เป็นยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ที่เสนอแนวคิดโดย นายสี จิ้นผิง เมื่อปี 2556 โดยมีเป้าหมายเพื่อความเชื่อมโยงทางด้านคมนาคม ด้านโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการสร้างความมั่นคงในเส้นทางการค้าทั้งทางบก และทางทะเลของจีนกับประเทศในเส้นทาง Belt and Road เป็นนโยบายที่รัฐบาลจีนส่งเสริมเพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศบนเส้นทาง Belt and Road และเป็นกรอบการทำงานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับพหุภาคีของจีน
ในอีกแง่หนึ่งของ BRI คือการจัดสรรปันส่วนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยมุ่งเน้นการรวมตัวกันทางด้านการตลาด และความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ เพื่อกระจายผลประโยชน์สู่ส่วนรวมในภูมิภาค
โดยประเทศจีนได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม BELT AND ROAD FORUM FOR INTERNATIONAL COOPERATION (BRF) ครั้งแรก ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2017 โดยมีผู้นำจาก 29 ประเทศและผู้แทนจาก 110 ประเทศเข้าร่วม และจัดการประชุม BRF ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “Shaping a Brighter Shared Future” เมื่อวันที่ 25-27 เมษายน 2562 ที่กรุงปักกิ่ง มีผู้นำจาก 38 ประเทศ และผู้แทนราว 5,000 คนจากกว่า 150 ประเทศ และกว่า 90 องค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วม
ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปลายเดือน มกราคม 2563 มีประเทศ/องค์กรระหว่างประเทศที่ได้ลงนามเอกสารความร่วมมือกับจีนด้าน BRI จำนวน 168 ประเทศ/องค์กร รวมข้อตกลงจำนวน 200 ฉบับ ปัจจุบัน จีนได้กลายเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของมากกว่า 25 ประเทศตามเส้นทาง BRI โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์จีนชี้ว่า ในปี 2562 มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับประเทศตามเส้นทาง BRI มากกว่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากปี 2561 และคิดเป็นร้อยละ 29.4 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของจีน ด้านการลงทุน ในปี 2562 จีนได้ลงทุนประเทศตามเส้นทาง BRI มูลค่า 15,040 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไม่รวมภาคการเงิน) ลดลงร้อยละ 3.8 จากปี 2561 ในขณะที่ประเทศตามเส้นทาง BRI ได้จัดตั้งบริษัทใหม่ในจีน 5,591 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 8,420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 จากปี 2561
ความคืบหน้าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2013-2018)
เป็นยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ที่เสนอแนวคิดโดย นายสี จิ้นผิง เมื่อปี 2556 โดยมีเป้าหมายเพื่อความเชื่อมโยงทางด้านคมนาคม ด้านโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการสร้างความมั่นคงในเส้นทางการค้าทั้งทางบก และทางทะเลของจีนกับประเทศในเส้นทาง Belt and Road เป็นนโยบายที่รัฐบาลจีนส่งเสริมเพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศบนเส้นทาง Belt and Road และเป็นกรอบการทำงานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับพหุภาคีของจีน
ในอีกแง่หนึ่งของ BRI คือการจัดสรรปันส่วนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยมุ่งเน้นการรวมตัวกันทางด้านการตลาด และความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ เพื่อกระจายผลประโยชน์สู่ส่วนรวมในภูมิภาค
โดยประเทศจีนได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม BELT AND ROAD FORUM FOR INTERNATIONAL COOPERATION (BRF) ครั้งแรก ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2017 โดยมีผู้นำจาก 29 ประเทศและผู้แทนจาก 110 ประเทศเข้าร่วม และจัดการประชุม BRF ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “Shaping a Brighter Shared Future” เมื่อวันที่ 25-27 เมษายน 2562 ที่กรุงปักกิ่ง มีผู้นำจาก 38 ประเทศ และผู้แทนราว 5,000 คนจากกว่า 150 ประเทศ และกว่า 90 องค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วม
ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปลายเดือน มกราคม 2563 มีประเทศ/องค์กรระหว่างประเทศที่ได้ลงนามเอกสารความร่วมมือกับจีนด้าน BRI จำนวน 168 ประเทศ/องค์กร รวมข้อตกลงจำนวน 200 ฉบับ ปัจจุบัน จีนได้กลายเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของมากกว่า 25 ประเทศตามเส้นทาง BRI โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์จีนชี้ว่า ในปี 2562 มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับประเทศตามเส้นทาง BRI มากกว่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากปี 2561 และคิดเป็นร้อยละ 29.4 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของจีน ด้านการลงทุน ในปี 2562 จีนได้ลงทุนประเทศตามเส้นทาง BRI มูลค่า 15,040 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไม่รวมภาคการเงิน) ลดลงร้อยละ 3.8 จากปี 2561 ในขณะที่ประเทศตามเส้นทาง BRI ได้จัดตั้งบริษัทใหม่ในจีน 5,591 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 8,420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 จากปี 2561
ความคืบหน้าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2013-2018)
** ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และถือเป็นลิขสิทธิ์การจัดทำ ของศูนย์ข้อมูล เพื่อธุรกิจไทยในจีน ซึ่งท่านสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ในลักษณะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้โปรดอ้างอิง “ศูนย์ข้อมูลเพื่อ ธุรกิจไทยในจีน www.wordpress-348433-3180049.cloudwaysapps.com” ทุกครั้ง เมื่อมีการนำข้อมูลไปใช้ต่อ
** อนึ่ง โปรดใช้วิจารณญาณในการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดมาจาก การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เท่านั้น ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีนซึ่งเป็นผู้จัดทำ ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลไปใช้ต่อ และ ข้อมูลดังกล่าวไม่ถือเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใด
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2556 ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง