QA

การส่งออกสินค้าไปจีน

Qต้องการส่งข้าวไทยมาจีน อยากทราบข้อมูลสถิติการนำเข้าของเซี่ยงไฮ้ รายชื่อผู้นำเข้า ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการส่งออก

A

Q&A การส่งออกสินค้าไปจีน

1. การนำเข้าข้าวจากไทย

ปัจจุบันการส่งออกข้าวจากไทยมาประเทศจีนส่วนใหญ่ตามข้อมูลสถิติย้อนหลัง 3 ปีจากกรมศุลกากรจีนระบุว่าเป็นการส่งอออกมายังพอร์ตท่าเรือเมืองเซินเจิ้น และเมืองฮว๋างผู่ (มณฑลกว่างตง) เป็นหลัก รองลงมาเป็นการส่งออกมายังพอร์ดเมืองเซี่ยเหมิน (มณฑลฝูเจี้ยน) และพอร์ตเมืองหนานจิง (มณฑลเจียงซู) สำหรับการนำเข้ามาที่เซี่ยงไฮ้คิด เป็นอันดับที่ 5

2. รายชื่อผู้นำเข้าชาวจีน

สามารถหาได้จากฐานข้อมูลรายชื่อผู้นำเข้าของกระทรวงพาณิชย์จีน http://win.mofcom.gov.cn/ImporterChina/index.asp  โดยสามารถค้นหาจากรหัสพิกัดศุลกากรของสินค้า (ข้าว รหัส 1006) พร้อมระบุพื้นที่ที่ตั้งกิจการของผู้นำเข้า

3. ปัญหาในการส่งออกข้าวไทยมายังจีน

ปัจจุบันผู้ประกอบการประสบกับปัญหาดังนี้

3.1 ข้อกีดกันทางการค้าของจีนด้านโควต้าและภาษี แม้ว่าปัจจุบันจีนและอาเซียนจะมีข้อตกลงเขตเสรีทางการค้า China-ASEAN เพื่อลดภาษีสินค้าส่วนใหญ่ แต่สินค้าข้าวยังถูกจำกัดอยู่ในรายการสินค้าอ่อนไหว อีกทั้งยังถูกจำกัดปริมาณการนำเข้าในแต่ละปี ทำให้ผู้นำเข้าไทยไม่สามารถเปิดตลาดข้าวในจีนได้อย่างเสรี ผู้นำเข้าชาวจีนที่ต้องการนำเข้าเองก็จำเป็นต้องประมูลโควต้าการนำเข้าจาก รัฐบาลเพื่อให้สามารถได้สิทธิ์การนำเข้า ขั้นตอนการขอโควต้าก็มีความยุ่งยาก ทำให้ผู้ส่งออกไทยที่ต้องการขอเป็นผู้นำเข้ามาเองไม่สามารถทำได้ ต้องนำเข้าผ่านผู้นำเข้าชาวจีนที่ได้โควต้าเพียงไม่กี่ราย

3.2 ปัญหาด้านราคา ราคาขายของข้าวไทยในตลาดจีนนับว่าค่อนข้างสูงหากเทียบกับข้าวจีนคุณภาพดี ชนิดอื่นๆ ทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบในด้านความคุ้มค่ากับราคา ซึ่งทำให้เป้าหมายของข้าวไทยอยู่ในกลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีกำลังซื้อ ขณะเดียวกันข้าวไทยที่มีราคาแพงก็พลาดโอกาสกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-ล่างซึ่ง เป็นประชากรส่วนใหญ่ของชาวจีน

3.3 ปัญหาชื่อเสียงของข้าวไทยที่ได้รับผลกระทบจากข้าวปลอมปน ปัจจุบัน มีการปลอมปนข้าวไทยกับข้าวขาวชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าข้าวบรรจุกระสอบมาผสมและใส่บรรจุภัณฑ์ใหม่ในจีน และอ้างชื่อข้าวไทย

3.4 ปัญหาคู่แข่งจากข้าวจีนที่มีได้รับการพัฒนาสายพันธ์ให้มีคุณสมบัติที่อ้างว่าใกล้เคียงกับข้าวไทย เช่น ข้าวสายพันธุ์ 超泰米 เป็นต้น

3.5 ปัญหากระบวนการการนำเข้าข้าวจีนมีความซับซ้อน ซึ่งเริ่มจากคณะกรรมการกลางที่วาง แผนเศรษฐกิจ (Social Development Planning Commission : SDPC) มีบทบาทในการกำหนดโควต้า โดยวางแผนให้กับมณฑลต่าง ๆ และให้คณะกรรมการสภาพัฒน์ (จี้เหว่ย) ของมณฑลต่าง ๆ ตัดสินว่าให้บริษัทใดมีสิทธิในการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ และบริษัทของมณฑลต่าง ๆ จะรับโควต้านี้ไปบริหาร บริษัทเหล่านี้นั้นเป็นของหน่วยราชการต่าง ๆ เช่น บริษัทของคณะกรรมการส่งเสริมการส่งออก บริษัทของฝ่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจเช่น Beili Group เมื่อบริษัทเหล่านี้ได้รับโควต้าก็จะเริ่มเจรจากับประเทศผู้ส่งออก (บริษัทส่งออก) และเมื่อเจรจาเรียบร้อยแล้ว COFCO จะเป็นตัวกลางในการติดต่อกับบริษัท ต่างประเทศซึ่ง COFCO (China National Cereals, Oils and Foodstuffs Import and Export Corporation) จะร่วมลงนามในสัญญากับบริษัทต่างประเทศ COFCO เป็นบริษัทหน้าด่านในการติดต่อต่างประเทศเป็นตัวแทนทุกบริษัทในประเทศจีนใน การนำเข้า บริษัทจีนเมื่อเจรจาการค้ากับบริษัทต่างประเทศเรียบร้อยจะจ่ายเงินค่าสินค้า ไว้กับ COFCO และ COFCO จะดำเนินงานการซื้อขาย ฉะนั้นการที่บริษัทของจีนจะบิดพริ้วนั้นเป็นไปไม่ได้ ในกรณีที่บริษัทต่างชาติมีการบิดพริ้วหรือมีปัญหา อาทิเช่น การส่งสินค้าล่าช้า บริษัทนำเข้าของจีนจะดำเนินการติดตามฟ้องร้องจะต้องให้ COFCO เป็นตัวแทน แต่กระบวนการตัดสินใจดำเนินการติดตามฟ้องร้องจะต้องทำโดยบริษัทนำเข้าของจีน เอง และต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเอง COFCO มีโอกาสกินเปอร์เซนต์ส่วนต่างแต่มีจำนวนกำไรน้อยมาก เพราะมิได้มีบทบาทในการค้ากำไรแต่มีบทบาทในการดูแลการนำเข้ามากกว่า เพื่อให้การนำเข้านั้นมีระบบ การนำเข้าข้าวจากประเทศไทยจะต้องได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานจีนที่อยู่ใน ประเทศไทยก่อนส่งออกคือ หน่วยงาน CCIC จะเห็นได้ว่ากระบวนการการนำเข้าข้าวของจีนนั้นมีหลายขั้นตอน ทำให้ผู้ส่งออกข้าวรายใหม่ที่ต้องการเข้ามาขยายตลาดในจีนแทรกตัวเข้ามาได้ ยาก ข้าวไทยในตลาดจีนส่วนใหญ่จึงเป็นของผู้นำเข้าข้าวจีนที่นำเข้ามาเอง หรือเป็นของผู้ส่งออกข้าวไทยรายใหญ่ที่มีพื้นฐานธุรกิจในจีนที่แข็งแกร่ง เพียงไม่กี่ราย

อ่านคำถามอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน