จีนเตรียมร่างแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 13
23 Aug 2013เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 56 ทางการจีนเผยว่า ปีนี้เป็นปีสำคัญสำหรับการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเริ่มดำเนินการร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ซึ่งจะครอบคลุมระหว่างปี 2559 ถึงปี 2563
การศึกษาและจัดทำแผนการฯ ฉบับที่ 13 จะแบ่งดำเนินการเป็นขั้นตอน เช่น ปีนี้จะเริ่มจากการเน้นการวิเคราะห์และศึกษาปัญหาและอุปสรรคสำคัญของจีนที่ประสบอยู่ ปีหน้าจะเริ่มดำเนินการวิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจที่ต้องการจะบรรลุ และปี 2558 จะเน้นการจัดทำแผนการฯ
ทั้งนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมาธิการแห่งชาติและคณะกรรมาธิการท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ประกาศแบบสำรวจความคิดเห็นบนเว็บไซต์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลการดำเนินแผนการฯ ฉบับที่ 12 โดยผลสำรวจชี้ว่า ภายหลังจากที่ดำเนินการตามแผนพัฒนาฯ ไปได้ 2 ปีครึ่ง คณะกรรมาธิการฯ จะประเมินผลการปฏิบัติแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 โดยเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อกระตุ้นการดำเนินการปรับชีวิตประชาชนของแผนพัฒนาฯ เดินหน้าต่อไปอย่างราบรื่น อีกทั้งยังนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแนวทางทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 อีกด้วย
ในที่การประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติ ครั้งที่ 18 เคยตั้งเป้าว่า จะต้องบรรลุเป้าหมาย“สังคมกินดีอยู่ดี” ภายในปี 2563 โดยจะทำให้มูลค่า GDP และรายได้ประชาชนเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2553 ในการที่เป็นแผนการพัฒนาฯ 5 ปี ฉบับสุดทายก่อนที่จะถึงปี 2563 แผนการฯ ฉบับที่ 13 จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศจีน
นาย Pei Changhong หัวหน้าสถาบันวิจัยด้านเศณฐกิจของสถาบันสังคมศาสตร์แห่งชาติจีน (Chinese Academy of Social Sciences) ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจจีนกำลังอย่ในช่วงการชะลอตัวลง การส่งเสริมการปฏิรูปและการเปิดกว้างทางนโยบายจะเป็นเนื้อหาสำคัญของแผนการฯ ฉบับที่ 13
นอกจากนี้ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจจีนในอนาคต นาย Lu Zhongyuan รองหัวหน้าของศูนย์วิจัยการพัฒนาของคณะนายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า ในช่วงการดำเนินแผนการฯ ฉบับหน้า จีนจะเผชิญกับสภาวะการเติบโตชะลอตัวลงเชิงโครงสร้าง (Structural Slowdown) ในระยะกลางและระยะยาว แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโต GDP โดยเฉลี่ยของจีนในช่วงปี 2559 – 2563 จะคงอยู่ที่ร้อยละ 7 นาย Lu Zhongyuan กล่าวเสริมว่า ปัญหาของจีนไม่ได้อยู่ที่การเติบโต แต่อยู่ที่การปรับโครงสร้างการเติบโตและปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ