สนามบินนานาชาติซีอานเสียนหยางตั้งเป้าเพิ่ม 100 เส้นทางการบินต่างประเทศภายในปี 2025
1 Dec 2016สนามบินนานาชาติซีอานเสียนหยางตั้งเป้าเพิ่ม 100 เส้นทางการบินต่างประเทศภายในปี 2025
ปัจจุบันธุรกิจการบินในพื้นที่มณฑลส่านซีเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากปัจจัยความต้องการของตลาดและนักท่องเที่ยวจากมณฑลส่านซีนิยมไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้นจากสถิติของสนามบินนานาชาติซีอานเสียนหยางปี2015 ชาวส่านซีเดินทางไปต่างประเทศถึง 830,000 คน เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34 เฉพาะช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา ชาวส่านซีเดินทางไปยังต่างประเทศถึง 21,983 คน[1] มีการจัดอันดับมณฑลที่นักท่อง เที่ยวไปเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุดมณฑลส่านซีติด 1 ใน 10 อันดับแรก จากสถิติแสดงให้เห็นว่านักท่อง เที่ยวจากมณฑลส่านซีเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายใหม่ของตลาดการท่องเที่ยวต่างประเทศ [2]
เส้นทางบินจากสนามบินนานาชาติซีอานเสียนหยางไปยังต่างประเทศในปัจจุบัน
ปัจจุบันสนามบินนานาชาติซีอาน เปิดเส้นทางการบินไปยังต่างประเทศ 12 ประเทศ 25 เมือง 28 เส้นทาง การบิน ได้แก่ กรุงเฮลซิงกิ กรุงปารีส เมืองซีแอลเทิล กรุงกัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ กรุงโซล เมืองเชจู กรุงโตเกียว เมืองนาโงย่า เมืองนางาซากิ จังหวัดเสียมราฐ กรุงไทเป เมืองกังวอลโด เมืองชอนจู เมืองแดกู เมืองดานัง เมืองไถจง ฮ่องกง นครซิดนี่ย์ และนครเมลเบิร์น[3]
ในปี 2016 สนามบินนานาชาติซีอานเสียนหยางได้เปิดเส้นทางบินตรงไปยังต่างประเทศถึง 14 เส้นทาง ได้แก่ นครซานฟรานซิสโก เมืองเอียร์คุส เกาะบาหลี เกาะสมุย กรุงจาร์กาตาร์ เมืองดานัง นครดูไบ จังหวัดเสียมราฐ นครเมลเบิร์น มหานครอัลมาตี กรุงกาฐมาณฑุ กรุงนิวเดลี กรุงบูดาเบสต์
ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 เดือนพฤศจิกายน 2559 สายการบินไห่หนานแอร์ไลน์ได้เปิดเส้นทางบินตรงจากสนามบินนานาชาติซีอานเสียนหยางไปยังนครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย และในปี 2017 เดือนพฤษภาคม สายการบินเทียนจินมีแผนที่จะเปิดเส้นทางบินตรงจากนครซีอานไปยังกรุงลอนดอนอีกด้วย
เส้นทางบินจากสนามบินนานาชาติซีอานเสียนหยางไปยังประเทศไทยในปัจจุบัน (สถานะ 24 พ.ย.59) มณฑลส่านซีมีเที่ยวบินจากสนามบินนานาชาติซีอานเสียนหยางสู่ประเทศไทยและเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (Chartered Flight) ดังนี้
เที่ยวบินตรง (สถานะ 24 พ.ย.59)
สายการบิน
|
เที่ยวบินตรง
|
จำนวนเที่ยวบิน/สัปดาห์
|
Thai Air Asia (FD)
|
กรุงเทพ (ดอนเมือง) – นครซีอาน
|
7 เที่ยวบิน/สัปดาห์ (ทุกวัน)
|
Ok Air
|
กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) – นครซีอาน
|
7 เที่ยวบิน/สัปดาห์ (ทุกวัน)
|
กระบี่ – นครซีอาน
|
4 เที่ยวบิน/สัปดาห์
|
|
Capital Airline (JD)
|
กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) – นครซีอาน
|
4 เที่ยวบิน/สัปดาห์
|
ภูเก็ต – นครซีอาน
|
4 เที่ยวบิน/สัปดาห์
|
|
Thai Lion Air
|
เกาะสมุย – นครซีอาน
(เช่าเหมาลำ)
|
3 เที่ยวบิน/สัปดาห์
|
China Eastern (MU)
|
กระบี่ – นครซีอาน
|
7 เที่ยวบิน/สัปดาห์ (ทุกวัน)
|
อ้างอิงจาก http://www.xxia.com/
เที่ยวบิน Stop Over (สถานะ 24 พ.ย.59)
สายการบิน
|
เที่ยวบิน Stop Over
|
จำนวนเที่ยวบิน/วัน
|
China Eastern (MU)
|
กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) – นครคุนหมิง – นครซีอาน
|
10 เที่ยวบิน/วัน
|
กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) – นครเซี่ยงไฮ้ – นครซีอาน
|
4 เที่ยวบิน/วัน
|
|
กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) – กรุงปักกิ่ง – นครซีอาน
|
3 เที่ยวบิน/วัน
|
|
China Southern (CZ)
|
กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) – นครกว่างโจว – นครซีอาน
|
4 เที่ยวบิน/วัน
|
กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) – นครอู่ฮั่น – นครซีอาน
|
3 เที่ยวบิน/วัน
|
|
กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) – นครฉางซา – นครซีอาน
|
1 เที่ยวบิน/วัน
|
|
Shenzhen Airline (ZH)
|
กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) – เซินเจิ้น – นครซีอาน
|
3 เที่ยวบิน/วัน
|
อ้างอิงจาก http://www.xxia.com/
ส่านซีดัน“กลยุทธ์ 343” เพิ่มเส้นทางการบินต่างประเทศ
กลยุทธ์ “343” เป็นนโยบายของสนามบินนานาชาติซีอานเสียนหยางที่ส่งเสริมการเพิ่มเส้นทางเที่ยวบินระหว่างประเทศ ทั้งเพื่อการคมนาคมและการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะการเปิดเส้นทางการบิน ไปยังประเทศบนแถบเส้นทางสายไหม ทั้งนี้มีเป้าหมายเปิดเส้นทางการบินไปยังต่างประเทศ 100 เส้นทาง ภายในปี 2525 อีกด้วย
1. ในปี 2016 ถึงปี 2018 เป้าหมายเพิ่มเส้นทางการบินต่างประเทศไม่น้อยกว่า 8 เส้นทางการบิน และในปี 2018 จะมีเส้นทางการบินจากสนามบินนานาชาติซีอานบินไปยังต่างประเทศเพิ่มมากถึง 60 เส้นทาง คาดการณ์ ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มมากขึ้นถึง 3,500,000 คน
2. ในปี 2019 ถึงปี 2022 เป้าหมายเพิ่มเส้นทางการบินไปยัง 5 ทวีป และในปี 2022 คาดการณ์ว่าจะมีเส้นทางการบินไปยังต่างประเทศมากถึง 75 เส้นทางการบิน นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มมากขึ้นถึง 7 ล้าน
3. จากกลยุทธ์ “343” ของท่าอากาศยานนานาชาติซีอานเสียนหยาง คาดการณ์ว่าในปี 2025 จะสามารถขยายเส้นทางการบินได้มากถึง 100 เส้นทางการบิน คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามามากถึง 10 ล้านคน และจัดอยู่อันดับ 6 ในประเทศจีน[4]
จากการที่มณฑลส่านซีมีแผนพัฒนาในด้านธุรกิจการบิน และขยายเส้นทางการบินไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้น มีผลดีในด้านการขนส่งสินค้าและด้านการคมนาคม ทำให้การเดินทางระหว่างประเทศได้สะดวกขึ้น และเป็นการเพิ่มช่องทางใหม่ๆในด้านการค้า การลงทุนด้านอุตสาหกรรมการบิน ทั้งในประเทศไทยเองและในพื้นที่มณฑลส่านซี โดยเฉพาะธุรกิจด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากประเทศไทยเป็นเป้าหมายการท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของนักท่อง เที่ยวส่านซี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีในการต่อยอดและพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทยและจีนในอนาคต
ข้อมูลอ้างอิง
1. sn.people.com.cn/n2/2016/0215/27731259.html
2. http://ly.qq.com/a/20161115/031620.htm
3. http://www.xxia.com/site/flight/airlines
4. www.sxdaily.com.cn