ไตรมาสแรก การค้ากว่างซีกับไทยส่งสัญญาณฟื้นตัว
3 May 2013เว็บไซต์สำนักงานศุลกากรนครหนานหนิง : เดือน ม.ค.-มี.ค.56 การค้าต่างประเทศระหว่างเขตฯ กว่างซีจ้วงกับอาเซียนรักษาระดับอัตราการขยายตัวได้ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับทั้งประเทศ และอาเซียนยังคงเป็นฝ่ายเสียดุลการค้าต่อเนื่อง
ช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ กว่างซีและอาเซียนมีมูลค่าการค้า 2,970 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 27.3 (สูงกว่าอัตราขยายตัวเฉลี่ยของทั้งประเทศอยู่ร้อยละ 11.8 จุด) อยู่ในอันดับที่ 10 ของประเทศ และอันดับ 1 ของมณฑลทางภาคตะวันตก (แซงหน้ามณฑลเสฉวน)
ในจำนวนข้างต้น แบ่งเป็นมูลค่าส่งออกไปอาเซียน 2,380 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 43.7 และมูลค่านำเข้าจากอาเซียน 590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 13 กว่างซีเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 1,790 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
|
ข้อสังเกตของการค้าระหว่างกว่างซีกับอาเซียน (ภาพรวม) มีดังนี้
1. เวียดนาม (มีเส้นแนวพรมแดนติดกันพันกว่ากิโลเมตร) ยังคงเป็นคู่ค้าหลักของกว่างซี ครองสัดส่วนการค้าเกือบร้อยละ 80 ของมูลค่าการค้ารวมกับอาเซียน ทิ้งห่างคู่ค้าอันดับรองลงอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยแบบไม่เห็นฝุ่น
2. เนื่องจากมีพรมแดนทางบกติดกันเป็นระยะทางยาว ทำให้การค้าผ่าน “จุดผ่อนปรนการค้าชายแดน” ครองสัดส่วนมากที่สุด ด้วยมูลค่า 2,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.7 ของมูลค่ารวมการค้าต่างประเทศกับอาเซียน (การค้าสากล 620 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รักษาระดับคงที่)
3. วิสาหกิจเอกชน มีสัดส่วนการค้ากับอาเซียนมากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.5 ของวิสาหกิจที่ทำการค้ากับอาเซียน ในจำนวนนี้ เป็นการส่งออก 1,480 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และการนำเข้า 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 28.6 (รัฐวิสาหกิจ มีมูลค่า 950 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.4 เท่า)
4. เมืองฉงจั่ว เป็นเมืองหน้าด่านการค้าสำคัญ (มีพรมแดนทางบกติดเวียดนามยาวที่สุด 533 กิโลเมตร) มีมูลค่าการค้า 1,820 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.1 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 61.4 ของมูลค่ารวมการค้าต่างประเทศกับอาเซียน (นครหนานหนิง เมืองฝางเฉิงก่าง เมืองชินโจว และเมืองเป๋ยไห่ ซึ่งเป็น 4 เมืองสำคัญในเขตเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้มีมูลค่าการค้ากับอาเซียน 880 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8)
5. สินค้าส่งออกไปอาเซียน ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม 860 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1 เท่า / เครื่องใช้ไฟฟ้า 680 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 / สินค้าเกษตร 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 และเส้นใยทอผ้า 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.5 โดยมูลค่าการค้าสินค้า 4 รายการข้างต้นคิดเป็นร้อยละ 81.6 ของมูลค่าการส่งออกไปอาเซียน
6. สินค้านำเข้าจากอาเซียน ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป 80.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า / สินแร่และแร่เหล็ก 51.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1 / ถ่านหิน 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 45.9 และสินค้าเกษตร 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 โดยมูลค่าการค้าสินค้า 4 รายการข้างต้นคิดเป็นร้อยละ 66.7 ของมูลค่าการนำเข้าจากอาเซียน
BIC ขอให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการค้าระหว่างกว่างซีกับไทย ช่วงไตรมาสแรก ปี 56 มีดังนี้
1. ยอดการค้าของ “ไทย” ถูกสิงคโปร์แซงหน้าตกมาอยู่อันดับที่ 5 ของตาราง ด้วยมูลค่าการค้า 84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 46.2 คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 2.84 ของมูลค่ารวมการค้าระหว่างกว่างซีกับอาเซียน
อย่างไรก็ดี พบว่า ภาพรวมการค้าระหว่างทั้งสองฝ่ายส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสองปีก่อนหน้า (ปี 54-55) ซึ่งสถานการณ์การค้าตกอยู่ในภาวะซบเซา โดยมูลค่ารวมการค้ารายเดือนส่วนใหญ่มีอัตราขยายตัวไม่เกินร้อยละ 20 และบางเดือนถึงขั้นติดลบก็มี
มูลค่าการนำเข้าส่งออกรายเดือนระหว่างกว่างซี-ไทย |
||
ดัชนี |
นำเข้า-ส่งออก |
|
มูลค่า (USD) |
ขยายตัว (%) |
|
มกราคม |
31,332,000 |
115.4 |
กุมภาพันธ์ |
14,597,000 |
20.9 |
มีนาคม |
39,591,000 |
68.5 |
2. สถานการณ์การส่งออกของกว่างซีไปไทย พบว่า อ่อนตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา (ปี 55) ซึ่งกว่างซีสามารถรักษาอัตราขยายตัวเฉลี่ยรายเดือนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 จนกระทั่งเดือน ก.พ.56 ที่ผ่านมา กลับปรากฎตัวเลขติดลบ (เดือน ก.พ.ลดลงร้อยละ 8.6) เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี
มูลค่าการส่งออกรายเดือนระหว่างกว่างซี-ไทย |
||
ดัชนี |
ส่งออก |
|
มูลค่า (USD) |
ขยายตัว (%) |
|
มกราคม |
15,662,000 |
29.0 |
กุมภาพันธ์ |
9,979,000 |
-8.6 |
มีนาคม |
15,503,000 |
64.0 |
3. สถานการณ์การนำเข้าของกว่างซีจากไทยส่งสัญญาณฟื้นตัวนับจากช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลังจากที่ตกอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ยาวนานกว่า18 เดือน (การนำเข้าจากไทยปรากฎ “ตัวแดง” นับตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค.54 – ธ.ค.55)
มูลค่าการนำเข้ารายเดือนระหว่างกว่างซี-ไทย |
||
ดัชนี |
นำเข้า |
|
มูลค่า (USD) |
ขยายตัว (%) |
|
มกราคม |
15,669,000 |
550.5 |
กุมภาพันธ์ |
4,617,000 |
104.3 |
มีนาคม |
24,088,000 |
72.8 |