นครเฉิงตู เมืองแห่งอุตสาหกรรม E-Sport เล่นให้เป็น “เรื่อง”
นครเฉิงตูเป็นเมืองแรก ๆ ในจีนที่เริ่มต้นการพัฒนาอุตสาหกรรม E-Sport และปัจจุบันยังคงเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ถูกยกย่องว่าเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรม E-Sports และเมืองต้นกำเนิดของ Honor of Kings
นครเฉิงตูเป็นเมืองแรก ๆ ในจีนที่เริ่มต้นการพัฒนาอุตสาหกรรม E-Sport และปัจจุบันยังคงเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ถูกยกย่องว่าเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรม E-Sports และเมืองต้นกำเนิดของ Honor of Kings
ศุลกากรเฉิงตูเปิดเผยว่า ในปี 2565 ยอดรวมการนำเข้าและส่งออกของการค้าระหว่างประเทศของมณฑลเสฉวนมีมูลค่าสูงกว่า 1 ล้านล้านหยวน สูงเป็นในอันดับ 8 ของจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับปี 2564 และสูงสุดในประวัติการณ์
ฉงชิ่งได้ยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างจริงจัง การผลิตและการขายรถยนต์พลังงานใหม่ “Made in Chongqing” กำลังเฟื่องฟู ด้วยการสนับสนุนจากรถไฟจีน-ลาวและช่องทางโลจิสติกส์หลักอื่น ๆ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2565 นครฉงชิ่งส่งออกรถยนต์กว่า 261,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.4 อยู่ในอันดับที่ 5 ของประเทศ มีมูลค่าการส่งออก 19.88 พันล้านหยวน และมีการส่งออกรถยนต์พลังงานใหม่ไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 772.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมีมูลค่ารวม 20.77 ล้านหยวน และรถยนต์พลังงานใหม่แบรนด์ SAIC และ Great Wall ของนครฉงชิ่งก็ส่งออกไปยังไทยแล้ว
เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2566 นายหู เหิงหัว นายกเทศมนตรีนครฉงชิ่ง ได้แถลงเป้าหมายการทำงานในปี 2566 ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนประชาชนนครฉงชิ่ง สมัยที่ 6 ครั้งที่ 1 ดังนี้ 1. เพิ่มอุปสงค์ภายใน รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 2. พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต 3. ปฏิรูปอุตสาหกรรมเป้าหมาย 4. พัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5. ส่งเสริมการพัฒนาเขตวงกลมเศรษฐกิจนครเฉิงตู-นครฉงชิ่ง 6. ส่งเสริมการเปิดกว้าง 7. ส่งเสริมการพัฒนาชนบท 8. พัฒนาสภาพแวดล้อมของเมือง 9. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเมือง 10. ตอบสนองความต้องการของประชาชน 11. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
อำเภอจือจง เมืองเน่ยเจียง มณฑลเสฉวน มีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตส้มสีเลือดมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศจีน และเป็นฐานอุตสาหกรรมส้มสีเลือดที่คุณภาพดีและมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีน เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2566 อำเภอจือจงจัดพิธีเปิดตัวการส่งออกส้มสีเลือดสู่ประเทศไทย โดยส่งออกส้มสีเลือดจำนวน 100 ตันด้วยระบบโซ่ความเย็นไปยังประเทศไทยซึ่งใช้เวลาเพียง 3 วันเท่านั้น
เป้าหมายการพัฒนาในปี 2566 ของมณฑลเสฉวน มีการดำเนินงานใน 10 ด้าน ได้แก่ (1) ผลักดันการพัฒนาเขตวงกลมเศรษฐกิจนครเฉิงตู-นครฉงชิ่ง (2) พัฒนาอุปสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (3) เร่งสร้างระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ (4) ฟื้นฟูชนบทอย่างรอบด้าน (5) เสริมสร้างการศึกษาสมัยใหม่ (6) ส่งเสริมความมั่นคงของวิสาหกิจของรัฐและเอกชน (7) ผลักดันการพัฒนาที่มั่นคงของการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ (8) ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (9) เพิ่มสวัสดิการทางสังคมให้ประชาชน (10) รักษาความสงบเรียบร้อยทางสังคม
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2566 คณะกรรมการการพาณิชย์นครฉงชิ่งประกาศแผนพัฒนาตลาดระหว่างประเทศ “Hundred Regiments and Thousand Enterprises” เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการค้าต่างประเทศหลังจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ตลอด 3 ปี โดยมุ่งหน้ายึดตลาดอาเซียนเป็นที่แรก และได้นำคณะวิสาหกิจชุดแรกในนครฉงชิ่งกว่า 23 แห่ง เดินทางมุ่งหน้าสู่มาเลเซียและไทย
ปัจจุบันชาวจีนกลับมามีกำลังใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวและมีพฤติกรรมในการท่องเที่ยวนอกกระแสมากขึ้น
รัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุน “อำนาจละมุน” (Soft Power) และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก เพื่อผลักดันให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงวัฒนธรรมไทยสู่สากล
การไลฟ์สตรีมมิ่งช่วยสร้างรายได้ให้กับประชาชนชาวชนบท โดยปัจจุบันเกษตรกรชาวจีนหันมาไลฟ์สตรีมมิ่งจำหน่ายสินค้าเกษตรมากขึ้น เกษตรกรนครเฉิงตูก็เช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวกีวี ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของนครเฉิงตู