QA

การส่งออกสินค้าไปจีน

Qสามารถสอบถามแหล่งข้อมูลส่งออกกล้วยไม้ไปจีนจากที่ใดได้บ้าง

A

Q&A การส่งออกสินค้าไปจีน

1. แหล่งข้อมูล

ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน www.wordpress-348433-3180049.cloudwaysapps.com ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สถานกงสุลใหญ่ กระทรวงการต่างประเทศ โดยศูนย์ฯ จะประสานงานกับหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือของพื้นที่ แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการประสานงานและแปลเป็นภาษาไทย

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก (สคร.) กระทรวงพาณิชย์ เว็บไซต์ http://www.thaitradechina.cn

สำนักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพื่อการส่งออก กลุ่มงานพัฒนาผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมการส่งออก โทร (02)507-8180 ,8181, 8182 และ 8183 หรือสายด่วนสอบถามปัญหาการส่งออก 1169 (เวลาราชการ)

สำนักงานที่ปรึกษาด้านการเกษตรต่างประเทศประจำ กรุงปักกิ่ง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) สามารถให้ข้อมูลด้านการตลาดและการนำเข้าของสินค้าเกษตรไทยในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงสินค้ากล้วยไม้ด้วย โดยมีข้อมูลทั้งความเคลื่อนไหวของสินค้าเกษตรในประเทศจีน อุปสรรคการค้า มาตรการการค้า กฏระเบียบทางการค้าของสินค้าเกษตรแต่ละประเภทข้อกำหนดในรายละเอียดของใบ รับรองสุขอนามัยสินค้าเกษตรในประเทศจีน (ติดต่อ Office of Agricutural Affairs, Royal Thai Embassy, No.11, Jian Guo Men Wai, Chaoyang District, Beijing 100600, P.R.China E-mail : [email protected] Tel : 8610 65323955 Fax : 8610 65323950)

รายชื่อบริษัทผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศนั้น สามารถเลือกรายชื่อได้จากเว็บไซต์ของทางสมาคมชิปปิ้ง (http://www.ctat.or.th เลือก”สมาชิก”) หรือเว็บไซต์ของสำนักโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก (http://www.tradelogistics.go.th เลือก “รายชื่อ LSP”)

สำหรับกรณีที่ต้องการค้นหาข้อมูลที่ละเอียดและ หลายรายการ สามารถค้นหาข้อมูลการนำเข้ารายมณฑลด้วยตัวเองได้ที่ห้องสมดการค้าระหว่าง ประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก ถนนรัชดาภิเษก (ตรงข้ามศาลอาญา) หรือห้องสมุดกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดเพื่อเข้าใช้ฐานข้อมูล GTA/WTA ทั้งนี้ โปรดเตรียมอุปกรณ์เพื่อบันทึกข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์มาพร้อมกันด้วย และในการค้นหาเมื่อระบุชื่อสินค้า ควรใส่รหัสฮาร์โมไนซ์โค๊ด HS Code ซึ่งเป็นรหัสสากลที่ใช้ระบุถึงสินค้าในแต่ละประเภท สำหรับดอกกล้วยไม้ รหัส HS Code คือ 06031300

สำหรับการค้นหารหัส HS Code ของสินค้ากล้วยไม้ในหมวดย่อยอื่นๆ สามารถค้นหาได้ที่ http://www.ops3.moc.go.th/infor/thtrade/Sr_hscode.asp?sr_hscode=&submit1=OK และเว็บไซต์กรมศุลกากร http://www2.customs.go.th/Tariff/Tariff.jsp
เว็บไซต์ฟรีที่มีฐานข้อมูลสถิติ มูลค่า ปริมาณ และราคาการนำเข้าและส่งออกกล้วยไม้โลก เช่น ฐานข้อมูล UNComtrade ของแผนกสถิติ สหประชาชาติ http://comtrade.un.org/ และฐานข้อมูลในหน้าสถิติของศูนย์บริการจัดการเครือข่ายข้อมูลกล้วยไม้ (Orchid Net) http://orchidnet.doae.go.th/form/export_world.php

2. ข้อแนะนำอื่นๆ

พัฒนาการปลูกกล้วยไม้ให้ได้มาตรฐานกล้วยไม้เพื่อ การส่งออก 3 ด้าน คือ 1.มาตรฐานช่อดอกกล้วยไม้ หรือกล้วยไม้ตัดดอก 2.มาตรฐาน GAP กล้วยไม้ตัดดอก และ 3. มาตรฐาน GMP ของโรงคัดบรรจุดอกกล้วยไม้ ซึ่งประเทศผู้นำเข้าหลายประเทศได้กำหนดมาตรการการนำเข้าที่เข้มงวดมากขึ้น ไม่เฉพาะการกำหนดกำแพงภาษีนำเข้าเท่านั้น แต่ยังมีการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืช การตรวจสอบศัตรูพืชสำคัญ เช่น เพลี้ยไฟและไข่หอยที่ปะปนติดไปกับสินค้า ซึ่งมาตรการดังกล่าวถือว่าเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ใม่ใช่รูปแบบภาษีรูปแบบ หนึ่ง แม้ในปัจจุบันจีนอาจยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานการนำเข้ากล้วยไม้เข้มงวดเช่น เดียวกับมาตรฐานกล้วยไม้ที่ส่งออกไปยังประเทศยุโรป แต่ก็มีแนวโน้มการเพิ่มความเข้มงวดในกล้วยไม้ที่นำเข้ามาในจีน โดยเฉพาะกล้วยไม้ที่ส่งออกไปยังตลาดระดับบน ผู้ส่งออกไทยที่สนใจส่งออกกล้วยไม้มาจีนในระยะยาวจึงควรพิจารณาเรื่อง มาตรฐานของกล้วยเพื่อการส่งออกดังกล่าวด้วย

การขอหนังสืออนุญาต CITES กล้วยไม้บางชนิดในบางสายพันธุ์ จัดว่าเป็นพืชพันธุ์หายาก ต้องขอเอกสาร CITES (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora, 1973-CITES) ซึ่งตามข้อกำหนดอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ สำหรับสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ตามบัญชีพืชและสัตว์ตามข้อกำหนดของอนุสัญญา CITES (Appendix) ครอบรวมถึงบัญชีสัตว์ป่าหรือพืชพรรณป่าที่ใกล้สูญพันธุ์และอาจสูญพันธุ์ ได้ หากยังนำมาค้าขายกันอยู่ โดยในรายชื่อในหมวดที่ 1 (Appendix I) นั้นมีรายชื่อของกล้วยไม้หายากบางชนิด เช่น กล้วยไม้รองเท้านารี กล้วยไม้เอื้องปากนกแก้วอยู่ด้วย ซึ่งหากคุณวรฤกษ์ส่งออกกล้วยไม้ในสองสายพันธ์นี้ จำเป็นต้องมีเอกสารตามอนุสัญญาไซเตส (เรียกชื่อว่าหนังสืออนุญาต CITES) ซึ่งออกจากกรมวิชาการเกษตร รายละเอียดการเตรียมเอกสารติดต่อได้ที่ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร 0-2940-7214 , 0-2940-6573 , 0-2940-6670 ผู้ส่งออกควรศึกษาขั้นตอนและกฏระเบียบการนำเข้า การเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการขออนุญาตการนำเข้า โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานที่ปรึกษาด้านการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงปักกิ่ง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ซึ่งเป็นหน่วยงานไทยที่มีหน้าที่โดยตรง

อ่านคำถามอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน