เจาะลึก หัวเว่ย มังกรแห่งเทคโนโลยี กับความสำเร็จระดับโลก ตอนที่ 1 หัวเว่ยในประเทศจีน

12 Sep 2016

หากกล่าวถึงบริษัทด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของจีน บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด คงเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีอันดับแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึง บริษัทหัวเว่ยเทคโนโลยีจำกัดก่อตั้งเมื่อปี 2530 เป็นบริษัทเอกชนที่เป็นผู้นำด้านข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสารของจีน และไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีบุคลากรกว่า 176,000 คน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558  โดยพนักงานร้อยละ 45 หรือราว 79,000 คน ทำงานในด้านวิจัยและพัฒนา บ.หัวเว่ย ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเซินเจิ้น ทางภาคใต้ของมณฑลกวางตุ้ง มีศูนย์ วิจัยและพัฒนา (R&D) 16 แห่ง ศูนย์นวัตกรรมความร่วมมือ 36 แห่ง และศูนย์ฝึกอบรม 45 แห่ง ตั้งกระจายอยู่ทั่วโลก มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาประมาณร้อยละ 14 ของรายได้ต่อปีเริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่ปี 2513 โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่อง PBX (Private branch exchange) จากฮ่องกงในอีก 2 ปีถัดมาได้เริ่มวิจัยและพัฒนาPBX และได้เริ่มพัฒนาโซลูชั่นด้านระบบโทรศัพท์GSM ในปี 2540 ตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในต่างประเทศตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมาและคิดค้นเทคโนโลยีด้านการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2557 หัวเว่ยเป็นบริษัทที่ถือครองสิทธิบัตรนวัตกรรมมากที่สุดในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรมากที่สุด  50 อันดับแรกในสหรัฐอเมริกา และ 10 อันดับแรกในยุโรป ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หัวเว่ยเป็นเจ้าของสิทธิบัตรรวม 50,377 ฉบับ และได้ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร 52,550 ฉบับในจีน และ  30,613 ฉบับในต่างประเทศ เฉพาะในยุโรป หัวเว่ยได้รับอนุมัติสิทธิบัตร แล้วจำนวน 11,474 ฉบับ ซึ่งนับรวม 2,247 ฉบับในปี  2558 แล้ว

ในปี  2558 หัวเว่ยได้ส่งมอบสมาร์ทโฟนไปทั้งสิ้น 108 ล้านเครื่อง สูงกว่าปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 44 ทำให้หัวเว่ยเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจากจีนที่สามารถสร้างสถิติยอดขายได้สูงถึง 108 ล้านเครื่อง ตามรายงานของ GFK หัวเว่ยเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอันดับ 3 ของโลก ในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม ปี 2558 ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงพฤศจิกายน ปี  2558 หัวเว่ยเป็นผู้น าตลาดสมาร์ทโฟนอันดับหนึ่งของจีน สมาร์ทโฟนกลุ่มตลาดไฮเอนด์ของหัวเว่ย อาทิ Mate 8, P8, Mate S และ Mate 7 ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากผู้บริโภค โดยหัวเว่ยได้ส่งมอบสมาร์ทโฟนรุ่น  P8 มากถึง 4.5 ล้านเครื่องและรุ่น Mate 7 จำนวน 7 ล้านเครื่องไปทั่วโลก  

หัวเว่ยได้เปิดตัวโครงการวิจัยด้านนวัตกรรมหัวเว่ย (Huawei  Innovation  Research  Program  –  HIRP)  ขึ้นในยุโรปเมื่อปี  2553 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบริษัทได้เข้าร่ วมเป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ ทั่วยุโรปถึง 120 แห่ง ซึ่งรวมทั้งมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์  มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งมิวนิคและสถาบันวิจัยฟรอนโฮเฟอร์  โดยในปี 2558 หัวเว่ยได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแก่ งานวิจัยมากถึง 107 โครงการผ่านโครงการ HIRP นี้ ครอบคลุมเทคโนโลยี ด้านต่างๆ อาทิ กราฟีน การสื่อสารไร้สาย การสื่อสารใยแก้ว คลาวด์คอมพิวติ้ง เทคโนโลยีมีเดีย และไซเบอร์ ซีเคียวริต

เทคโนโลยีสำคัญ

ปัจจุบันบริษัทหัวเหว่ยฯ ได้คิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับโลกอนาคต ( Mobile Broadband 2020)เพื่อรองรับการบริการรับส่งผ่านและจัดการข้อมูลมหาศาล (Big Data) ในอนาคต โดยมีเทคโนโลยีหลัก 2 โครงการคือ

LTE

หัวเว่ยเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งโครงข่าย LTE เชิงพาณิชย์ รายสำคัญของโลก ครอบคลุมเมืองสำคัญต่างๆ ทั่วโลกกว่า 140 แห่ง รวมถึงศูนย์กลางการเงินทั่วโลก 9 แห่งด้วย 

5G

หัวเว่ยได้ก่อตั้งศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเทคโนโลยี 5G ขึ้นใน 9 ประเทศบริษัทเป็นสมาชิกของโครงการ METIS ของสหภาพยุโรป และ 5G  PPP  รวมถึงเป็นผู้นำด้านการวิจัยและออกแบบเทคโนโลยีเชื่อมโยงสัญญาณวิทยุสำหรับการทำ Air Interface เชื่อมโยงระหว่างสถานีเคลื่อนที่และสถานีฐานสำหรับเทคโนโลยี  5ในโครงการ METIS  และยังเป็นสมาชิกของโครงการ  5GPPP  อีก 5 โครงการด้วย บริษัทคาดว่าจะลงทุนงบประมาณอย่างน้อย  600 ล้านเหรียญสหรัฐในการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี 5G ระหว่างปี  2556 -2561 ทั้งนี้หัวเว่ยได้ร่วมก่อตั้งศูนย์นวัตกรรม 5G (5G  Innovation  Centre  –  5GIC)  ขึ้นในสหราชอาณาจักร ซึ่งมีสมาชิกมาจากโอเปอเรเตอร์ รายใหญ่ๆ ของสหราชอาณาจักรมากมายโดยคาดว่า เทคโนโลยี 5G จะเริ่มติดตั้งให้บริการได้ ในปี 2563

ธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับองค์กร

เทคโนโลยีของบริษัทฯ นอกเหนือจากการให้บริการและผลิตเทคโนโลยีที่รองรับลูกค้าทั่วไปแล้ว หัวเว่ยยังมีเทคโนโลยีที่รองรับการใช้งานของลูกค้าระดับองค์กร ได้แก่

การสื่อสารสำหรับองค์กรและ Switch

หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชั่น IoT แบบ SDN-based Agile เป็นรายแรกๆ ของโลก สำหรับบริการด้านคลาวด์ หัวเว่ยได้เปิ ดตัวโซลูชั่นเน็ตเวิร์ค Cloud Fabric Data Center 3.0 ตามรายงานสถิติ ของ IDC ที่เผยแพร่ ในช่วงไตรมาสที่หนึ่ง ปี 2558 หัวเว่ยครองสัดส่วนตลาดวิดีโอคอนเฟอเรนซ์มากเป็นอันดับ 3

ไอทีสำหรับองค์กร

จากรายงานสถิติของ Gartner  ประจำไตรมาสสาม ปี 2558 รายได้ของหัวเว่ยจากผลิตภัณฑ์สตอเรจเติบโตในอัตราสูงถึงร้อยละ 59 ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2558 ซึ่งถือเป็นอัตราเติบโตที่เร็วที่สุดในกลุ่มผู้จำหน่ายทั้งหมดการส่งมอบเซิร์ฟเวอร์ ของหัวเว่ย จัดอยู่ในล าดับที่ 4 ในช่วง 9 ไตรมาสที่ผ่านมาตามข้อมูลสถิติของ  Gartner  ที่ตีพิมพ์ในช่วงไตรมาสสาม ปี  2558 ด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง หัวเว่ยทำงานร่ วมกับบริษัทพันธมิตรกว่า 500 ราย และลูกค้ากว่า 1,000 ราย และได้ติดตั้งคลาวด์ดาต้าเซ็นเตอร์ไปแล้ว 255 แห่ง

 

 “ผู้นำเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต” คงเป็นคำที่ไม่ไกลเกินไปสำหรับบริษัทหัวเว่ยฯ นวัตกรรมต่าง ๆ ที่บริษัทฯ ได้คิดค้นเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีของโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่งนั้นจะนำพาจีนไปสู่ตำแหน่งผู้นำของเทคโนโลยีของโลกได้อย่างไม่ต้องสงสัย ทั้งนี้ความร่วมมือของ บริษัทหัวเว่ยฯ กับไทยก็ยังคงพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง เนื่องจากความได้เปรียบของคุณภาพแรงงานและบุคลากร รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งจึงทำให้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางของการติดต่อและกระจายความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของหัวเว่ยไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใกล้เคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

เทคโนโลยีหัวเหวยหัวเว่ยฮวาเหว่ยเซินเจิ้น

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน