ภาพเล่าเรื่อง : ส่องประชากรจีนแผ่นดินใหญ่ (สำมะโนประชากรและเคหะแห่งชาติจีน ครั้งที่ 7)

13 May 2021

 

ความน่าสนใจเกี่ยวกับประชากรจีน มีดังนี้

  • ขนาดครอบครัวเล็กลง ผลสำรวจพบว่า จีนแผ่นดินใหญ่มีจำนวนครอบครัวทั้งหมด 494 ล้านครัวเรือน ขนาดครัวเรือนเล็กลงจาก 3.10 คนต่อครัวเรือนในปี 2553 เหลือ 2.62 คนในปี 2563 เป็นผลมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสู่สังคมเมืองที่รวดเร็ว ส่งผลให้วิถีชีวิตและค่านิยมเปลี่ยน ประชากรนิยมอยู่เป็นโสดมากขึ้น การมีอายุแรกสมรสและอายุมีบุตรคน
  • เพศชายยังคงมีสัดส่วนมากกว่าเพศหญิง ผลสำรวจพบว่า ประชากรเพศชายมีจำนวน 723.34 ล้านคน สัดส่วน 51.24% เพศหญิงมีจำนวน 688.44 ล้านคน สัดส่วน76% หรือเข้าใจง่ายๆ ว่า ประชากรเพศชาย 105.07 คน ต่อเพศหญิง 100 คน ซึ่งใกล้เคียงกับเมื่อ 10 ปีก่อน โดยสัดส่วนเพศชายลดลงเล็กน้อย สะท้อนให้เห็นว่า สังคมช่องว่างความไม่สมดุลกันระหว่างเพศชายและเพศหญิงในสังคมจีนมีแนวโน้มลดลง ค่านิยมทางสังคมเปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนที่ชอบมีลูกชายมากกว่า โดยมณฑลเหลียวหนิงและมณฑลจี๋หลิน (อีสานของจีน) เป็น 2 มณฑลที่มีจำนวนประชากรเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • การเปลี่ยนผ่านสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ผลสำรวจพบว่า โครงสร้างประชากรสูงวัย (60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ขณะที่วัยแรงงานกลับมีแนวโน้มลดลง กล่าวคือ ผู้สูงอายุมีจำนวน 264.02 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 18.70% เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.44 จุดจากเมื่อ 10 ปีก่อน ขณะที่วัยแรงงานมีจำนวน 894.38 ล้านคน มีสัดส่วน 63.35% ลดลงร้อยละ 6.79 จุดจากเมื่อ 10 ปีก่อน ส่วนประชากรวัยเด็ก (แรกเกิด-14 ปี) มีจำนวน 253.38 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 17.95% เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.35 จุดจากเมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการผ่อนคลายนโยบายลูกคนเดียว
  • สังคมเมืองขยายตัวรวดเร็ว ผลสำรวจพบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมีจำนวน 901.99 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 63.89% เพิ่มขึ้น 236.42 ล้านคนจากเมื่อ 10 ปีก่อน และประชากรชาวชนบทมีจำนวน 509.79 ล้านคน มีสัดสว่น 36.11% ลดลง 164.36 ล้านคนจากเมื่อ 10 ปีก่อน โดยสัดส่วนชาวเมืองต่อชาวชนบทเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.21 จุด ซึ่งมีสาเหตุจากนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัย การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม การเกษตรสมัยใหม่ และเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการดำเนินนโยบายสนับสนุนการย้ายถิ่นฐานของชาวชนบทสู่เมือง
  • ประชากรมากกว่า 1/3 ของทั้งประเทศอยู่ทางภาคตะวันออก ผลสำรวจพบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกมีสัดส่วน 39.93% (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.12 จุด) ภาคตะวันตก 27.12% (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 จุด) ขณะที่ภาคกลาง 25.83% และภาคอีสาน 6.98% ลดลงร้อยละ 0.79 จุด และลดลงร้อยละ 1.20 จุดตามลำดับ ซึ่งมีสาเหตุจากพื้นที่เลียบชายฝั่งภาคตะวันออกเป็นศูนย์กลางความเจริญดั้งเดิม ขณะที่ภาคตะวันตกเป็นขั้วความเจริญแห่งใหม่จากนโยบายเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมจากภาคตะวันออก จึงเป็นโอกาสที่น่าดึงดูดและทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐานของประชากรจีน
  • ชาวจีนนอกจีนแผ่นดินใหญ่ (ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน) และชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ มีจำนวนรวม 1,430,695 คน (ในจำนวนนี้ เป็นชาวต่างชาติ 845,697 คน คิดเป็น 59.11% ของชาวจีนนอกจีนแผ่นดินใหญ่และชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในจีน) ส่วนใหญ่พำนักในจีนด้วยวัตถุประสงค์หลัก คือ ทำงาน (444,336 คน) ศึกษาเล่าเรียน (219,761 คน) และตั้งถิ่นฐาน (419,517 คน) โดยหากเรียงรายมณฑล พบว่า มณฑลกวางตุ้ง (418,509 คน) มณฑลยูนนาน (379,281 คน) นครเซี่ยงไฮ้ (163,954 คน) มณฑลฝูเจี้ยน (106,248 คน) กรุงปักกิ่ง (62,812 คน) มณฑลเจียงซู (58,201 คน) มณฑลซานตง (51,829 คน) มณฑลเจ้อเจียง (46,189 คน) เขตฯ กว่างซีจ้วง (26,043 คน) มณฑลซานตง (21,829 คน) มณฑลเหลียวหนิง (20,562 คน) และอื่นๆ (127,067 คน)
  • หากเทียบกับประเทศไทย พบว่า ประชากรไทย (66,186,727 คน) มีจำนวนใกล้เคียงกับมณฑลหูหนาน ซึ่งเป็นมณฑลทางตอนกลางของประเทศจีน โดยมณฑลหูหนานมีจำนวนประชากรทั้งหมด 66,444,864 คน จำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 7 ของประเทศจีน
ประชากรจีน

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน