นวัตกรรมด้านวิศวกรรมสู่สะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลกสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า พร้อมเปิดให้บริการปลายปีนี้

31 Jul 2017

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า เป็นสะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลกความยาวกว่า 55 กิโลเมตร ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างเสร็จสิ้นลงแล้ว พร้อมก้าวสู่ยุคแห่งความเชื่อมต่อในระดับภูมิภาค สะพานดังกล่าวทำให้การเดินทางระหว่างฮ่องกง จูไห่และมาเก๊าจากเดิม 4 ชั่วโมง ลดเหลือ 30 นาที

สะพานกลายเป็นเทคโนโลยีสร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งขับเคลื่อน

ตั้งแต่ปี 2546 – 2552 เป็นระยะเวลา 6 ปี ที่ 84 ผู้เชี่ยวชาญได้ร่วมกันวิจัยโครงการสะพานแห่งนี้ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างอย่างเป็นทางการในช่วงสิ้นปี 2552 รูปแบบการก่อสร้างสะพานฯ ได้นำเทคโลยีมากมายเข้ามาขับเคลื่อนรูปแบบการก่อสร้าง และก่อเกิดนวัตกรรมสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องมากมาย โดยตั้งแต่ปี 2553 โครงการสะพานฯ แห่งนี้ ได้รับการบรรจุให้อยู่ในแผนงานสนับสนุนของสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปีฉบับที่ 11ของจีน ปัจจุบันโครงการสะพานฯ มีรายการทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของตนเองกว่า 100 รายการ งานวิจัยกว่า 200 ฉบับ เอกสารทางวิชาการเกือบ 20 ฉบับ อีกทั้งนวัตกรรมทางเทคโนโลยีก็ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขความกังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยทางทะเลดังกล่าว และกลายเป็นพลังการส่งเสริมการเติบโตของเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น

นายหลิว เสี่ยวตง รองผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊าเผย โครงการก่อสร้างต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการไม่ว่าจะเป็น ความยาวของสะพาน ความลึกของทะเล พายุไต้ฝุ่น กระแสน้ำในมหาสมุทร การซัดของคลื่น ความกังวลเหล่านี้เป็นแรงผลักดันทำให้เกิดนวัตกรรมด้านวิศวกรรมที่จะเข้ามาแก้ปัญหาและคลายความกังวลให้หายไป

โครงสร้างของสะพานฯ ที่มีขนาดใหญ่เป็นอีกหนึ่งความยากลำบากที่วิศวกรทุกคนต้องรับมือ เช่น การติดตั้งเสาโครงเหล็กรูปปลาโลมา น้ำหนักกว่า 3,100 ตัน หรือเท่ากับเครื่องบิน แอร์บัส A380 11 ลำ ความกว่าสูง 105 เมตร หรือเท่ากับตึก 35 ชั้น ซึ่งไม่เพียงแต่เสาโครงเหล็กเท่านั้น ส่วนอื่นๆ ของโครงการก่อสร้างที่ใช้เหล็กรวมกันเท่ากับหอไอเฟล 60 หอ อีกทั้งยังต้องสร้างในทะเล ก็ต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย อีกทั้งต้องใช้เวลาติดต่อกันยาวนานหลายชั่วโมงในการควบคุมการก่อเสร้าง เพื่อให้มั่นใจว่า สะพานดังกล่าวจะเสร็จสิ้นไปได้ด้วยดี โครงการติดตั้งอุโมงค์ใต้น้ำ นับเป็นอีกหนึ่งความยากลำบากที่สุดของโครงการดังกล่าว  การผลิตและเตรียมพร้อมติดตั้งอุโมงค์ใช้แรงงานกว่า 1,000 คน ภายในระยะเวลา 1 ปี ทีมวิศวกรใช้เวลากว่าครึ่งปีในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีแม่แบบในการผลิตเหล็กเส้น ระบบควบคุมไฮดรอลิก คอนกรีตป้องกันการแตกร้าว จนเป็นที่ยอมรับว่าเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม กลายเป็นพระเอกในการแก้ปัญหาและเป็นแรงผลักดันที่ทำให้โครงการนี้ประสบผลสำเร็จ

"มาตรฐานจีน" สู่ความน่าเชื่อถือระดับโลก

การก่อสร้างสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ วัสดุใหม่ กระบวนการใหม่ อุปกรณ์สมัยใหม่ เป็น "มาตรฐานของจีน" ที่จะก้าวสู่ความน่าเชื่อถือด้านการก่อสร้างและวิศกรรมในระดับสากล คอนกรีตที่นำมาสร้างสะพานแห่งนี้ถูกผลิตด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยภายในมีระบบทำความเย็นควบคุมอุณหภูมิของคอนกรีตให้อยู่ที่ 28 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เพื่อให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมแก่ใช้งานในระยะเวลานาน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวได้รับสิทธิบัตรรองรับประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ในทุกตารางนิ้วของโครงการก่อสร้างล้วนแล้วแต่ดำเนินงานด้วยมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ จนสามารถมั่นใจได้ว่า โครงการสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊าแห่งนี้สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 120 ปี นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้งเทคโนโยลี โซนาร์ Sonar : Sound Navigation and Ranging เข้ามามีส่วนช่วยในป้องกันและคาดการณ์เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นใต้ทะเล

สร้างเขตเศรษฐกิจรอบสะพาน

โครงการสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงเมืองจูไห่ ทั้งในด้านอุตสาหกรรมการผลิต การคมนาคมและการพัฒนาของเมือง ซึ่งต่อไปจะกลายเป็นกลยุทธ์ด้านการพัฒนาที่สำคัญของเมืองจูไห่ นอกจากนี้โครงการสะพานดังกล่าว จะเป็นแพล็ตฟอร์มความร่วมมือที่สำคัญที่จะเข้ามาเสริมในเขตสาธิตความร่วมมืออ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า และเขตการค้าเสรีเหิงฉิน โดยรัฐบาลจูไห่ยังออกนโยบายพิเศษ ต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงรูปแบบขั้นตอนพิธีการศุลกากร สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างอาชีพ และส่งเสริมความร่วมมือเชิงลึกในพื้นที่ในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2560 มีบริษัทจากฮ่องกงและมาเก๊าเข้ามาจดทะเบียนในเขตการค้าเสรีเหิงฉินแล้วกว่า 1,360 บริษัท แบ่งเป็นเงินทุนมาเก๊า 793 บริษัท และเงินทุนจากฮ่องกง 567 บริษัท จนกลายเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาของเขตการค้าเสรีเหิงฉิน

เมื่อสะพานเชื่อมต่อระหว่างฮ่องกง จูไห่ และมาเก๊า เข้าด้วยกัน แน่นอนกว่าทั้ง 3 เมือง จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง อย่างไรก็ตาม เมืองที่อยู่รอบข้าง อาทิ จงซาน เจียงเหมิน หยางเจียง หยุนฝู ก็จะได้รับประโยชน์ระบบคมนาคมที่เชื่อมต่อกันมากขึ้นอีกด้วย ในอนาคตโครงการสะพานแห่งนี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของทรัพยากรมนุษย์ อุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของพื้นที่รอบด้าน ในระดับภูมิภาค จนสามารถสร้างสรรค์บรรยากาศที่ทีศักยภาพในการก้าวสู่ความเป็นกลุ่มเมืองระดับโลก ภายใต้แนวความคิดเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าและ OBOR ของจีน  

เศรษฐกิจมณฑลกวางตุ้งสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊าอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าเศรษฐกิจจีนตอนใต้

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน