NDRC ประกาศแผนพัฒนา 5 กลุ่มพื้นที่ ยกระดับเมืองและขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่

24 Jul 2017

คณะกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (National Development and Reform Commission: NDRC) ได้ประกาศแผนพัฒนา 5 กลุ่มพื้นที่ในภาคตะวันออกและตะวันตกของจีน เพื่อยกระดับศักยภาพของเมืองให้เป็นศูนย์กลางการกระจายความเจริญสู่พื้นที่รอบข้าง (Five Cities Clusters Plan) ดังนี้

พื้นที่ภาคตะวันออก (1) กลุ่มพื้นที่มณฑลกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay) และ (2) กลุ่มพื้นที่เศรษฐกิจช่องแคบไต้หวัน (Western Taiwan Straits Economic Zone) ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของมณฑลฝูเจี้ยนด้วย

พื้นที่ภาคตะวันตก (1) กลุ่มพื้นที่ราบกวนจง ครอบคลุมพื้นที่มณฑล  ส่านซีและมณฑลกานซู่ (Guanzhong Plain Urban Cluster) (2) กลุ่มพื้นที่นครหลานโจว มณฑลกานซู่ – นครซีหนิง มณฑลชิงไห่ (Lanzhou-Xining Cluster) และ (3) กลุ่มพื้นที่นครฮูฮอต – เมืองเปาโถว – เมืองออดอส เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน – นครยวีหลิน มณฑลส่านซี (Hohhot-Baotou-Erdos-Yulin Cluster)

แผนพัฒนา 5 กลุ่มพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่จีนตะวันตกนั้น จะเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันทั้งในด้านภูมิศาสตร์และประเภทของอุตสาหกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มพื้นที่

อาณาเขต

อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ

1. พื้นที่ราบกวนจง (Guanzhong Plain Urban Cluster) มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษกวนจง-เทียนสุ่ย (Guanzhong-Tianshui Economic Zone)

– ขนาด 69,600 ตร. กม. ครอบคลุมพื้นที่

มณฑลส่านซี เขตฯ หยางหลิง เมืองเว่ย-หนาน เมืองซังลั่ว เมืองถงชวน เมืองเป่าจี เมืองเสียนหยาง และนครซีอาน

มณฑลกานซู่ – พื้นที่ราบเทียนสุ่ย เมืองผิง-เหลียง เมืองชิ่งหยาง และเมืองหล่งหนาน

– อุตสาหกรรมการเกษตร (เขตฯ หยางหลิง และเมืองหล่งหนาน)

– อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ (เมืองเป่าจี และเมืองชิ่งหยาง)

– อุตสาหกรรมการแปรรูปโลหะ (เมืองถงชวน และเมืองเว่ยหนาน)

– อุตสาหกรรมการผลิต (เมืองเทียนสุ่ยและเมืองเสียนหยาง)

– การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (นครซีอาน)

2. กลุ่มพื้นที่นครหลานโจว มณฑลกานซู่ – นครซีหนิง มณฑลชิงไห่ (Lanzhou-Xining Cluster) มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษหลานโจว-ซีหนิง (Lanzhou-Xining Economic Zone)

นครซีหนิงและนครหลานโจว (เมืองเอกของทั้งสองมณฑล) ถูกกำหนดให้เป็นเมืองยุทธศาตร์ของการพัฒนากลุ่มพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากมีระยะห่างระหว่างกันเพียง220 กม. ครอบคลุมพื้นที่

มณฑลกานซู่ – นครหลานโจว เมืองไป๋หยิน เมืองติ้งซี และเขตฯ หลินเซี่ย

มณฑลชิงไห่ – นครซีหนิง และเมืองไห่ตง

– พัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำเหลืองร่วมกัน (เขื่อนหวงเหอหลงหยางเสีย) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำและการชลประทานเพื่อการเกษตรในพื้นที่โดยรอบ

– การพัฒนาการเกษตรและพื้นที่ปศุสัตว์

– อุตสาหกรรมแร่ เช่น ทองแดง และถ่านหิน (เมืองไป๋หยิน)

3. กลุ่มพื้นที่นครฮูฮอต – เมืองเปาโถว – เมืองออดอส  เขตฯ มองโกเลียใน – นครยวีหลิน มณฑลส่านซี (Hohhot-Baotou-Erdos-Yulin Cluster) เดิมคือพื้นที่ความร่วมมือสามเหลี่ยมทองคำ ฮูฮอต-เปาโถว-ออดอส(Hohhot-Baotou-Erdos- Golden Triangle)

ครอบคลุมพื้นที่

เขตฯ มองโกเลียใน – นครฮูฮอต  เมืองเปา-โถว และเมืองออดอส

มณฑลส่านซี – เมืองยวีหลิน

ความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมหนัก ได้แก่ (1) พลังงานและปิโตรเคมี (เมืองเปาโถว เมืองฮูฮอต เมืองออดอส และเมืองยวี-หลิน) และ (2) การแปรรูปโลหะและอุตสาหกรรมการผลิต (เมืองเปาโถว)

– การบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำ          

– การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ  

ทั้งนี้ NDRC คาดว่าการรวบรวมแผนการพัฒนา 5 กลุ่มพื้นที่จะเสร็จสิ้นภายในปีนี้ โดยกลุ่มพื้นที่ของจีนตะวันตกเฉียงเหนือมีเป้าหมายสำคัญ ดังนี้  

1. การยกระดับคุณภาพประชากร

การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรผ่านเทคโนโลยีทางการเกษตร การพัฒนาพื้นที่ชุมชนแออัด (โดยตั้งเป้าจะพัฒนาพื้นที่ประเภทดังกล่าวให้ได้ไม่น้อยกว่า 6 ล้านครัวเรือน) โครงการพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยใกล้เสื่อมโทรมจำนวน 3.14 ล้านครัวเรือน การยกระดับมาตรฐานสถานพยาบาล การก่อตั้งกองทุน National New Urbanization Construction Fund เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย และการจัดการระบบข้อมูลการย้ายถิ่นฐานประชากร เป็นต้น

2. การก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคและเส้นทางคมนาคมในพื้นที่

โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในเมือง และโครงการก่อสร้างระบบกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสีย จำนวน 638 แห่ง

3. การยกระดับเมืองเข้าสู่ยุค Smart City

โครงการก่อสร้างเขตสาธิตนวัตกรรม Smart Innovation ในระบบและอุปกรณ์สาธารณะที่จะช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

แผนการพัฒนาเมืองแบบ Super Clusters/City Clusters Plan เริ่มต้นขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (ปี 2549-2553) โดยเป็นแผนการพัฒนาต่อเนื่องไปจนถึงปี 2563 ใน 19 เมืองหลักของประเทศให้พร้อมสำหรับการเป็นพื้นที่เศรษฐกิจระดับโลก (สำหรับ Super Cluster Cities) และเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดใหม่ (สำหรับ City Clusters) และเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองชายขอบ (Frontier Clusters) อีกด้วย การประกาศแผนพัฒนา 5 กลุ่มพื้นที่ในครั้งนี้ ถือเป็นการตอกย้ำความสำคัญของพื้นที่ดังกล่าวที่จะกลายมาเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่โดยรอบ และจะช่วยส่งเสริมให้การทำงานระหว่างมณฑลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง

1. http://www.sei.gov.cn/gztsgh/3.htm

2. http://www.chinadaily.com.cn/china/2017-07/12/content_30078485.htm

3. http://pubdocs.worldbank.org/en/343681455906838472/China-City-Clusters-Bertaud.pdf

 

ShaanxiXi'anNDRC

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน