ระดับรายได้ของชาวกว่างซีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รายได้ชาวชนบทพุ่งแรงแซงหน้าชาวเมือง
14 Nov 2013เว็บไซต์ข่าวกว่างซี : ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมีระดับรายได้ที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ระดับการขยายตัวของรายได้ชาวชนบทก็เป็นที่น่าจับตามองเช่นกัน
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (National Bureau of Statistics of China, 国际统计局) ให้ข้อมูลว่า ปีที่แล้ว (ปี 55) ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมีรายได้ที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้ 24,565 หยวน เพิ่มขึ้น 71 เท่าจากปี 2521 คิดเป็นอัตราขยายตัวเฉลี่ยปีละ 13.4 เปอร์เซนต์ (หักปัจจัยเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.4)
ขณะที่ รายได้ของชาวชนบทอยู่ที่ 7,917 หยวน เพิ่มขึ้น 58 เท่าจากปี 2521 คิดเป็นอัตราขยายตัวเฉลี่ยปีละ 12.8 เปอร์เซนต์ (หักปัจจัยเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.5)
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของทั้งประเทศ ขยายตัวร้อยละ 2.6 แบ่งเป็น เขตเมือง ขยายตัวร้อยละ 2.7 และเขตชนบท ขยายตัวร้อยละ 2.5
สำหรับเขตฯ กว่างซีจ้วง ชาวเมืองกว่างซีมีรายได้ที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้ 21,243 หยวน (ระดับรายได้ฯ อยู่ในอันดับที่ 13 ของประเทศ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 (หักปัจจัยเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นจริงร้อยละ 9.2)
ทั้งนี้ รายได้เฉลี่ยของชาวเมืองกว่างซียังคงต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศอยู่ 3,322 หยวน หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 86.5 ของรายได้เฉลี่ยชาวเมืองทั้งประเทศ (ข้อมูลเสริม ปี 54 รายได้เฉลี่ยของชาวเมืองกว่างซีต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศอยู่ 2,956 หยวน)
รายได้ชาวชนบท 6,008 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 (หักปัจจัยเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นจริงร้อยละ 11.2) คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 75.9 ของรายได้ชาวชนบททั้งประเทศ
อย่างไรก็ดี ชาวชนบทกว่างซียังคงมีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศอยู่ 1,909 หยวน (ข้อมูลเสริม ปี 54 รายได้เฉลี่ยของชาวชนบทกว่างซีต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศอยู่ 1,746 หยวน)
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของกว่างซี ขยายตัวร้อยละ 3.2 แบ่งเป็น เขตเมือง ขยายตัวร้อยละ 3.2 และเขตชนบท ขยายตัวร้อยละ 3.3
ดัชนี (ปี 55) |
ประชาชนในเขตเมือง |
CPI |
||
รายได้ (หยวน) |
ขยายตัว (%) |
เพิ่มขึ้นสุทธิ* (%) |
||
ทั้งประเทศ |
24,565 |
12.6 |
9.6 |
2.6 |
เขตฯ กว่างซีจ้วง |
21,243 |
12.7 |
9.2 |
3.2 |
*หักปัจจัยเงินเฟ้อ |
||||
ดัชนี (ปี 55) |
ประชาชนในเขตชนชท |
CPI |
||
รายได้ (หยวน) |
ขยายตัว (%) |
เพิ่มขึ้นสุทธิ* (%) |
||
ทั้งประเทศ |
7,917 |
13.5 |
10.7 |
2.5 |
เขตฯ กว่างซีจ้วง |
6,008 |
14.8 |
11.2 |
3.3 |
*หักปัจจัยเงินเฟ้อ |
ข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายได้ของประชาชน และภาวะเงินเฟ้อในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศจีน มีดังนี้
1) พื้นที่ที่ประชาชนเขตเมืองมีรายได้สูงที่สุด 3 อันดับแรกของประเทศ ได้แก่ นครเซี่ยงไฮ้ (40,188.3 หยวน) กรุงปักกิ่ง (36,468.8) และมณฑลเจ้อเจียง (34,550.3)
2) พื้นที่ที่ประชาชนเขตเมืองมีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ 8 แห่ง ได้แก่ นครเซี่ยงไฮ้ กรุงปักกิ่ง มณฑลเจ้อเจียง มณฑลกวางตุ้ง มณฑลเจียงซู นครเทียนจิน มณฑลฝูเจี้ยน และมณฑลซานตง
3) นครเซี่ยงไฮ้ เป็นพื้นที่เดียวของจีนที่ประชาชนเขตเมืองมีรายได้เกิน 4 หมื่นหยวน
4) กรุงปักกิ่ง มณฑลเจ้อเจียง มณฑลกวางตุ้ง เป็น 3 พื้นที่ของจีนที่ประชาชนเขตเมืองมีรายได้เกิน 3 หมื่นหยวน
5) มณฑลเจียงซี เขตปกครองตนเองชนชาติหนิงเซี่ยฮุย มณฑลกุ้ยโจว เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต เขตปกครองตนเองชนชาติซินเจียงอุยกูร์ มณฑลเฮยหลงเจียง มณฑลชิงไห่ และมณฑลกานซู เป็น 8 พื้นที่ของจีนที่ประชาชนเขตเมืองมีรายได้ไม่ถึง 2 หมื่นหยวน (มณฑลกานซู รั้งท้าย มีรายได้เพียง 17,156.9 หยวน)
6) ดัชนี CPI ของพื้นที่ปกครอง 16 แห่งมีอัตราขยายตัวสูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ
7) ดัชนี CPI ของพื้นที่ปกครอง 7 แห่ง มีอัตราขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 3.0 ได้แก่ กรุงปักกิ่ง มณฑลเฮยหลงเจียง เขตปกครองตนเองชนชาติกว่างซีจ้วง มณฑลไห่หนาน เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต มณฑลชิงไห่ และเขตปกครองตนเองชนชาติซินเจียงอุยกูร์