มณฑลกวางตุ้งประกาศ 10 ภารกิจติดดาวปี 60 นำพาเศรษฐกิจและสังคมสู่เป้าหมายสำคัญ

16 Mar 2017

หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมสภาปรึกษาการเมืองมณฑลกวางตุ้งครั้งที่ 4 สมัยที่ 12 ณ นครกว่างโจว รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งนำโดยนายหม่า ซิ่งรุ่ย ผู้ว่าการมณฑลฯ ได้รายงานผลการทำงานของรัฐบาลในปี 2559 พร้อมทั้งประกาศ 10 ภารกิจที่มณฑลกวางตุ้มุงมั่นที่จะดำเนินการในปี 2560 โดยสาระสำคัญของภารกิจดังกล่าวยังคงให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงตัวเลขที่สูง แต่ยังให้ความสำคัญกับการปรับปรุงคุณภาพของเศรษฐกิจ พร้อมกับยกระดับการค้าในมิติต่าง ๆ รอบด้าน อีกทั้งการพัฒนาด้านสังคมยังคงเป็นประเด็นหลักที่มณฑลกวางตุ้งหวังว่าจะสามารถพัฒนาควบคู่ไปกับการเติบโตทางด้านเศรฐกิจ  อีกทั้งคาดหวังว่าการพัฒนาจะกระจายตัวไปในทุกพื้นที่อย่างเท่าเทียม ไม่กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่เพียงอย่างเดียว 10 ภารกิจของปี 2560 ที่จะนำพามณฑลกวางตุ้งไปสู่สังคมกินดีอยู่ดีและเศรษฐกิจดุลภาพใหม่ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13  ที่จะสิ้นสุดในปี 2563 มีดังนี้

1.   รักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับกลางถึงสูง 

1.1. รักษาอัตราการขยายตัวด้านการลงทุน โดยจัดตั้งงบประมาณสนับสนุนการลงทุนโครงการสำคัญ 5.4 แสนล้านหยวน มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับประชาชน อาทิ โครงการเครือข่ายเส้นทางด่วน โครงการชลประทาน โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการพลังงานใหม่ โครงการที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชน โครงการที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมขนส่ง อาทิ เส้นทางด่วนกว่างโจว-ซัวเถา โครงการสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า โครงการสะพานเซินเจิ้น-จงซาน โครงการรถรางกว่างโจว-ฝอซาน-จูเจียง โครงการส่วนขยายสนามบินไป๋หยุน โครงการย้ายสนามบินจ้านเจียง

1.2. เปิดโอกาสให้ประชาชนมีอิสระในการบริโภคสินค้ามากขึ้น สร้างกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการบริโภค ส่งเสริมความหลากหลายของอุตสาหกรรมการบริการ ได้แก่ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษา กีฬา บริการข้อมูลสารสนเทศ

1.3. ส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศให้มีเสถียรภาพและสร้างแนวโน้มที่ดีในอนาคต ส่งเสริมการส่งออกและผลักดันระบบศุลกากรแบบหน้าต่างเดียว

2.   เร่งปฏิรูปโครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจ

2.1. ส่งเสริมการนำระบบ "3 กำจัด 1 ลด 1 เสริมสร้าง" มาใช้ กำจัดการผลิตที่เกินความต้องการ กำจัดปริมาณที่อยู่อาศัยที่เกินความจำเป็น กำจัดภาระหนี้สะสม ลดต้นทุนทางการค้า และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจและสังคม อาทิ เสริมสร้างระบบนิเวศ การพัฒนาชนบท พัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ โครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมอุปทานและสนับสนุนการบริโภคของประชาชน

2.2. เร่งสร้างระบบอุตสาหกรรมการผลิตที่ทันสมัย ยกระดับและพัฒนาเทคโนโลยรสารสนเทศเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Made in China 2025

2.3. ยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ นำอินเตอร์เน็ตใยแก้วนำแสงครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 79 ของพื้นที่มณฑล เร่งดำเนินการคมนาคมอัฉริยะ เมืองอัฉริยะ อุตสาหกรรมการผลิตแบบเชื่อมโยงโดยกระจายและปรับใช้ในเมืองและชนบทอย่างเท่าเทียม

3.   นำนวัตกรรมมาขับเคลื่อนการพัฒนา

3.1. สร้างศูนย์นวัตกรรมแห่งอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

3.2. สร้างแพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมสร้างเขตสาธิตนวัตกรรมและเขตสาธิการปฏิรูปนวัตกรรมรอบด้านในพื้นที่เศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูงเจียง ส่งเสริมความแข่งแกร่งด้านนวัตกรรมให้แก่นครกว่างโจวและเมืองเซินเจิ้น ส่งเสริมการจัดตั้งบริษัทเทคโนโลยีระดับสูงครบ 23,000 บริษัทภายในสิ้นปี 60 เสริมความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมวัสดุใหม่และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์อัฉริยะ

3.3. ส่งเสริมให้ประชาชนสร้างบริษัท Start-up  พร้อมสนับสนุนการใช้ Internet+ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างอาชีพ  

4.   ปฏิรูปพื้นฐานโครงสร้างเพื่อการพัฒนารอบด้าน

4.1. นำแนวความคิด ผ่อนผัน-ดูแล-บริการ มาปรับใช้ คือการปฏิรูปการทำงานของหน่วยงานราชการ โดย "ผ่อนผัน" หมายถึงการปฏิรูปรูปแบบการดำเนินการขออนุญาตกับหน่วยงานราชการให้ง่ายยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนและย่นระยะเวลา โดยภายหลังการผ่อนผันดังกล่าวหน่วยงานดังกล่าวจะต้องกำกับ "ดูแล" อย่างใกล้ชิด เพื่อรักษามาตรฐานการทำงานของหน่วยงานเอาไว้ โดยหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องยกระดับ "บริการ" แก่ประชาชน ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการปฏิรูป ซึ่งเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการเริ่มต้นโครงการการพัฒนาต่าง ๆ

4.2. ปฏิรูปโครงสร้างภาษีและการลงทุน

4.3. เสริมความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมการเงิน

5.   เพิ่มคุณภาพและยกระดับประสิทธิภาพของเศรษฐกิจภาพรวม

5.1. ดำเนินยุทธ์ศาสตร์มณฑลแข็งแกร่ง สนับสนุนการ "เพิ่มประเภทสินค้า" "ยกระดับคุณภาพ" และ "สร้างแบรนด์"

5.2. เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ ส่งเสริมบูรณาการอุตสาหกรรมกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีระดับสูง และวัสดุใหม่

6.   ยกระดับเศรษฐกิจให้เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น

6.1. ยกระดับเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นประสู่เศรษฐกิจโลก ส่งเสริมให้เขตหนานซาเป็นพิ้นที่ของความร่วมมือระหว่างกว่างโจว ฮ่องกงและเซินเจิ้น ผลักดันให้โลจิสติกส์ทางทะเลของนครกว่างโจวเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง พัฒนานวัตกรรมการเงินข้ามพรมแดนระหว่างเซินเจิ้นและฮ่องกง ผลักดันการท่องเที่ยวด้วยเรือและยานพาหนะระหว่างเขตเหิงฉินกับมาเก๊าให้มีความสะดวกมากและเร่งเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน

6.2. ดำเนินโครงการภายใต้แนวคิด One Belt, One Road  เพิ้มพื้นที่เดินเรือนานาชาติและสร้างพันธมิตรกับท่าเรืออื่น ๆ ในต่างประเทศ สร้างฐานโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศในแถบยุโรปกลาง เอเชียกลางและเอเชียใต้

6.3. เร่งสนับสนุนการปรับขนาดอุตสาหกรรมการค้าประเทศ ผลักดันนครกว่างโจวและเมืองเซินเจิ้นเป็นเขตสาธิตนวัตกรรมการบริการทางการค้า.

6.4. สร้างความร่วมมือกับพื้นที่ต่าง ๆ ดำเนินโครงการเมืองคู่พัฒนากับ มณฑลซินเจียง เขตปกครองตนเองธิเบต มณฑลเสฉวน สร้างความร่วมมือกับเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มณฑลเสฉวน มณฑลยูนนานและมณฑลกุ้ยโจว

7.   พัฒนาการเกษตรและยกระดับชีวิตในชนบท

7.1. ปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมเกษตร ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความปลอดภัยและความรับผิดชอบของอุตสาหกรรมอาหาร รักษาระดับการผลิตข้าวให้ได้ 13 ล้านตันต่อปี พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร ผลักดันสินค้าเกษตรจากชนบทเข้าสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรรูปแบบใหม่ อาทิ เกษตรเชิงท่องเที่ยวและปฏิรูปนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตรในชนบท

8.   ส่งเสริมการพัฒนาเมืองและชนบทให้สอดคล้องกันมากขึ้น

8.1. ส่งเสริมการพัฒนาเมืองในเขตตะวันตก ตะวันออกและเหนือ ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านคมนาคม การผลิตและการบริการสาธารณะในพื้นที่ดังกล่าว

8.2. ยกระดับการพัฒนาของเมืองในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำให้ดียิ่งขึ้น

8.3. เร่งพัฒนาเมืองและชนบทแบบบูรณาการ สนับสนุนให้ชทบทเข้าถึงการศึกษา สุขอนามัย การรักษาพยาบาลและวัฒนธรรม

9.   เสริมสร้างความศิวิไลซ์ให้แก่สังคม

9.1. ลดการใช้พลังงานที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตามเป้าหมายที่รัฐบาลกลางกำหนด สนับสนุนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลพลังงานสะอาด เร่งเปลี่ยนรถโดยสารประจำทางในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงเป็นรถโดยสารพลังงานสะอาด เพิ่มสถานีเติมไฟฟ้า

9.2. ควบคุมระดับมลพิษในอากาศ น้ำและดิน ควบคุมโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงงานปูนซีเมนต์ ควบคุมมลพิษและฝุ่น PM.25 ปรับปรุงคุณภาพแม่น้ำและคลอง ยกระดับคุณภาพน้ำดื่ม สนับสนุนการแยกประเภทขยะ ควบคุมมลพิษทางน้ำและจัดการขยะในเขตตะวันออก ตะวันตกและเหนือของมณฑลกวางตุ้ง

9.3.  ส่งเสริมการประหยัดพลังงานและสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างอย่างคุ้มค่า ควบคุมการบริโภคพลังงานและน้ำ

9.4. สนับสนุนการรักษาระบบนิเวศทางธรรมชาติ ส่งเสริมการสร้างเขตสาธิตการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมแม่น้ำจูเจียงและเขตสาธิตป่าในเมืองแห่งชาติ ยกระดับการปกป้องป่า การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ และระบบนิเวศทางทะเล เพิ่มพื้นที่ป่า 1,520 ตารางกิโลเมตร ขยายอัตราการการครอบคลุมผืนป่าร้อยละ 59.08 ของมณฑล ขยายอัตราพื้นที่สีเขียวในเมืองให้เท่ากับร้อยละ 42 ของพื้นที่

10.        ก้าวไปสู่การเป็น สังคมกินดีอยู่ดี

10.1.             เพิ่มช่องทางการจัดหางานและรายได้เสริม จัดหางานให้ให้แก่นักศึกษาจบใหม่ 1.10 ล้านคน จัดหางานแก่ผู้ตกงาน 5 แสนคน

10.2.             นำประชาชนก้าวพ้นความยากจน ดำเนินโครงการ 1 ชุมชน 1 ผลิตภัณฑ์ และ 1 ตำบล 1 โครงการ สนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การใช้พลังงานสะอาดและขยายระบบคมนาคมให้ครอบคลุมทั่วถึง

10.3.             ผลักดันการศึกษาที่ทันสมัยและรอบด้าน ส่งเสริมการศึกษาแบบบูรณาการระหว่างสังคมเมืองและชนบท

10.4.             ดำเนินโครงการกว่างตุ้งแข็งแรง ส่งเสริมการบริการด้านสุขภาพ การรักษาพยาบาลและยา

10.5.             สร้างระบบประกันสังคมที่มีความเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น 

กวางตุ้งนโยบายพัฒนา

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน