GDP 64 ของหนิงเซี่ยทะลุ 4 แสนล้านหยวนได้เป็นครั้งแรก มุ่งพัฒนาสู่เมืองทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

25 Feb 2022

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 รัฐบาลเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยจัดการประชุมสภาประชาชนครั้งที่ 12 สมัยที่ 5 โดยมี  นางเสียน ฮุย (Xian Hui:咸辉) ประธานเขตฯ เป็นผู้แถลงรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลเขตฯ และเป้าหมายการดำเนินงานในปี 2565 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2564

ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของเขตฯ 452,230 ล้านหยวน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 6.7 ถือเป็นการทำสถิติทะลุหลัก 4 แสนล้านหยวนได้เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของนครหยินชวน 226,300 ล้านหยวน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 6.3

  1. ภาพรวมการลงทุน

2.1 การลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและกลุ่มที่ไม่ใช่พลังงาน ในปีที่ผ่านมา เขตฯ ได้ลุล่วงการลงทุนใน 9 โครงการใหญ่ อาทิ โครงการต่อต้านภัยแล้งด้วยการสร้างพื้นที่ปลูกพืชมาตรฐานสูง 960,000 หมู่ (ราว 393,442 ไร่) โครงการเพิ่มปริมาณสำรองเนื้อวัวและนมวัวให้มากขึ้นร้อยละ 20 โครงการก่อสร้างฐานสาธิตอุตสาหกรรมไวน์องุ่นแห่งแรกในจีน (国家葡萄及葡萄酒产业开放发展综合试验区)1

2.2 โครงการลงทุนที่สำคัญในนครหยินชวน ข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมพาณิชย์เขตฯ ระบุว่า นครหยินชวนเป็นที่ตั้งของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ อาทิ

2.2.1 โครงการก่อสร้างฐานการผลิตพลังงานใหม่ วัสดุใหม่ และการแปรรูปอาหารโดยมีวิสาหกิจขนาดใหญ่เข้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง อาทิ ผู้ผลิตและแปรรูปนมขนาดใหญ่ของจีน MengNiu ผู้ผลิตและแปรรูปอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย เช่น Beijing Tongrentang (北京同仁堂) Uni-President (统一) ผู้ผลิตและแปรรูปเก๋ากี้ Wolfberry (宁夏沃福百瑞枸杞) ผู้ผลิตและแปรรูปปศุสัตว์ Xiaoming (晓鸣牧业) มูลค่าการลงทุนรวม 96,400 ล้านหยวน มีการคาดการณ์ว่าเมื่อการก่อสร้างโครงการข้างต้นแล้วเสร็จจะสามารถนำรายได้มาสู่เขตฯ ได้มากกว่าปีละ 370,000 ล้านหยวน สร้างมูลค่าเพิ่มทางอุตสาหกรรม (Industrial output) ได้ราว 120,000 ล้านหยวน

2.2.2 ในปี 2565 เขตฯ วางแผนเดินหน้าผลักดันให้เกิดการอนุมัติในโครงการก่อสร้างโรงผลิตไฟฟ้าขนาด 6 กิ๊กกะวัตต์ของ บ. Ningxia Baofeng Energy Group (宁夏宝丰能源集团) ซึ่งคาดการณ์ว่าการสำรวจและขออนุมัติก่อสร้างจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2565 และใช้เวลา 3 ปีในการก่อสร้าง

2.3 ตลอดปีเขตฯ มีการจดทะเบียนจัดตั้งวิสาหกิจเพิ่มขึ้น 53,000 ราย เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 42 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งปฏิรูปและยกระดับการให้บริการภาครัฐ ตลอดปีที่ผ่านมาเขตฯ ได้ปฎิรูประเบียบและข้อกฎหมายไปมากกว่า 37 มาตรา ตลอดจนการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับให้ทันสมัยและคล่องตัวมากกว่า 650 ข้อ การอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนการพิจารณา/อนุมัติคำร้องวิสาหกิจผ่านโมเดลการให้บริการภาครัฐ 1230 และผ่านแอปพลิเคชั่น “My Ningxia (我的宁夏)”

3. รายได้ประชากรต่อหัวและการสนับสนุนการมีงานทำในท้องถิ่น

3.1 รายได้ประชากรเฉลี่ยต่อหัว 27,904 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 จำแนกเป็น (1) รายได้ประชากรในเขตเมืองเฉลี่ยต่อหัว 38,291 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 และ (2) รายได้ประชากรในเขตชนบทเฉลี่ยต่อหัว 15,337 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4

3.2 ในช่วงที่ผ่านมา เขตฯ ได้ร่วมกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ในพื้นที่ อาทิ Yinchuan Jianfa Group (银川建发集团) ในการลงทุนสร้างพื้นที่การค้ารายย่อยที่จะสามารถรองรับจำนวนผู้ค้า/ร้านค้าขนาดเล็กได้ราว 2,000 ราย ซึ่งคาดการณ์ว่าเมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จจะสามารถแก้ไขปัญหาคนว่างงานได้ราว 60,000 คน ด้วยงบประมาณการลงทุน 4,500 ล้านหยวน โครงการนี้จะแล้วเสร็จในปี 2568

  1. โลจิสติกส์และการขนส่งสินค้า

มูลค่าการดำเนินงานโลจิสติกส์ 912,397 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 ในจำนวนนี้แบ่งเป็น

4.1. การขนส่งสินค้าเกษตร 62,889 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8

4.2. การขนส่งสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรม 631,740 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2

4.3 การขนส่งสินค้าประเภทค้าส่ง 211,425 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7

4.4 การขนส่งสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค 2,423 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23

4.5 การขนส่งพัสดุ 1,541 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3

  1. การนำอินเตอร์เน็ตมาใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตประชากร

รัฐบาลเขตฯ นำอินเตอร์เน็ตเข้ามาพัฒนาระบบการแพทย์ “Telemedicine” (โทรเวชกรรม) แต่เดิมเพื่อให้บริการผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ โดยในปีที่ผ่านมารัฐบาลเขตฯ ได้นำเอาโมเดลดังกล่าวมาต่อยอดพื้นที่ให้บริการทางการแพทย์ในเขตตัวเมืองและอำเภอขนาดใหญ่ (โรงพยาบาลระดับที่ 2 ขึ้นไป) ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยในอำเภอไม่จำเป็นต้องถูกส่งตัวเข้ามาเพื่อรักษาในโรงพยาบาลประจำเมืองหรือเขตฯ สามารถลดความแออัดและทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ได้มากถึงร้อยละ 90 นอกจากในด้านการแพทย์แล้ว ที่ผ่านมาเขตฯ ได้นำอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนอีกด้วย โดยเฉพาะในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

  1. การค้าระหว่างประเทศ

6.1 การค้าระหว่างประเทศของเขตฯ มีมูลค่ารวม 21,400 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ราวร้อยละ 73.4 (มูลค่าการค้าระหว่างประเทศจัดอยู่ในลำดับที่ 29 ของประเทศ) จำแนกเป็น (1) การส่งออก 17,480 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 101.7 และ (2) การนำเข้า 3,920 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8

6.2 คู่ค้า 5 อันดับแรกของเขตฯ

6.2.1 สหภาพยุโรป 3,790 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 112.1

6.2.2 อาเซียน 2,840 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.5

6.2.3 สหรัฐอเมริกา 2,570 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.4

6.2.4 ญี่ปุ่น 2,170 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.3

6.2.5 อินเดีย 1,620 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9

6.3 การค้าระหว่างประเทศในแต่ละเมืองของเขตฯ

6.3.1 นครหยินชวน มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศมากที่สุดในเขตฯ 13,210 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 109.7

6.3.2 เมืองสือจุ่ยซาน (石嘴山市) 4,860 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8

6.3.3 เมืองจงเว่ย (中卫市) 2,830 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.2

6.3.4 เมืองอู๋จง (吴忠市) 480 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.4

6.3.5 เมืองกู้หยวน (固原市) 30 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.8

6.4 สินค้าส่งออกของเขตฯ ที่มีอัตราการเติบโตที่ดี ได้แก่

6.4.1 ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและอุปกรณ์ไฟฟ้า 3,400 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 122

6.4.2 เคมีอินทรีย์พื้นฐาน 2,660 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.4

6.4.3 สินค้าในกลุ่มที่ต้องใช้แรงงานในการผลิตมาก (Labor Intensive Goods) 1,850 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 966.7

6.4.4 วัสดุทางการแพทย์และทางเภสัชกรรม 1,740 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4

6.4.5 ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 1,450 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33

6.4.6 โลหะผสมเหล็ก 530 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3.

6.5 สินค้าที่เขตฯ นำเข้าและมีอัตราการเติบโตที่ดี ได้แก่

6.5.1 ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและอุปกรณ์ไฟฟ้า 1,270 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.9

6.5.2 ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 260 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 121.7

6.5.3 โพลีซิลิกอน2 170 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7

7. การค้าระหว่างประเทศกับไทย

7.1 ข้อมูลจาก Global Trade Atlas ระบุว่า การค้าระหว่างประเทศระหว่างเขตฯ กับไทย มีมูลค่า 89,362,616 ดอลลาร์สหรัฐ จำแนกเป็น (1) เขตฯ นำเข้าจากไทย 7,982,616 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.05 (2) เขตฯ ส่งออกไปไทย 81.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.7

7.2 สินค้าหลักที่เขตฯ นำเข้าจากไทย ได้แก่

7.2.1 พิกัดศุลกากร 40 ยางและของที่ทำด้วยยาง 7.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.42

7.2.2 พิกัดศุลกากร 90 อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ฯ 60,087 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 292.57

7.2.3 พิกัดศุลกากร 85 เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าฯ 4,401 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 39.28

7.2.4 พิกัดศุลกากร 98 เบ็ดเตล็ด 30 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 98.52

7.3 สินค้าหลักที่เขตฯ ส่งออกไปไทย ได้แก่

7.3.1 พิกัดศุลกากร 29 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ 29.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.46

7.3.2 พิกัดศุลกากร 84 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์บอยเลอร์ เครื่องจักร เครื่องใช้กล 14.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 77.1

7.3.3 พิกัดศุลกากร 63 ของที่ทำด้วยสิ่งทอที่จัดทำแล้วอื่น ๆ ของเป็นชุดฯ 8.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ติดอันดับครั้งแรก)

7.3.4 พิกัดศุลกากร 38 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 115.7

7.3.5 พิกัดศุลกากร 85 เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าฯ 3.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4,376.97

นอกจากกลุ่มสินค้าที่เขตฯ ส่งออกไปไทยมากที่สุดแล้ว ยังพบว่ามีสินค้าส่งออกที่มีอัตราการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้

7.3.6 พิกัดศุลกากร 82 เครื่องมือ เครื่องใช้ ของใช้ชนิดมีคมฯ 144,370 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6,350.85

7.3.7 พิกัดศุลกากร 69 ผลิตภัณฑ์เซรามิก 336,300 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4,434.18

7.3.8 พิกัดศุลกากร 56 แวดดิ้ง สักหลาดและผ้าที่ไม่ทอ ด้ายชนิดพิเศษ เชือกชนิดทไวน์ ชนิดคอร์เดจ ชนิดโรปและเคเบิล และของที่ทำด้วยสิ่งดังกล่าว 11,780 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,531.58

7.3.9 พิกัดศุลกากร 72 เหล็กและเหล็กกล้า 2.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,133.17

7.3.10 พิกัดศุลกากร 73 ของที่ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า 2.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 472.88

  1. เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจปี 2565

8.1 รัฐบาลเขตฯ ยึดมั่นหลักการเสถียรภาพ 6 ประการ (六稳) ได้แก่ เสถียรภาพและความมั่นคงในด้านการจ้างงาน การเงิน การค้าต่างประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศ การลงทุน และการคาดการณ์ (Stabilizing employment, finance, foreign trade, foreign investment, investment and expectation) และหลักประกัน 6 ประการ (六保) ได้แก่ การประกันด้านการจ้างงาน ชีวิตความเป็นอยู่พื้นฐานของประชาชน ความมั่นคงของตลาด ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน รักษาเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทาน และการดำเนินงานของระดับพื้นฐาน

8.2 การเพิ่มศักยภาพในวิสาหกิจท้องถิ่น ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีความโดดเด่น (Little Giant Enterprise) ให้ไม่น้อยกว่า 10 ราย

8.3 ตั้งเป้าดึงดูดการลงทุนจากวิสาหกิจขนาดใหญ่ตลอดปี ไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านหยวน โดยเฉพาะโครงการลงทุนเพิ่มเติมด้านการแปรรูปนมวัว บ. Yili Dairy (伊利液态奶升级产业工程) โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อเมืองเปาโถว เขตฯ มองโกเลียใน-นครหยินชวน (包银高铁设施项目) โครงการก่อสร้างศูนย์รองรับการรักษาโรคระบาดประจำเขตฯ (自治区重大疫情救治基地) เป็นต้น

8.4 การส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 พร้อมตั้งเป้ายกระดับบริการรถสาธารณะที่สามารถเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวได้สะดวก เพิ่มความคล่องตัวให้แก่นักท่องเที่ยว

8.5 การยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมไปสู่ความไฮเทคควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม CNC, เครื่องมือวัด (Instrumentation), อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุใหม่, กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด ให้มีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 และตั้งเป้าดึงดูดการลงทุนจากกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ไวน์ เก๋ากี้ การผลิตและแปรรูปนมวัว การแปรรูปเนื้อวัวและเนื้อแพะ

8.6 ส่งเสริมการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ในปี 2565 รัฐบาลเขตฯ ตั้งเป้าขยายสัญญาณ 5G ตลอดจนการนำ Big Data และ AI มาใช้ในงานให้บริการภาครัฐและในสถานที่ท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพวิสาหกิจที่ให้บริการด้าน Cloud ราว 1,000 ราย  และกลุ่มธุรกิจให้บริการไม่น้อยกว่า 13 กลุ่ม

8.7 การมุ่งสนับสนุนเงินทุนให้แก่วิสาหกิจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตั้งเป้าสนับสนุนวิสาหกิจด้านการวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยี อย่างต่อเนื่องโดยแบ่ง การสนับสนุนวิสาหกิจตั้งใหม่ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานระดับชาติ (国家高新技术企业) 50 ราย วิสาหกิจด้านนวัตกรรมที่ลงทุนในเขต/พื้นที่สาธิตทางเศรษฐกิจ (创新型示范企业) 20 ราย และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมด้านเทคโนโลยี (科技型中小企业) 100 ราย

8.8 การเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน รัฐบาลเขตฯ ตั้งเป้าปฏิรูปเขตที่อยู่อาศัยเสื่อมโทรมให้กับประชาชนกว่า 50,000 ครัวเรือน สร้างที่พักอาศัยให้กับผู้มีที่พักอาศัยทรุดโทรม 3,800 แห่ง สร้างระบบการระบายน้ำสาธารณะไม่ต่ำกว่า 10,000 กม. สร้างที่จอดรถสาธารณะ 40,000 คัน พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนออนไลน์ My Ningxia (我的宁夏) ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพิ่มสวัมดิการเงินอุดหนุนประชากรยากจนในเขตเมืองและเขตชนบทสูงสุด 600 หยวนและ 960 หยวนต่อปี ตามลำดับ

8.9 การเพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่ฟังก์ชั่นต่างๆ ในเขตฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การเร่งสร้างฐานบูรณาการและสาธิตอุตสาหกรรมการปลูกองุ่นและแปรรูปไวน์หนิงเซี่ย (国家葡萄及葡萄酒产业开放发展综合试验区) การเร่งผลักดันให้เกิดเที่ยวบินขนส่งสินค้าระหว่างเมืองใหญ่ในประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งผ่านช่องทางการขนส่งที่หลากหลาย

8.10 ดัชนีทางเศรษฐกิจ ตั้งเป้าการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 การลงทุนด้วยเงินทุนจากต่างประเทศเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ประชากรมีงานทำเพิ่มขึ้น 75,000 คน แรงงานในภาคชนบทมีงานทำเพิ่มขึ้น 750,000 คน โครงการอบรมและพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 60,000 คน

                                                                                   ********************************

___________________

  1. โครงการก่อสร้างฐานสาธิตอุตสาหกรรมไวน์องุ่นแห่งแรกในจีน (国家葡萄及葡萄酒产业开放发展综合试验区) ได้รับการอนุมัติจากคณะมนตรีแห่งรัฐ เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2564 โดยกรมเกษตรและชนบทเขตฯ หนิงเซี่ยหุย (宁夏农业农村厅) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน บนพื้นที่ 1.5 ล้านหมู่ (ราว 614,754 ไร่) ณ เทือกเขาเฮ้อหลาน งปม. กว่า 200,000 ล้านหยวน รบ. เขตฯ ตั้งเป้าเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2578 เขตฯ จะมีศักยภาพในการผลิตไวน์ได้มากถึง 600 ล้านขวดต่อปี
  2. โพลีซิลิกอน (Polycrystalline Silicon Solar Cell) 1 ในชนิดของโซลาร์เซลล์ ลักษณะเป็นแผ่นซิลิคอนแข็งและบางมาก เซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกโพลีได้ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนสูงของแบบผลึกซิลิคอนเดี่ยว

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน