กว่างโจว-ฝอซาน-จงซาน ความร่วมมือใหม่ใน “ท่าเรือหนานซา”

20 Jun 2017

นครกว่างโจว เมืองฝอซานและเมืองจงซานกำลังร่วมสร้างความร่วมมือครั้งใหม่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง โดยมีท่าเรือหนานซาเป็นจุดประสานความร่วมมือดังกล่าว คาดว่าจะเป็นความร่วมมือและพัฒนาครั้งสำคัญ ที่จะเป็นหัวแรงนำพาเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ไปสู่การพัฒนาในทิศทางใหม่และก้าวเข้าสู่การเป็นฮับของการคมนาคมขนส่งของจีนตอนใต้อย่างแท้จริง

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 บริษัทท่าเรือกว่างโจว Guangzhou Port Co.,Ltd ประกาศร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อลงทุนและก่อสร้างโครงการความร่วมมือในโครงการท่าเรือหนานซาระยะที่ 4 กับบริษัทหุ้นส่วนสาธารณูปโภคฝอซาน (Foshan Public Utilities Holding Co.,Ltd) และบริษัทกลุ่มก่อสร้างเมืองจงซาน (Zhongshan City Construction Group Co.,Ltd) โดยมีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นกว่า 1,680 ล้านหยวน มีท่าเรือกว่างโจวเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ถือครองร้อยละ 65 บริษัทสาธารณูปโภคฝอซานร้อนละ 19 และบริษัท

กลุ่มก่อสร้างเมืองจงซานร้อยละ 16

โครงการท่าเรือหนานซาระยะที่ 4 ตั้งอยู่ในเขต Operation Zone ของเขตท่าเรือหนานซา ซึ่งโครงการนี้มีแผนที่จะสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกรองรับการขนถ่ายตู้สินค้า 100,000 ตัน จำนวน 2 ท่า และรองรับการขนถ่ายตู้สินค้า 50,000 ตัน จำนวน 2 ท่า สามารถรองรับปริมาณการขนถ่ายสินค้าได้ปีละ 4.8 ล้านตู้ ระยะการก่อสร้างโครงการระหว่างปี 2561-2564 คาดจะมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 5,588 ล้านหยวน

ทำไมต้องท่าเรือหนานซา

ท่าเรือหนานซาเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวในเขตปากแม่น้ำจูเจียงตะวันตก ใช้ขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ บริหารจัดการโดยบริษัท Guangzhou Port Group ปัจจุบันมีท่าเทียบเรือ 16 ท่า (3 โครงการ) ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจระดับชาติและเป็นเขตการค้าเสรี ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2547 ท่าเรือหนานซาเป็นท่าเรือหลักใกล้ชิดกับเมืองในฝั่งแม่น้ำด้านตะวันตก อาทิ เมืองฝอซาน จงซาน และเจียงเหมิน รวมถึงมีเส้นทางการคมนาคมที่เชื่อมต่อกับมณฑลใกล้เคียง ผ่านการคมนาคมขนส่งทางทะเล ทางแม่น้ำ ทางถนน ทางรางและทางอากาศ

ในการประชุมตัวแทนพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลกวางตุ้ง ครั้งที่ 12 เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ประชุมได้หยิบหยกประเด็นการพัฒนาเขตการค้าเสรีหนานซา ที่มุ่งหวังจะให้เขตการค้าเสรีแห่งนี้เป็นประตูเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียง โดยมีโครงการที่จะจัดตั้งศูนย์การขนส่งทางเรือนานาชาติ ศูนย์ธุรกิจและศูนย์การเงิน ซึ่งโครงการความร่วมมือในเขตท่าเรือหนานซาดังหล่าว จะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ส่งเสริมนโยบายของมณฑลกวางตุ้งที่มุ่งมั่นที่จะขยายความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เข้าสู่พื้นที่ชั้นในอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

นอกจากนี้มณฑลกวางตุ้งบรรจุแนวทางการพัฒนาด้านคมนาคมเข้าไปในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ปี ฉบับที่ 13 ซึ่งกำหนดจะก่อตั้งสนามบินหลักแห่งใหม่ในเขตเกาหมิง เมืองฝอซาน ให้บริการควบคู่ไปกับสนามบินนานาชาติไป๋หยุน นครกว่างโจว โดยสนามบินดังกล่าวจะให้บริการแก่ผู้โดยสารจากเมืองในฝั่งตะวันตกและเมืองโดยรอบ มุ่งมั่นที่จะจะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งผู้โดยสายและขนส่งสินค้า

กว่างโจว-ฝอซาน-จงซาน กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตใหม่

ในเขตอุตสาหกรรมจื้อกาว (Chigo Induatrial Park) ในเขตหนานไห่ เมืองฝอซาน ผลิตเครื่องปรับอากาศ และส่งสินค้าทั้งหมดไปยังท่าเรือหนานซาเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศทั่วโลก ปัจจุบันบริษัทชั้นนำ อาทิ บริษัท Midea Group บริษัท Galanz และบริษัท Guangdong Homa Appliances ต่างก็ส่งสินค้ากว่าร้อยละ 50-90 ไปยังท่าเรือหนานซาเพื่อส่งออก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนในการขนส่งแล้ว สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 2 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด และประหยัดเวลาได้มากถึง 1 ใน 3 กว่าการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือเมืองเซินเจิ้นหรือฮ่องกง

หากมองอุตสาหกรรมการผลิตของแต่ละพื้นที่ นครกว่างโจวมีข้อได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัดจากอุตสาหกรรมการผลิตที่อยู่ในพื้นมาอย่างยาวนาน  นอกจากนี้ นครกว่างโจวยังถูกยกให้เป็นเมืองแห่งมันสมองที่สำคัญของมณฑลกวางตุ้ง เนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอาศัยและทำงานอยู่มากถึงร้อยละ 70 ผนวกกับมีผู้ที่จบการศึกษาปริญาเอกกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนทั้งหมดในมณฑลกวางตุ้ง

 

เมืองฝอซาน เป็นเมืองที่มรการปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิตเป็นเมืองแรกๆ ในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง ที่ผลักดันอุตสาหกรรมให้เป็น 4.0 อย่างรวดเร็ว เมืองฝอซานสามารถผลิตเตาอบไมโครเวฟ 100 เครื่องต่อ 1 นาที สามารถผลิตตู้เย็นมากกว่า 20,000 เครื่องต่อวัน  และสามารถผลิตเครื่องปรับอากาศได้มากกว่า 23 ล้านเครื่องต่อปี เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อการส่งออกที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่งของจีน

เมืองจงซาน เคยถูกยกให้เป็น 1 ใน 5 เสือของมณฑลกวางตุ้ง มีความโดดเด่นด้านอุตสาหกรรมการผลิตไม่แพ้เมืองอื่น ๆ ปัจจุบันเป็นเมืองที่มีเครื่องมือและเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความล้ำหน้าติดอันดับโลก

แน่นอนว่าเมื่อกว่างโจว-ฝอซาน-จงซาน ผนึกกำลังการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าด้วยกัน จะทำให้เศรษฐกิจที่เกิดจากอุตสาหกรรมการผลิตของเขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ขยายตัวและเติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิผล และยังส่งเสริมให้เขตเศรษฐกิจดังกล่าวมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย

ศักยภาพของกลุ่มความร่วมมือ กว่างโจว-ฝอซาน-จงซาน

ความร่วมมือกันระหว่างนครกว่างโจว เมืองฝอซานและเมืองจงซาน เป็นความร่วมมือระดับเมืองที่เป็นรูปธรรมที่สุดครั้งหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง โดยทั้ง 3 เมืองมีศักยภาพทางเศรษฐกิจของตัวเอง พร้อมทั้งมีระบบคมนาคมขนส่งที่เชื่อมต่อกัน ดังนี้



กวางเจาความร่วมมือระหว่างเมืองจงซานท่าเรือหนานซากว่างโจวฝอซาน

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน