How to export to China? มารู้จักขั้นตอนส่งออกสินค้าไปจีนกันเถอะ!! (ตอนที่ 2 : ศึกษาเตรียมตัวเป็นผู้ส่งออกไทย)
19 Jun 2013จากบทความตอนแรกที่ได้กล่าวถึงกฎระเบียบของจีนเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าสู่จีนและสิทธิประโยชน์ทางภาษีนำเข้าที่จะได้รับ ซึ่งเป็นข้อมูลให้ผู้ส่งออกของไทยใช้พิจารณาว่าสินค้าของตนเองมีความพร้อมที่จะส่งออกไปจีนหรือไม่ หากว่าสินค้ามีความพร้อมตามข้อกำหนดของทางการจีนและประเมินว่ามีโอกาสเติบโตในตลาดจีนแล้ว สิ่งสำคัญลำดับต่อไป คือ การศึกษากฎระเบียบในส่วนของไทย
ทั้งนี้ จำเป็นต้องศึกษาว่าไทยอนุญาตให้ส่งออกสินค้าประเภทใดบ้าง และสินค้าแต่ละประเภทมีข้อกำหนดและขั้นตอนการขออนุญาตส่งออกอย่างไร ตลอดจนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นผู้ส่งออกสินค้าของไทย ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีนจึงขอนำเสนอข้อมูลดังกล่าวข้างต้นผ่านบทความตอนที่ 2 เรื่อง“ศึกษาเตรียมตัวเป็นผู้ส่งออกไทย”
รู้จักสินค้า.. ก่อนเดินหน้าส่งออก
ในเบื้องต้น ก่อนการส่งออกสินค้าจากไทยไปจีนหรือประเทศอื่นๆ จำเป็นจะต้องศึกษาดูว่าทางการไทยอนุญาตให้ส่งออกสินค้าประเภทใดบ้าง เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับตัวสินค้าที่สนใจจะส่งออก โดยปัจจุบันไทยได้แบ่งสินค้าส่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) สินค้ากำหนดมาตรฐานส่งออก 2) สินค้ากำหนดมาตรการส่งออก 3) สินค้ากำหนดโควต้าส่งออก และ 4) สินค้าทั่วไป
1) สินค้ากำหนดมาตรฐานส่งออก |
พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2522 ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับสินค้าส่งออกของไทย เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานที่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด และควบคุมคุณภาพของสินค้าที่จะส่งออกจากไทย ตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้นำเข้าในต่างประเทศ และสร้างศักยภาพในการแข่งขันแก่สินค้าส่งออกของไทยด้วย |
หมายเหตุ : (1) การส่งออกสินค้า 10 รายการข้างต้น ผู้ประกอบการจะต้องยื่นเรื่องเพื่อขอบัตรประจำตัวผู้ส่งออกก่อน (จะกล่าวถึงรายละเอียดในลำดับต่อไป) โดยหลังจากที่ได้รับบัตรประจำตัวผู้ส่งออกแล้ว จำเป็นจะต้องยื่นคำร้องเพื่อขอเป็นผู้ส่งออกสินค้าที่มีมาตรฐานดังกล่าวกับสำนักงานมาตรฐานสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดขั้นตอนในการยื่นจดทะเบียนได้ที่ http://ocs.dft.go.th เมนู “ผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐาน”
(2) หลังจากที่ยื่นคำร้องแล้ว จะต้องนำสินค้าที่ต้องการส่งออกให้สำนักงานตรวจสอบมาตรฐาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือนิติบุคคล/ส่วนราชการที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพาณิชย์ ทำการตรวจสอบสินค้าดังกล่าว
(3) หลังจากสินค้าผ่านเกณฑ์การตรวจสอบแล้ว จะได้รับ “ใบรับรองมาตรฐานสินค้า” จากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งจะใช้เป็นเอกสารประกอบการส่งออกสินค้า 10 รายการข้างต้น
2) สินค้ากำหนดมาตรการส่งออก |
||
พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดมาตรการสำหรับการส่งออกสินค้าจากไทย เพื่อเป็นการจัดระเบียบควบคุมการส่งออกให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลไทยกำหนดเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและประโยชน์ของชาติ ตลอดจนเป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศด้วย |
||
สินค้าห้ามส่งออก |
||
กระทรวงพาณิชย์ประกาศห้ามส่งออก “ทราย” เพื่อสงวนไว้ใช้สำหรับอุตสาหกรรมภายในประเทศ และเพื่อเป็นการป้องกันการทำลายสภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ |
||
สินค้าที่ต้องขออนุญาตส่งออก |
สินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง/ขึ้นทะเบียน/ |
|
1) สินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ – ข้าว / ข้าวส่งออกภายใต้โควต้าภาษีของสหภาพยุโรป – ปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิต 2) สินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ |
||
1) ผัก ผลไม้ |
หมายเหตุ : สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการของสินค้าแต่ละประเภทได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ http://www.dft.go.th (หน้ามาตรการนำเข้า-ส่งออกสินค้าของไทย) หรือติดต่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่สำนักมาตรการทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ 0-2547-4771-86
3) สินค้าที่มีโควต้าส่งออก |
กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดโควต้าการส่งออกสินค้าบางประเภท เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณสินค้าที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ โดยปัจจุบันได้จำกัดปริมาณการส่งออกสินค้าสำคัญ 4 รายการ ได้แก่ 1) ข้าว 2) มันสำปะหลัง 3) น้ำตาล และ 4) ยางพารา โดยสามารถศึกษากฎระเบียบเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าทั้ง 4 รายการดังกล่าวได้จากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โทรศัพท์ 0-2547-4771-86 หรือสายด่วนหมายเลข 1385 เว็บไซต์ http://www.dft.go.th |
4) สินค้าทั่วไป |
สินค้าทั่วไป หมายถึง สินค้าอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากประเภทสินค้า 3 ประเภทข้างต้น ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกได้โดยเสรี |
เตรียมตัวทำบัตร.. ยื่นขออนุมัติเป็นผู้ส่งออก
เมื่อตรวจสอบแล้วว่าสินค้าที่ต้องการส่งออกสามารถส่งออกไปจีนได้ตามกฎระเบียบการนำเข้าของจีนและกฎระเบียบการส่งออกของไทยแล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องดำเนินการ คือ การยื่นขอบัตรที่ใช้ประกอบในการส่งสินค้าไปต่างประเทศกับกระทรวงพาณิชย์ และลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ออกของกับกรมศุลกากรไทย
1. บัตรประจำตัวผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้า
หากต้องการจะทำธุรกิจส่งออกจำเป็นจะต้องมีบัตรใบนี้ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญที่แสดงสถานะการเป็นผู้ส่งออก ซึ่งต้องใช้สำหรับติดต่อกับกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เช่น การขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า การขออนุมัติเป็นผู้ส่งออกสินค้าที่มีมาตรฐานและมาตรการส่งออก เป็นต้น โดยสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการทำบัตรได้ที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ 02-5474754 หรือสายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 ต่อ 4101, 4161 หรือศึกษารายละเอียดการจัดเตรียมเอกสารเบื้องต้นด้วยตนเอง และดาวน์โหลดแบบฟอร์มยื่นคำขอออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ http://www.dft.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=WFwcHdPpdu0%3d&tabid=101
2. การลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ออกของกับกรมศุลกากรไทย
เดิมทีผู้ที่ทำธุรกิจส่งออกจะต้องทำบัตรฐานข้อมูลประจำตัวกับกรมศุลกากรไทย เพื่อใช้แสดงสำหรับดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากร แต่ปัจจุบันกรมศุลกากรได้เปิดให้บริการพิธีการศุลกากรการส่งออกระบบไร้เอกสาร (paperless) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และได้ยกเลิกใช้บัตร Smart Card ดังกล่าวแล้ว ซึ่งผู้ที่จะทำธุรกิจส่งออกจำเป็นต้องลงทะเบียนกับกรมศุลกากรก่อนจึงจะสามารถใช้บริการดังกล่าวได้ โดยสามารถศึกษาวิธีการลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์กรมศุลกากร http://www.customs.go.th เมนูหลัก“ผู้ประกอบการ” เมนูย่อย“การลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า – ส่งออก / การขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของ” หรือติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนศุลกากร หมายเลข 1164
เข้าร่วมสมาชิกหน่วยงาน.. รับข้อมูลข่าวสารเป็นประโยชน์
นอกจากผู้ส่งออกสินค้าไทยไปต่างประเทศจะศึกษาข้อมูลหรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งออกจากหน่วยงานต่างๆ ของไทยแล้ว ยังอาจพิจารณาสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ด้วย เช่น การสมัครสมาชิกรายชื่อผู้ส่งออกสินค้าไทย (Exporter List E.L.) กับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งสมาชิกสามารถได้รับการสนับสนุนด้านบริการต่างๆ ของกรมฯ อาทิ การรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกฎระเบียบที่อัพเดทใหม่ ข่าวสารการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกต่างๆ เป็นต้น โดยกรมฯ ได้จะจัดแบ่งประเภทของสมาชิกผู้ส่งออกตามประสบการณ์ด้านการส่งออกเป็น 4 กลุ่มประเภทใหญ่ ได้แก่ 1) สมาชิกที่มีประสบการณ์การส่งออกแล้ว 2) สมาชิกที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการส่งออก 3) สมาชิกประภทกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) และ 4) สมาชิกประเภทกลุ่มธุรกิจบริการ ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดการสมัครสมาชิกได้ที่ http://www.ditp.go.th/Exporter/Intro.htm
นอกจากนี้ ผู้ส่งออกไทยยังสามารถพิจารณาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือสมาคมการค้าที่สำคัญของไทยได้ อาทิ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาคมยางพาราไทย สมาคมอาหารแช่แข็งไทย เป็นต้น
สำหรับบทความตอนที่ 2 นี้ น่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยทราบวิธีการเตรียมตัวเป็นผู้ส่งออกสินค้าไทย และทราบกฎระเบียบเกี่ยวกับสินค้าที่จะส่งออกจากไทยได้ในระดับหนึ่งแล้ว โปรดติดตามบทความตอนต่อไป ซึ่งจะแนะนำถึงการเตรียมสินค้าและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการส่งออกไปยังจีน เร็วๆ นี้
ลิงค์บทความที่เกี่ยวข้อง
How to export to China? มารู้จักขั้นตอนส่งออกสินค้าไปจีนกันเถอะ!! (ตอนที่ 1 : ศึกษากฎระเบียบจีน)
—————————————-
จัดทำโดย นางสาวเทพรัตน์ ตันติกัลยาภรณ์ และนายโอภาส เหลืองดาวเรือง เรียบเรียงโดย นางนาฏพร นิติมนตรี
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้
ข้อมูลอ้างอิง
(1) เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ www.moc.go.th
(2) เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ http://www.dft.go.th
(3) เว็บไซต์สำนักงานมาตรฐานสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ http://ocs.dft.go.th
(4) คู่มือเตรียมความพร้อมเพื่อการนำเข้า-ส่งออกสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์