NEA ประกาศระงับการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมปี 2560 ในมณฑลกานซู่และเขตฯหนิงเซี่ย

13 Mar 2017

สำนักข่าว Chinadaily.com.cn รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2560 กรมพลังงานแห่งชาติ (The National Energy Administration: NEA) ได้ออกประกาศ ที่ 52/2017 เกี่ยวกับผลการพิจารณาการลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมประจำปี 2560 โดยมีสาระสำคัญ คือ ห้ามรัฐบาล 6 มณฑล/เขตปกครองตนเอง อนุมัติการลงทุนและก่อสร้างโครงการฯ ใหม่ รายละเอียดดังนี้

1. เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มณฑลเฮยหลงเจียง มณฑลจี๋หลิน เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย มณฑลกานซู่และเขตปกครองตนเองซินเจียง (รวมพื้นที่เขตปกครองทางทหาร) เป็นพื้นที่สีแดง ส่วนมณฑล/ เขตปกครองตนเองอื่นนอกเหนือจาก 6 มณฑล/ เขตปกครองตนเองข้างต้นนั้นจัดอยู่ในพื้นที่สีเขียว

2. พื้นที่สีแดง หมายถึง 1) ห้ามการอนุมัติโครงการใหม่เพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม 2) ห้ามวิสาหกิจยื่นสมัครขอดำเนินการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม (รวมไปถึงโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้วและอยู่ในขั้นตอนวางแผนก่อสร้าง) และ 3) ห้ามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุมัติใบอนุญาตประกอบธุรกิจในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม พร้อมทั้งให้   มณฑลและเขตปกครองตนเองในพื้นที่ดังกล่าวดำเนินมาตรการที่ได้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม อย่างสูญเปล่า

3. สำหรับมณฑลและเขตปกครองตนเองที่ได้รับการพิจารณาให้อยู่ในพื้นที่สีเขียว ให้ดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมตามแผนงาน โดยคำนึงถึงการดำเนินการตามแผนงานที่รัฐบาลท้องถิ่นกำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในตลาดผู้บริโภคและมีการจัดตั้งโครงการผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดเหมาะสม สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยคำนึงถึงการก่อสร้างเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในอนาคต

นอกจากนี้ NEA ได้ประกาศชะลอการก่อสร้างโครงการฐานพลังงานลมจุ่นตงและไป๋หลี่ (新疆准东,吐鲁番百里风区) ในเขตปกครองตนเองซินเจียงและโครงการก่อสร้างฐานผลิตไฟฟ้าพลังงานลมจิ่วเฉวียน ระยะที่ 2 (酒泉二期第二批风电项目) ของมณฑลกานซู่อีกด้วย  

มณฑลกานซู่ มีปริมาณการสูญเปล่าของไฟฟ้าพลังงานลมมากที่สุดในประเทศ

กรมพลังงานงานแห่งชาติระบุว่า ในปี 2559 จีนได้ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม (Wind Power Installed) ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อีกจำนวน 19.3 ล้านกิโลวัตต์ (kW) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9 ของปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมทั้งหมดทำให้ในปี 2559 จีนมีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม (Installed Capacity) รวมทั้งสิ้น 149 ล้าน Kw ในปีที่ผ่านมา ทั่วประเทศจีนมีจำนวนชั่วโมงการใช้งานไฟฟ้าจากพลังงานลม (Average hours of use) เฉลี่ย 1,742 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 เพียง 14 ชั่วโมง โดยในปี 2559 พลังงานลมสามารถผลิตปริมาณไฟฟ้าได้ 241,000 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) แต่มีปริมาณไฟฟ้าที่สูญเปล่ามากถึง 49,700 ล้าน kWh เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ถึง 15,800 ล้าน kWh (ปี 2558 ปริมาณไฟฟ้าสูญเปล่ามีจำนวน 33,900 ล้าน kWh เนื่องมาจากระบบเชื่อมโยงไฟฟ้า (Grid System) ที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ในปี 2559 มณฑลกานซู่และเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยมีอัตราการสูญเปล่าของพลังงานมากถึงร้อยละ 43 และร้อยละ 39 ตามลำดับ โดยมณฑล/เขตปกครองตนเองที่ได้รับการจัดให้อยู่ในพื้นที่สีแดงจะต้องเร่งจัดทำแผนฟื้นฟูการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานลมเพื่อลดอัตราการสูญเปล่าของพลังงาน

ปี

ปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานลมที่สูญเปล่า(กิโลวัตต์-ชั่วโมง)

สัดส่วนไฟฟ้าจากพลังงานลมที่สูญเปล่าเปรียบเทียบกับไฟฟ้าจากพลังงานลมที่ผลิตได้ทั้งประเทศ  (ร้อยละ)

ทั้งประเทศ

มณฑลกานซู่

เขตฯ หนิงเซี่ย

ทั้งประเทศ

มณฑลกานซู่

เขตฯ หนิงเซี่ย

2558

33,900 ล้าน

8,200 ล้าน

1,300 ล้าน

169

39

2559

49,700 ล้าน

10,400 ล้าน

1,900 ล้าน

46.6

43

39

เร่งก่อสร้างแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานลมและพลังงานทดแทนในพื้นที่สีเขียว

นอกเหนือจากการประกาศระงับการก่อสร้างในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในพื้นที่ต่างๆ แล้ว ประกาศฉบับดังกล่าวยังระบุให้เร่งการก่อสร้างโครงการผลิตไฟฟ้าในพื้นที่สีเขียว อาทิ 1) การก่อสร้างฐานการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมเฉิงเต๋อ ระยะที่ 2 (承德基地二期风电项目) มณฑลเหอเป่ย 2) การก่อสร้างฐานการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนจางเจียโข่ว ซึ่งรวมถึงฐานการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมจางเจียโข่ว ระยะที่ 3 ในมณฑลเหอเป่ยด้วย (张家口可再生能源示范区,张家口基地三期风电项目)3) มณฑลชานซีและมณฑลเหอเป่ย ห้ามก่อสร้างโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมแบบกระจัดกระจายอีกต่อไป

ประกาศฯ ดังกล่าวถือเป็นการส่งสัญญาณของรัฐบาลกลางที่ต้องการให้รัฐบาลท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาการสูญเปล่าของปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานลม รวมถึงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงไฟฟ้า (Power Grid System) ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในฐานการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมจิ่วเฉวียนที่แม้จะดำเนินการตามแผนการก่อสร้างระยะที่ 1 (ปี 2554-2558) เสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังคงประสบปัญหาด้านการสูญเปล่าของพลังงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายและมีต้นทุนการผลิตสูง อีกทั้งเทคโนโลยีและอุปกรณ์ในระบบเชื่อมโยงไฟฟ้าไม่มีประสิทธิภาพและไม่ทันสมัย ส่งผลให้มณฑลกานซู่เป็นพื้นที่ที่มีการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมที่ไม่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดในประเทศเป็นผลให้ NEA ต้องประกาศระงับโครงการก่อสร้างฐานการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมจิ่วเฉวียนระยะที่ 2 (หากการก่อสร้างโครงการฯ แล้วเสร็จ ประมาณการว่าในปี 2563 จะมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 20 ล้านกิโลวัตต์)

ข้อมูลอ้างอิง

1. http://www.p5w.net/news/gncj/201702/t20170223_1720839.htm

2. http://news.youth.cn/jsxw/201702/t20170222_9155177.htm

3. http://www.ceeia.com/News_View.aspx?newsid=63658&classid=32

4. http://news.163.com/17/0222/20/CDTFTRLT000187VE.html

5. http://business.sohu.com/20170126/n479611251.shtml

6. http://www.chinadaily.com.cn/business/2017-02/23/content_28316786.htm

7. http://zfxxgk.nea.gov.cn/auto87/201702/t20170222_2604.htm

 

หนิงเซี่ยกานซู่พลังงานลมไฟฟ้า

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน