‘สังคมสูงวัย’ โอกาสธุรกิจโรงพยาบาล(ไทย)ในกว่างซี

19 Apr 2016

หนังสือพิมพ์กว่างซี เดลี่ : หลายปีมานี้ แนวโน้มประชากรที่มีถิ่นฐานถาวร (Permanent resident) ชาวกว่างซีมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น แต่อัตราส่วนประชากรวัยทำงานมีแนวโน้มลดลง

ที่มา : www.gxnew.com.cn

ผลสำรวจ ณ สิ้นปี 2558 ประชากรที่มีถิ่นฐานถาวรในกว่างซีมีจำนวน 47.96 ล้านคน เพิ่มขึ้น 0.42 ล้านคน (YoY) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.5 ของประชากรทั้งประเทศ อยู่ในลำดับที่ 11 ของประเทศ ความหนาแน่นของประชากร (คนต่อตารางกิโลเมตร) เพิ่มขึ้นจาก 195 คนเมื่อปี 2553 เป็น 202 คนในปีที่ผ่านมา

การสำรวจประชากรตามหมวดอายุ พบว่ามีผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 7.09 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.8 ของประชากรทั้งมณฑล ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 4.78 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรทั้งมณฑล นั่นหมายความว่า โครงสร้างประชากรของกว่างซีเป็น สังคมสูงวัย

เมื่อมณฑลหนึ่งเข้าสู่ สังคมสูงวัย ปัญหาที่ตามคือ การพึ่งพิงที่สูงขึ้น อัตราส่วนการพึ่งพิงต่อประชากรวัยทำงาน 100 คน (Dependency ratio) โดยเปรียบเทียบกับปี 2553 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จุด แบ่งเป็น อัตราพึ่งพิงของวัยเด็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จุด และอัตรส่วนพึ่งพิงของวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จุด

นักวิชาการชี้ว่า ประชากรวัยทำงานของกว่างซีมีสัดส่วนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศอยู่ร้อยละ 4.2 จุด ขณะที่ อัตราพึ่งพิงรวมสูงกว่าทั้งประเทศอยู่ร้อยละ 9.9 จุด ซึ่งหมายความว่า ประชากรวัยทำงาน 100 คนในกว่างซีต้องรับภาระเลี้ยงดูเด็กและผู้สูงอายุมากกว่าชาวจีนทั่วไปเกือบ 10 คน

บีไอซี เห็นว่า แนวโน้มดังกล่าวเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจโรงพยาบาล(ไทย)ในการ "ก้าวออกมา" ลงทุนบุกเบิกตลาดจีน

การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของประชากรกว่างซี(จีน) นำมาซึ่ง โอกาส ได้อย่างไร? ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิหลังทางสังคมของจีนก่อน การดำเนินนโยบาย ลูกคนเดียวตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาส่งผลให้จำนวนผู้สูงอายุในสังคมจีนมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น จนกระทั่งรัฐบาลชุดปัจจุบันได้เริ่มผ่อนคลายนโยบายให้ครอบครัวชาวจีนสามารถมี ลูกได้สองคน เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างประชากรวัยต่างๆ ทำให้อัตราการเกิดใหม่ในสังคมจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ปัจจุบัน จีนเริ่มมีการเปิดเสรีสำหรับภาคธุรกิจโรงพยาบาลสำหรับนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาร่วมทุนได้แล้ว (ทุนต่างชาติ 100% ทำได้ในบางมณฑลเท่านั้น) เนื่องจากจำนวนโรงพยาบาลที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับและตอบสนองต่อจำนวนประชากรได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนที่มุ่งเน้นการบริการเหนือระดับ

 

ลิงค์ข่าว

นครหนานหนิงเข้ายุค Baby Boom ธุรกิจโรงพยาบาล ธุรกิจแม่และเด็กรับทรัพย์ (09 มี.ค. 2559)

ธุรกิจโรงพยาบาลของนครหนานหนิงเปิดรับ "ทุนเอกชน(จีน)" แล้ว (08 ต.ค. 2558)

กว่างซีสังคมสูงวัยโรงพยาบาล

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน