ขอสอบถามเกี่ยวกับการส่งออกมะม่วงไปจีน
18 Apr 20141. ข้อมูลเบื้องต้น
1.1) สถิติการนำเข้ามะม่วงของจีน ล่าสุดปี 2554 จีนนำ เข้ามะม่วงสดจากต่างประเทศ คิดเป็นปริมาณ 27,877 ตัน ปริมาณส่วนใหญ่นำเข้าจากพม่า 25,491 ตัน รองลงมาคือไทย 1,524 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้ามะม่วงของจีนนส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาที่พอร์ตเมืองคุนหมิงเป็น หลัก (ปริมาณ 25,517 ตัน) รองลงมาได้แก่พอร์ตเมืองเซี่ยเหมิน (ปริมาณ 751 ตัน) เมืองเซินเจิ้น (ปริมาณ 634 ตัน) และเซี่ยงไฮ้ (ปริมาณ 468 ตัน) ตามลำดับ แม้ปริมาณมะม่วงที่นำเข้าจีน ณ พอร์ตเซี่ยงไฮ้จะมีปริมาณคิดเป็นอันดับ 4 แต่หากพิจารณาจากมูลค่าพบว่ามากเป็นอันดับ 2 (มูลค่า 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ชี้ให้เห็นว่ามะม่วงที่นำเข้าจีนในพื้นที่เซี่ยงไฮ้เป็นมะม่วงที่เน้นคุณภาพ เป็นหลัก
1.2) เว็บไซต์ http://www.thaifruits-online.com/public/importlist ซึ่ง เป็นเว็บไซต์ส่งเสริมการค้าผลไม้ในจีน โดยการบริหารงานของกระทรวงเกษรตรและสหกรณ์ไทย ภายในจะมีข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อผู้นำเข้าผลไม้ไทยมายังจีน พร้อมทั้งราคาผลไม้ไทยในเมืองสำคัญของจีน ทั้งนี้ สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมต่างๆ ได้ที่สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรประจำกรุงปักกิ่ง ซึ่งทำหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมการค้าผลไม้ไทยในตลาดจีน โทรศัพท์ (86-10) 6532 3955 อีเมล์ [email protected]
1.3) พฤติกรรมการบริโภค ปัจจุบันชาวเซี่ยงไฮ้และมณฑลข้างเคียงอย่างเจ้อเจียงและเจียงซูมีกำลังซื้อ สูง และค่อนข้างให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลไม้เป็นหลัก หากเป็นมะม่วงคุณภาพดีจะติดตลาดเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ขณะที่จีนยังไม่สามารถผลิตมะม่วงเกรดและคุณภาพแบบเดียวกับไทยได้ ดังนั้นมะม่วงไทยเกรดพรีเมี่ยม ยังมีช่องว่างทางการตลาดในพื้นที่เซึ่ยงไฮ้ เจ้อเจียง และเจียงซู โดยมะม่วงเกรดพรีเมี่ยมมีวางจำหน่ายในห้างค้าปลีกชั้นนำทั่วไป โดยราคาไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใดเพราะผู้บริโภคให้ความสำคัญกับคุณภาพ รสชาติ และความสดเหนือราคา
2. ข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับการส่งออกสินค้าผลไม้ไทยเบื้องต้น
2.1) มาตรฐานมะม่วงส่งออกของไทย แม้ว่ามะม่วงที่ส่งออกจะได้รับมาตรฐาน GAP ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านการเพาะปลูก แต่มะม่วงที่จะถูกนำไปส่งออก ยังต้องผ่านขั้นตอนอื่นๆ เช่น การคัดขนาด การล้างทำความสะอาดผิว การรมควันเพื่อฆ่าแมลง การบรรจุหีบห่อ เป็นต้น โดยมะม่วงเป็นสินค้าเกษตรที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและมีศักยภาพในการส่งออก เพื่อให้มะม่วงไทยเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับสากลและเพื่ือความ ปลอดภัยของผู้บริโภคและส่งเสริมการส่งออก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำมาตรฐานมะม่วงแห่งชาติ โดยมะม่วงที่จะส่งออกควรต้องเข้าเกณฑ์มาตรฐานตามที่สำนักงานมาตรฐานสินค้า เกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวกำหนดโดยสอดคล้องกับมาตรฐานสากลของมะม่วง โดยในมาตรฐานมะม่วงแห่งชาติมีกำหนดรายละเอียดของคุณภาพ ขนาด น้ำหนัก สารปนเปื้อน สารตกค้างต่างๆ ซึ่งแม้มาตรฐานดังกล่าวจะเป็นมาตรฐานโดยสมัครใจ แต่เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันไม่คลาดเคลื่อนผู้ส่งออกมะม่วงไทยจึงควร ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานของมะม่วงตามรายละเอียดต่อไปนี้ (http://www.acfs.go.th/datakm/standard/download/mango.pdf)
2.2) การขออนุญาตเป็นผู้ส่งออกสินค้าของไทย ต้องดำเนินเรื่องขออนุญาตเป็นผู้ส่งออกสินค้ากับกรมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้บัตรประจำตัวผู้ส่งออกไว้ใช้ในการออกหนังสือรับรองและใบอนุญาต ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการส่งออกจากประเทศไทย โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องเป็นนิติบุคคล (บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ที่มีการจดเลขที่ผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว (มีใบ ภ.พ.20) ซึ่งปัจจุบันผู้ขอสามารถกรอกคำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ส่งออก ผู้นำเข้าได้ทางเว็บไซต์ http://reg-users.dft.go.th (กดหัวข้อดาวน์โหลด) พร้อมแนบเอกสารเพิ่มเติมตามที่กำหนดและยื่นขอได้ที่กรมการค้าระหว่างประเทศ รายละเอียดเพิ่มติดต่อสำนักบริการการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าระหว่างประเทศ สายด่วน 1385
2.3) การยื่นเอกสารใบรับรองปลอดโรคพืชจากกรมวิชาการเกษตร เมื่อได้ใบรับการอนุญาตเป็นผู้ส่งออกสินค้าไทยแล้ว การส่งออกสินค้าแต่ละชนิดก็ยังมีขั้นตอนการขออนุญาตส่งออกที่แตกต่างกัน โดยหากเป็นพืชผลทางการเกษตร จำเป็นต้องขอเอกสารเพิ่มเติมประกอบการส่งออกกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งตามประกาศกรมการค้าระหว่างประเทศเรื่องการกำหนดชนิดหรือประเภทของผักและ ผลไม้ที่ต้องมีหนังสือรับรองในการส่งออก ระบุให้มะม่วงที่ส่งออกไปต่างประเทศหากประเทศที่นำเข้านั้นต้องการใบรับรอง ปลอดโรคพืช สารตกค้าง หรือแมลง ผู้ส่งออกสามารถขอใบรับรองดังกล่าวได้ที่กรมวิชาการเกษตร ซึ่งปัจจุบันประเทศจีนโดยหน่วยงาน AQSIQ (Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine of the People’s Republic of China 国家质量监督检验检疫总局门户) ที่ดูแลด้านสุขอนามัยและการตรวจสอบความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดให้มะม่วงสดสามารถนำเข้าจีนได้โดยต้องขออนุญาตการนำเข้าสินค้าให้ เรียบร้อยก่อนทำการส่งสินค้าออก ซึ่งในขั้นตอนการขอใบอนุญาตนำเข้า (进境动植物检疫许可证) จำเป็นต้องมีเอกสารใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศไทย ใช้ประกอบการยื่นขอโดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักควบคุมพืชและ วัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร 02-940-6466-8 อีกทั้งผู้ส่งออกมะม่วงไทยยังต้องปฏิบัติตามพิธีสารว่าด้วยเงื่อนไขการตรวจ สอบและกักกันโรคสำหรับผลไม้ส่งออกจากไทยไปจีนอีกด้วย ซึ่งผู้ส่งออกจำเป็นต้องติดตามกฏระเบียบการนำเข้าผลไม้ของทางการจีนอย่าง ใกล้ชิด โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมวิชาการเกษตร
2.4) การเตรียมเอกสารสำหรับใช้ในการนำเข้าไปยังจีน นอกจากการเตรียมเอกสารใบรับรองของไทยเพื่อให้ผลไม้สามารถออกจากประเทศไทยได้ อย่างถูกต้องแล้ว เพื่อให้สินค้าสามารถเข้าประเทศจีนได้อย่างถูกต้องทางการจีนก็ได้มีข้อกำหนด ด้านสุขอนามัยผลไม้ที่จะนำเข้ามายังจีนที่ผู้นำเข้าจากทุกประเทศต้องปฏิบัติ ตาม รายละเอียดเพิ่มเติมด้านข้อกำหนดด้านสุขอนามัยที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชน จีน (http://www.thaifruits-online.com/UserFiles/File/file/Health.pdf)
ทั้งนี้ ปัจจุบันการนำเข้าผลไม้มายังสาธารณรัฐประชาชนจีนต้องผ่านผู้นำเข้าของจีน เท่านั้น เนื่องจากรัฐบาลจีนไม่ยินยอมให้กิจการของต่างชาติมาประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่ง ออกในประเทศจีน ดังนั้นเมื่อส่งออกมะม่วงมายังผู้นำเข้าจีน ผู้นำเข้าจะต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าผลไม้จากทางการจีนและต้องมีเอกสาร อนุญาตการนำเข้า (Quarantine Import Permit) ประกอบการยื่นขออนุญาตนำเข้าจากทางการจีนอีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมด้านเอกสารที่ต้องเตรียมในการนำเข้า อาจสอบถามเพิ่มเติมได้จากผู้นำเข้าชาวจีนได้อีกทางหนึ่ง หรือสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaifruits-online.com/public/exportfruit
2.5) พิธีการศุลกากรจากกรมศุลกากรส่งออกสินค้าจากไทย เมื่อสินค้าได้รับการรับรองการส่งออก และมีใบอนุญาตใช้เพื่อเตรียมพร้อมในการนำเข้าผ่านหน่วยงานจีนแล้ว เพื่อให้สินค้าออกจากประเทศไทยอย่างถูกต้องยังจำเป็นต้องเตรียมเอกสารที่ สำคัญ เช่น เอกสารใบขนส่งสินค้าขาออก (กศก.101) เอกสารใบราคาสินค้า Invoice (ตามจำนวนของใบขนขาออกที่ยื่นทั้งหมด) เอกสาร Packing list แสดงรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ และเอกสารอื่นๆตามที่กรมศุลกากรต้องการ เป็นต้น โดยในขั้นตอนพิธีการศุลกากรนี้อาจมีขั้นตอนและมีการเตรียมเอกสารค่อนข้างมาก ดังนั้นส่วนผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะใช้บริการของบริษัทชิปปิ้งที่มีบัตรผ่าน ศุลกากรเพื่อดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรส่งออกแทนในนามของบริษัท ซึ่งคุณสุทธิชัยอาจเลือกใช้บริษัทที่มีประสบการณ์พิธีการศุลกากรขาออก โดยสามารถเลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือได้จากรายชื่อในเว็บไซต์สมาคม ชิปปิ้งแห่งประเทศไทยwww.ctat.or.thได้
2.6) การใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีนำเข้าในจีนจากข้อตกลงการค้า FTA China-ASEAN เนื่องจากจีนและอาเซียนได้มีการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ FTA China-ASEAN ซึ่งส่งผลให้สินค้าบางรายการที่ส่งออกจากไทยไปจีนไม่ถูกเก็บภาษีนำเข้า ณ ประเทศจีน ซึ่งรวมถึงมะม่วงสดที่นำเข้าไปจีนด้วย ผู้ส่งออกที่ต้องการใช้สิทธิลดภาษีนำเข้านี้จะต้องมีหนังสือรับรองแหล่ง กำเนิดสินค้า ฟอร์มอี (Form E) ซึ่งสามารถยื่นขอได้ที่กรมการค้าต่างประเทศของไทย เพื่อใช้ประกอบการลดภาษีนำเข้าไปยังประเทศจีนเหลือร้อยละ 0 ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่ม เติมในขั้นตอนการขอและการเตรียมเอกสารยื่นขอที่เกี่ยวข้องได้ที่สำนักบริการ การค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ (สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385) หรือในเว็บไซต์ www.dft.go.th และรายละเอียดเพิ่มเติมด้านความตกลงเขตการค้าเสรี FTA China-ASEAN ได้ที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (www.thaifta.com)
2.7) ความรู้เบื้องต้นด้านการค้าระหว่างประเทศ นอกจากขั้นตอนการขออนุญาตส่งออก การเตรียมเอกสารส่งออก การดำเนินพิธีการศุลกากรแล้ว ผู้ส่งออกควรมีความรู้เบื้องต้นด้านการค้าระหว่างประเทศที่จำเป็นอื่นๆ อีกเช่น การคำนวณต้นทุนและการตั้งราคาสินค้าเพื่อการส่งออก วิธีการชำระเงินและเงื่อนไข การชำระเงิน การทำสัญญาการค้าระหว่างประเทศ ข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้า (Incoterm) การขนส่งทางทะเล ทางอากาศ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เปิดคอร์สด้านการส่งออก เช่น หลักสูตรความรู้เบื้องต้นการส่งออก, หลักสูตรผู้ส่งออกอัจฉริยะ Smart Exporter โดยสถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (http://application.ditp.go.th/training_institute/index.html) และหน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) เป็นต้น
2.8) ความรู้เบื้องต้นที่ควรมีสำหรับการค้าขายกับประเทศจีน นอก จากความรู้เบื้องต้นที่ผู้ส่งออกควรมีแล้ว ผู้ส่งออกควรมีความรู้เจาะลึกในทักษะที่ควรมีเพื่อค้าขายกับประเทศจีนอีก ด้วย เช่น อุปนิสัยทัศนคติการทำธุรกิจของ คนจีนในยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมทางการค้า การเจรจาการค้ากับชาวจีน การสื่อสารด้วยภาษาจีนเบื้องต้น การค้นหาข้อมูลทางการค้าภาษาจีน พฤติกรรมผู้บริโภคจีน ตลอดจนข้อควรระวังในการค้าาขายกับจีน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีนทั้ง 9 แห่งได้จัดทำจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและรวบรวมไว้ในเว็บไซต์ศูนย์ ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน www.wordpress-348433-3180049.cloudwaysapps.com
2.9) การตลาดเพื่อการหาลูกค้าในต่างประเทศ/การหาผู้นำเข้ามะม่วงในจีน หลังจากที่มีพื้นฐานความรู้ด้านการส่งออกแล้วสิ่งต่อไปคือการหาลูกค้าในต่าง ประเทศ ก่อนที่จะส่งออกมายังต่างประเทศอาจพิจารณาเลือกตลาดที่จะส่งออกว่าควรส่งออก ไปประเทศไหน หากเลือกส่งออกมายังประเทศจีนก็ควรเลือกว่าจะส่งออกมายังประเทศจีนในพื้นที่ ใด ซึ่งจีนในแต่ละพื้นที่มีรสนิยมความชอบสินค้าแตกต่างกัน กำลังซื้อต่างกัน สภาพตลาดสินค้าในแต่ละพื้นที่ก็ย่อมแตกต่างกัน ผู้ส่งออกควรทำความเข้าใจกับแต่ละพื้นที่ที่จะส่งออก ตลอดจนศึกษาข้อมูลการตลาดของสินค้าในแต่ละพื้นที่ก่อนที่จะเลือกเมืองที่จะ ส่งออกสินค้าไป ผู้ส่งออกอาจจำเป็นต้องเดินทางมาสำรวจตลาด ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค เสาะหาช่องทางการเข้าตลาดในการขายสินค้าด้วยตัวเอง เป็นต้น
3. ข้อแนะนำสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่
หากเริ่มต้นการส่งออกครั้งแรกและยังไม่มีลูกค้าในประเทศจีน อาจเริ่มต้นจากกำหนดและวางแผนการทำการตลาดหาลูกค้าในประเทศจีนผ่านการเข้า ร่วมงานแสดงสินค้าในจีนและเป็นช่องทางการหาลูกค้าโดยตรง รายชื่องานแสดงสินค้าในจีนที่จัดขึ้นในแต่ละปี สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ http://tradeshow.alibaba.com แล้วเลือกประเทศจีน หรือที่เว็บไซต http://www.biztradeshows.com/china
นอกจากการออกงานแสดงสินค้า สามารถติดต่อกับผู้นำเข้าโดยผ่านช่องทางการทำนัดพบทางธุรกิจผ่านหน่วยงานและ สมาคมการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักกิจกรรมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ฯลฯ ที่เปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ โดยรายชื่องานแสดงสินค้าในต่างประเทศรวมทั้งจีน ที่กรมฯ นำผู้ประกอบการเข้าร่วมสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์http://application.depthai.go.th/overseas_trade_fair/index_redirect.html
ทั้งนี้ ในส่วนขั้นตอนการส่งออกจากประเทศไทย หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สำนักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพื่อการส่งออก กลุ่มงานพัฒนาผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมการส่งออก โทร (02)507-8180 ,8181, 8182 และ 8183 หรือสายด่วนสอบถามปัญหาการส่งออก 1169 (เวลาราชการ) เพื่อช่วยอธิบายความเข้าใจของขั้นตอนในภาพรวมได้
ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครเซี่ยงไฮ้
19 ธันวาคม 2555