โอกาสใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมระเบียงการค้าระหว่างประเทศเชื่อมทางบกและทางทะเลสายใหม่ New International Land-Sea Trade Corridor (ILSTC)

24 Apr 2024

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา บริษัท Cushman & Wakefield บริษัท New LAND-SEA Corridor Operation Co., Ltd. และ บริษัท Chongqing International Logistics Hub Park Construction Co., Ltd. ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาในหัวข้อ “โอกาสใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมระเบียงการค้าระหว่างประเทศเชื่อมทางบกและทางทะเลสายใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor – ILSTC)” ณ นครฉงชิ่ง โดยระบุว่านครฉงชิ่งมีการสนับสนุนการก่อสร้างเส้นทาง ILSTC และมีการพัฒนาภายใต้แนวคิด“ช่องทางการขนส่งขับเคลื่อนโลจิสติกส์” “โลจิสติกส์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการค้า” “เศรษฐกิจและการค้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรม” ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่ประหยัด มีประสิทธิภาพ สะดวก ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำมาซึ่งโอกาสใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคตะวันตก

เส้นทาง ILSTC ได้กระตุ้นการค้าระหว่างอาเซียนกับจีนให้มีชีวิตชีวามากขึ้นและนำไปสู่การยกระดับจีนภาคตะวันตกให้เปิดกว้างสู่โลกภายนอก อีกทั้งทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมข้ามภูมิภาคแบบ 5 in 1 ได้แก่ “โลจิสติกส์ การเงิน อุตสาหกรรม การค้า และข้อมูล”

จากการวิเคราะห์ผ่านตัวชี้วัดต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งการค้าต่างประเทศ ระดับของศูนย์กลางคมนาคม คาดว่าเส้นทาง ILSTC จะส่งเสริมศักยภาพการพัฒนา “13 มณฑล + 2 เมือง” ซึ่งเป็นมณฑล/ เมืองที่มีกำลังทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง เช่น มณฑลเสฉวน นครฉงชิ่ง และมณฑลส่านซี ในด้านของการค้าต่างประเทศ มณฑลเสฉวน เขตปกครองตนเองกว่างซี และนครฉงชิ่งอยู่ในแนวหน้า

มณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งเป็นเมืองในภูมิภาคกลางและภาคตะวันตกที่เริ่มต้นการนำเข้าและการวางแผนอุตสาหกรรมก่อนเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะเครื่องจักรกล รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในด้านของศูนย์กลางคมนาคม นครฉงชิ่งเป็นเมืองซึ่งอยู่ในแนวหน้า เนื่องจากนครฉงชิ่งเป็นศูนย์กลางคมนาคมที่ครบวงจรเพียงแห่งเดียวในภาคตะวันตกของจีน ที่ผสมผสานการขนส่งทั้งทางเรือ ทางบก และทางอากาศ อีกทั้งยังมีอยู่ในอนดับต้น ๆ ของรูปแบบศูนย์กลางการคมนาคมระดับชาติ

ในบริบทของการถ่ายทอดทางอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมระดับภูมิภาคตามแนวเส้นทาง ILSTCจะนำไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพสิ่งอำนวยความสะดวกทางอุตสาหกรรมสู่การเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคตะวันตกของจีนกับตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศและสร้างสภาพแวดล้อมการสนับสนุน ที่ดีเยี่ยมในการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรม

การพัฒนาเส้นทาง ILSTC สามารถสร้างโอกาสในการค้าและการลงทุนใหม่ให้กับประเทศไทย โดยเฉพาะการนำเข้าและการส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ การพัฒนาเส้นทางการขนส่ง โอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของประเทศไทยกับเศรษฐกิจของภูมิภาคตะวันตกของจีน ซึ่งอาจเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว

ที่มาข้อมูล:

  1. เว็บไซต์ cq.xinhuanet (เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567)

http://www.cq.xinhuanet.com/20240125/d84d6c3c65894fd792ca35534bf7ecf5/c.html

Chengdu_editor

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน