สาระพันกับการจ้างงานชาวจีนในจีนตะวันตกเฉียงเหนือ (ส่านซี กานซู หนิงเซี่่ย)

17 Jul 2013

สำหรับการเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในจีนนั้น การจ้างงานพนักงานท้องถิ่นมาช่วยทำงานเป็นเรื่องจำเป็น เพราะความจำเป็นที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา หรือผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆ  

 

ดังนั้นที่ทราบกันดีว่า ผู้ลงทุนตั้งกิจการควรศึกษากฏหมายด้านแรงงานของพื้นที่ที่จะไปลงทุนให้รอบคอบถี่ถ้วน อันรวมทั้งกฏหมายแรงงานในพื้นที่เสียก่อน เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัญหา กรณีพิพาทด้านลูกจ้างแรงงาน ที่ไม่จำเป็นได้ บีไอซีจึงขอนำเสนอข้อมูลน่ารู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวโน้มการจ้างงานและกฏหมายที่เกี่ยวข้องในมณฑลส่านซี (อนึ่ง กฏหมายแรงงานในประเทศจีน มีกรอบกฏหมายเดียวกัน แต่แนวปฏิบัติในแต่ละมณฑลอาจมีความแตกต่างระหว่างกัน ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาเพิ่มเติมด้วย)

 

1.   แนวโน้มการอพยพของคนงานกลับสู่ภาคตะวันตก

ปัจจุบัน พบว่า พื้นที่ตะวันออกและพื้นที่ติดชายทะเลของจีนประสบปัญหาสถานการณ์ขาดแรงงาน ตัวอย่างเช่นปรากฏในรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ในช่วงหลังตรุษจีนปี 2556 พบว่า โรงงานผลิตรองเท้าและเครื่องหนังรายหนึ่งในภาคตะวันออกประสบปัญหาเนื่อง คนงานกว่าร้อยละ 10 ในโรงงานไม่กลับมาทำงาน หลังจากที่กลับบ้านไปในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยพบว่า คนงานส่วนใหญ่ต้องการที่จะทำงานในพื้นที่บ้านเกิด ซึ่งส่วนมากคือพื้นที่ตอนในของประเทศจีน เนื่องจากคนงานสามารถหางานได้ในพื้นที่ตอนในได้เหมือนกัน และขณะนี้โรงงานหลายแห่งย้ายฐานผลิตเข้าไปในพื้นที่ตอนในแล้ว ในอนาคตฐานผลิตต่างๆแถบมณฑลติดทะเลของจีนก็จะย้ายไปแถบพื้นที่ตอนในมากขึ้นเนื่องจากมีแรงงานที่มากและต้นทุนที่ถูกกว่า[15]

 

 

รายได้ขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นในทุกปี ส่งผลให้แรงงานกลับบ้านเกิดหางานทำ

2.   ศึกษาอัตราค่าจ้างแรงงานจีนในจีนตะวันตกเฉียงเหนือ

จากแนวโน้มข้างต้น จึงเป็นที่น่าสนใจที่จะศึึกษาอัตราค่าจ้างแรงงานในจีนตอนใน ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ

2.1 ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในส่านซี กานซู หนิงเซี่ย

อัตราหนึ่งที่สำคัญคือ ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ซึ่งถูกกำหนดโดยทางการ บีไอซีได้รวบรวมข้อมูลล่าสุดของอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในส่านซี กานซู หนิงเซี่ย และเปรียบเทียบกับฉงชิ่ง และเฉิงตู ซึ่งมีเศรษฐกิจเป็นอันดับที่หนึ่งและสองของจีนตะวันกตก พบข้อมูลดังนี้

หมายเหตุ ข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามการปรับค่าจ้างขั้นต่ำครั้งล่าสุดของ 7 มณฑล (ได้แก่ ส่านซี กุ้ยโจว เหอหนาน เจ้อเจียง กวางตุ้ง เสินเจิ้น และปักกิ่ง) เมื่อต้นปี 2556 อย่างไรก็ดี มณฑลอื่นๆจะปรับฐานเงินเดือนขั้นต่ำใกล้เคียงกับร้อยละ 40 ของอัตราเงินเดือนเฉลี่ย ภายในปี 2557 นี้ ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี[6] สำหรับเมืองที่ยังไม่ได้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ บีไอซีคาดการณ์ว่าจะปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นอีก 100-200 หยวนต่อเดือนภายในปีนี้หรือปีหน้า

สำหรับพื้นที่ 1 – 3 ที่ค่าจ้างแต่ละพื้นที่แต่ต่างกันนั้น แบ่งตามระดับเศรษฐกิจของพื้นที่นั้นๆ ผู้ประกอบการควรศึกษาให้ดีว่าพื้นที่ที่ลงทุนอยู่ในพื้นที่อัตราค่าจ้างเท่าใด และจากตารางจะเห็นว่า ณ ปัจจุบัน 25 ก.พ. 56 ซึ่งหากยังไม่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ อัตราค่าแรงขั้นต่ำที่น้อยสุดคือมณฑลกานสู รองลงมาคือฉงชิ่งและมณฑลเสฉวน ซึ่งคาดว่าหลังปรับขึ้นเงินเดือนนครฉงชิ่งและเสฉวนจะมีอัตราเงินเดือนขั้นต่ำ 1,150-1,250 หยวนต่อเดือน

เมื่อเปรียบเทียบกับนครปักกิ่ง เสินเจิ้น และเซี่ยงไฮ้แล้ว โดยมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อเดือนอยู่ที่ 1,400 หยวน 1,500  หยวน และ 1,450 หยวนตามลำดับ  ถือว่าอัตราค้าจ้างขั้นต่ำต่อเดือนทางฝั่งพื้นที่ตะวันตกของจีน ยังน้อยกว่าอยู่มาก ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบในการลงทุนที่จะทำให้ต้นทุนด้านแรงงานต่ำกว่าพื้นที่อื่นๆในจีน

2.2 รู้จักอัตราเฉลี่ยค่าจ้างแรงงานในสาขาต่างๆ ของส่านซี กานซู หนิงเซี่ย

บีไอซีได้ศึกษาข้อมูลตัวเลขค่าจ้างรายปีโดยเฉลี่ย ในปี พ.ศ.2554 ในส่านซี กานซู และหนิงเซี่ย โดยเปรียบเทียบกับมณฑลอันดับหนึ่งและสองในด้านเศรษฐกิจในจีนตะวันตก คือฉงชิ่งกับเสฉวน พบข้อมูลดังนี้

อนึ่ง

  • หนิงเซี่ยมีอัตราค่าจ้างเฉลี่ยค่อนข้างสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ในบางสาขา ส่วนหนึ่งมาจากจำนวนประชากรที่ยังคงน้อย การจ้างผู้เชี่ยวชาญอาจมีอัตราค่าจ้างสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ

  • กานซู ส่านซี และหนิงเซี่ย มีอัตราเฉลี่ยค่าจ้างในอุตสาหกรรมเหมืองแร่สูงกว่าฉงชิ่ง และเฉิงตู เนื่องจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ส่วนใหญ่ อยุ่ในพื้นที่จีนตะวันตกเฉียงเหนือ พบบริษัทร่วมลงทุนต่างประเทศหลายราย อาทิ Dow Chemical จากสหรัฐอเมริกา และ China Magnesium Corporation จากออสเตรเลีย เป็นต้น ที่มาลงทุนในพื้นที่ดังกล่าว

  • ส่านซีเป็นที่ตั้งศูนย์วิจัยด้านธรณีวิทยา และสถาบันวิจัยด้านต่างๆ จำนวนมาก เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุ ถ่านหิน และเป็นเมืองด้านการวิจัยอันดับต้นของประเทศจีน

 

1.   กฏหมายแรงงานที่ควรรู้

เนื้อหากฏหมายที่ผู้ประกอบการควรรู้ที่สำคัญ อ้างอิงจากกฏหมายแรงงาน (“中华人民共和国劳动法”) จากเว็บไซค์ทรัพยากรบุคคลส่านซี[19] มีดังนี้

 

3.1 ค่าจ้าง

กฏหมายระบุให้

  • นายจ้างต้องจ่ายค่าแรงตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่กฏหมายท้องถิ่นระบุไว้ และนายจ้างต้องปรับเปลี่ยนอัตราค่าแรงขั้นต่ำตามปัจจัยดังต่อไปนี้

       ค่าใช้จ่ายชีวิตประจำวันขั้นต่ำของสมาชิกครอบครัวที่ลูกจ้างต้องเลี้ยงดู

       ค่าจ้างเฉลี่ยของอาชีพนั้นๆในสังคม

       ประสิทธิภาพการผลิตของลูกจ้าง

       การทำงานของลูกจ้าง

       สภาพเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ในพื้นที่

  • นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเป็นเงินหยวนเท่านั้น ห้ามหักค่าจ้างและติดค้างค่าจ้างแก่ลูกจ้าง

  • นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดราชการ วันแต่งงานและงานศพ และกิจกรรมสังคมอื่นๆด้วย

 

3.2 เวลาทำงาน

ตามกฏหมายแรงงานที่ส่านซีบังคับใช้ ได้ระบุเวลาทำงานดังนี้

  • ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน

  • เวลาทำงานเฉลี่ยตลอดทั้งสัปดาห์ไม่เกิน 44 ชั่วโมง

  • หากจำเป็นต้องเพิ่มเวลาทำงาน นายจ้างต้องตกลงกับลูกจ้างเพื่อทำงานล่วงเวลา โดยปกติไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง สำหรับกรณีจำเป็น

  • ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยต่อลูกจ้างสามารถเพิ่มเวลาทำงานได้ไม่เกินวันละ 3 ชั่วโมงต่อวัน รวมแล้วไม่เกิน 36 ชั่วโมงต่อเดือน

  • สำหรับค่าจ้างล่วงเวลา กฏหมายระบุหากนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา

  • ต่องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาไม่น้อยกว่าร้อยละ 150 ของค่าจ้างต่อวัน

  • หากนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด และไม่สามารถให้หยุดชดเชยได้

  • นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาร้อยละ 200 ของค่าจ้างต่อวัน

  • หากนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดพักผ่อนราชการ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างร้อยละ 300 ของค่าจ้างต่อวัน

 

3.3 วันหยุด

กฏหมายแรงงานจีนระบุให้นายจ้างต้องให้ลูกจ้าง

·         มีวันหยุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน

·         กำหนดให้วันต่อไปนี้เป็นวันหยุด วันขึ้นปีใหม่ (1 ม.ค.) วันตรุษจีน (วันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจีน) วันแรงงาน(1 พ.ค.) วันชาติจีน (1 ต.ค.) และวันหยุดอื่นๆตามที่กฏหมายได้ระบุให้เป็นวันหยุดพักผ่อน

 

3.4 การลาพักร้อน

ในประเทศจีนตามกฏหมายมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 กำหนดให้สามารถลาพักร้อน โดยพนักงานที่ทำงานมาเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปสามารถลาพักร้อนได้ 5 วัน และพนักงานที่ทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป สามารถลาพักร้อนได้ 10 วัน และลาพักร้อนได้ 20 วัน สำหรับพนักงานที่ทำงานเกิน 20 ปีขึ้นไป

 

3.5 ประกันสังคม

นอกจากเงินเดือนที่ต้องจ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือนแล้ว กฏหมายจีนยังบังคับให้ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าประกันสังคมแก่ลูกจ้างด้วย สำหรับประกันสังคมของนครซีอาน(五险)ซึ่งคุ้มครอง 5 ประเภทด้วยกัน และยังมีค่าใช้จ่ายเข้ากองทุนสะสมเพื่อที่พักอาศัย(一金)ดังนี้

1. เงินหลังเกษียณ นายจ้างจ่ายร้อยละ 20 ลูกจ้างจ่ายร้อยละ 8 ของเงินเดือน

2. ค่ารักษาพยาบาล นายจ้างจ่ายร้อยละ 7 ลูกจ้างจ่ายร้อยละ 2 ของเงินเดือน

3. ประกันอุบัติเหตุในที่ทำงาน นายจ้างจ่ายร้อยละ 0.5-2 (ตามประเภทงาน) ของเงินเดือน ลูกจ้างไม่ต้องจ่าย

4. คุ้มครองว่างงาน นายจ้างจ่ายร้อยละ 2 ลูกจ้างจ่ายร้อยละ 1

5. เลี้ยงดูบุตรหลาน นายจ้างจ่ายร้อยละ 0.5 ลูกจ้างไม่ต้องจ่าย

6. และการจ่ายเงินเข้าสบทบกองทุนสะสมเพื่อที่พักอาศัย ขั้นต่ำร้อยละ 5 ไม่เกินร้อยละ 12 ของเงินเดือนลูกจ้าง โดยจ่ายเท่ากันทั้งลูกจ้างและนายจ้าง

 

รวมแล้วนายจ้างต้องจ่ายค่าประกันสังคมให้แก่ลูกจ้างชาวจีนราวร้อยละ 35-43.5 ของเงินเดือนลูกจ้าง ซึ่งหากนายจ้างไม่จ่ายเงินเข้าประกันสังคมให้แก่ลูกจ้างถือว่าผิดกฏหมาย อาจถูกฟ้องร้องได้[7]

 

อนึ่ง นับตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2554 เป็นต้นไป กฏหมายระบุหากนายจ้างต้องการจ้างงานลูกจ้างชาวต่างชาติ ก็ต้องจ่ายประกันสังคม 5 ประเภทเหมือนกับคนจีนด้วยเช่นเดียวกัน แต่ปัจจุบันกลไกการดำเนินการยังอยู่ระหว่างการวางระบบ[8][9]

 

สำหรับรายละเอียดอื่นๆของกฏหมายแรงงาน ผู้ประกอบการควรศึกษาให้ละเอียดอีกครั้ง

 

4. ข้อได้เปรียบในเรื่องการจ้างงานในส่านซี

บีไอซีขอเรียนเสนอข้อได้เปรียบสำหรับผู้ประกอบการที่มาลงทุน ในแง่ของการจ้างงานในส่านซี ดังนี้ ซีอานเป็นที่แหล่งรวมของนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยเฉพาะทางด้านวิศวกรรม ซึ่งเป็นรองเพียงปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้เท่านั้น อัตราค่าแรงของส่านซีมีราคาถูกกว่าพื้นที่ติดชายทะเลของจีน เมื่อปี 55 บริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิคส์ได้ลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิพหน่วยความจำไป 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเป็นเงินลงทุนก้อนแรกของบริษัทต่างชาติที่มีจำนวนสูงที่สุดในจีน[20] และนโยบายมุ่งตะวันตกของรัฐบาลกลางที่มีวัตถุประสงค์ขยายความเจริญทางเศรษฐกิจไปยังฝั่งภาคตะวันตก นโยบายสนับสนุนให้บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันตก เป็นต้น

 

5. ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจ้างงานคนจีนในส่านซี กานซู หนิงเซี่ย

  • บริษัทข้ามชาติ จำเป็นต้องจ้างผ่านเอเจนซี่จัดหาแรงงานในท้องถิ่น เช่น บริษัท FESCO (Foreign Enterprise Service Corporation เป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลเป็นแห่งแรกๆในจีน รายละเอียดเว็บไซค์ http://www.fesco.com.cn) หรือบริษัทนายหน้าจัดหาแรงงานอื่นๆที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เป็นต้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการจ้างงาน และจัดการเรื่องภาษี สวัสดิการต่าง ๆของพนักงาน

  • สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ การตรวจตรารายชื่อพนักงานที่มีอยู่ให้ถูกต้อง ก็เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ในบางกรณีมีการพบรายชื่อพนักงานที่ลาออกแล้ว เกษียณ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตแล้วแต่ยังไม่ได้ถูกคัดรายชื่อออก และยังรับเงินเดือนค่าจ้างอยุ่เป็นประจำทุกเดือน

 

ท้ายนี้ บีไอซีขอเรียนท่านผู้สนใจมาลงทุนประกอบธุรกิจ และจ้างพนักงานคนจีน ว่า ไม่ว่าขนาดธุรกิจของท่านจะเล็กหรือใหญ่เพียงใด การศึกษาระเบียบและข้อกฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน และกฎหมายบริษัทร่วมทุนให้ดีก่อนเข้ามาลงทุน เป็นประโยชน์อย่างยิ่งและเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารงาน บริหารองค์กร และธุรกิจของท่านได้อย่างราบรื่น

 

เว็บไซค์กรมแรงงานและสวัสดิการสังคมส่านซี

http://www.shaanxihrss.gov.cn/

 

อ้างอิง

[1] http://www.gov.cn/gzdt/2012-12/23/content_2296626.htm

[2] http://finance.ifeng.com/roll/20120423/6339386.shtml

[3] http://www.gs.xinhuanet.com/dfpd/2012-04/09/content_25035078.htm

[4] http://news.sina.com.cn/c/2012-04-28/052424343309.shtml

[5] http://www.cqcb.com/cbnews/gngjnews/2013-02-07/2576236.html

[6] http://news.ifeng.com/gundong/detail_2012_07/23/16226533_0.shtml

[7] http://sz.bendibao.com/szsi/20121120/si452047.htm

[8] http://news.cntv.cn/20111109/113006.shtml

[9] http://www.gov.cn/gzdt/2011-09/08/content_1943787.htm

[10] Shaanxi Statistic Bureau. Shaanxi Statistical Yearbook 2012, Beijing, China Statistics Press, July, 2012.

[11] Ningxia Statistic Bureau. Ningxia Statistical Yearbook 2012, Beijing, China Statistics Press, October, 2012.

[12] Xu jingxiong. Gansu Development Yearbook 2012, Beijing, China Statistics Press, October, 2012.

[13] http://www.cqtj.gov.cn/html/tjsj/tjgb/12/06/6009.html

[14] http://www.sc.stats.gov.cn/sctj/Default.htm?status=Main&menu=5&sub=5,false

[15] http://usa.chinadaily.com.cn/epaper/2013-02/19/content_16236269.htm

[16] http://usa.chinadaily.com.cn/business/2013-02/19/content_16234385.htm

[17] United states of America Department of Commerce: “China Business Handbook Vol.2”. May, 2011.

[18] http://news.cnwest.com/content/2012-07/06/content_6785127.htm

[19] http://www.shaanxihrss.gov.cn/Html/2009-9-8/171032.Html

อ่านเพิ่มเติมได้ที่

1.ผู้ประกอบการไทยควรรู้ ส่านซีประกาศปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้งที่ 1,150 หยวน/เดือน

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน