รู้หรือไม่…ครึ่งปีหลัง กว่างซีมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร?

4 Sep 2017

ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 เศรษฐกิจของกว่างซีขยายตัวเต็มศักยภาพที่ 7.2%สะท้อนให้เห็นถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของกว่างซี และกว่างซีขยับเข้าใกล้เป้าหมายที่ 7.5% อีกก้าว

ตัวเลขเศรษฐกิจเขตฯ กว่างซีจ้วง ไตรมาส 2/2560

ดัชนี

หน่วย

มูลค่า

(%)

มูลค่า GDP

ล้านหยวน

817,981

7.2

   – อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ (การเกษตร)

ล้านหยวน

76,102

3.8

– อุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ (การผลิต)

ล้านหยวน

413,386

6.6

   – อุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิ (การบริการ)

ล้านหยวน

328,493

8.6

รายได้การคลัง

ล้านหยวน



6.3

มูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

ล้านหยวน



7.0

การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

ล้านหยวน

942,120

12.8

มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค

ล้านหยวน

359,783

10.6

มูลค่าการค้าต่างประเทศ

ล้านหยวน

178,596

30.0

รายได้เฉลี่ยที่ใช้จ่ายได้ของชาวเมือง

หยวน

15,044

5.8

รายได้เฉลี่ยที่ใช้จ่ายได้ของชาวชนบท

หยวน

5,845

8.9

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

101.1

1.1



ด้านการค้าต่างประเทศ ช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ เขตฯ กว่างซีจ้วงมีมูลค่ารวม 178,600 ล้านหยวน ขยายตัว 30% (สูงกว่าอัตราขยายตัวของทั้งประเทศอยู่ร้อยละ 10.4 จุด) แบ่งเป็นมูลค่าส่งออก 79,250 ล้านหยวน ขยายตัว 17.4% และมูลค่านำเข้า 99,350 ล้านหยวน ขยายตัว 42.1% โดยกว่างซีเป็นฝ่ายเสียดุลการค้า 20,100 ล้านหยวน


เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ รัฐบาลกว่างซีได้วางแผนการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2560 ไว้หลายด้าน อาทิ

1. ระบบโครงสร้างพื้นฐาน มุ่งพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมระบบราง (การปรับปรุงรางรถไฟระหว่างเมืองต่างๆ รวมถึงเมืองชายแดน การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินในนครหนานหนิง) ทางหลวงพิเศษ และถนนในเขตชนบท และการพัฒนาระบบน้ำ ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ อินเตอร์เน็ต และอื่นๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเมืองและชาวชนบท

2. ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจด้านอุปทาน (supply-side structural reform) มุ่งเน้นการดำเนินนโยบายเพื่อลดต้นทุนประกอบการของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะต้นทุนที่เกิดจากภาษีอากร การซื้อขาย การใช้ประโยชน์ที่ดิน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. ยกระดับการพัฒนาของอุตสาหกรรมดั้งเดิมใน 2 ด้านหลัก กล่าวคือ

(3.1) เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอ้อย (อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ functional sugar, ยีสต์ อาหารสัตว์ และอาหารพรีเมี่ยม) และอลูมิเนียม (อาทิ วัสดุในอุตสาหกรรมอากาศยานและอวกาศ รถไฟความเร็วสูง)

(3.2) ส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้างธุรกิจ รัฐบาลกว่างซีมีแผนส่งเสริมการควบรวมกิจการโรงงานน้ำตาล เพื่อบ่มเพาะกลุ่มธุรกิจน้ำตาลที่มีขีดความสามารถทางการแข่งขัน 5-6 ราย และเพื่อประสิทธิภาพของธุรกิจน้ำตาลด้วยการลดโรงงานน้ำตาลจาก 100 กว่าราย ให้เหลือโรงงานหัวกระทิราว 60 ราย

4. อุตสาหกรรมสมัยใหม่ มุ่งส่งเสริมการพัฒนาใน 2 สาขา คือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สารสนเทศ และอุตสาหกรรมเภสัชกรรมชีวภาพ โดยมีการจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรมดังกล่าวหลายกองทุน อาทิ กองทุนแนะแนวการลงทุนก้อนแรกมูลค่า 3 พันล้านหยวน กองทุนเฉพาะเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนนวัตกรรมช่วง 3 ปีมูลค่า 5 พันล้านหยวน และกองทุนค้ำประกันอุตสาหกรรมเกิดใหม่

5. เกษตรกรม มุ่งเน้นการปฏิรูปโครงสร้างด้านอุปทาน พัฒนาการเกษตรสู่ระบบอุตสาหกรรม การพัฒนาเขตสาธิตการเกษตรสมัยใหม่ที่เป็นจุดแข็งของตนเอง การพัฒนาระบบบริการเพื่อการพัฒนาแบรนด์เกษตรและแพลทฟอร์มส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ การพัฒนาระบบการสร้างหลักประกันอาหารปลอดภัย(trace back) การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็นและการเพิ่มขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตรด้วยตู้ความเย็น การเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟกับระบบขนส่งระหว่างประเทศ (เส้นทางรถไฟนครฉงชิ่ง-เขตฯ ซินเจียงอุยกูร์-ยุโรป และนครเจิ้งโจว-ยุโรป) และการพัฒนาระบบ e-Commerce ในชนบท

เศรษฐกิจกว่างซี

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน