นครเฉิงตูเร่งขยายขบวนรถไฟขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ปี ๒๕๖๗ เพิ่มขึ้น ๕.๕ เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

25 Mar 2025

ท่าเรือรถไฟนานาชาตินครเฉิงตูเปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ปริมาณการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิผ่านขบวนรถไฟนานาชาตินครเฉิงตูมีจำนวนรวมกว่า ,๓๐๐ ตู้ เพิ่มขึ้น ๕.๕ เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ข้อมูลจากศุลกากรนครเฉิงตูระบุว่า ตลอดทั้งปี การนำเข้าเนื้อสัตว์ผ่านขบวนรถไฟจีน-ยุโรป (นครเฉิงตู-นครฉงชิ่ง) คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ ๘๐ ของปริมาณการนำเข้าเนื้อสัตว์ผ่านขบวนรถไฟจีน-ยุโรปทั่วประเทศ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของนครเฉิงตู

ด้วยการพัฒนาเขตโลจิสติกส์ควบคุมอุณหภูมิแห่งชาติในพื้นที่ชิงไป่เจียง ปัจจุบันบริการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิครอบคลุมเส้นทาง จีน-ยุโรปและจีน-รัสเซียของขบวนรถไฟจีน-ยุโรป รวมถึง เส้นทางจีน-ลาวและจีน-เวียดนามของขบวนรถไฟสายใต้ ซึ่งล้วนให้บริการขนส่งอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เส้นทาง ระเบียงการค้าเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่ (New International Land and Sea Trade Corridor – ILSTC) ยังมีการพัฒนาโมเดลการขนส่งแบบ “รถไฟ+เรือ” ไปยังท่าเรือสำคัญ เช่น ท่าเรือฉินโจว ท่าเรือหยานเถียน ท่าเรือนิงโป และท่าเรือเซี่ยเหมิน อีกทั้งยังมีการขยายบริการ ขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนข้ามพรมแดน (Transports Internationaux Routiers-TIR) ซึ่งช่วยเสริมระบบขนส่งทางรางระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการขนส่งแบบ “รถไฟ+ถนน” ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ศุลกากรชิงไป่เจียงภายใต้การกำกับของศุลกากรนครเฉิงตู ได้จัดเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการขออนุมัติการตรวจสอบกักกัน ปรับปรุงการระบุฉลากสินค้า และร่วมมือกับด่านศุลกากรตามแนวพรมแดน จัดตั้ง คณะทำงานด้านการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ พร้อมประสานงานกับบริษัทขนส่งทางรางและสถานีขนส่ง เพื่อเฝ้าติดตามสถานะการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิอย่างใกล้ชิด โดยนำระบบ “Smart Audit” มาใช้เพื่อลดความผิดพลาดในการตรวจสอบเอกสาร ส่งผลให้ เวลาตรวจสอบใบขนสินค้าเนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ ๕๐ ศุลกากรยังส่งเสริมให้ใช้รูปแบบ “รถไฟด่วนศุลกากร+การยื่นเอกสารล่วงหน้า+การขนส่งตรงจากท่าเรือ” รวมถึงมาตรการ “เปิดตรวจทุกช่องทาง-เร่งตรวจสอบเต็มรูปแบบ” และ “เร่งตรวจสอบตัวอย่างสินค้า” เพื่อปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบสินค้านำเข้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้รวดเร็วขึ้น ทำให้ ระยะเวลาการตรวจสอบลดลงมากกว่า ๒๔ ชั่วโมง และช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของภาคธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ

การเติบโตของขบวนรถไฟขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิของนครเฉิงตูในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ซึ่งเพิ่มขึ้น ๕.๕ เท่า แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของประเทศจีน โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจตะวันตก ข้อมูลจากศุลกากรนครเฉิงตูที่ระบุว่า การนำเข้าเนื้อสัตว์ผ่านขบวนรถไฟจีน-ยุโรป (นครเฉิงตู-นครฉงชิ่ง) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๘๐ ของปริมาณการนำเข้าเนื้อสัตว์ผ่านขบวนรถไฟจีน-ยุโรปทั่วประเทศ เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าขบวนรถไฟสายนี้กำลังกลายเป็นเส้นทางหลักสำหรับสินค้าอาหารสดที่ต้องการการขนส่งที่รวดเร็วและมีคุณภาพสูง

สำหรับประเทศไทย การพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์เช่นนี้อาจเป็นต้นแบบในการขยายศักยภาพของ โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารทะเลและผลไม้สดที่ไทยมีศักยภาพสูงในการส่งออกไปยังจีนและตลาดอื่น ๆ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่คล้ายกับนครเฉิงตู อาทิ การเชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทย-ลาว-จีน สามารถช่วยให้สินค้าไทยเดินทางถึงปลายทางได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ลดต้นทุน และคงความสดใหม่ของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โมเดล “รถไฟ+เรือ” และ “รถไฟ+ถนน” ที่นครเฉิงตูใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ อาจเป็นแนวทางที่ไทยสามารถนำมาปรับใช้กับโครงสร้างพื้นฐานของตนเองได้ โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางขนส่งเชื่อมต่อท่าเรือระหว่างประเทศ เช่น ท่าเรือแหลมฉบัง – ท่าเรือฉินโจว – นครเฉิงตู ซึ่งจะช่วยให้สินค้าเกษตรและอาหารทะเลของไทยสามารถเข้าสู่ตลาดจีนตอนในได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

นอกจากนี้ ระบบ Smart Audit ที่ใช้ในนครเฉิงตูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบเอกสารศุลกากร ควรเป็นแนวทางที่ไทยนำมาปรับใช้ โดยเฉพาะในศุลกากรที่ด่านสำคัญ เช่น ด่านศุลกากรเชียงของ ด่านศุลกากรมุกดาหาร และท่าเรือหลักของประเทศ หากไทยสามารถลดระยะเวลาการตรวจสอบสินค้านำเข้าและส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนจีน จะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของภาคธุรกิจไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศ

การที่นครเฉิงตูสามารถลดเวลาตรวจสอบสินค้าควบคุมอุณหภูมิได้มากกว่า ๒๔ ชั่วโมง และลดเวลาในการตรวจสอบเอกสารศุลกากรลงถึง ร้อยละ ๕๐ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการ การนำระบบ “รถไฟด่วนศุลกากร+การยื่นเอกสารล่วงหน้า+การขนส่งตรงจากท่าเรือ” มาใช้ ทำให้สินค้าเข้าสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งหากไทยสามารถดำเนินมาตรการเช่นนี้ได้ จะช่วยให้สินค้าสดและสินค้าเกษตรที่ต้องการความรวดเร็ว เช่น ทุเรียน มังคุด และอาหารทะเล สามารถเข้าสู่ตลาดจีนได้อย่างทันท่วงที และช่วยให้ไทยสามารถแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

บทเรียนจากนครเฉิงตูเป็นตัวอย่างสำคัญที่ไทยสามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของตนเอง โดยเฉพาะในภาคเกษตรและอาหารทะเลซึ่งเป็นสินค้าหลักของประเทศ หากไทยสามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และระบบตรวจสอบศุลกากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไทยจะสามารถใช้โอกาสจากเครือข่ายการขนส่งของจีนได้อย่างเต็มที่ และผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารทะเลไปยังตลาดจีนและตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ที่มา: เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๘
๑. http://chengdu.customs.gov.cn/chengdu_customs/519400/519403/6341676/index.html
ที่มารูปภาพ:
๑. 699pic.com

บวนรถไฟขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ

Chengdu_editor

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน