บทความ :เจาะตลาดผ้าไหมเสฉวน แหล่งส่งออกใหม่ที่ไทยควรจับตามอง
28 Oct 2019
หากกล่าวถึง “ผ้าไหม” คนไทยตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยสูงอายุต่างชอบและหลงไหลในการตัดเย็บผ้าไหมเป็นชุดต่าง ๆ เนื่องจากผ้าไหมมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ความโดดเด่นของเนื้อผ้าอยู่ที่ความมันวาว เลื่อม อ่อนนุ่ม มีน้ำหนัก ผ้าไหมได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การสวมเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทำจากผ้าไหมสร้างความสวยงามในแบบเฉพาะตัวได้เป็นอย่างดี มณฑลเสฉวนเป็นหนึ่งในพื้นที่ผลิตและส่งออกผ้าไหมไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะเมืองหนานชงที่ได้รับการขนานนามว่า “เมืองแห่งการผลิตไหมของจีน” เราไปทำความรู้จักกับภาพรวมของอุตสาหกรรมผ้าไหมในเสฉวนกัน
ผ้าไหมในมณฑลเสฉวนเริ่มก่อตั้งอุตสาหกรรมผ้าไหมที่หลากหลายและครบวงจร ปริมาณการส่งออกในปี 2562 ของผลิตภัณฑ์ผ้าไหมในเสฉวนมีมูลค่ามากกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปัจจุบัน เสฉวนมีผู้ดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับผ้าไหม ทั้งสิ้น 81 ราย โดยในมณฑลมีระบบให้บริการด้านผ้าไหมอย่างครบครัน เช่น ความร่วมมือด้านการออกแบบเทคนิคเกี่ยวกับอุตสาหกรรมผ้าไหม แหล่งให้บริการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมผ้าไหม และศูนย์วิจัยเทคนิคเกี่ยวกับอุตสาหกรรมผ้าไหม เป็นต้น นายกู้หงซง รองผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเสฉวน คาดว่าในปี 2563 พื้นที่ในการปลูกหม่อนไหมจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 200,000 เอเคอร์ มีปริมาณรังไหม 85,000 ตัน และมีปริมาณเส้นไหมมากกว่า 40,000 ตันขึ้นไป ขนาดผ้าไหมมากกว่า 260 ล้านเมตร เครื่องนุ่งห่มจากผ้าไหมมากกว่า 50 ล้านชิ้น และอุปกรณ์ชุดเครื่องนอนผ้าไหมกว่า 35 ล้านชิ้น
เมืองหนางชงในมณฑลเสฉวนถือเป็น “เมืองผลิตไหมของจีน” ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ศูนย์เศรษฐกิจหนางชงได้ผลักดันให้เป็นแหล่งผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแนวหน้าของประเทศ และยังเป็นแหล่งส่งออกสิ่งทอจากไหม แหล่งเลี้ยงไหมส่งออก แหล่งการพิมพ์ลายและย้อมผ้าบนสิ่งทอ และเป็นแหล่งให้ความรู้วิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับไหมอย่างครบวงจร ในปัจจุบันหนานชงมีพื้นที่ในการผลิตหม่อนไหมประมาณ 600,000 เอเคอร์ แหล่งผลิตหม่อนมีขนาด 45 ยุ้งฉาง และปริมาณตัวหม่อนที่ผลิตได้ 1,500,000 กิโลกรัม โดยผลิตไหมได้ถึง 2000 ตัน ผลิตภัณฑ์จากไหม 35,000,000 เมตร และผลิตเครื่องนุ่งห่ม 300,000 ชุด โดยในไตรมาสแรกในปี 2562 มีอัตราการขายผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มจากไหมถึง 39,790 ล้านหยวน และมีอัตราการส่งออก 779 ล้านหยวน ซึ่งมีปริมาณการผลิตไหมเป็นอันดับ 1 ของประเทศ และมีปริมาณการผลิตเครื่องนุ่งห่มเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ในปี 2561 ในเมืองหนานชงมีมูลค่าการส่งออกสิ่งทอจากผ้าไหม 500 ล้านหยวนและส่งออกไปยัง 39 ประเทศและภูมิภาค คิดเป็นร้อยละ 41.6 ของการส่งออกทั้งหมดของหนานชง
- การเลี้ยงไหมของมณฑลเสฉวนมีพื้นที่ในการเลี้ยงประมาณ 21,000 เอเคอร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 7 โดยมีการอัตราการเลี้ยงไหมอยู่ที่ 84,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 3.7 ซึ่งมีอัตราการผลิตและเติบโตเป็นอันดับ 2 ของการเลี้ยงไหมในจีน โดยมีการซื้อขายในราคา 50 หยวน/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 10
- การผลิตเส้นไหม จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า มณฑลเสฉวนมีการผลิตเส้นไหมถึง 143,000 ตัน มีปริมาณลดลงจากปี 2560 ร้อยละ 10 (โดยในปี 2560 มีอัตราการผลิต 295,000 ตัน) แต่ยังคงรักษาอัตราการผลิตสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ และสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่ามีการผลิตผ้าไหมมากถึง 1,000,000 ผืน ซึ่งอยู่ในอันดับ 6 ของการผลิตผ้าไหมระดับประเทศ
สำหรับภาพรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอของจีนในเดือนกันยายน 2562 มีมูลค่า 24,519.6 ล้านดอลลาร์ จากสถิติกรมศุลกากร พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอไปยังต่างประเทศของจีนในเดือนกันยายน 2562 มีมูลค่า 9,746.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนกันยายน 2562 การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอไปยังต่างประเทศ รวมมูลค่ากว่า 89,158.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบเป็นรายปี มีมูลค่าลดลงร้อยละ 0.1 ตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนกันยายน 2561 การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอไปยังต่างประเทศ รวมมูลค่ากว่า 89,219.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน 2562 จีนส่งออกสินค้าและเสื้อผ้า มูลค่า 1,457.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนกันยายน 2562 จีนส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้ายสิ่งทอผ้า 112,794.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออกลดลงร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี ตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนกันยายน 2561 จีนส่งออกเสื้อผ้าและเครื่องประดับ มีมูลค่า 118,356.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับการส่งออกผ้าไหมของมณฑลเสฉวน
- ในเดือนตุลาคม ปี 2557 ประเทศจีนมีการกระตุ้นให้มณฑลเสฉวนดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับไหมร่วมกับบริษัทจากอินเดีย ปากีสถาน ยุโรปและอเมริกาทั้งสิ้น 70 แห่ง
- ในปี 2561 มณฑลเสฉวนมีอัตราการส่งออกผ้าไหม 16,525,350 เหรียญสหรัฐฯ เติบโตขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 6.64 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4.1 และ จัดอยู่ในอันดับที่ 7 จากอัตราการส่งออกไหมทั่วประเทศ (เริ่มบันทึกข้อมูลจากปี 2555-2561) และราคาในการส่งออก 68.14 เหรียญสหรัฐฯ/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 45.91 ในปี 2561 มีอัตราการส่งออกไหมแท้มูลค่า 7,493,080 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 21.14 โดยราคาในการส่งออก 4.80 เหรียญสหรัฐฯ/เมตร และในปี 2561 มีปริมาณการส่งออกสินค้าไหมมูลค่า 1,817,190 เหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกมีการเติบโตไปอย่างต่อเนื่องและขยายไปหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งบริษัทใหญ่ ๆ ในมณฑลเสฉวน มีการสร้างแบรนด์ผ้าไหมและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บริษัทดังต่อไปนี้มีการแข่งขันด้านการตลาดสูงจึงผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสำเร็จรูปออกสู่ตลาด และมีการนำเข้าและส่งออกไปยังต่างประเทศจำนวนมาก สำหรับนักธุรกิจและผู้ประกอบการไทยที่สนใจ สามารถทำความร่วมมือกับบริษัทเหล่านี้ได้ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผ้าไหมไทยมาตีตลาดในมลฑลเสฉวน
ตารางที่ 1 : รายชื่อบริษัทนำเข้าและส่งออกผ้าไหมของมณฑลเสฉวน จำนวน 10 บริษัท
ลำดับ | ชื่อแบรนด์ | ชื่อบริษัท |
1. | 紫竹牌 | 四川省安岳县帛秦工贸有限公司 |
จื่อจู๋ | Sichuan Province Anyue County Bo Qin Industry and Trade Co., Ltd. | |
2. | 卓尚 | 四川阆中卓尚丝绸工业有限公司 |
จั๋ว ซ่าง | Sichuan Yuzhong Zhuo Shang Silk Industry Co., Ltd. | |
3. | 金顶牌 | 四川省丝绸进出口集团有限公司 |
จินติ่ง (โดมทอง) | Sichuan Silk Import and Export Group Co., Ltd. | |
4. | 美亚牌 | 四川省南充美亚时装公司 |
Mei- ya (เมกา-เอเชีย) | Sichuan Nanchong Meiya Fashion Co., Ltd. | |
5. | 夏佳尔 | 四川省南充云禾印染有限公司 |
เซี่ยเจี่ยเออร์ | Sichuan Nanchong Yunhe Printing and Dyeing Co., Ltd. | |
6. | 爱肤尔 | 四川南充市丝绸(进出口)有限公司 |
อ้าย ฟู เออร์ | Sichuan Nanchong Silk (Import and Export) Co., Ltd. | |
7. | 银华 | 四川省隆昌银华丝绸实业有限公司 |
Yin-hua | Sichuan Longchang Yinhua Silk Industry Co., Ltd. | |
8. | 六合牌 | 四川南充六和(集团)有限责任公司 |
หลิ่ว เหอ | Sichuan Nanchong Liuhe (Group) Co., Ltd. | |
9. | 宝珍 | 四川安泰茧丝绸集团有限公司 |
Bao-zhen | Sichuan Antai Silk Group Co., Ltd. | |
10. | 南丝路 | 宁南县南丝路集团弘凯丝业有限责任公司 |
South Silk Road | Ningnan County Nansi Road Group Hongkai Silk Industry Co., Ltd. |
สำหรับการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าไหมตั้งแต่ เดือน มกราคม ถึง เดือน สิงหาคม 2562 ของประเทศไทย
ตามสถิติของกรมศุลกากรไทย ปริมาณการค้าสินค้าผ้าไหมในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 61,061,800 เหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับสองเดือนที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 5.93 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ลดลงร้อย 15.95 และ มูลค่าการนำเข้า ประมาณ 24,569,500 เหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับสองเดือนที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 14.63 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 24.57 มูลค่าการส่งออกประมาณ 36,492,400 เหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับสองเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.99 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 8.94 องค์ประกอบของสินค้าในการนำเข้าและการส่งออก มีดังนี้ :
การนำเข้า :ผ้าไหมมีมูลค่าประมาณ 672,300 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสองเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.04 และหากเทียบกับปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 33.34 โดยจำนวนอยู่ที่ 62.79 ตัน เปรียบเทียบกับสองเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 379.68 เมื่อเทียบเป็นรายปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.06 silks and satins มีมูลค่าประมาณ 10,852,900 เหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับสองเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.62 เมื่อเทียบเป็นรายปี ลดลงร้อยละ 19.79 ปริมาณผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีมูลค่า 13,044,300เหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสองเดือนที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 10.59 และเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 27.67
การส่งออก:ประเภทสินค้าผ้าไหมมีมูลค่า 686,300 เหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับสองเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.06 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 5.29 มีปริมาณ 53.81 ตัน เปรียบเทียบกับสองเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 561.02 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาร้อยละ 23.75 ผ้าซาตินมีมูลค่า 5,663,800 เหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับสองเดือนที่ผ่านมา ลดลงร้อย 14.93 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาร้อยละ 20.78 ปริมาณผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีมูลค่า 30,142,200 เหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับสองเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.58 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาร้อยละ 6.39
ประเทศจีนนับเป็นตลาดส่งออกไหมของไทย มีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดถึง 995,474.8 ล้านบาท ในปี 2560 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 12.4 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย ถือเป็นตลาดที่ใหญ่และมีกำลังซื้อมหาศาล เพียงแค่เราสามารถเจาะเข้าไปได้เพียง 1% ของประชากรทั้งหมดก็ถือว่าสุดยอดแล้ว แต่เค้กก้อนใหญ่ก้อนนี้ ใช่ว่าจะสามารถตัดมารับประทานได้โดยง่าย ผู้บริโภคชาวจีนมองว่าสินค้าไทย มีความแตกต่างทั้งทางภาพลักษณ์ คุณภาพ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสินค้าที่จะขายดีเป็นที่นิยม อาจไม่จำเป็นจะต้องเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ไทยเสมอไป แต่ต้องเน้นที่ความน่าสนใจ และความประณีตในการนำเสนอสินค้าต่าง ๆ (อ้างอิงจาก : https://www.peerpower.co.th/blog/sme/expansion/markets-export-thai-product/)
สำหรับสถิติในปี 2562 จีนยังคงเป็นตลาดหลักในการส่งออกผ้าไหมของไทย ชาวจีนให้ความสนใจในสินค้าไทย ซึ่งผ้าไหมก็เป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกจากไทยไปยังจีน ตามตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 2 : สถิติเกี่ยวกับตลาดหลักของการส่งออกสินค้าผ้าไหม ตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนสิงหาคม 2562 ประเทศไทย
หน่วย : เหรียญสหรัฐฯ
ลำดับ | ประเทศ / เขต | มูลค่า/เหรียญสหรัฐฯ | เปรียบเทียบ
กับปีที่ผ่านมา |
ส่วนแบ่งการตลาด% |
— | ทั่วโลก | 303,539,148 | -0.06 | 100.00 |
1. | อเมริกา | 56,597,197 | 4.34 | 18.65 |
2. | เบลเยียม | 48,866,628 | -17.43 | 16.10 |
3. | จีน | 25,126,138 | 74.98 | 8.28 |
4. | ญี่ปุ่น | 25,024,919 | -10.06 | 8.24 |
5. | เวียดนาม | 18,557,571 | 27.74 | 6.11 |
6. | เยอรมัน | 11,308,105 | 50.39 | 3.73 |
7. | กัมพูชา | 8,112,475 | -15.98 | 2.67 |
8. | อังกฤษ | 7,838,442 | 57.22 | 2.58 |
9. | ฮ่องกง | 6,813,481 | 12.98 | 2.24 |
10. | ฟิลิปปินส์ | 6,517,650 | -10.50 | 2.15 |
11. | อินโดนีเซีย | 6,352,841 | 47.52 | 2.09 |
12. | พม่า | 6,297,943 | -4.80 | 2.07 |
13. | เกาหลี | 5,580,330 | 43.30 | 1.84 |
14. | ฝรั่งเศส | 4,916,386 | -29.55 | 1.62 |
15. | สหรัฐอาหรับเอมิเรต | 4,499,762 | -32.95 | 1.48 |
16. | ไต้หวัน | 3,703,566 | 15.38 | 1.22 |
17. | ออสเตรเลีย | 3,660,628 | -15.92 | 1.21 |
18. | เม็กซิโก | 3,260,564 | -5.03 | 1.07 |
19. | สิงคโปร์ | 3,131,079 | 1.89 | 1.03 |
20. | แคนาดา | 3,111,037 | 19.73 | 1.02 |
แหล่งที่มา : http://www.scsilk.com/dynamic/2/2019-10-09/20504.html1
จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ตลาดในการส่งออกผ้าไหมขนาดใหญ่ของไทย คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม และประเทศจีนตามลำดับ โดยอัตราการส่งออกไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 74.98 จากปี 2561 ถือเป็นตลาดส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวมากที่สุด และเป็นตลาดที่ไทยเริ่มส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์จากไหมสูงขึ้นเรื่อย ๆ
จุดเด่นผ้าไหมไทย :
-
-
- กรรมวิธีการผลิตไหมที่ทำด้วยมือทุกขั้นตอน ทำให้คงรูปเดิมตามธรรมชาติได้ทั้งหมด มีจำนวนเกลียวน้อยทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเลื่อมมันเฉพาะตัว เนื้อผ้าฟูไม่เรียบ อ่อนนุ่มมีน้ำหนัก ยืดหยุ่นและดูดซับความชื้นได้ดี
-
- เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทอมาจากเครื่องกี่มือและกี่กระตุก ที่มีการขัดลายกันระหว่างด้ายเส้นยืนกับด้ายเส้นพุ่ง ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ประณีตสวยงามต่างจากการผลิตด้วยเครื่องจักร
- มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ความเชี่ยวชาญในลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากความเชื่อและประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละภาค กรรมวิธีการทอจำแนกเป็น 1) การทอขัด 2) มัดหมี่ 3) จก 4) ยกและ 6) การควบเส้น ล้วนเป็นวิธีการเฉพาะแต่ละพื้นที่
แหล่งที่มารูปภาพ : https://apparelnews.media.clients.ellingtoncms.com
บทส่งท้าย
เสน่ห์ของผ้าไหมยังคงเป็นดั่งมนตร์สะกดทั้งสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษต่างชื่นชมและนิยมนำผ้าไหมมาทำเป็นชุดสำเร็จรูป ไม่ว่าชาวไทยหรือชาวจีนต่างให้ความชื่นชอบผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม ซึ่งผ้าไหมของไทยนับเป็นแหล่งผลิตที่มีคุณภาพและครบวงจร จึงเป็นสินค้าน่าสนใจอีกประเภทหนึ่งที่ควรนำเข้ามาตีตลาดในจีน เพื่อเป็นการส่งเสริมผ้าไหมของไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกผ่านตลาดเสฉวน นำภูมิปัญญาชาวบ้านของไทยเผยแพร่ไปสู่สายตาประชาคมโลก สร้างมูลค่าการส่งออกผ้าไหมให้กับประเทศ โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผ้าไหมสร้างรายได้เข้าประเทศไม่ต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาทต่อปี ช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก นอกจากจะมีรายได้ในการจำหน่ายสินค้าแล้ว ยังสร้างโอกาสในการหารายได้ให้กับชาวชนบทอีกด้วย ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง กระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไปในทุกด้าน
แหล่งที่มา
- เว็บไซต์ผ้าไหมของมณฑลเสฉวน http://www.scsilk.com/
- http://qk.csfddz3.top/qk/6524?e_creative=33313010031&e_keywordid=146359869992&e_keywordid2=94233252659
- http://city.ppsj.com.cn/shichuan/silk.html
- ภาพจาก http://www.sohu.com/a/130750899_636769
จัดทำโดย
นางสาวจิรัชญา นามวงษ์ เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู
นางสาวชญานุช หนูทอง เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู
นางสาวณัฐริกา ดอนวิจารณ์ นักศึกษาฝึกงาน ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู