กว่างโจวพร้อมเป็นศูนย์กลางการค้าออนไลน์ ปี 60 มูลค่านำเข้าส่งผ่านออกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนสูงสุดในจีน

24 Mar 2017

ในปี 2560 นครกว่างโจวมีมูลค่าขายปลีกกว่า 8.7 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 และมูลค่าขายส่งกว่า 5.59 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 โดยกิจกรรมทางการค้าที่คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการบริโภคในกว่างโจวเป็นผลมาจากการเปิดเขตนำร่องการปฏิรูประบบการกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ซึ่งสามารถบรรลุผลตามที่คาดไว้ พร้อมทั้งบูรณาการการค้าเข้ากับการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การยกระดับการจัดการและขนาดของตลาดค้าส่ง นอกจากนี้ยังมีโครงการส่งเสริมการบริโภคอื่น ๆ อาทิ งานเทศกาลซื้อสินค้านานาชาติ งานเทศกาลอาหารนานาชาติ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้การบริโภคภายในนครกว่างโจวเฟื่องฟู

คณะกรรมการพาณิชย์นครกว่างโจวเผย ในปี 60 จะดำเนินการโครงการ "1พันปีเมืองหลวงแห่งการค้า" และโครงการ "เมืองหลวงแห่งการค้ายุดใหม่" ด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาการค้าปลีกโดยนำพารูปแบบการบริโภคให้เข้าสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น พร้อมทั้งผลักดันการบริโภคด้านการบริการการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม ส่งเสริมให้เขตการค้าเขียนเหอให้กลายเป็นเขตการค้าระดับโลก รวมถึงการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

เมืองหลวงแห่งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ในปี 2559 นครกว่างโจวมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนเท่ากับ 1.46 หมื่นล้าน เติบโตขึ้น 1.2 เท่า ในขณะที่มูลค้าของทั้งประเทศอยู่ที่ 4.99 หมื่นล้าน เติบโตร้อยละ 38.7 มูลค่าดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 29.4 ของมูลค่าการนำเข้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของจีน และเป็นร้อยละ 64 ของมณฑลกวางตุ้ง

ด้านคณะกรรมการการค้านครกว่างโจวเผย ในปีนี้จะผักดันนครกว่างโจวให้เป็น "เมืองหลวงแห่งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" ซึ่งเป็นปีครบรอบการได้รับอนุญาตให้เป็นเขตสาธิตพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของจีนครบ 1 ปีเต็ม ในโอกาสนี้ยังเร่งผลักดันยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน พร้อมกับส่งเสริมแพล็ตฟอร์มงานบริการสำหรับการค้าดังกล่าว รวมถึงสนับสนุนการส่งออกแบบ B2B การจัดตั้งเขตสินค้าทัณฑ์บนเพิ่มเติม

ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจการเข้ามาทำธุรกิจสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกซ์มากขึ้น แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยควรมีทักษะทางด้านภาษาในระดับหนึ่ง เพื่อกำจัดอุปสรรคด้านการสื่อสารออกไป เนื่องจากเอกสารและขั้นตอนการทำธุรกิจด้านนี้ยังคงเป็นภาษาจีน นอกจากนี้ควรเข้ามาศึกษาตลาดด้วยตนเองก่อน เพื่อค้นหาช่องทางและแนวทางการตลาด เพื่อนำไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของชาวจีนมากขึ้น ทั้งนี้นครกว่างโจวคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนมากที่สุดพื้นที่หนึ่งของจีน

การค้าออนไลน์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนออนไลน์อีคอมเมิร์ซE-commerce

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน