เส้นทางรถไฟยวี่ซี-เมิ่งจื้อ ใกล้เปิดใช้งาน ใช้รถไฟขนส่งผักสดจากยูนนานไปยังอาเซียน
14 Jan 2013ในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของเส้นทางรถไฟแพนเอเชียสายตะวันออก เส้นทางรถไฟยวี่ซี-เมิ่งจื้อ ได้เสร็จสิ้นการวางระบบรางเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 55 ทำให้เส้นทางรถไฟสายนี้มีความหวังที่จะสามารถเปิดใช้งานได้ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเส้นทางรถไฟแพนเอเชียสายตะวันออก (คุนหมิง-เหอโข่ว-ฮานอย-พนมเปญ-กรุงเทพฯ- กัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์) ช่วงที่อยู่ในจีน มีรายละเอียดดังนี้
เส้นทาง |
ระยะทาง (ก.ม.) |
เริ่มก่อสร้าง |
คาดว่าสร้างเสร็จ |
งบประมาณ (ล้านหยวน) |
คุนหมิง – ยวี่ซี |
110 |
2552 |
2556 |
5,155 |
ยวี่ซี – เมิ่งจื้อ |
141 |
2548 |
สิ้นปี 2555 |
4,469 |
เมิ่งจื้อ – เหอโขว่ |
168 |
2551 |
2556 |
6,930 |
เส้นทางรถไฟยวี่ซี-เมิ่งจื้อ เริ่มต้นการก่อสร้างเมื่อปี 2548 นายหยางเจี้ยนหมิ่น รองนายอำเภอทงไห่ ณ ขณะนั้น ได้กล่าวว่า “อำเภอทงไห่และอำเภอเจียงชวน (เมืองยวี่ซี) เป็นแหล่งผลิตผักสดขนาดใหญ่ของมณฑลยูนนาน เมื่อเส้นทางรถไฟยวี่ซี-เมิ่งจื้อก่อสร้างแล้วเสร็จ ไม่เพียงจะเพิ่มปริมาณการขนส่งผักสดจากอำเภอทงไห่ แต่ยังสามารถบุกตลาดอาเซียนได้อีกด้วย” ปี 2554 ทั้ง 2 อำเภอ มีพื้นที่เพาะปลูกผักสด 398,000 หมู่ (165,833 ไร่) ปริมาณการผลิต 1,520 ล้านก.ก. มูลค่า 1,350 ล้านหยวน นอกจากนี้ อำเภอทงไห่มีห้องเย็น 73 แห่ง โกดัง 373 แห่ง ในปี 2554 มีปริมาณการแปรรูปผักสดสำหรับจำหน่ายออกนอกพื้นที่ 1,580 ก.ก. มูลค่า 1,920 หยวน ซึ่งส่งไปจำหน่ายยังกว่างโจว เซี่ยงไฮ้และหลานโจว รวม 130 เมืองทั่วประเทศ และยังส่งออกไปยังประเทศไทย เวียดนาม ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรต เป็นต้น รวมมูลค่า 137 ล้านสรอ.