ความฝันที่ (น่าจะ) เป็นจริงของเซี่ยงไฮ้ : เป้าหมายศูนย์กลางการเงินโลกภายใน ค.ศ. 2020 (ตอนที่ 2 : เปิดเสรีตลาดทุน.. แรงสนับสนุนสู่ฝันที่เป็นจริง)
5 Jul 2013หลายท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่า แต่ไหนแต่ไรจีนเป็นประเทศที่“คุมเข้ม” ด้านการไหลเวียนของเงินทุนอย่างมาก ทั้งเงินทุนในรูปเงินหยวนและเงินสกุลหลักต่างๆ ด้วยการตั้ง“กำแพง” สกัดกั้นที่มีกฎระเบียบข้อกำหนดมากมายจนวิสาหกิจ/นักลงทุนชาวต่างชาติอยากจะส่ายหน้าหนีจากการลงทุนในตลาดทุนของจีน
แต่หลังจากจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO ในปี ค.ศ. 2001 การเปิดเสรีในด้านต่างๆ ได้บังเกิดขึ้นในแผ่นดินจีน ส่งผลให้ต่างชาติจำนวนมากเริ่มสนใจบุกเข้ามาในจีนมากขึ้น ทั้งการทำธุรกิจการค้า ลงทุนก่อสร้างโครงการสำคัญ หรือการลงทุนในตลาดทุน เป็นต้น ซึ่งล้วนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจจีนมีสภาพการพัฒนาที่ดีขึ้นจวบจนทุกวันนี้
ด้วยเล็งเห็นบทบาทสำคัญของต่างชาติที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งระดับโลก และมีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษฐกิจโลก รัฐบาลจีนจึงได้ออกนโยบายต่างๆ แบบ“ยกขบวน” ที่ช่วยเอื้ออำนวยต่อการลงทุนสำหรับชาวต่างชาติอย่างต่อเนื่อง โดยนโยบายหนึ่งที่สำคัญ คือ การเปิดเสรีทางตลาดทุน เพื่อกระตุ้นมีการใช้เงินหยวนอย่างแพร่หลายและกลายเป็นเงินสกุลหลักของโลก ทั้งนี้ เซี่ยงไฮ้ซึ่งมีฐานะเป็นตลาดทุนยักษ์ใหญ่ที่สุดในจีนและเป็นที่หมายปองของวิสาหกิจการลงทุนจากต่างชาติ จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในกระบวนการเปิดเสรีตลาดทุนของจีน โดยการเปิดเสรีทางตลาดทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เซี่ยงไฮ้บรรลุเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการเงินโลกภายในปี ค.ศ. 2020 ด้วย
บทความฉบับนี้เป็นภาคต่อของบทความเรื่อง“ความฝันที่ (น่าจะ) เป็นจริงของเซี่ยงไฮ้ : เป้าหมายศูนย์กลางการเงินโลกภายใน ค.ศ. 2020 ตอนที่ 1” ซึ่งจะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการเปิดเสรีตลาดทุนของจีนและบทบาทของตลาดทุนเซี่ยงไฮ้ที่มีส่วนสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย พร้อมทั้งการวิเคราะห์บทสรุปหนทางแห่งความฝันของเซี่ยงไฮ้ในการก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินโลกภายในปี ค.ศ. 2020 กับบทความตอนจบที่มีชื่อว่า“เปิดเสรีตลาดทุน.. แรงสนับสนุนสู่ฝันที่เป็นจริง”
2 โปรแกรมจากส่วนกลาง.. เพิ่มช่องทางการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับวิสาหกิจการเงิน
ความเสรีของตลาดทุนและความอิสระในการเคลื่อนไหวของเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้เซี่ยงไฮ้แสดงบทบาทศูนย์กลางการเงินได้อย่างสมบูรณ์ และส่งเสริมให้เงินหยวนมีความเป็นสากลมากขึ้น โดยรัฐบาลจีนได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้มีการออกโปรแกรมที่จะช่วยเพิ่มช่องทางการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับวิสาหกิจการเงินจีน/ต่างชาติ ซึ่งสะท้อนถึงพัฒนาการการเปิดเสรีทางตลาดทุนตามลำดับขั้นของจีน ดังนี้
1) การส่งเสริมกลุ่มสถาบันการเงินต่างชาติลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จีน |
เมื่อปี ค.ศ. 2002 รัฐบาลจีนออกโปรแกรม QFII (Qualified Foreign Institutional Investor) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่จีนอนุญาตให้วิสาหกิจต่างชาติที่ได้รับการรับรองสามารถเข้าไปซื้อ -ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จีนได้ โดยกำหนดให้สามารถทำการซื้อ – ขายเฉพาะหุ้นกลุ่ม A-share (หุ้นจีนที่ทำธุรกรรมในสกุลเงินหยวนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น) แต่มีการจำกัดวงเงินรวมไม่เกิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ผลักดันให้เงินหยวนมีนัยสำคัญมากขึ้นในตลาดการลงทุน และสะท้อนให้เห็นที่การเปิดกว้างให้ชาวต่างชาติเริ่มเข้ามาลงตลาดทุนของจีน
นอกจากนี้ เมื่อช่วงสิ้นปี ค.ศ. 2011 รัฐบาลจีนยังได้ออกโปรแกรม RQFII (Renminbi Qualified Foreign Institutional Investor) เพื่อเปิดโอกาสกองทุนระดมเงินสกุลหยวนในฮ่องกงหรือบริษัทลูกที่จดทะเบียนในฮ่องกงของบริษัทหลักทรัพย์สัญชาติจีน สามารถลงทุนด้วยเงินหยวนในตลาดหลักทรัพย์จีนได้ โดยล่าสุดเมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2012 หน่วยงาน CSRS ได้ขยายโควต้าวงเงิน RQFII เป็น 270,000 ล้านหยวน |
2) การส่งเสริมกลุ่มสถาบันการเงินจีนลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นอกจีนแผ่นดินใหญ่ |
เมื่อปี ค.ศ. 2006 รัฐบาลจีนได้ประกาศใช้ระบบ QDII (Qualified Domestic Institutional Investor) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้สถาบันการเงินจีน (บริษัทบริหารกองทุน ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกัน และวิสาหกิจการเงินขนาดใหญ่) ที่มีศักยภาพและได้รับการอนุมัติจากหน่วยงาน CSRS สามารถไปลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินในตลาดนอกจีนแผ่นดินใหญ่ที่ผ่านการทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับทางการจีนได้ โดยเริ่มต้นจากตลาด ในช่วงแรกของปี ค.ศ. 2006 มีเพียง 15 สถาบันที่ได้รับการอนุมัติให้ไปลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนทั้งหมด 14,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลจีนเร่งทำการขยายผลระบบ QDII เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทำให้เงินหยวนมีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก จนล่าสุดเมื่อช่วงสิ้นปี ค.ศ. 2012 รัฐบาลจีนได้อนุมัติให้สถาบันจีนไปลงทุนในตลาดต่างประเทศแล้วรวม 107 ราย ซึ่งคิดเป็นยอดเงินลงทุนสะสมรวมกว่า 101,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ภาพรวมของนโยบาย QDII นอกจากจะบ่งชี้ถึงพัฒนาการของตลาดหุ้นจีนแล้ว ยังถือเป็นนโยบายที่ช่วงลดความกดดันต่อค่าเงินหยวน ที่แข็งค่าขึ้นจากสภาพคล่องที่ไหลทะลักเข้ามาจากระบบ QFII รวมถึงยังเป็นการลดความร้อนแรงในตลาดหุ้นจีนที่ก่อให้ความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่ (Stock market bubble) อีกด้วย |
เปิดประตูตลาดทุนเซี่ยงไฮ้.. หนุนต่างชาติให้มีบทบาทในภาคการเงิน
ด้วยเงื่อนไขความพร้อมในด้านต่างๆ ของนครเซี่ยงไฮ้ จึงส่งเสริมให้ตลาดทุนของเซี่ยงไฮ้มีบทบาทในจีนมากกว่าตลาดทุนของกรุงปักกิ่งและเมืองเซินเจิ้น โดยรัฐบาลกลางจีนได้ตัดสินใจกำหนดเป้าหมายให้นครเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการเงินโลกของจีน และเพื่อเป็นการสนองตอบต่อเป้าหมายดังกล่าวของรัฐบาลกลาง รัฐบาลเซี่ยงไฮ้จึงได้พยายามจะออกนโยบายเพื่อกระตุ้นการลงทุนด้านธุรกิจการเงินจากวิสาหกิจต่างชาติอย่างต่อเนื่อง อาทิ
1) การออกพันธบัตรเงินหยวน (Yuan bonds)โดยวิสาหกิจต่างชาติ |
ในปี ค.ศ. 2012 หน่วยงาน CSRS และตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้จึงเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของการเปิดให้วิสาหกิจต่างชาติสามารถออกพันธบัตรหยวนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ เพื่อเพิ่มช่องทางสำหรับวิสาหกิจต่างชาติในการระดมทุนเงินหยวนในประเทศจีน ซึ่งนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจกับนโยบายดังกล่าวมาก เนื่องจากพันธบัตรถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเปรียบเทียบกับหุ้น โดยที่เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในระยะยาว และกำลังได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก |
2) การเปิดกระดานระหว่างประเทศ (International board) ในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ (SSE) |
เมื่อ ค.ศ. 2010 ทางการจีนวางแผนจะเปิดกระดานต่างประเทศในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ โดยจะอนุญาตให้กลุ่มบริษัท 500 อันดับชั้นนำของโลก และกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในจีนที่จดทะเบียนในฮ่องกง (Red ทั้งนี้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎระเบียบที่ยังไม่ได้รับข้อสรุป รวมถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของโลก จึงทำให้ในปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ระงับการเปิดต่างประเทศไว้ชั่วคราว อย่างไรก็ดี แนวคิดการดำเนินนโยบายดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงก้าวสำคัญในการลดข้อจำกัดการควบคุมการไหลเวียนของเงินทุน และข้อจำกัดในการเข้าถึงตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้จากวิสาหกิจต่างชาติ |
3) การออกโปรแกรม Qualified foreign limited partner (QFLP) |
เพื่อเป็นการช่วยเหลือบริษัทต่างชาติดังกล่าว ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 เทศบาลเซี่ยงไฮ้จึงได้ริเริ่มออกโปรแกรม QFLP เพื่อให้รัฐบาลกลางรับรอง ซึ่งมีผลบังคับใช้จริงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 โดย QFLP เป็นระบบที่ช่วยเปิดเสรีในการลงทุนจากบริษัทกองทุนเงินร่วมลงทุนของต่างชาติมากขึ้น ทั้งนี้ บริษัทต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาต (QFLP license) สามารถระดมทุนต่างชาติมาแปลงเป็นเงินหยวนเพื่อจัดตั้งกองทุนเงินหยวน และลงทุนในจีนได้สูงสุดตามกำหนดมูลค่าโควต้าที่ได้รับ ซึ่งไม่ต้องขออนุญาตแปลงสกุลเงินจากหน่วยงาน SAFE อีกต่อไป ล่าสุดกรุงปักกิ่งและนครเทียนจินก็ได้เข้าร่วมใช้โปรแกรม QFLP ต่อจากนครเซี่ยงไฮ้ด้วยเช่นกัน |
4) การออกโปรแกรม Qualified domestic limited partner (QDLP) |
|
เมื่อถึงวันฝันเป็นจริงของเซี่ยงไฮ้.. ธุรกิจการเงินไทยได้ผลพวงอะไรบ้าง?
จากนโยบายการส่งเสริมพัฒนาตลาดทุนและมุ่งพัฒนานครเซี่ยงไฮ้ให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก ควบคู่ไปกับการผลักดันเงินหยวนสู่เวทีโลกของรัฐบาลจีนและรัฐบาลเซี่ยงไฮ้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เมื่อปี ค.ศ. 2012 เซี่ยงไฮ้ขยับขึ้นมาอยู่อันดับที่ 6 ของเมืองศูนย์กลางการเงินระหว่างประเทศ รองจากนิวยอร์ก ลอนดอน โตเกียว ฮ่องกง และสิงค์โปร์ (ข้อมูลจาก International financial centers development index : IFCD Index) อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินต่างให้ความเห็นว่า นครเซี่ยงไฮ้ยังมีข้อจำกัดในการที่จะก้าวข้ามมาแทนที่กรุงนิวยอร์กสู่เป็นศูนย์กลางการเงินโลกภายในปี ค.ศ. 2020 โดยปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Critical success factors) ที่ต้องเร่งผลักดันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อาทิ
– ความเสรีในการไหลเข้า-ออกของเงินทุน
– ความเสรีในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
– ความอิสระในอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราและอัตราดอกเบี้ย
– การมีส่วนร่วมในภาคการเงินของวิสาหกิจ/นักลงทุนต่างชาติ
– จำนวนบุคลากรภาคการเงิน / ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
ทั้งนี้ นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า จีนยังไม่สามารถทำให้ปัจจัยสู่ความสำเร็จบางรายการเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาสั้น เช่น การเปิดเสรีการไหลเข้า-ออกของเงินทุน เนื่องจากรัฐบาลจีนยังคุมเข้มการไหลเวียนของเงินทุน เพื่อป้องกันแรงกระทบจากภายนอก (External shock) ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจในประเทศจีน และการเปิดเสรีในการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งปัจจุบันทางการจีนยังควบคุมอยู่ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้เงินหยวนในการทำการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสู่ความสำเร็จบางส่วนมีแนวโน้มที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น การพัฒนาบุคลากรภาคการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลเซี่ยงไฮ้มีแนวโน้มที่จะออกนโยบายลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคลากรต่างชาติในภาคการเงินทุกคนให้เทียบเท่ากับฮ่องกงที่ร้อยละ 15 หรือสิงค์โปร์ที่ร้อยละ 20 จากเดิมร้อยละ 45 (ปัจจุบันมีเพียงผู้บริหารระดับสูงจำนวนไม่มากที่อาจได้รับการลดภาษีเงินได้ทีjร้อยละ 20 – 40) รวมถึงให้สิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อดึงดูดบุคลากรภาคการเงิน (ปัจจุบันเซี่ยงไฮ้มีปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคการเงินอย่างหนัก โดยมีสัดส่วนจำนวนแรงงานในภาคการเงินต่ำกว่าร้อยละ 2 จากจำนวนแรงงานทั้งหมด ขณะที่นครนิวยอร์กมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 10)
ขณะเดียวกัน แนวทางการเพิ่มให้วิสาหกิจ/นักลงทุนต่างชาติมีส่วนร่วมในภาคการเงินมากยิ่งขึ้นก็มีการ ส่งเสริมที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยในอนาคตหากตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้พร้อมที่จะเปิดกระดานระหว่างประเทศ และอนุญาตให้วิสาหกิจต่างชาติออกพันธบัตรในรูปเงินหยวนได้ ก็จะทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกรรมภาคการเงินในนครเซี่ยงไฮ้มากขึ้น
ในส่วนของประเทศไทยนั้น หากในอนาคตเซี่ยงไฮ้สามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการเงินโลกแล้ว (ภาคการเงินของจีนเปิดเสรี / เงินหยวนมีบทบาทในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น) ธุรกิจการค้าระหว่างไทยและเซี่ยงไฮ้จะมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีปริมาณไหลเวียนของเงินหยวนที่สามารถนำมาใช้ชำระเงินระหว่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ธนาคารของไทยในจีนยังจะสามารถมีแหล่งระดมเงินทุนที่เป็นรูปเงินหยวนได้มากขึ้นด้วย อีกทั้งสามารถนำเงินหยวนที่มีไปลงทุนในตลาดทุนของเซี่ยงไฮ้ได้ และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของจีนผ่านเซี่ยงไฮ้ได้เช่นกัน
ท้ายที่สุดแล้ว การที่เซี่ยงไฮ้จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลกได้หรือไม่นั้น รัฐบาลจีนคงต้องชั่งผลประโยชน์ระหว่างความสำเร็จและความเสี่ยงที่อาจได้รับจากการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงคงต้องทำการบ้านเพื่อเตรียมความพร้อมอย่างจริงจัง เชื่อว่าหากจีน“กล้าเปิดเสรี” ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคการเงินอย่างต่อเนื่องแล้ว รวมถึงยังพยายามผลักดันที่จะทำให้เงินหยวนมีบทบาทสำคัญในเวทีโลกอย่างไม่ท้อถอย ความฝันของเซี่ยงไฮ้ที่จะกลายเป็นศูนย์กลางการเงินโลกภายในปี ค.ศ. 2020 ก็ไม่น่าจะอยู่ไกลเกินเอื้อม…
ลิงค์บทความที่เกี่ยวข้อง
_________________________
จัดทำโดย นายภัทร บุญญลักษม์ และนายโอภาส เหลืองดาวเรือง
ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครเซี่ยงไฮ้
ข้อมูลอ้างอิง :
1) AmCham Shanghai (2012). Shanghai on Track to Become an International Financial Center. www.prnewswire.com
2) Austrade (2010). Qualify Domestic Institutional Investor (QDII). www.austrade.gov.au
3) China Money Podcast (2012). Interview with Hubert Tse: All You Need to Know About China’s QFLP Investment Program. www.chinamoneypodcast.com
4) Ching, H.H. (2012). SAFE Hit the Brakes on QDII Approvals. Asia Asset Management วันที่ 6 มกราคม 2012. www.asiaasset.com
5) City of London Economics Development (2010). The Shanghai International Board: Challenges and Opportunities. cec.shfc.edu.cn
6) Jianmin, F. (2012). QFII Quotas Hit Monthly Record. นสพ. Shanghai Daily ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน 2012
7) Jing, S. (2011). SAR Gains New Investors with Dim Sum Bonds. China daily วันที่ 6 ธันวาคม 2012. www.chinadaily.com.cn
8) Jun, W. (2011). Embracing an International Board. Beijing Review วันที่ 7 มิถุนายน 2011. www.bjreview.com.cn
9) Junli, F. (2011). Shanghai‘s International Board to Launch Soon. CaixinOnline. english.caixin.com
10) Ren, D. (2010). Foreign Firms May Get to Raise Funds in Yuan. South China Morning Post วันที่ 23 มิถุนายน 2012. www.scmp.com
11) Riddell, M. (2011). Shanghai–An International Financial Center By 2020. www.chinadebate.com
12) Robb, H. (2012). China Open Up to Foreign Hedge Funds. NewStateman วันที่ 11 กรกฏาคม 2012. www.newstatesman.com
13) SIPF (2009). Introduction to QFII. China Securities Investor Protection Fund Corporation. www.sipf.com.cn
14) Su, S.W. (2010). Qualified Foreign Limited Partner – The Latest Development on Foreign Investment in RMB Fund. www.hg.org
15) Sweeney, P. And Shen, S. (2012). China Eyes Allowing Foreign Firm to Sell Bond on Shanghai Exchange. www.lse.co.uk
16) Tomlinson, Y.F. and Wu, N. (2012). New Opportunity for Foreign Asset Managers to Tap RMB Investors’ Appetite for International Capital Markets?. www.kayescholer.com
17) Wharton (2010). Turning Shanghai into a Global Financial Hub: So Much to Do, So Little Time. Wharton University of Pennsylvania Press. www.knowledgeatwharton.com.cn
18) Xinzhen, L. (2012). A More Global Yuan. Beijing Review วันที่ 19 พฤศจิกายน 2012. www.bjreview.com.cn
19) Ying, W. (2011). Shanghai Ranked 6th on Financial Center List. China daily วันที่ 6 ธันวาคม 2012. www.chinadaily.com.cn