แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี ฉบับที่ 13 มณฑลกวางตุ้ง ตอนที่ 1 มั่นใจ บรรลุเป้าหมายเร็วกว่ากำหนดเดิม 2 ปี

16 May 2016

เนื้อหาสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี ฉบับที่ 13 มณฑลกวางตุ้ง

พิมพ์เขียวของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ปี ฉบับที่ 13 ของมณฑลกวางตุ้งได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันและมุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดของประเทศ แผนพัฒนาฯ ดังกล่าวมีระยะเวลาระหว่างปี 2559-2563 โดยเป้าหมายสูงสุดคือการนำพาสังคมไปสู่ “สังคมกินดีอยู่ดี” หรือ “เสี่ยวคังเซ่อหุ้ย” (小康社会) ซึ่งจะเป็นความสำเร็จและชัยชนะของการปฏิรูปสังคมจีนใน 100 ปีแรก นับตั้งแต่เริ่มมีการปฏิวัติสังคมจีนและโค่นล้มราชวงศ์ชิงในปี ค.ศ. 2463 และเป็นการวางรากฐานสังคมเพื่อการพัฒนาสำหรับ 100 ปีถัดไป โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือนำชาวจีนไปสู่ Chinese Dream หรือ “จงกั๋วเมิ่ง” (中国梦) ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในการสร้างสรรค์สังคมจีนให้มีความกินดีอยู่ดีและนำพาประเทศไปสู่ความรุ่งเรืองและแข็งแกร่งในเวทีโลก โดยมีนัยต่างจาก American Dream ที่เน้นความสำเร็จของตัวบุคคลเป็นหลัก

ทั้งนี้มณฑลกวางตุ้งจะก้าวไปสู่การเป็นสังคมกินดีอยู่ดีของประเทศและก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมนิยมที่ทันสมัยได้หรือไม่นั้น จำเป็นจะต้องตั้งมั่นอยู่บนนโยบายพื้นฐานอันสำคัญคือ “3 ตำแหน่ง 2 นำหน้า” (三个定位、两个率先) ซึ่งใจความสำคัญของนโยบายดังกล่าวพูดถึงการกำหนดตำแหน่งสำคัญ 3 ประการของสังคมในมณฑลกวางตุ้ง คือ

1) เป็นมณฑลที่มีระบบสังคมนิยมอันมีอัตลักษณ์ของจีน

2) เป็นมณฑลที่ได้รับการปฏิรูปและเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ

3) เป็นมณฑลที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ 

และมีนโยบาย 2 ประการที่มณฑลกวางตุ้งจะบรรลุผลสำเร็จและก้าวสู่การเป็นมณฑลชั้นนำของจีนในอนาคตอันใกล้คือ  

1) สังคมกินดีอยู่ดีในทุก ๆ ด้าน

2) สังคมที่มีพื้นฐานของระบบสังคมนิยมที่ทันสมัย (ระบบสังคมนิยมที่ทันสมัยประกอบด้วยความทันสมัย 4 ประการได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม กองทัพ และวิทยาการทางวิทยาศาสตร์)

โดยดำเนินงานตามแนวทางยุทธศาสตร์สำคัญ 4 ด้านได้แก่ สร้างสรรค์ สามัคคี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเปิดเผย ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มณฑลกวางตุ้งมีแนวทางการทำงานที่มุ่งมั่นที่จะให้เกิดการสร้างสรรค์ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา ยกระดับและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและนโยบายอย่างต่อเนื่อง โดยจะรักษาระดับความเร็วของการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับกลางและระดับสูง เพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพและความยุติธรรมในงานดำเนินนโยบายเพื่อเอื้อแก่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคตและเผยโฉมหน้าอันสมบูรณ์ของสังคมนิยมสมัยใหม่ในมณฑลกวางตุ้ง

ปี 2018 ดัชนีสังคมกินดีอยู่ดีของมณฑลกวางตุ้งมากกว่าร้อยละ 97

ในแผนพัฒนาสังคมแห่งชาติ 5 ปี ฉบับที่ 13 มณฑลกวางตุ้งได้ระบุไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานอันได้แก่ “ประชาชนคือหัวใจหลักที่จะร่วมแบ่งปันผลสำเร็จ” “พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อน” “ปฏิรูปเชิงลึก เพิ่มแรงจูงใจ” “ดำเนินงานตามกฎหมาย ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม” “เปิดกว้างและหลอมรวมในระดับนานาชาติ” “ให้พรรคฯ นำทาง การเมืองมีเสถียรภาพ” ซึ่งหลักการพื้นฐานเหล่านี้เชื่อว่าจะนำพามณฑลกวางตุ้งและประเทศจีนให้ก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในระดับชาติและระดับโลก มีการพัฒนาอย่างมีแบบแผนที่แน่ชัด รวมถึงการนำอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและนวัตกรรมเข้ามาเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อเป็นการพลักดันให้เกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความทัดเทียมและสามารถพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องได้

เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑลกวางตุ้ง คือการนำสังคมไปสู่การเป็นสังคมกินดีอยู่ดีในทุก ๆ ด้านภายในปี 2561 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดการเดิม 2 ปี (เดิมตั้งเป้าไว้ในปี 2563) รักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ที่ระดับกลางและระดับสูง  อัตราการเติบโตของ GDP เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 และเพิ่มขึ้นถึง 110 ล้านล้านหยวนในปี 2563 รายได้ประชาชาติเฉลี่ย 1 แสนหยวน เศรษฐกิจและสังคมดำเนินไปตามแนวทาง สร้างสรรค์ สามัคคี เปิดเผยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการปฏิรูปและพัฒนาอย่างเป็นโครงสร้างเพื่อก้าวไปสู่ระดับที่สูงขึ้น หลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับอุตสาหกรรมการผลิต การบริโภคมีผลอย่างชัดเจนต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เร่งอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรในมณฑล รายได้ของประชากรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 ยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยบริการด้านการศึกษา วัฒนธรรม ประกันสังคมและการรักษาพยาบาล โดยเป็นมณฑลชั้นนำที่ให้บริการสาธารณะของประกรในเมืองและชนบทแบบบูรณาการ

กล่าวโดยสรุป ในปี 2061 มณฑลกวางตุ้งจะกลายเป็นมณฑลที่มีดัชนี “สังคมกินดีอยู่ดี” ถึงร้อยละ 97 และรายได้เฉลี่ยของประชากรทั้งในเมืองและชนบทเพิ่มมากกว่าปี 2553 จำนวน 1 เท่าตัว  ซึ่งตั้งมั่นอยู่บนรากฐาน 4 ประการ ได้แก่ 1) เศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยม  2) เขตเปิดกว้างสำหรับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ 3) การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ และ 4) การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ

ทั้งนี้ในปี 2543 ซึ่งเป็นปีที่ผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาแล้วถึง 3 ฉบับ มณฑลกวางตุ้งจะมี “นวัตกรรม” เป็นกุญแจสำคัญที่จะนำพาและสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ รวมถึงรูปแบบของการพัฒนา ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต สิ่งแวดล้อม สังคมและคุณภาพชีวิต

การตั้งเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมของมณฑลกวางตุ้ง ที่เร็วกว่ากำหนดเดิมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติถึง 2 ปีนั้น แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความมั่นใจของรัฐบาลที่มีต่อมณฑลในการพัฒนารอบด้านอย่างก้าวกระโดด เพื่อนำพามณฑลกวางตุ้งให้กลายเป็น “สังคมกินดีอยู่ดี” หรือ เสี่ยวคังเซ่อฮุ่ย 小康社会

เศรษฐกิจมณฑลกวางตุ้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13สังคม

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน