ฟอร์รั่ม Pan Beibu-Gulf หนุนชาติสมาชิกสานความร่วมมือด้านท่าเรือและศุลกากร

15 May 2014

เว็บไซต์ข่าวกว่างซี : ฟอร์รั่มรอบอ่าวเป่ยปู้เป็น ตัวจักร ขับเคลื่อนความร่วมมือทางทะเลระหว่างชาติสมาชิก โดยเฉพาะความร่วมมือด้านท่าเรือและพิธีการศุลกากร



งานประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ (
Pan Beibu-Gulf Economic Cooperation Forum, 泛北部湾经济合作论坛) ครั้งที่ 8 (8th PBG Economic Cooperation Forum) กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 2557 



สมาชิกภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ ประกอบด้วย 3 มณฑล (เขตฯ กว่างซีจ้วง มณฑลกวางตุ้ง และมณฑลไห่หนาน) กับ 7 ประเทศเพื่อนบ้าน (ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และไทย)

งานประชุมฯ ที่กำลังจะเปิดฉากขึ้นในครั้งนี้ ชาติสมาชิกรอบอ่าวเป่ยปู้มุ่งแสวงหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพด้านการเชื่อมโยงนโยบาย การเชื่อมต่อเส้นทาง การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการไหลเวียนของระบบเงินตรา เพื่อผลักดันความร่วมมือในหลายสาขา อาทิ ความเชื่อมโยงท่าเรือ อุตสาหกรรมเลียบท่าเรือ การเงิน การข้ามแดนทางบก และวัฒนธรรม



ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ความร่วมมือดังกล่าวมีความเป็นรูปธรรม และ
ความร่วมมือทางทะเล (ความร่วมมือด้านท่าเรือ) เข้ามามีบทบาทความสำคัญ



สะท้อนได้จาก
แผนทิศทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้จีน-อาเซียน (China-ASEAN Pan Beibu-Gulf Economic Cooperation Roadmap, 中国东盟泛北部湾经济合作路线图) ที่ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ (China-ASEAN Senior Economic Official’s Meeting on Pan-Beibu Gulf Economic Cooperation, 中国东盟泛北部湾经济合作高官会) เมื่อกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา



อย่างไรก็ดี การเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลระหว่างท่าเรือในประเทศสมาชิกรอบอ่าวเป่ยปู้มีอยู่ไม่มาก เนื่องจากขาดกลไกการผลักดันความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นกลไกการผ่านพิธีการศุลกากร รวมถึงการกำหนดมาตรฐานและกลไกการตรวจสอบระหว่างการขนส่ง ซึ่งถ้าหากกลไกดังกล่าวได้รับการผลักดันให้มีความเป็นเอกภาพแล้ว จะช่วยให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าในพื้นที่รอบอ่าวเป่ยปู้ลดลงให้มากที่สุด



เจ้าหน้าที่คณะกรรมการงานประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ (
Pan Beibu-Gulf Cooperation Forum Committee, 泛北合作论坛组委会) กล่าวว่า ความร่วมมือรอบอ่าวเป่ยปู้เริ่มก้าวข้ามจากขั้นตอนการหารือ(นามธรรม)สู่การปฏิบัติจริง(รูปธรรม)



ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขั้นตอนการวางแผนผลักดันการจัดตั้งโครงข่ายโลจิสติกส์ (คล้ายรูปแบบ
Single Window) ซึ่งความท้าทายอยู่ที่การสร้าง มาตรฐานเดียว ของท่าเรือในอาเซียน เมื่อการหมุนเวียนของสินค้าและข้อมูลได้รับการบูรณาการให้มีความสมบูรณ์ขึ้นแล้ว ต้นทุนโลจิสติกส์ท่าเรือก็จะลดลง ซึ่งช่วยให้โครงข่ายโลจิสติกส์ในภูมิภาคมีความก้าวหน้ามากขึ้น



ตามรายงาน งานประชุมครั้งนี้ได้มีการเชิญเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องจากทั้งจีนและอาเซียน (สำนักงานศุลกากร กระทรวงคมนาคมขนส่ง) ร่วมหารือเพื่อยกระดับเทคนิคการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างพื้นที่ตัวเมืองกับตัวท่าเรือ โดยใช้
เมืองชินโจว (Qinzhou City, 钦州市) เป็นตัวอย่างสาธิต



นอกจากนี้ คณะกรรมการงานประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ยังมีการเชิญวิสาหกิจที่มีศักยภาพการลงทุนด้านโลจิสติกส์และท่าเรือเข้าร่วมงานประชุมในครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการสร้างโครงข่ายโลจิสติกส์ภายในภูมิภาคให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น



โดยหวังว่า ข้อคิดเห็นภายในงานฯ จะเป็นตัวจุดประกายความคิด และเป็นกรุยทางสู่การพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ให้สำเร็จภายใน 3 ปี



นายหวัง โสง ชาง (
Wang Xiong Chang, 王雄昌) รองหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมาธิการวางแผนและบริหารการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้กว่างซี (Office of Construction and Management Commission of Beibu-Gulf Economic Zone, 北部湾经济区规划建设管理委员会办公室) กล่าวว่า หากสามารถพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ให้เกิดขึ้นจริงได้ภายใน 3 ปี จะช่วยอำนวยความสะดวก(ด้านการค้าการลงทุน)ได้เป็นอย่างมาก



สมมติว่า การขนส่งสินค้าจากท่าเรือสิงคโปร์ตรงมายังท่าเรือเมืองฝางเฉิงก่าง หากสามารถส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทันทีที่เรือออกจากท่าเรือ(ต้นทาง)จะช่วยร่นระยะเวลาการผ่านพิธีการศุลกากรที่ท่าเรือฝางเฉิงก่าง (ท่าเรือปลายทาง) ได้อย่างมาก นายหวัง กล่าว

 

ลิงค์ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กว่างซีเข็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ สานฝัน เส้นทางสายไหมทางทะเล(12 ก.พ. 2557)

ทางการกว่างซีปลุกกระแส เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 (23 ม.ค. 2557)

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน