สองยักษ์ใหญ่รถไฟจีนแข่งขันแย่งตลาดอาเซียน
18 Oct 2013เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียงและนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้แสดงความคิดเห็นในการให้ความสำคัญต่อความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูงระหว่างจีน-ไทย ซึ่งได้ดึงดูดความสนใจรถไฟความเร็วสูงจีนให้ “ก้าวออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ” จากหลายฝ่าย
ข้อมูลจาก บริษัท CSR (China Southern Locomotive and Rolling Stock Industry Group หรือ中国南车) ชี้ว่า เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูงระหว่างจีน-ไทยให้กลายเป็นความจริง CSR และหน่วยงานไทยมีความเห็นพ้องกันที่จะก่อตั้งศูนย์วิจัยเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย
ในฐานะที่เป็นคู่แข่งเก่าแก่ของ CSR บริษัท CNR (China Northern Locomotive and Rolling Stock Industry Group หรือ中国北车) ก็ไม่ยอมน้อยหน้า ในช่วงเวลาหลายปีก่อน CNR ก็เริ่มขายรถใต้ดินให้ไทย นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 CNR ได้ลงนามกรอบข้อตกลงความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ด้านอุปกรณ์การคมนาคมกับไทย เพื่อพัฒนาตลาดการคมนาคมของไทยร่วมกัน ปัจจุบัน จีนกำลังประสบสถานการณ์ใหม่กับการแย่งชิงการส่งออกรถไฟความเร็วสูงยังตลาดต่างประเทศ ดังนั้น รูปแบบเดิมทีที่กระทรวงรถไฟแบ่งตลาดให้ CSR และ CNR จึงไม่สามารถประยุกต์ใช้กับสภาวะตลาดในปัจจุบันได้อีกแล้ว บริษัทรถไฟยักษ์ใหญ่ 2 แห่งจึงได้เริ่มดำเนินการแข่งขันแย่งตลาดอาเซียนแล้ว ทั้งที่ในอดีตหากมีบริษัทจีนแห่งหนึ่งได้เข้าร่วมโครงการรถไฟของประเทศหนึ่ง บริษัทจีนแห่งอื่นมักจะไม่เข้าร่วมไปแข่งขันอีกแล้ว
ตลาดไทยเป็นสนามแข่งขันแห่งแรกสำหรับการส่งออกอุปกรณ์รถไฟความเร็วสูงของจีน โดยเป็นตลาดใหญ่ที่มีแผนการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงหลายสาย ปัจจุบัน จีน-ไทยได้ร่วมมือกันบรรลุผลงานการศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพ ฯ –เชียงใหม่และเส้นทางกระเทพ ฯ – หนองคาย
นอกจากตลาดอาเซียนแล้ว จีนยังได้ส่งออกอุปกรณ์รถไฟความเร็วสูงสู่ตลาดกว่า 10 ประเทศและภูมิภาค อาทิ บราซิล ออสเตรเลีย นิวซิแลนด์ อาร์เจนตินา เอเชียกลาง เป็นต้น ทั้งนี้ การแข่งขันระหว่าง CSR และCNR นั้น ได้ทำให้เกิดความห่วงกังวลจากผู้เชี่ยวชาญจีนว่า อาจทำให้ทั้ง 2 บริษัทไม่ได้รับผลดีทั้งคู่ในสุดท้าย แต่น่าจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค ทั้งในด้านราคาและคุณภาพ