10 พ.ย. 2558)

เปิดเดินเรือขนส่งแม่น้ำ "กว่างโจว-อู๋โจว" ต้นทุนต่ำ ผลิตภาพสูง (10 ก.ย. 2558)

เมืองกุ้ยก่างของกว่างซีโปรโมท "ท่าเรือแม่น้ำ" ตรงสู่กว่างโจว ฮ่องกง (08 ก.ค. 2558)

ปีนี้ กว่างซีอัดงบ 3.7 หมื่นล้านหยวน ลุยพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจแม่น้ำซีเจียง (24 เม.ย. 2558)

ปธน.จีน หนุน "เขตเศรษฐกิจข้ามมณฑลกวางตุ้ง-กว่างซี" รับการลงทุนต่างถิ่น (30
มี.ค. 2558)

กว่างซี-กวางตุ้งฟันธงเทรนด์การลงทุนแบนอุตสาหกรรมทำลายสิ่งแวดล้อม (11 ส.ค. 2557)

รัฐบาลกลางไฟเขียวแผนพัฒน์ฯ แม่น้ำเพิร์ล-แม่น้ำซีเจียง หนุนกว่างซีรองรับการลงทุน (04
ส.ค. 2557)

กว่างซีจับมือ 4 มณฑลผลักดันเส้นทางน้ำสายทองคำ-แม่น้ำซีเจียง ชูจุดเด่นต้นทุนขนส่งแม่น้ำ ถูกกว่าถนน รถไฟ และเครื่องบิน  (22 มี.ค. 2557)

ไม่ได้โม้!! งานขนส่งผ่าน แม่น้ำซีเจียงเท่ารถไฟ 12 สาย  (9 ม.ค. 2557)

กว่างซีกวางตุ้งแม่น้ำซีเจียงแม่น้ำเพิร์ล

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน